ตัวอย่าง โครงการความ ปลอดภัย

หนึ่งโครงการที่ดี เพื่อเยาวชนเรา

โครงการ โรงเรียนปลอดภัย 
เป็นกระบวนการพัฒนาความปลอดภัยในโรงเรียน 
เพื่อป้องกันการบาดเจ็บ (Injury prevention) จากภัยต่าง ๆ ทั้งอุบัติเหตุ 
อุบัติภัยและภัยทางสังคม และสร้างเสริมความปลอดภัย (Safety promotion) 
ในระดับบุคคลและกลุ่ม ที่อยู่ในโรงเรียนและชุมชน 

กระบวนการพัฒนานี้ ประกอบด้วย 
1.โรงเรียนสนใจเก็บข้อมูลการบาดเจ็บด้วยตนเอง ( School-based need assessment ) 
2.โรงเรียนจัดลำดับความสำคัญของปัญหาและตั้งวัตถุประสงค์ของการดำเนินการแก้ไขปัญหาการบาดเจ็บ (School-based priority and objective setting) 
3.โรงเรียนร่วมวิเคราะห์และวางแผนแก้ไขปัญหาการบาดเจ็บ (School-based planning) บนข้อจำกัดต่าง ๆ ของโรงเรียน 
4.โรงเรียนดำเนินการแก้ไขปัญหาอย่างมีส่วนร่วม ( School-based intervention ) และพัฒนาทักษะในการประสานงานกับหน่วยงานนอกโรงเรียนในการแก้ไขปัญหา 
5.โรงเรียนขยายองค์ความรู้สู่ครอบครัวและชุมชน 

ดังนั้น ในปี 2545-2546 ได้ดำเนินโครงการโรงเรียนสร้างเสริมความปลอดภัย 
ภายใต้การสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) 
และร่วมพัฒนาความปลอดภัยกับโรงเรียนนำร่อง 5 แห่ง ในกรุงเทพมหานคร 
ผลการดำเนินงานโรงเรียนได้สร้างผลเป็นรูปธรรมในด้านการรวมกลุ่มของบุคคล
ที่มีความตระหนักและสนใจเรื่องปลอดภัยในโรงเรียน
ด้านการมีส่วนร่วมทั้งร่วมค้นหาปัญหา 
ร่วมคิด ร่วมวางแผน และร่วมกันดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ 
เพื่อแก้ไขปัญหาและป้องกันอันตราย
ที่เกิดขึ้นกับนักเรียนในโรงเรียน

นอกจากนี้ ได้สร้างกลไกการกระตุ้นให้เกิดกระบวนการเรียนรู้
และดำเนินการแก้ไขปัญหาระดับหนึ่ง จนได้รับความสนใจของโรงเรียนอื่นต่อ
โครงการโรงเรียนสร้างเสริมความปลอดภัยมากขึ้น 
และได้ผลักดันโครงการโรงเรียนสร้างเสริมความปลอดภัย เป็นส่วนหนึ่ง
ของการสร้างชุมชนปลอดภัย ภายใต้โครงการเด็กไทยปลอดภัย 
ที่ได้ดำเนินการตั้งแต่ ปี 2547 เป็นต้นมา

ปัจจุบันโครงการโรงเรียนปลอดภัย มีโรงเรียนเครือข่าย 29 แห่ง 
ทั้งสังกัดของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
และสำนักบริหารคณะกรรมการการศึกษาเอกชน กระทรวงศึกษาธิการ
สำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร 
ที่จะเป็นแหล่งเรียนรู้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ ในด้าน
ระบบความปลอดภัยในโรงเรียน ทั้งในระดับประเทศและนานาชาติ

ที่มาข้อมูล 

ศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก
ภาควิชากุมารเวชศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
Child Safety Promotion and Injury Prevention Research Center (CSIP)

CSIP : ศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยในเด็ก รพ.รามาธิบดี

 คลิ๊กเข้าไปดูข่าวสาร ข้อมูลได้ ที่ 

ศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก. ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. Child Safety Promotion and Injury Prevention Research Center (CSIP). CSIP NEW UPDATE!! รวมข่าวความเคลื่อนไหว งานวิจัย, การลงพื้นที่เก็บข้อมูล,. ออกสื่อTV หรือวิทยุ , งานเสวนา, งานประชุมวิชาการ ...

สถานการศึกษา โรงเรียน ระดับประถม เชิญเข้าร่วมโครงการหรือขอรายละเอียดได้ที่  

พว. ชฎาพร สุขสิริวรรณ(พย.บ.,สส.ม.)

ศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก

270 คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี

ถ.พระรามหก เขตราชเทวี กทม.10400

โทร 02 6449081 ต่อ14

( ท่านอาจารย์ ใจดี พร้อมให้คำแนะนำครับ )

สรุปผลที่เกิดขึ้น
1. จากสถิติการบันทึกการบาดเจ็บ
ของนักเรียนทำให้ทราบถึงสาเหตุ
ของการเกิดอุบัติเหตุของนักเรียน

ซึ่งส่วนใหญ่มาจากการเล่นของนักเรียนเอง
ซึ่งจะเกิดขึ้นในเวลาพักกลางวันและหลังเลิกเรียน

2. สถานที่มักจะเกิดอุบัติเหตุ
บริเวณจุดเสี่ยงภายในโรงเรียน คือ สนามเด็กเล่น ระเบียง

3. ตำแหน่งของอวัยวะที่ได้รับบาดเจ็บ คือ หัวเข่า แขน ขา และมือ

ประเมินความสำเร็จ
จากการวิเคราะห์ผลการดำเนินงาน
ทำให้ทราบถึงสาเหตุและสถานที่เกิด
อุบัติเหตุของนักเรียนเป็นข้อมูลพื้นฐาน
ในการกำหนดแนวทางและมาตรการ
ในการป้องกันอุบัติเหตุได้ถูกต้องและ
ป้องกันอุบัติเหตุได้ถูกที่ถูกเวลา
ในปีการศึกษาต่อไป เพื่อสร้างเสริม
ความปลอดภัยอันจะเกิดกับชีวิต
และทรัพย์สินของนักเรียน ทางราชการและสังคม

บทเรียนที่ได้รับ

1. สถานที่มักจะเกิดอุบัติเหตุ
และบริเวณจุดเสี่ยงภายในโรงเรียน เช่น
สนามเด็กเล่น ควรบำรุงรักษา ซ่อมแซม
ปรับปรุง และพัฒนาให้มีความพร้อมและปลอดภัยต่อการใช้งาน

2. สภาพทั่วไปของโรงเรียน
อาคารสถานที่ได้รับการพัฒนาปรับปรุงให้พร้อมใช้งาน
มีความปลอดภัยอยู่เสมอ ยืดอายุการใช้งานทำให้เกิด
ความคุ้มค่าลดค่าใช้จ่ายประหยัดงบประมาณของทางราชการ

3. ผู้ปกครองมีความมั่นใจ
และเชื่อมั่นต่อโรงเรียนและบุคลากร
ไม่วิตกและหวาดกลัวต่อการเกิดอุบัติเหตุ
ของนักเรียน ทำให้สุขภาพจิตดีขึ้น

ความต่อเนื่อง
จากการบันทึกการบาดเจ็บของนักเรียน
และนำผลมาวิเคราะห์หาสาเหตุของการบาดเจ็บของนักเรียน
เราจะเห็นได้ว่าการเกิดอุบัติเหตุของนักเรียนมาจากสาเหตุ 2 ประการคือ

1. การเล่นที่ไม่เหมาะสม เช่น
นักเรียนใช้อุปกรณ์การเล่นผิดประเภท
ผิดวิธี เล่นผิดสถานที่

2. สภาพของสถานที่ และสื่ออุปกรณ์ต่างๆ
ไม่สมบูรณ์ ไม่มีความพร้อมในการใช้งาน
ขาดการบำรุงดูแลรักษา

จากสาเหตุสองประการนี้นำไปสู่การ
กำหนดมาตรการ วิธีการป้องกันและ
แก้ปัญหาได้ตรงตามแห่งเหตุและผล ดังนี้

สาเหตุที่มาจากการเล่นที่ไม่เหมาะสม
ได้กำหนดแนวทางป้องกันอุบัติเหตุ
โดยการสร้างความตระหนักและให้ความรู้
เกี่ยวกับวิธีการใช้เครื่องเล่นที่ถูกต้อง
อุปกรณ์ที่เหมาะสมกับการเล่นแต่ละประเภท
สถานที่ที่ใช้เล่นอย่างถูกต้อง
จัดครูเวรคอยกำกับดูแลตามจุดเสี่ยงและ
บริเวณที่มีนักเรียนอยู่ นอกจากนี้แล้วยัง
ส่งผลต่อเนื่องทำให้เกิดกิจกรรมหมอน้อยอาสา
(ครูไม่อยู่ หนูทำได้)

สาเหตุที่มาจากสภาพของสถานที่
ได้กำหนดแนวทางป้องกันอุบัติเหตุ
โดยการให้มีการเขียนป้ายแสดงชื่อเครื่องเล่น
วิธีการใช้กำหนดคณะกรรมการรับผิดชอบการดูแลรักษา
พร้อมทั้งมีตารางแสดงถึงการบำรุงรักษาที่เป็นปัจจุบัน
มีการกำหนดระยะเวลาในการสำรวจตรวจสอบสภาพความ
สมบูรณ์ของอาคารสถานที่และอุปกรณ์ต่าง ๆ ไว้อย่างชัดเจน
ส่งผลต่อเนื่องทำให้เกิดกิจกรรมการสำรวจจุดเสี่ยงตามมา

นอกจากนี้แล้วข้อมูลที่ได้ยังเป็นประโยชน์ต่อ
ผู้บริหารในการวางแผนการบริหารสถานศึกษา
ให้สอดคล้องรับกับการประกันคุณภาพมาตรฐาน
การศึกษาของสถานศึกษาที่ ส.ม.ศ.
ได้กำหนดมาตรฐานสถานศึกษาไว้ข้อหนึ่ง
ที่สถานศึกษาจะต้องมีระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
ทำให้กิจกรรมนี้ได้รับการสนับสนุนและ
ดำเนินการอย่างต่อเนื่องตลอดมา

การประยุกต์ใช้
การบันทึกข้อมูลสถิติสามารถนำไปใช้ได้กับทุกกิจกรรม
เพื่อใช้เป็นข้อมูลศึกษาถึงประวัติที่ผ่านมา
ว่าเหตุการณ์ใดเกิดขึ้นบ่อยก็คาดว่าน่าจะเกิดขึ้นอีก
การจดบันทึกจึงเป็นการเตือนความจำ
เป็นหลักฐานที่แสดงเป็นลายลักษณ์อักษร
มีความน่าเชื่อถือเป็นรูปธรรม
อีกทั้งยังนำมาเป็นการตรวจสอบและติดตาม
การดำเนินงานในทุกกิจกรรม ทุกองค์กร ว่าสิงใด
ได้ดำเนินการไปแล้ว สิ่งใดที่จะต้องดำเนินการต่อไป
ในอาชีพครูก็ใช้การบันทึกหลังสอน บันทึกการประชุม
แพทย์ก็บันทึกประวัติคนไข้

ทุกๆ อาชีพล้วนต้องเกี่ยวข้องกับการบันทึกเก็บข้อมูลทั้งสิ้น
เพื่อกำหนดมาตรการการป้องกันหรือหาแนวทางการส่งเสริมในการทำงานครั้งต่อไป

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก