เส้นประสาทอักเสบ กี่วันหาย

ร่างกายของคนเรามีระบบประสาทส่วนปลายที่ทำหน้าที่รับคำสั่งจากระบบประสาทส่วนกลาง แล้วส่งต่อคำสั่งไปยังกล้ามเนื้อ ทำให้ร่างกายมีการเคลื่อนไหวและรับความรู้สึกได้

หากเส้นประสาทที่รับส่งคำสั่งจากสมองและไขสันหลังไปยังอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายเกิดความเสียหาย หรือเกิดโรคบางชนิดขึ้น ก็อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะที่เรียกว่า โรคปลายประสาทอักเสบ (Peripheral Neuropathy) ได้

สังเกตเบื้องต้นยังไง ว่าเสี่ยงเป็น “โรคปลายประสาทอักเสบ?”

• อ่อนแรง ปวดและชาตามมือและเท้า หรืออวัยวะส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย
• มีอาการแสบ หรือเจ็บแปลบบริเวณที่ได้รับผลกระทบ
• สูญเสียการทรงตัว เกิดอาการบ้านหมุน
• มีอาการปวดแปร๊บๆ บนใบหน้าคล้ายถูกไฟฟ้าช็อต มักเกิดอาการด้านใดด้านหนึ่งของใบหน้า
• เกิดอาการใบหน้าเบี้ยว ใบหน้าอ่อนแรงครึ่งซีก

หากพบอาการผิดปกติแนะนำให้พบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุ และรับการรักษาให้ถูกต้อง เพราะการอักเสบของเส้นประสาทบางตำแหน่งอาจมีหลายสาเหตุ บางสาเหตุอาจเกิดจากการขาดวิตามินบางชนิด แต่บางสาเหตุอาจเกิดจากอื่นๆ

อายุน้อยก็เป็น “โรคปลายประสาทอักเสบ” ได้

โรคปลายประสาทอักเสบมักจะเกิดกับคนวัยชรา และคนมีโรคประจำตัวเป็นส่วนใหญ่ แต่ปัจจุบันกลับพบว่าช่วงวัยชราที่เป็นโรคปลายประสาทอักเสบมีแนวโน้มต่ำลง แต่กลับเป็นกลุ่มวัยทำงานที่เพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ โดยพบได้ในคนที่มีอายุเฉลี่ย 30 ปีขึ้นไป จากไลฟ์ไตล์ที่เร่งรีบในปัจจุบันที่แสนจะสุดเยอะ อย่าง..

• มีเรื่องต้องทำเยอะ : Multitasking สุดๆ ทำหลายอย่าง ทำงานหนัก แถมยังพักผ่อนน้อย รวมถึงพฤติกรรมการใช้งานข้อมือซ้ำๆ อย่างการคลิกเม้าส์หรือใช้สมาร์ทโฟนตลอดเวลา ร่วมกับการกินอาหารไม่ครบ 5 หมู่ โดยเฉพาะการไม่รับประทานผัก ธัญพืช ทำให้ร่างกายขาดวิตามินบางชนิด เช่น บี 1 บี 6 และ บี 12
• สายปาร์ตี้ ดื่มหนัก : ยิ่งดื่มยิ่งทำให้ร่างกายถูกกระตุ้นให้ขับวิตามินต่างๆ ออกมาพร้อมกับปัสสาวะ โดยเฉพาะวิตามินในกลุ่มที่ละลายในน้ำอย่างวิตามินบี
• รับประทานมังสวิรัติ : วิตามินบางชนิดเช่นวิตามินบี 12 พบมากในเนื้อสัตว์ ผู้ที่รับประทานมังสวิรัติอาจขาดวิตามินนี้ 3
• ผู้ที่รับประทานยาบางชนิดเป็นประจำ เช่น ยาคุมกำเนิด ยาขับปัสสาวะ อาจมีความเสี่ยงในการขาดวิตามินบี 1,2
• มีภาวะโรคบางอย่างแฝง หากมีสัญญาณที่เกิดขึ้นดังกล่าวข้างต้น ควรปรึกษาแพทย์

“โรคปลายประสาทอักเสบ” ป้องกันได้ แค่ดูแลตัวเองด้วยการ

• เต็มที่แค่ไหน ก็ต้องหาเวลาพักผ่อนให้เพียงพอ ทำเยอะบ้าง ทำน้อยบ้าง และปล่อยให้ร่างกายได้ผ่อนคลาย
• หลีกเลี่ยงการไขว้ขาและการนั่งในท่าที่อาจกดทับเส้นประสาทระหว่างการทำงาน
• ขยับขยายร่างกาย เปลี่ยนอริยาบถบ่อยๆ เลี่ยงการนั่ง คลิกเม้าส์หรือใช้สมาร์ทโฟนในท่าเดิม
• ลดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ลง ปาร์ตี้น้อยลงสักนิดเพื่อสุขภาพ
• เลือกทานอาหารที่มีวิตามิน B1, B6 และ B12 อย่างเหมาะสมหรือวิตามินบีรวม เพราะวิตามินบี มีส่วนช่วยในการทำงานของระบบประสาทและสมอง และช่วยซ่อมแซมปลอกหุ้มเซลล์ประสาท
• ทานอาหารที่มีโคลีน เช่น ไข่แดง เนื้อสัตว์ เครื่องใน ผักใบเขียวบางชนิด ถั่วเหลือง ถั่วลิสง หรือเสริมด้วยอาหารเสริมที่มีโคลีน สารตั้งต้นหลักในการสังเคราะห์สารสื่อประสาทอย่าง อะเซททิลโคลีน (Acetylcholine) ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทสำคัญที่เกี่ยวข้องกับความจำ การควบคุมกล้ามเนื้อต่างๆ

โรคปลายประสาทอักเสบป้องกันได้จากการปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ที่เป็นอยู่ให้สมดุลมากขึ้น เริ่มต้นดูแลตัวเองตั้งแต่วันนี้ดีที่สุด

อ้างอิง :
1. Veninga KS. Effects of oral contraceptives on vitamins B6, B12, C, and folacin. J Nurse Midwifery. 1984 Nov-Dec;29(6):386-90. doi: 10.1016/0091-2182(84)90169-1. PMID: 6568271.
2. Morrow LE, Grimsley EW. Long-term diuretic therapy in hypertensive patients: effects on serum homocysteine, vitamin B6, vitamin B12, and red blood cell folate concentrations. South Med J. 1999 Sep;92(9):866-70. doi: 10.1097/00007611-199909000-00003. PMID: 10498160.
3. Rizzo, G., Laganà, A. S., Rapisarda, A. M., La Ferrera, G. M., Buscema, M., Rossetti, P., Nigro, A., Muscia, V., Valenti, G., Sapia, F., Sarpietro, G., Zigarelli, M., & Vitale, S. G. (2016). Vitamin B12 among Vegetarians: Status, Assessment and Supplementation. Nutrients, 8(12), 767. //doi.org/10.3390/nu8120767
//www.bangmodhospital.com/health_news/53
//www.pobpad.com/ปลายประสาทอักเสบ
//www.synphaet.co.th/สัญญาณเตือนโรคปลายประส/

Home > อาการเตือน ปลายประสาทอักเสบ

อาการปลายประสาทอักเสบ – Peripheral Neuropathy เป็นภาวะหนึ่งของเส้นประสาทซึ่งทำหน้าที่รับส่งคำสั่งจากสมองและไขสันหลังไปยังอวัยวะต่าง ๆ เกิดความเสียหายหรือเกิดโรคบางชนิด จนทำให้เกิดอาการต่างๆ โดยภาวะปลายประสาทอักเสบ มักพบได้ในผู้ป่วยที่มีอายุเฉลี่ย 30 ปีขึ้นไป และกลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสเกิดโรคนี้ได้มากขึ้น โดยเราสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่ม ได้แก่

  • กลุ่มผู้ป่วยที่มีภาวะภูมิคุ้มกันผิดปกติ ภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น โรคเบาหวาน
  • ผู้ที่ขาดวิตามินหรือสารบางชนิด เช่น B1 B6 และ B12
  • กลุ่มที่ได้รับสารพิษต่างๆ เช่น พิษจากตะกั่ว โลหะหนัก

สัญญาณเตือนโรคปลายประสาทอักเสบ

ลักษณะของอาการที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยโรคปลายประสาทอักเสบ มีดังนี้

  • เหน็บและชาปลายมือและเท้า
  • ความรู้สึกบริเวณปลายมือและเท้าลดลง
  • กล้ามเนื้ออ่อนแรง (โดยเฉพาะที่เท้า)
  • เสียการทรงตัวหรือเดินเซ
  • ความดันโลหิตต่ำ
  • ท้องผูกหรือท้องเสีย อาหารย่อยยาก
  • เหงื่อออกมากกว่าปกติ

อย่างไรก็ตามหากพบว่ามือหรือเท้ามีอาการชา อ่อนแรงหรือมีอาการเจ็บผิดปกติ ควรรีบไปพบแพทย์ เพื่อทำการวินิจฉัยและการรักษาอย่างทันท่วงที

| ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญศูนย์หลอดเลือดสมองและระบบประสาท

แชร์บทความ

ข้อมูลสุขภาพ สูงอายุ

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก