นาฏศิลป์สากล มีความ งาม และคุณค่า ต่อ นักเรียน อย่างไร

นาฏศิลป์สากล

ประวัตินาฏศิลป์สากล

นาฏศิลป์ เป็นธรรมชาติแห่งการแสดงออกไปโดยสากลออกโดยสากลของมนุษยชาติ แสดงออกทางการเคลื่อนไหวร่างกายที่มีระบบและงดงาม ซึ่งกำเนิดขึ้นมาพร้อมกับธรรมชาติของมนุษย์หรือพฤติกรรมปกติของมนุษย์ที่เรียกกันว่า ภาษากาย หรือภาษาท่าทาง ในการแสดงออกทางความรู้สึก และอารมณ์ของมนุษย์ออกมาทางร่างกาย เช่น การเดิน การนั่ง การยืน การกิน การแสดงอาการเจ็บปวด การแสดงอาการเสียใจหรือดีใจ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้เป็นภาษากายที่เป็นภาษาสากล ทางนาฏศิลป์

ต่อมาเมื่อมนุษย์มีการพัฒนาด้านดนตรีโดยนำวัสดุจากธรรมชาติมาประดิษฐ์เป็นเครื่องดนตรี เช่น การนำกิ่งไม้มาเคาะตีกันให้เกิดเสียงดัง การนำหนังสัตว์มาขึงหน้าไม้ทำเป็นกลอง และการร้องเพลง เป็นต้น ซึ่งเมื่อมนุษย์เกิดความสนุกสนานครื้นเครงไปกับดนตรีจึงทำให้มีการขยับเขยื้อนร่างกาย หรือเต้นรำตามจังหวะดนตรีไปด้วย และมีการพัฒนาท่าทางการเต้นรำให้เข้ากับจังหวะดนตรีที่ช้าเร็ว หรือซับซ้อนมากขึ้น ทำใหลีลาท่าเต้นหรือท่ารำต่าง ๆ มีความหลากหลายแตกต่างกันออกไป โยเห็นได้จากการเต้นรำประกอบพิธีเซ่นไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ และในงานรื่นเริงสังสรรค์ของชนเผ่าต่าง ๆ ซึ่ง มีพื้นฐานมาจากการเลียนแบบธรรมชาติของสิ่งมีชีวิตในโลกนั่นเอง

ดังนั้น การกำเนิดของนาฏศิลป์โลก หรือนาฏศิลป์สากล จึงเกิดขึ้นจากธรรมาชาติ และความเชื่อถือศรัทธาในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย ดังนี้

  1. 1.              การกำเนิดของนาฏศิลป์จากธรรมชาติ

เริ่มจากมนุษย์รู้จักการเต้นรำ จากการเลีรยนแบบการเคลื่อนไหวของสิ่งมีชีวิตในโลกทั้งจากสัตว์ พืช และมนุษย์ด้วยกันเอง เช่น การร้องและเต้นของคนป่าบางเผ่า เป็นต้น จากกนั้นก็ได้มีการพัฒนาท่าทางและการขยับเยื้อนร่างกายตามความรู้สึกของมนุษย์ที่แสดงถึงอารมณ์ เช่น ดีใจ เสียใจ โกรธ หิวโหย และอิริยาบถต่าง ๆ ของมนุษย์ตามความเป็นจริง ซึ่งเป็นที่มาของการแสดงละครที่เริ่มต้นจากละครพูด โดยการพูด ทำท่าทางการ แสดงอารมณ์ต่าง ๆ และการสวม เครื่องแต่งกายตามบทละคร ซึ่งเป็นเรื่องราวที่มาจากชีวิตจริงของมนุษย์ แตกต่างกันไปตามความเชื่อ ค่านิยม และอารยธรรมของแต่ละชนชาติ

  1. 2.              การกำเนิดของนาฏศิลป์จากความเชื่อถือศรัทธาในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย

มนุษย์ต้องอยู่ร่วมกันในสังคม และมีสัญชาตญาณแห่งความกลัว จึงทำให้มนุษย์พยายามหาสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจ ด้วยการนับถือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เทวดา เทพเจ้า และอำนาจลี้ลับต่าง ๆ ซึ่งพัฒนาเป็นความศรัทธาในลัทธิศาสนาต่อไป โดยมีการเซ่นไหว้บูชาให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์คุ้มครองให้ปลอดภัยหรืออ้อนวอนขอให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ช่วยดลบันดาลให้สมปรารถนา เช่น พิธีบูชายัญของชนเผ่าต่าง ๆ ในดินแดนตะวันตกเมื่อดอีตกาล ซึ่งจะมีการบรรเลงดนตรีพื้นเมืองและเต้นรำประกอบ เป็นต้น

สำหรับประวัติความเป็นมาของนาฏศิลป์สากลที่เห็นเด่นชัด คือ ศิลปะการละครของชาวตะวันตก หรือที่เรียกว่า ละครตะวันตกนั้น เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่สมัยกรีกโบราณ และสมัยโรมันตามลำดับ

ละครตะวันตกในสมัยกรีกโบราณ เริ่มต้นจากการแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับเทพเจ้าไดโอนีซุส (Dionysus) ซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งความอุดมสมบูรณ์ขึ้นในเทศกาลบูชาเทพเจ้าองค์นี้ จัดขึ้นปีละครั้งโดยมีการแสดงละครเรื่องดังกล่าวที่โรงละครกลางแจ้ง ซึ่งจะมีอัฒจันทร์โอบรอบเวทีให้คนดูละครกัน จากนั้นก็มีการพัฒนาเป็นละครเกี่ยวกับเรื่องของมนุษย์ ซึ่งยีงมีแก่นเรื่องเกี่ยวกับความเชื่อทางศาสนา และศิลปวัฒนธรรม ประเภทของละครในสมัยกรีกจะมีทั้งละครโศกนาฏกรรม และสุขนาฏกรรม ซึ่งจะใช้นักแสดงผู้ชายทั้งหมดแสดงเป็นตัวละครหลาย ๆ ตัว ด้วยการเปลี่ยนหน้ากากไปเรื่อย ๆ และมีผู้แสดงเพียง 3 คนเท่านั้น

ละครตะวันตกในสมัยโรมัน เริ่มจากนำรูปแบบของละครกรีกโบราณ ในเรื่องพิธีกรรมทางศาสนาที่เกี่ยวกับการบูชาเทพเจ้า ต่อมาก็ได้มีการปรับปรุง โดยเพิ่มการเต้นรำและใช้ท่าทางแสดงอารมณ์มากขึ้น ตัวละครมีลักษณะของสามัญชน ที่เน้นการแสดงแบบตลกโปกฮาตามแนวละครประเภทสุขนาฏกรรมมากขึ้น รวมทั้งมีการยกเลิกการใส่หน้ากากแบบละครกรีกในตัวละครตลกจึงทำให้นักแสดงสามารถแสดงอารมณ์ภายในและความสามารถในการแสดงได้มากขึ้น ซึ่งนับเป็นความก้าวหน้าทางละครตะวันตกที่พัฒนาจนถึงปัจจุบัน อย่างไรก็ตามละครตะวันตกในสมัยโรมันได้ลดบทบาทลงเรื่อย ๆ เนื่องจากละครส่วนใหญ่เป็นประเภทสุขนาฏกรรมที่ไม่ค่อยได้แก่นสาร และไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อรับใช้เทพเจ้า จึงทำให้ศาสนจักรแห่งกรุงโรมได้ออกคำสั่งห้ามให้คนไปดูละคร จนในที่สุดโรงละครทุกโรงในกรุงโรมต้องปิดลง ซึ่งนับเป็นการปิดฉากความเจริญรุ่งเรืองทางละครตะวันตกลงในยุคแรกนี้

ต่อมาละครตะวันตกก็ได้มีการพื้นตัวขึ้นในยุคกลางของประเทศในทวีปยุโรป เช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส อิตาลี เป็นต้น โดยในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ได้มีการพัฒนารูปแบบของการแสดงละครเป็นการแสดงรีวิว (Music Hall) ซึ่งเป็นการแสดงที่ไม่เป็นเรื่อง โดยมีทั้งการพูดคนเดียว การร้องเพลง การเต้นรำ และการแสดงมายากล รวมทั้งยังมีการแสดงละคนแพนโทไมน์ (Pantomine) ในอังกฤษที่เป็นการแสดงละครที่มีดนตรีและการเต้นรำประกอบ จนมาถึงในศตวรรษที่ 20 ตอนต้น รูปแบบการแสดงละครเริ่มหันเข้าสู่การสะท้อนสภาพความเป็นจริงในสังคมโยแสดงละครตามแบบชีวิตจริงมากยิ่งขึ้น จากนั้นจึงพัฒนามาเป็นละครในยุคปัจจุบัน

ดังนั้นนาฏศิลป์สากลจึงมีประวัติความเป็นมาที่ยาวนานเคียงคู่มากับวิถีการดำเนินชีวิตของมนุษย์ในสังคมโลก โดยมีการพัฒนาและเผยแพร่ อารยธรรมทางนาฏศิลป์สากลไปยังประเทศต่าสง ๆ ทั่วโลกจนถึงปัจจุบัน

ลีลานาฏศิลป์สากล

ท่ารำนาฏศิลป์สากล

นาฏศิลป์ เป็นศิลปะด้านการฟ้อนรำ และละครที่ทุกชาติทุกภาษาต่างปฎิบัติกันจนเป็นศิลปวัฒนธรรมประจำชาติ ซึ่งแสดงถึงความเป็นอารยประเทศที่มีความเจริญรุ่งเรืองทางด้านนาฏศิลป์

สำหรับนาฏศิลป์สากลหรือนาฏศิลป์ตะวันตกที่มีการนำไปเผยแพร่และเป็นที่รู้จักไปทั่วโลกนั้นมีทั้งการฟ้อนรำและละคร ซึ่งจะมีลีลาทางนาฏศิลป์ที่เป็นลักษณะเฉพาะที่ทุกชาติทุกภาษาเข้าใจ และยอมรับได้ โดยมีกานนำนาฏศิลป์ด้านนั้น ๆ มาเผยแพร่ในประเทศของตน จนกลายเป็นนาฏศิลป์สากลประจำชาติต่าง ๆ ทั่วโลกดังจะเห็นได้จากลีลาท่ารำและการแสดงนาฏศิลป์สากลที่เป็นที่รู้จักกันทั่วไปในโลก ได้แก่ บัลเลต์ โอเปรา และละครเพลงบรอดเวย์ ดังรายละเอียดต่อไปนี้

  1. 1.  บัลเลย์หรือระบำปลายเท้า (Ballet) เป็นศิลปะที่ผสมผสานท่าเต้น และดนตรีที่แสดงอารมณ์และเรื่องราวตามเหตุการณ์ในบทละคร โดยไม่มีบทพูดหรือเจรจา หากแต่ใช้ท่าเต้นสีหน้าและดนตรีสื่อให้ผู้ชมเกิดจินตนาการ และสะท้อนภาพออกมาเป็นเรื่องราวได้ ดังนั้น ลีลา ท่าเต้นบัลเลย์ จึงนับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งในการแสดงบัลเลต์ โดยได้มีการบัญญัติชื่อท่าเต้นบัลเลต์ที่เป็นสากลและใช้เป็นมาตรฐานทั่วโลกไว้เป็นภาษาฝรั่งเศส ซึ่งเป็นประเทศที่เป็นต้นกำเนิดของบัลเลต์

ลีลาท่าเต้นบัลเลต์ จะเน้นที่การเคลื่อนไหวร่างกายในท่าต่าง ๆ ตามจังหวะดนตรีให้สอดคล้องกลมกลืนกัน โดยแทรกอารมณ์ความรู้สึกออกทางท่าเต้นและสีหน้าของนักเต้นที่สามารถสื่อไปยังผู้ชมให้เข้าใจเรื่องราวได้ โดยการฟังดนตรีบรรเลง และดูท่าทางการเต้นประกอบกันไป ฉะนั้น การออกลีลาท่าเต้นบัลเลต์ จึงต้องอาศัยการทรงตัวที่ดีของส่วนต่าง ๆ ในร่างกาย เริ่มตั้งแต่ ศีรษะ หัวไหล่ มือ ซี่โครง สะโพก ขา เท้า โยการวางท่าทางให้อยู่ในเส้นแนวที่ดีและยืนในลักษณะที่โน้มตัวไปข้างหน้าเล็กน้อยจากข้อเท้าที่อยู่เหนือปุ่มโคนหัวแม่เท้า โดยผู้เต้นต้องมีการฝึกฝนการแสดงท่าทางต่าง ๆ อกมาตามท่าเต้นที่สื่อความรู้สึกและอารมณ์ต่าง ๆ ให้เป็นไปตามเรื่องราวที่กำหนด เช่น ดีใจ เสียใจ โศกเศร้า โกรธ เป็นต้น จึงมีความจำเป็นที่จะต้องเริ่มต้นการเรียนและฝึกซ้อมตั้งแต่ยังเด็ก เพราะกระดูกและกล้ามเนื้อของเด็กอ่อนทำให้สามารถทรงตัว และเคลื่อนไหวท่าต่าง ๆ ของบัลเลต์ได้อย่างคล่องตัว อ่อนช้อยและงดงาม

  1. 2.  โอเปรา (Opera) เป็นการแสดงละครที่ใช้เพลงและดนตรีเป็นหลักในการดำเนินเรื่องราว ซึ่งเป็นการรวมศาสตร์ทางด้านศิลปะการเขียนบทละครและบทร้อง การแสดง การบรรเลงดนตรี การขับร้อง การเต้นรำ การตกแต่งและออกแบบเครื่องแต่งกาย อุปกรณ์การแสดง การสร้างฉาก และเวทีเข้าไว้ด้วยกันอย่างลงตัว และมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่สามารถสื่อให้ ผู้ชมเข้าใจเรื่องราว และเกิดสุนทรียะในการชมการแสดงได้อย่างซาบซึ้ง โดยเฉพาะตัวละคร หรือนักแสดงต้องเป็นผู้ที่มีความสามารถทั้งในด้านการขับร้อง การเต้นรำ และการแสดง เนื่องจากโอเปราทุกเรื่องจะต้องใช้ความสามารถ และความชำนาญทั้ง 3 ด้าน ในการถ่ายทอดอารมณ์ไปสู่ผู้ชม

ในด้านลีลาท่ารำนาฏศิลป์ของโอเปรานั้น ได้แก่ การแสองบทบาทสมมุติและการเต้นรำประกอบการแสดง โดยการแสดงท่าทางการเคลื่อนไหว อากัปกิริยาที่แสดงพฤติกรรมและอารมณ์ความรู้สึกต่าง ๆ ออกมาตามเรื่องราว ตลอดจนมีการเต้นรำประกอบการแสดงในบางฉากของละครซึ่งในบางเรื่องอาจจะใช้การเต้นบัลเลต์ ระบำพื้นเมือง หรือการเต้นรำแบบต่าง ๆ ตามความเหมาะสม และสอดคล้องกับเรื่องราว เช่น วอลต์ เป็นต้น

  1. 3.    ละครเพลงบรอดเวย์ (Broadway Musicals) เป็นการแสดงละครเพลงเวทีที่กำเนิดขึ้นในโรงละครและโรงภาพยนตร์ บนถนนบรอดเวย์ในนครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยได้รับแบบอย่างมาจากโอเปราชวนหัวหรือ Operetta แบบยุโรป แล้วพัฒนาองค์ประกอบต่าง ๆ ของละครให้เป็นลักษณะของอเมริกา ซึ่งจะกล่าวถึงเรื่องพื้น ๆ แบบชาวบ้านหรือชาวเมือง

การแสดงละครเพลงบอร์ดเวย์ ประกอบด้วยดารแสดงบทบาทของตัวละครตามเรื่องราว การขับร้อง และการเต้นรำ บนเวทีการแสดงที่มีฉากและเครื่องแต่งกาย ตลอดจนองค์ประกอบทางนาฏศิลป์ที่สมบูรณ์และมีความสวยงามตระการตา โดยเฉพาะในด้านการเต้นรำที่มีการพัฒนาให้เหมาะสมกับเนื้อหาของเรื่อง และช่วยสร้างความเพลิดเพลินสนุกสนานเคล้าคลอไปกับบทเพลงดนตรี และเรื่องราวตั้งแต่ต้นจนจบ ทำให้ผู้ชมเกิดความซาบซึ้งในอรรถรสแห่งการแสดงดนตรีที่มีสุนทรียภาพและคุณค่าแห่งนาฏศิลป์สากล

ดังนั้น ลีลานาฏศิลป์สากล จึงเป็นศิลปะแห่งการแสดงท่าทาง อารมณ์ ความรู้สึก นึกคิดและการเต้นรำออกมาเป็นเรื่องราวประกอบดนตรี และบทเพลงที่สามารถสื่ออารมณ์ ความคิด และเรื่องราวให้ผู้ชมเข้าใจได้ทั่วโลก ด้วยภาษาและลีลานาฏศิลป์ที่เป็นสากลและเป็นที่รู้จักโดยทั่วไป

เครื่องดนตรีประกอบการแสดงนาฏศิลป์สากล

ดนตรีเป็นศิลปะที่จำเป็นในงานนาฏศิลป์ทุกประเภท จนอาจกล่าวได้ว่า “ ถ้าไม่มีดนตรีเกิดขึ้นในโลก ก็ไม่อาจมีนาฏศิลป์เกิดขึ้นได้เช่นกัน “ ทั้งนี้เพราะการกำเนิดของดนตรีนำมาสู่การแสดงนาฏศิลป์ที่สมบูรณ์แบบในปัจจุบัน โดยดนตรีเป็นเครื่องช่วยในการแสดงนาฏศิลป์ได้ 3 ประการ คือ คุณลักษณะของเสียง วิถีบรรเลง และสำเนียงดนตรี

สำหรับคุณลักษณะของเสียงนั้นมีความสำคัญในการแสดงนาฏศิลป์ หรือการเคลื่อนไหวร่างการตามจังหวะ และทำนองเพลง เช่น เพลงสำหรับการเต้นบัลเลต์ จะใช้เครื่องดนตรีประเภทเครื่องสีในการดำเนินทำนองเป็นหลัก ส่วนในด้านวิถีลรรเงลดนตรีประกอบการแสดงนาฏศิลป์จะมีทั้งเพลงชั้นสูงที่ประณีตและเพลงพี้น ที่มีท่วงทำนองง่าย ๆ ไม่ซับซ้อน เช่น การแสดงโอเปราจะใช้ดนตรีคลาสสิก เป็นต้น และในด้านสำเนียงดนตรีจะมีลักษณะของความเป็นท้องถิ่น หรือลักษระเฉพาะของเสียงเครื่องดนตรีแต่ละประเภทและแต่ละท้องถิ่นที่มีความแตกต่างกัน เช่น เสียงเครื่องดนตรีสากลกับเสียงเครื่องดนตรีไทย หรือเสียงขลุ่ยของประเทศต่าง ๆ ที่มีสำเนียงดนตรีที่แตกต่างกัน

ดังนั้น เครื่องดนตรีที่บรรเลงในการแสดงนาฏศิลป์ จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการแสดงนาฏศิลป์สากลหรือนาฏศิลป์ตะวันตก ดังพิจารณาได้จากเครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงในการแสดงบัลเลต์ โอเปรา และละครบรอดเวย์ ดังนี้

  1. 1.              เครื่องดนตรีที่ใช้ในการแสดงบัลเลต์ คือ ดนตรีที่บรรเลงโดยวงออร์เคสตรา จึงประกอบด้วยเครื่องดนตรีในวงออร์เคสตรา ได้แก่ ไวโอลิน  วิโอลา เชลโล เบส ฮาร์ป ปิกโกโล ฟลุต โอโบ เฟรนช์ฮอร์น คลาริเน็ต บาสซูน ทรัมเป็ต ทรอมโบน ทูบา ทิมปานี กลองใหญ่ ฉาบ ไทรแองเกิล และไซโลโฟน ซึ่งเครื่องดนตรีเหล่านี้จะบรรเลงดนตรีเป็นเพลงบรรเลงที่ไพเราะ ลุ่มลึก และมีลักษณะเป็นดนตรีบรรยายเรื่องราวเป็นตอน ๆ ตามเนื้อเรื่อง โดยใช้ลีลาท่าเต้นบัลเลต์เป็นสื่อในการเสนอเรื่องราว
  2. 2.              เครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงในการแสดงโอเปรา คือ ดนตรีคลาสสิกของวงออร์เคสตราประกอบด้วย ไวโอลิน วิโอลา เชลโล เบส ฮาร์ป ปิกโกโล ฟลุต โอโบ เฟรนช์ฮอร์น คลาลิเน็ต บาสซูน ทรัมเป็ต ทรอมโบน ทูบา ทิมปานี ฉาบ กลองใหญ่ ไทรแองเกิล และไซโลโฟน เช่นเดียวกับเครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงในการแสดงบัลเลต์ แต่ต่างกันที่โอเปราจะมีทั้งผู้ขับร้องและผู้บรรเลงดนตรีในวงออร์เคสตรา ที่ร่วมกันนำพาบทเพลง และเสียงดนตรี ถ่ายทอดอารมณ์ และเล่าเรื่องราวตั้งแต่ต้นจนจบ ซึ่งช่วยสร้างสุนทรียภาพทางดนตรีและนาฏศิลป์ที่ไพรเราะสมบูรณ์แบบจนทำให้โอเปราได้ชื่อว่า เป็นสุดยอดแห่งศิลปะการแสดงในโลกของดนตรีคลาสสิก
  3. 3.              เครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงในการแสดงละครเพลงบรอดเวย์ คือ ดนตรีป๊อป ในระยะแรกและต่อมาจึงนำดนตรีร็อกมาใช้ด้วย โดยทั่วไปใช้เครื่องดนตรีสากลตามแบบวงดนตรีสากลทั่วไป ได้แก่ กีตาร์ เบส คีย์บอร์ด และกลองชุด แตกต่างกันที่จังหวะทำนองเพลงป๊อปที่ฟังสบาย ๆ และเพลงร็อกที่มีความหนักหน่วงเร่าร้อน ละครเพลงบอร์ดเวย์นี้จะมีลักษณะเป็นละครเพลงเวทีที่มีเค้าโครงเรื่องบทการแสดงและบทร้อง ตลอดจนท่าเต้นรำในลักษณะต่าง ๆที่กำหนดไว้อย่างแน่นอนและมีความสอดคล้องกันทั้งเรื่อง และมีเอกลักษณ์ของวัฒนธรรมทางดนตรีของประเทศสหรัฐอเมริกาในฐานะที่เป็นประเทศต้นกำเนิดของละครเพลงบอรดเวย์

                    นอกจากเครื่องดนตรีประกอบการแสดงนาฏศิลป์สากลที่กล่าวมาทั้งหมดนี้แล้ว ยังมีเครื่องดนตรีที่ใช้ในการบรรเลงเพลงชุดเต้นรำ ได้แก่ ฮาร์ปซิคอร์ด ไวโอลิน และเครื่องดนตรีในวงออร์เคสตรา ด้วยจะเห็นได้ว่าดนตรีหรือการบรรเลงเครื่องดนตรีประกอบการแสดง จะช่วยเพิ่มอรรถรสในการชมการแสดงนาฏศิลป์ที่ได้จากการฟังเสียงดนตรีบรรเลงประกอบการแสดงที่สามารถสื่ออารมณ์ และความรู้สึกให้ซาบซึ้งไปกับเรื่องราว จนเกิดเป็นสุนทรียะแห่งการแสดงนาฏศิลป์สากลที่มีคุณค่า และน่าจดจำ

เพลงประกอบการแสดงนาฏศิลป์สากล

                การแสดงนาฏศิลป์ของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ส่วนใหญ่เป็นการผสมผสานศิลปะทางด้านการฟ้อนรำ ดนตรี และขับร้องไว้ด้วยกัน โดยเฉพาะในการแสดงนาฏศิลป์สากล หรือนาฏศิลป์ตะวันตกที่เห็นได้ชัดเจน และเป็นที่รู้จักกันไปทั่วโลก คือ การแสดงบัลเลต์ โอเปรา และละครเพลงบอรดเวย์ ที่นอกจากจะเน้นในด้านลีลาการแสดง และท่าทางการเต้นรำประกอบดนตรีแล้ว ยังให้ความสำคัญกับบทเพลงที่ใช้ในการแสดง ดังนี้

  1. 1.              เพลงประกอบการแสดงบัลเลต์ เป็นเพลงบรรเลงของวงออร์เคสตรา ที่มีความไพเราะ และลุ่มลึกในเชิงจินตนาการที่ผสานกับท่าเต้นบัลเลต์เป็นเรื่องราวที่สื่ออารมณ์ และความรู้สึกได้อย่างเกิดสุนทรียรสและคุณค่า โดยเฉพาะบทเพลงบรรเลง โดยนักประพันธ์เพลงชื่อดังของโลก คือ โชคอฟสกี  ในบัลเลต์ที่มีชื่อเสียงก้องโลก เรื่อง สวอนเลค (Swanlake) และเรื่อง The sleeping Beauty นอกจากนี้ยังมีบทเพลงบรรเลงในบัลเลต์ เรื่อง Romeo and Juliette และเรื่อง Cinderella Ballet suite ที่ประพันธ์โดย โปรโตเฟียฟ เรื่อง Filling Station โดย วี. ทอมสัน เรื่อง Sylvia โดยเดลิเบส เรื่อง Card Game  โดยสตราวินสกี เรื่อง Borelo โดยราเวล และเรื่อง Appalachian spring โดยคอปแลนด์ เป็นต้น
  2. 2.              เพลงประกอบการแสดงโอเปรา เป็นเพลงขับร้องและเพลงบรรเลงในวงออร์เคสตราโดยมีโอเวอรเจอร์ (Overture) เป็นเพลงบรรเลงด้วยเครื่องดนตรีล้วน ๆ ใช้เป็นเพลงนำ หรือ เพลงโหมโรงก่อนการแสดงโอเปรา ซึ่งจะเป็นเพลงที่แสดงถึงบรรยากาศของโอเปราที่ใช้ระยะเวลาในการบรรเลงประมาณ 5 – 10 นาที โดยมีโอเวอรเจอร์ของโอเปราบางเรื่องที่มีความไพเราะเป็นที่นิยมชื่นชอบ และมักนำมาใช้บรรเลงเป็นเพลงแรกของการแสดงคอนเสิร์ตทั่วไป เช่น เพลง Overture of the marriage of figaro ของโมซาร์ท เพลง Overture of Fidelio ของเบโธเฟน เพลง Overture of Carmen ของบิเซต์ และเพลง Overture of the Barber of Saville ของรอสซีนี เป็นต้น นอกจากนี้ในการดำเนินเรื่องก็ยังมีวงออร์เคสตราบรรเลงเพลง และมีไลม์โมทีฟบรรเลงทำนองดนตรีต่าง ๆ แทนตัวละครแต่ละตัว หรือแทนเหตุการณ์และสภาพการณ์ต่าง ๆ ในเรื่อง

                    เพลงขับร้องในการแสดงโอเปรา ได้แก่ รีซิเททีฟ (Recitative) เป็นบทสนทนาที่ใช้การร้องแทนโดยมีดนตรีประกอบ ส่วนอาเรีย (Aria) จะเป็นบทเพลงร้องเดี่ยวในโอเปราที่มีลีลาดนตรีที่งดงาม และมีบทร้องประเภทร้อง 2 คน 3 คน 4 คน หรือมากกว่านี้ โดยในโอเปราที่มีลีลาดนตรีที่งดงามและมีบทร้องประเภทร้อง 2 คน 3 คน 4 คน หรือกมากกว่านี้ โดยเรียกบทร้องที่มีคนร้อง 2 คนว่า Duo 3 คน เรียกว่า Trio 4 คนเรียกว่า Quartet 5 คน เรียกกว่า Quintet และ 6 คน เรียกว่า Sextet เช่น ในเพลง Lucia จากเรื่อง  Rigolett เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีบทร้องประสานเสียง (Chorus) ที่มีชื่อเสียง เช่น เพลง The Triumphal Chorus จาก Aida และเพลง The Pilgrim’s Chorus จาก Tannhauser เป็นต้น

  1. 3.              เพลงประกอบการแสดงละครเพลงบอรดเวย์ เน้นที่เพลงขับร้องในแนวป๊อปและแนวร็อก และการบรรเลงดนตรีประกอบการเต้นรำ โดยเฉพาะเพลงป๊อปในละครเพลงของจอร์ช เอมโคเฮน ที่มีชื่อเสียง ได้แก่ เรื่อง Give my regards to Broadway เรื่อง George M ! และละครเพลงของเจอโรม เคิร์น ได้แก่ เรื่องเรือเร่ (Showboat) และเรื่อง Roberta ซึ่งมีเพลงชื่อว่า Smoke gets in your eyes นอกจากนี้ยังมีเพลงของโรเจอร์สและแฮมเมอร์สไตน์ที่กลายเป็นผลงานอมตะและนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์ที่มีชื่อเสียงมาจนถึงปัจจุบันจากละครเพลงบอรดเวย์ เรื่อง The Sound of music เรื่อง South Pacific และเรื่อง TheKing and I เป็นต้น

                    สำหรับเพลงร็อกที่มีชื่อเสียงของละครบอรดเวย์ ได้แก่ Hair ของแรกนี่ Bye, Bye Birdie ของอดัมส์และสเตราส์ Godspell ของเทเบลักและฉวาทซ์ และ Jesus Christ Superstar ของ โอ ฮอร์แกน ฯลฯ

                    นอกจากเพลงประกอบการแสดงนาฏศิลป์สากลดังกล่าวแล้ว ยังมีบทเพลงชุดที่ใช้บรรเลงประกอบการเต้นรำจังหวะต่าง ๆ ที่เป็นสากลและใช้กันโดยทั่วไป ได้แก่ Boroque Suite หรือ Dance Suite , English Suites , Frence Suites และ Partita เป็นต้น

                    ดังนั้น เพลงประกอบการแสดงนาฏศิลป์สากลทั้งที่เป็นเพลงบรรเลงและเพลงขับร้อง จึงมีความสำคัญ และนับเป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งของการแสดงที่จะช่วยเพิ่มอรรถรส และความสมบูรณ์ของงานนาฏศิลป์ที่มีคุณค่าได้ยิ่งขึ้น

การแต่งกายประกอบการแสดงนาฏศิลป์สากล

                    การแสดงนาฏศิลป์สากลหรือนาฏศิลป์ตะวันตกให้เกิดความสวยงามน่าชื่นชอบได้นั้นต้องใช้ทั้งองค์ประกอบภายใน และองค์ประกอบภายนอกของศิลปะการแสดงที่ประกอบกันเป็นการแสดงนาฏศิลป์ที่มีคุณค่าของโลก

                    องค์ประกอบภายใน ของการแสดงนาฏศิลป์นั้นคือ ความสามารถในการแสดงท่าทางการเคลื่อนไหว อากัปกิริยา อารมณ์ ควารรู้สึกของนักแสดงออกมาตามบทบาทของตัวละครในเรื่องที่ต้องการนำเสนอ และสื่อเรื่องราวไปยังผู้ชมการแสดง

                    องค์ประกอบภายนอก ของการแสดงนาฏศิลป์ ได้แก่ ฉาก เวที เทคนิคด้านแสง สี เสียง ดนตรี และอุปกรณ์การแสดงและเครื่องแต่งกายของนักแสดงที่ใช้ประกอบการแสดง และช่วยเสริมสร้างให้การแสดงเกิดความสวยงามตระการตา มีความน่าสนใจและสมบูรณ์ยิ่งขึ้น โดยเฉพาะเครื่องแต่งกายนักแสดงนับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง

                    เครื่องแต่งกายนาฏศิลป์แบ่งได้เป็น 4 ประเภท ได้แก่ เครื่องแต่งกายปกติ หมายถึง เครื่องแต่งกายที่คนทั่วไปใช้เพื่อการดำเนินชีวิต แล้วนำมาใช้เป็นเครื่องแต่งกายภายในการแสดงนาฏศิลป์ เครื่องแต่งกายประยุกต์ หมายถึง เครื่องแต่งกายนาฏศิลป์ที่คล้ายกับเครื่องแต่งกายปกติ แต่มีการดัดแปลงให้เหมาะสมกับการแสดงนาฏศิลป์ประเภทนั้น ๆ หรือตามเรื่องราวในบทละคร ส่วนเครื่องแต่งกายประเพณี หมายถึง เครื่องแต่งกายนาฏศิลป์ที่มีการพัฒนาตามที่กำหนดรูปแบบไว้ตายตัวทั้งรูปทรง สีสัน และเครื่องประดับต่าง ๆ ตามขนบธรรมเนียมประเพณี ซึ่งมักนำมาใช้เป็นเครื่องแต่งกายของตัวละคร และนักเต้นระบำในการแสดงที่เป็นเอกลักษณ์ประจำชาติต่าง ๆ และสำหรับ เครื่องแต่งกายสร้างสรรค์ หมายถึง เครื่องแต่งกายที่ประดิษฐ์ขึ้นเฉพาะกรณี โดยมีผู้คิดสร้างสรรค์ประกอบกับนาฏศิลป์ชุดใหม่ ๆ ที่จัดขึ้น เพื่อให้เกิดความแปลกตาน่าสนใจ และสนองความคิด และจินตนาการของผู้สร้างสรรค์เครื่องแต่งกาย

หลักการของเครื่องแต่งกายนาฏศิลป์ดังกล่าวใช้กันอยู่ทั่วโลกและเป็นสากล โดยเฉพาะในการแสดงนาฏศิลป์สากลหรือนาฏศิลป์ตะวันตกที่รู้จักกันดี คือ บัลเลต์ โอเปรา และละครเพลงบรอดเวย์ ก็ล้วนแต่ใช้หลักการเช่นเดียวกัน โดยพิจารณาได้จากเครื่องแต่งกายที่ใช้ในการแสดงเหล่านี้ดังรายละเอียดต่อไปนี้

  1. 1.              เครื่องแต่งกายบัลเลต์ ประกอบด้วยเครื่องแต่งกายสำหรับผู้หญิงและผู้ชายดังนี้ คือ  เครื่องแต่งกายบัลเลต์สำหรับผู้หญิงจะมีถุงน่องยาวสีชมพู เพื่อใช้ปิดร่างกายจากเท่าถึงเอว ชุดเสื้อกางเกงชิ้นเดียวสีดำรัดรูป (leotard) ที่สวมทับบนถุงน่องยาวจากสะโพกถึงไหล่ ชุดเสื้อผ้าชุดกระโปรงสั้นหรือยาวของตัวละครตามเรื่องราวในบทละคร และรองเท้าบัลเลต์ หรือรองเท้าปลายเท้า (toe – dancing) ที่จะช่วยให้นักเต้นบัลเลต์มีฐานที่ดีในการขยับปลายเท้า และเคลื่อนไหวร่างกาย ขนาดของรองเท้าควรจะมีที่ว่างเพื่อให้ปลายเท้าวางแบนราบได้ และควรจะพอดีกับเท้าเพื่อความสบายเท้า
  2. 2.              เครื่องแต่งกายโอเปรา จะใช้เครื่องแต่งกายที่พิถีพิถันและสวยงามตระการตาตามประเภทและเรื่องราวของโอเปรา เช่น โอเปราเรื่องขลุ่ยวิเศษ (The Magic Flute) ของโมซาร์ท เป็นเครื่องเกี่ยวกับอำนาจของขลุ่ยวิเศษ และการพิสูจน์ความรักระหว่างเจ้าชายแห่งอียิปต์ และธิดาราชินีแห่งราตรีกาล ซึ่งเป็นโอเปราประเภทโคมิก โอเปรา (Comic Opera) ที่มีเนื้อเรื่องสนุกสนานตลกขบขันสะท้อนสังคมหรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ในสมัยนั้น และมักมีบทสนทนาที่ใช้การพูดแทรกระหว่างบทร้องเพลง ซึ่งในเรื่องนี้จะมีบทร้องเป็นจำนวนมาก และเป็นละครที่ใช้เครื่องแต่งกายของเจ้าชายและเจ้าหญิงแห่งอียิปต์ ชุดแต่งกายของข้าราชบริพาร และทหารรับใช้ ตลอดจนชุดของนักบวช ประมุขสงฆ์ และชาวบ้าน หรือชาวเมืองในสมัยฟาโรห์รามเสสที่ 1 (Ramses I) แห่งอียิปต์โบราณ เป็นต้น ซึ่งโอเปราเรื่องนี้ประสบความสำเร็จมาก และเป็นโอเปราเรื่องสุดท้ายที่โมซาร์ทรประพันธ์ขึ้น

                    สำหรับเครื่องแต่งกายบัลเลต์ของผู้ชาย จะสวมถุงน่องยาวแบบหนาสีดำ และเสื้อยืดที่ใส่ชายไว้ในถุงน่องยาว สวมเข็มขัดเต้นรำ (dance belt) ที่มีลักษณะคล้ายสายรัดถุงเท้ายาว (Supporter) ที่มีสีเหมือนถุงน่องยาวทำด้วยผ้าที่หน้าแข็งแรงเป็นยางยืด มีชุดเสื้อผ้าของตัวละครชายตามเรื่องราวในบทละคร และใส่รองเท้าบัลเลต์ เช่นเดียวกับนักเต้นบัลเลต์ผู้หญิง

  1. 3.              เครื่องแต่งกายละครเพลงบรอดเวย์ จะเป็นเครื่องแต่งกายตามเรื่องราว และบุคลิกของตัวละครในเรื่องที่มีความงดงามตระการตา และสอดคล้องกับเนื้อเรื่อง ดนตรี เพลง และการเต้นรำ โดยเป็นลักษณะของละครเพลงชวนหัส ที่ใช้นักแสดงที่มีรูปร่างหน้าตาสวยงาม เนื้อเรื่องเข้าใจง่ายเป็นเรื่องใกล้ตัว และสามารถทำให้ผู้ชามีความสนุกสนานเพลิดเพลินบันเทิงใจได้ เช่น ละครเพลงบรอดเวย์เรื่อง The King and I ที่นำมาสร้างเป็นภาพยนตร์ฮอลลิวูดด้วย โดยละครเพลงเรื่องนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับความรักของนางแอนนา และคิงมงกุฎของประเทศไทย จึงทำให้เครื่องแต่งกายมีความหรูหรา สวยงามตระการตา เช่น ชุดของกษัตริย์ไทยสมัยรัชกาลที่ 4 และข้าราชบริพารในสมัยนั้น ตลอดจนชุดเสื้อผ้าสตรีของผู้ดีอังกฤษคือ นางแอนนา เป็นต้น

                    การแสดงนาฏศิลป์จะประสบผลสำเร็จได้จะต้องมีทั้งองค์ประกอบภายใน และองค์ประกอบภายนอกที่สมบูรณ์สอดคล้องกลมกลืนกันเป็นเอกภาพของการแสดง ดังนั้น เครื่องแต่งกายนาฏศิลป์จึงเป็นองค์ประกอบภายนอกของการแสดงที่มีความสำคัญต่อความสำเร็จในการแสดงนาฏศิลป์สากลด้วยเช่นกัน

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก