Metaverse ส่งผลกระทบต่ออาชีพอะไรบ้าง

Metaverse มีประโยชน์อย่างไร?

Metaverse สามารถช่วยจำลองให้เราไปอยู่ในสถานที่ต่างๆ ได้ แม้จะนั่งอยู่กับที่ก็ตาม โดยอาศัยการเชื่อมต่อผ่านรูปแบบต่างๆ เช่น อินเทอร์เน็ต, อุปกรณ์, สมาร์ทโฟน, แอปพลิเคชัน และซอฟต์แวร์ ถือเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่กำลังปลุกกระแสเพื่อปูทางไปสู่โลกแห่งอนาคต แม้ว่าในช่วงแรกจะเริ่มมีการนำ Metaverse มาใช้ในแวดวงเกมออนไลน์ แต่ในภายหลังเริ่มมีการเข้าไปลงทุนในบริษัทเทคโนโลยีด้านต่างๆ เพื่อสร้างแพลตฟอร์มที่สามารถครอบคลุม และรองรับเทคโนโลยี Metaverse ในอนาคตได้ ยกตัวอย่าง Facebook ที่ได้กระจายการลงทุนไปหลายแพลตฟอร์ม รวมถึง Oculus Go แว่นตาเทคโนโลยี VR ที่เคยสร้างเสียงฮือฮาเมื่อหลายปีก่อน อีกทั้งแว่นตา Ray-Ban Stories ที่แสดงให้เห็นความชัดเจนของ Facebook ที่ไม่ได้ต้องการเป็นเพียงแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย แต่ยังมุ่งหน้าสู่การขยายไปสู่โลก Metaverse

นอกจากนี้ Metaverse 5G ก็ยังถูกพูดถึงอย่างมาก เนื่องจากเทคโนโลยี 5G คือพื้นฐานสำคัญที่ช่วยเพิ่มความเร็วของอินเทอร์เน็ต และการถ่ายโอนข้อมูลความเร็วสูง กลายเป็นยุค "Internet of Things" ที่จะนำไปสู่การพัฒนาและใช้ประโยชน์จาก Metaverse ในด้านต่างๆ ยกตัวอย่างเช่น

ด้านการแพทย์:

1.     เครือโรงพยาบาลสินแพทย์ ผนึกกำลัง Meta Med และ Metaverse Thailand เดินหน้าปฏิวัติ วงการแพทย์ก้าวสู่การให้บริการรูปแบบใหม่บนพื้นที่เสมือนจริง โดยเปิดตัวศูนย์การแพทย์ทางเลือกใหม่ แห่งแรกในประเทศไทย เพื่อตอบสนองกลุ่มลูกค้าบนโลกดิจิทัล ภายใต้คอนเซ็ปต์ “Move life beyond” โดยการร่วมมือกันในครั้งนี้ เพื่อตอกย้ำความเป็นที่หนึ่งในด้านบริการทางการแพทย์ที่ตอบรับกับกระแสโลก VR (Virtual Reality) ที่กำลังมาแรง พร้อมให้บริการทางการแพทย์แบบครอบคลุม อาทิ การให้คำปรึกษาทางการแพทย์, ห้องแล็บ (Lab), Imagine Center, ร้านขายยา ซึ่งการเปิดให้บริการเป็นการผสานกับเทคโนโลยียุคใหม่ เข้ามาแก้ไขปัญหาสำหรับผู้ป่วยและระบบการรักษา เพื่อให้เกิด Ecosystem รูปแบบใหม่ในการสร้างประสบการณ์ให้กับผู้ป่วยบนโลกเสมือนจริง และตอบโจทย์เรื่องความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้นในยุคของ Digital Disruption Meta Med ไม่ใช่เป็นแค่โรงพยาบาล แต่เป็นแพลตฟอร์มที่ให้บริการด้านการแพทย์ที่ครบวงจร รวมถึงการสนับสนุนต่างๆ เช่น การติดตามผู้ป่วย การบริหารจัดการ ทรัพยากรของโรงพยาบาล การจัดส่งยา และอุปกรณ์ทางการแพทย์ แต่ในช่วงแรกจะเปิดในส่วนของ Telemedicine Plus ที่เป็นการให้คำปรึกษาผ่าน Metaverse ซึ่งในอนาคตคนไข้จะสามารถเข้ารักษาในสถานพยาบาลที่ใกล้ที่สุด ที่ไหนก็ได้ทั่วประเทศ เพราะทาง Meta med จะเป็นศูนย์ที่รวบรวมเหล่าบุคลากรทางการแพทย์ ร้านขายยา และ Imagine center ทำให้คนไข้สามารถรักษาได้อย่างรวดเร็ว สะดวก สบายมากยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นผลดีในอนาคตแก่ผู้บริโภคอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

2.     เทคโนโลยีนี้ยังถูกนำมาใช้รักษาสภาวะป่วยทางจิตใจหลังจากต้องเผชิญกับเหตุการณ์กระทบกระเทือนใจอย่างรุนแรงหรือ PTSD (Post-Traumatic Stress Disorder) ของกลุ่มทหารที่ผ่านศึกสงครามมา นักบำบัดจะพาพวกเขาเข้าไปอยู่ในโลกเสมือนจริง เช่น สภาพแวดล้อมที่ใกล้เคียงกับสงครามที่พวกเขาเคยผ่านมา พร้อมทั้งคอยกำหนดระดับความเข้มข้นของประสบการณ์ที่คนไข้ต้องพบเจอผ่านการควบคุมภาพและเสียง ไม่ว่าจะเป็นเสียงปืน เสียงระเบิด และเสียงตะโกน มีการศึกษาพบว่า วิธีบำบัดในลักษณะนี้ช่วยบรรเทาอาการ PTSD ได้อย่างมีประสิทธิผล

ที่มา: //psychcentral.com/news/virtual-reality-could-help-make-therapy-easier#How-does-virtual-reality-therapy-work?

ด้านวิศวกรรม:

วิศวกร นักออกแบบ และสถาปนิกที่ต้องการทำงานร่วมกันจะได้รับประโยชน์สูงสุดจาก metaverse เทคโนโลยี Augmented และ Virtual Reality มีประโยชน์อย่างยิ่งในการเปลี่ยนผ่านจากการทำงานในสำนักงานแบบเดิม เช่น ในช่วงสองปีที่ผ่านมาของการระบาดใหญ่ วิศวกรสามารถใช้ VR และ AR เพื่อติดต่อกับลูกค้า แสดงแบบจำลองจากระยะไกล และไม่จำเป็นต้องเดินทาง การทำงานร่วมกันใน VR นั้นทรงพลังและมีค่ามากกว่าการโทรด้วย Zoom

การทำงานผ่านขั้นตอนการออกแบบผลิตภัณฑ์ อาคาร หรือสะพานใหม่จะง่ายขึ้นมากเมื่อวิศวกร นักออกแบบ และสถาปนิกสามารถสัมผัสได้ถึงมือโดยไม่ต้องเสียเวลา เงิน หรือวัสดุไปกับการสร้างแบบจำลองจริง Volkswagen ได้พัฒนา subcompact SUV สำหรับตลาดลาตินอเมริกาเรียกว่า Nivus โดยใช้ต้นแบบเสมือนจริงทั้งหมด ทีมนักออกแบบของบริษัทสามารถทำงานได้อย่างปลอดภัยในช่วงการแพร่ระบาด สร้างต้นแบบได้รวดเร็วยิ่งขึ้น ออกแบบให้เสร็จภายในเวลาไม่ถึงปี และลดต้นทุนได้อย่างมากโดยไม่สูญเสียคุณภาพ

ด้านอีคอมเมิร์ซ:

ห้างสรรพสินค้ามีความจำเป็นต้องปรับตัวตามสถานการณ์ จึงเร่งพัฒนาแพลตฟอร์มออนไลน์ของตนเองเพื่อดึงดูดผู้บริโภค จะเห็นว่าในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 หลายๆ ประเทศมีความพยายามพัฒนา ‘โครงการห้างสรรพสินค้าเสมือนจริง’ บนแพลตฟอร์มออนไลน์ หรือ Virtual Mall ขึ้น

ในญี่ปุ่น มีการเปิดตัวห้างสรรพสินค้าอิชิตันในรูปแบบ ‘ห้างเสมือนจริง’ จำลองจากแผนผังจริงของห้างอิเซตันที่ชินจุกุ กรุงโตเกียว มีพนักงานประจำร้านเสมือนจริงคอยให้บริการประจำร้านต่างๆ โดยผู้บริโภคสามารถพิมพ์แชทคุยกับพนักงานได้หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สิงคโปร์ก็มีการจัดทำโครงการ ‘IMM Virtual Mall’ หรือห้างเสมือนจริงขึ้นบนระบบออนไลน์ของ Shopee ที่เชื่อมกับร้านค้าต่างๆ ที่อยู่ในห้างสรรพสินค้า IMM ที่ใหญ่ที่สุดในสิงคโปร์ เพื่อตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายที่ไม่ต้องการออกไปเจอผู้คนในช่วงโควิด-19 แต่ยังคงต้องการจับจ่ายซื้อของเสมือนโลกแห่งความเป็นจริง ส่วนในไทย มีการร่วมมือกันของ บริษัท เดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด, บริษัท ซิตี้มอลล์ กรุ๊ป จำกัด (ดิ เอ็มโพเรียม), บริษัท ทีวีไดเร็ค จำกัด (มหาชน), และกลุ่มแบรนด์ไลฟ์สไตล์รีเทลชั้นนำไม่ว่าจะเป็น Loft, Jung Saem Mool, ALAND เพื่อพัฒนาภาคการค้าปลีกของไทยจนเกิดเป็นแพลตฟอร์ม V-Avenue by AIS 5G ซึ่งถือเป็น Virtual Mall แห่งแรกของไทย โดยแพลตฟอร์ม V-Avenue by AIS 5G สามารถเข้าใช้งานห้างเสมือนจริงได้ผ่านเว็บไซต์ V-Avenue.Co ที่จะนำเสนอห้างสรรพสินค้าและคอมมูนิตี้มอลล์แบบสามมิติ เชื่อมต่อโดยตรงกับมาเก็ตเพลสออนไลน์ของแต่ละห้างฯ และร้านค้า ให้สัมผัสประสบการณ์ช้อปปิ้งที่แตกต่าง

ด้านการลงทุน:

ปัจจุบันมีแนวคิดการสร้างแพลตฟอร์มรองรับการทำธุรกรรมบนโลกเสมือนเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคที่นิยมใช้บริการในรูปแบบ non-face to face ซึ่งในภาคการเงินเอง ผู้ให้บริการทางการเงินในต่างประเทศเริ่มปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำธุรกิจ โดยผนวกแนวคิดของการให้บริการทางการเงินบนโลกเสมือน (virtual financial services) เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ขององค์กรด้วย ตัวอย่างเช่น บริษัท NH Investment & Securities ในเกาหลีใต้ที่จะเปิดตัว metaverse platform โดยมี virtual space เพื่อให้ลูกค้าเข้ามาใช้งานได้ทั้งการเข้าร่วมสัมมนาและเล่นเกมเสมือนโลกจริง หรือธุรกิจธนาคารอย่าง KB Kookmin Bank ที่ได้สร้าง Virtual Financial Town บน metaverse เพื่อให้บริการแก่ลูกค้า ประกอบด้วย Financial and Business Center (Virtual Bank) ที่ผู้ใช้บริการสามารถรับบริการผ่าน avatar และ VDO chat โดยจะได้รับบริการเสมือนไปที่สาขาธนาคารจริง Telecommuting Center (Virtual office) ซึ่งเป็นพื้นที่สำหรับการสื่อสารของพนักงานในองค์กร และ Playground พื้นที่สวนสาธารณะสำหรับพักผ่อน เป็นต้น

ที่มา: //forkast.news/headlines/south-korea-kb-kookmin-bank-presents-metaverse-vr-bank-testbed/

Metaverse กับสินทรัพย์ดิจิทัล

สินทรัพย์ดิจิทัล เป็นกลไกสำคัญในการทำกิจกรรมทางเศรษฐกิจใน metaverse ไม่ว่าจะเป็นการสร้างและพัฒนาที่ดินในโลกเสมือน งานศิลปะ ตัวละคร avatar หรือ item ในเกมต่าง ๆ ในรูปแบบ Non-Fungible Token (NFT) ซึ่งมีเทคโนโลยีบล็อกเชนช่วยอำนวยความสะดวกในการทำให้ธุรกรรมในโลก metaverse ทำให้มีความโปร่งใส ตรวจสอบได้ รวมถึงผู้ใช้งานสามารถระบุตัวตนความเป็นเจ้าของสิทธิในทรัพย์สินโลกเสมือน นอกจากนี้ คริปโทเคอร์เรนซีและโทเคนดิจิทัลยังเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการใน metaverse ด้วย

สำหรับประเด็นที่ว่าสินทรัพย์ดิจิทัลหรือกิจกรรมในโลก metaverse จะถูกกำกับดูแลภายใต้พระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 (พ.ร.ก. สินทรัพย์ดิจิทัลฯ) หรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับว่ามีการเสนอขายโทเคนดิจิทัลที่ต้องได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์หรือไม่

หากมีการเสนอขายโทเคนดิจิทัลที่ให้สิทธิในการได้มาซึ่งสินค้า บริการ หรือสิทธิอื่นใดในโลก metaverse ซึ่งสิทธิดังกล่าวยังไม่พร้อมให้ใช้งานในวันที่เสนอขาย (utility token ไม่พร้อมใช้) หรือเป็นโทเคนที่ให้สิทธิในการเข้าร่วมลงทุนในโครงการหรือกิจการใน metaverse (investment token) โดยมีการเสนอขายในประเทศไทย จะถูกกำกับดูแลภายใต้กฎเกณฑ์เรื่องการออกเสนอขายโทเคนดิจิทัลตาม พ.ร.ก. สินทรัพย์ดิจิทัลฯ นอกจากนี้ หากมีกิจกรรมที่เข้าข่ายเป็นการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลในประเทศไทย ได้แก่ ศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล นายหน้าซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล ผู้ค้าสินทรัพย์ดิจิทัล ผู้จัดการเงินทุนสินทรัพย์ดิจิทัล หรือที่ปรึกษาสินทรัพย์ดิจิทัล จะต้องได้รับใบอนุญาตการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลตาม พ.ร.ก. สินทรัพย์ดิจิทัลฯ ด้วย

ด้านท่องเที่ยว:

“Metaverse Seoul” เมืองเสมือนจริงแห่งแรกของโลก ที่รัฐบาลทุ่มทุนสร้างกว่าร้อยล้านบาท Metaverse Seoul เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ ‘วิสัยทัศน์โซล 2030’ (Seoul Vision 2030) ภายใต้แนวคิด “Future Emotional City” โดยหน่วยงานที่ผลักดันโครงการนี้ก็คือ รัฐบาลกรุงโซล (Seoul Metropolitan Government: SMG) ภายใต้การดูแลของนายกเทศมนตรี โอเซฮุน (Oh Se-hoon) ด้วยเม็ดเงินกว่า 3.9 พันล้านวอนหรือราว 120 ล้านบาท ซึ่งจุดประสงค์หลักของโครงการในครั้งนี้ คือการสร้างระบบนิเวศเสมือนจริงเพื่อบริหารงานเทศบาลเมือง ตั้งแต่ด้านเศรษฐกิจ การลงทุน วัฒนธรรม การบริการพลเมือง ไปจนถึงการท่องเที่ยว ครอบคลุมในทุกมิติไม่ต่างจากการบริหารจัดการเมืองแบบทั่วไป แต่สิ่งที่สร้างความแตกต่างออกไปคือ คนในเมืองสามารถเข้าถึงบริการต่างๆ จากภาครัฐได้ง่ายขึ้น แสดงข้อคิดเห็นต่อการทำงานของรัฐบาลได้โดยตรง นอกจากนี้ Metaverse Seoul จะเปิดมิติใหม่ทางด้านการท่องเที่ยวด้วยการเปิดให้บริการในรูปแบบ Virtual Tourist Zone ซึ่งเป็นการยกสถานที่ท่องเที่ยวชื่อดังในกรุงโซลอย่าง จัตุรัสควางฮวามุน (Gwanghwamun Square) พระราชวังถ็อกซูกุง (Deoksugung Palace) และแหล่งช็อปปิ้งที่ใหญ่และเก่าแก่ที่สุดในโซล ตลาดนัมแดมุน (Namdaemun Market) เข้ามาในแพลตฟอร์มทั้งหมด และในอนาคตก็จะมีเทศกาลและคอนเสิร์ตต่างๆ ออกตามกันมา ซึ่งรัฐบาลกรุงโซลเผยว่าจะตั้งเป้าสร้างให้เสร็จอย่างสมบูรณ์ในช่วงปลายปี 2565 และจะมีการเปิดตัวอย่างเป็นทางการในต้นปี 2566

นอกจากนี้ Disney บริษัทยักษ์ใหญ่ในอุตสาหกรรมความบันเทิง ได้รับอนุมัติสิทธิบัตร “การจำลองโลกเสมือน ณ สถานที่ในโลกแห่งความเป็นจริง” ไปเมื่อเดือนธันวาคม 2564 ซึ่งทาง Disney ยื่นขอกับสำนักงานสิทธิบัตรและเครื่องหมายการค้า (United States Patent and Trademark Office) โดยสิทธิบัตรดังกล่าวจะทำให้ Disney สามารถสร้างจุดสนใจให้กับผู้ที่มาเที่ยวสวนสนุกโดยใช้เทคโนโลยีติดตามแขกผู้มาเยือนผ่านโทรศัพท์มือถือของพวกเขาและฉายลูกเล่นสามมิติที่ออกแบบมาเพื่อพวกเขาโดยเฉพาะลงบนสถานที่รอบๆ ตัวพวกเขาในรูปแบบของความเป็นจริงเสริม (Augmented Reality: AR) เทคโนโลยีดังกล่าวนี้ของ Disney จะเป็นการนำ Metaverse มารวมเข้ากับโลกแห่งความเป็นจริง ซึ่งโดยปกติแล้ว การเข้าถึง Metaverse จะต้องเข้าถึงผ่านแว่นตาความจริงเสมือน (Virtual Reality: VR) หรือแว่นตา AR แต่สวนสนุก Metaverse ของ Disney นั้นสามารถเข้าถึงได้โดยไม่ต้องใช้แว่นตาใดๆ

ที่มา:

//www.euronews.com/next/2021/11/10/seoul-to-become-the-first-city-to-enter-the-metaverse-what-will-it-look-like

//cointelegraph.com/news/disney-patents-technology-for-a-theme-park-metaverse

โทษและผลกระทบของ Metaverse

อย่างไรก็ตาม เหรียญมีสองด้านเสมอ และแน่นอนว่า ‘โลกเสมือน’ หรือ ‘Metaverse’ ไม่ได้มีแต่ข้อดีเพียงเท่านั้น แต่ยังสามารถให้โทษและสร้างผลกระทบหลายๆ ด้านด้วยเช่นกัน

1.     อาชญากรรมไซเบอร์

อาชญากรรมไซเบอร์เป็นปัญหาร้ายแรงที่เกิดขึ้นกับอินเทอร์เน็ตนับตั้งแต่มีมา รัฐบาลสหรัฐฯ ได้ใช้เงินหลายล้านดอลลาร์และหลายปีในการต่อสู้เพื่อต่อสู้กับมัน ซึ่งช่วยให้ระดับความปลอดภัยของระบบอินเทอร์เน็ตปัจจุบันแข็งแกร่งขึ้น อย่างไรก็ตาม เนื่องจาก metaverse เป็นแนวคิดใหม่ จึงยังไม่มีระดับความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่แข็งแกร่ง ทำให้เสี่ยงต่อกิจกรรมที่ผิดกฎหมายทุกประเภท เช่น การฉ้อโกง การฟอกเงิน การแสวงประโยชน์จากเด็ก สินค้าผิดกฎหมาย การค้าบริการ และการโจมตีทางไซเบอร์ เป็นต้น อีกเหตุผลหนึ่งที่น่าเป็นห่วงคือเนื่องจากการกระจายอำนาจของ metaverse รัฐบาลยังไม่มีอำนาจมากพอที่จะต่อสู้และต่อต้านอาชญากรรมทางอินเทอร์เน็ต

2.     ปัญหาการเสพติด

เช่นเดียวกับการเล่นเกม การเสพติดโลกเสมือนอาจกลายเป็นปัญหาได้ หลายคนเชื่อว่ามีความเสี่ยงในการเสพติดมากขึ้นกับ metaverse เนื่องจากผู้ใช้จะดำดิ่งสู่โลกเสมือนจริง นอกจากความต้องการทางกายภาพที่สำคัญ เช่น การกินและนอน ผู้ใช้แทบจะไม่จำเป็นต้องออกจาก Virutal Reality  เด็กและวัยรุ่นเป็นกลุ่มเสี่ยงที่สุด โดยผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่าการรับบุคคลที่อายุต่ำกว่า 18 ปีเข้าสู่ metaverse และปล่อยให้พวกเขาใช้เวลามากเกินไปในเรื่องนี้จะก่อให้เกิดอันตรายร้ายแรงต่อพัฒนาการของพวกเขา ยิ่งไปกว่านั้น การใช้ชีวิตในสภาวะเสมือนอาจทำให้ยากต่อการแยกความแตกต่างระหว่างโลกแห่งความจริงและโลกเสมือนจริง เป็นความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ในการสร้างสมดุลให้วัยรุ่นและผู้ใหญ่ได้มีเวลาเพียงพอใน metaverse ในขณะที่พยายามป้องกันพฤติกรรมเสพติด

3.     ปัญหาสุขภาพจิต

นอกเหนือจากการเชื่อมต่อทางสังคม ความบันเทิง และด้านธุรกิจทั้งหมดของ metaverse ยังมีความเสี่ยงร้ายแรงต่อสุขภาพจิตสำหรับผู้ใช้ metaverse แม้จะมีการใช้ความเป็นจริงเสมือนภายใต้สภาพแวดล้อมที่มีการควบคุมเพื่อช่วยผู้ป่วยที่มีอาการจิตเภท  ยังไม่สามารถวางใจได้ว่า metaverse จะควบคุมหรือสร้างขึ้นเพื่อช่วยเหลือผู้ที่มีอาการป่วยเหล่านี้ การศึกษาทางจิตวิทยายังระบุด้วยว่าการหมกมุ่นอยู่กับโลกดิจิทัลนี้และการแยกตัวเราออกจากโลกแห่งความเป็นจริงจะเพิ่มโอกาสในการหย่าร้างจากความเป็นจริงอย่างถาวร และอาจนำไปสู่อาการที่ใกล้เคียงกับโรคจิตได้อาการซึมเศร้ายังเป็นความเสี่ยงสำหรับผู้ที่เข้าร่วม metaverse และพบว่ามันดีกว่าชีวิตจริงของพวกเขา ทำให้ความมั่นใจและความนับถือตนเองลดลง และอาจทำให้ผู้ใช้เกิดภาวะซึมเศร้าขั้นรุนแรง

4.     ปัญหาสุขภาพกาย

การสวมแว่น VR ติดต่อกันเป็นเวลานานๆ โดยไม่มีการพัก อาจส่งผลกระทบต่อระบบร่างกายในหลายๆ ด้านได้ โดยสำนักข่าว BBC รายงานว่า ‘นักพัฒนาซอฟต์แวร์และจักษุแพทย์ต่างมีความกังวลต่อการใช้แว่น VR ในระยะยาว เพราะการสวมแว่น VR อย่างต่อเนื่องอาจทำให้เกิดอาการตาล้า (Eye Strain) และจากการใช้งานของผู้ใช้ส่วนใหญ่เมื่อสวมไปนานๆ พบว่า มีอาการปวดตา ระคายเคือง ตาแห้ง ปวดศีรษะ เวียนหัว คลื่นไส้ และในบางรายมีอาการคล้ายโรคบกพร่องทางการอ่าน (Dyslexia)’ นอกจากนี้ การท่องโลกเสมือนทำให้ร่างกายไม่ได้เคลื่อนไหว หรือติดอยู่กับแว่น VR และเก้าอี้เป็นเวลานาน ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้เป็นอันตรายต่อสุขภาพมากๆ นำไปสู่โรคอ้วน ออฟฟิศซินโดรม และส่งผลกระทบต่อระบบร่างกายอีกนับไม่ถ้วนเลยทีเดียว 

สำหรับคนที่มีโอกาสได้ติดตามข่าวสารของเทคโนโลยี Metaverse หลายคนอาจจะได้ยินมาบ้างว่าในช่วงต้นเดือนธันวาคมที่ผ่านมาบริษัท Meta ได้มีการออกมาเปิดตัวเกมชื่อ Horizon Worlds ซึ่งถูกระบุว่าเป็นความพยายามครั้งแรกของ Meta ในการทำบางสิ่งที่คล้ายกับ Metaverse แต่ใครจะไปคิดกันว่าหลังจากที่เกมนี้ออกมาได้ไม่ทันไร Horizon Worlds ก็ต้องพบกับปัญหาสำคัญ ที่ควรจะได้รับการแก้ไขของการพัฒนา Metaverse เสียแล้ว เมื่อผู้ทดสอบเบื้องต้นของเกมหลายคนนี้ได้ออกมาเปิดเผยว่าตัวละครในเกมของพวกเขาได้ถูก

“ล่วงละเมิดทางเพศ” โดยการลูบคลำจากคนแปลกหน้าที่ไม่เคยรู้จักมาก่อน “การล่วงละเมิดทางเพศไม่ใช่เรื่องตลก แม้บนอินเทอร์เน็ตทั่วไป แต่การอยู่ใน VR จะเพิ่มความซับซ้อนให้ปัญหานี้ขึ้นไปอีก… ไม่เพียงแต่เมื่อคืนฉันจะโดนลูบคลำเท่านั้น แต่คนอื่นๆ ที่นั่นยังสนับสนุนพฤติกรรมนี้ด้วย ทำให้ฉันรู้สึกโดดเดี่ยวมากแม้ในพลาซ่า” หนึ่งในผู้ทดสอบ Horizon Worlds ในช่วง Beta test ระบุ

ซึ่งในปัจจุบัน Horizon Worlds ได้ เพิ่มระบบ “Safe Zone” แก้ผู้เล่นซึ่งจะสร้างฟองอากาศรอบตัวผู้ใช้ทำให้คนอื่นๆ ไม่สามารถเข้าถึงพวกเขาได้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว แม้ว่าหลายฝ่ายไม่น้อยจะยังคงมองว่านี่เป็นการแก้ปัญหาที่ไม่ตรงจุดนัก เพราะยังมีผู้เล่นหญิงอีกหลายคนที่รายงานว่าตนถูกอวตารผู้เล่นชายล้อม แล้วถ่ายรูปไปแจกจ่ายโดยไม่ได้รับการยินยอม

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก