โครงการ ให้ความรู้และ ฝึก อบรม ความ ปลอดภัย ในการ ทำงาน

หลักการและเหตุผล

สถิติประกันสังคมในปี พ.ศ. 2551 มีจำนวนผู้ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน จำแนกตามสิ่งที่ทำให้ประสบอันตรายสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ วัตถุหรือสิ่งของ จำนวน 82,068 คน, เครื่องจักร จำนวน 23,427 คน, เครื่องมือ จำนวน 22,249 คน, สภาพแวดล้อมเกี่ยวกับการทำงาน จำนวน 13,448 คน และ ยานพาหนะ จำนวน 8,855 คน ตามลำดับ (สถิติประกันสังคม, 2551) จากสถิติดังกล่าวพบว่า อันตรายจากเครื่องจักรเป็น สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุในลำดับที่สอง ที่ก่อให้เกิดความสูญเสียทั้งทางตรงและทางอ้อมมากมาย ได้แก่ ค่ารักษาพยาบาล ค่าเงินทดแทน ค่าทำขัวญ ค่าทำศพ เวลาทำงาน ขวัญกำลังใจ เป็นต้น ทั้งนี้ในการเกิดอุบัติเหตุดังกล่าวมักมีสาเหตุมาจาก เครื่องจักรไม่มีการ์ดนิรภัย, การถอดการ์ดนิรภัยออกจากตัวเครื่องจักร, การปล่อยปละละเลย, ผู้ปฏิบัติงานไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบความปลอดภัย หรือพนักงานขาดทักษะและความรู้

จากปัญหา สาเหตุ รวมถึงความสูญเสียดังที่กล่าวข้างต้นนี้ กิจการหรือสถานประกอบการ มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องให้ความสำคัญเรื่องการบริหารจัดการเพื่อลดอันตรายและความเสี่ยง ซึ่งกิจการหรือสถานประกอบการสามารถอ้างอิงหลักการบริการจัดการต่างๆ ได้จาก กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำ พ.ศ. 2564 กล่าวถึงบาทบาทหน้าที่ของนายจ้างในการกำกับดูแลลูกจ้างรวมถึงการดำเนินการป้องกันต่างๆ หรือ ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง ชนิดและประเภทเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำงานก่อสร้างที่ต้องตรวจรับรองประจำปี พ.ศ. 2554 ซึ่งกล่าวถึงการตรวจสอบบำรุงรักษาประจำปีเพื่อให้มั่นใจได้ว่าอุปกรณ์เครื่องจักรปลอดภัยพร้อมใช้งาน เป็นต้น

ดังนั้นเพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานมีความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติงานกับเครื่องจักร รวมถึงเพื่อให้สอดคล้องตามที่กฎหมายกำหนด กิจการหรือสถานประกอบกิจการควรดำเนินการจัดฝึกอบรม หลักสูตร ความปลอดภัยในการทำงานกับเครื่องจักร ให้กับลูกจ้างที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับเครื่องจักรทั้งนี้เพื่อให้ ลูกจ้างได้รับทราบและปฏิบัติตามกฎระเบียบ ข้อปฏิบัติในการทำงานต่างๆ ได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย

ตัวอย่างการเขียนโครงการความปลอดภัย

Tuesday, March 23rd, 2010 at 1:32 pm

 


 

 

เป็นตัวอย่างจากหนังสือคู่มือการฝึกอบรมหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ระดับวิชาชีพ ซึ่งผมเห็นว่าหากนำมาโพสลงในเว็บ น่าจะเพิ่มความสะดวกในการค้นหาข้อมูล เพราะหลายท่านคงไม่ได้พกหนังสือไปกลับระหว่างที่ทำงาน กับที่พัก ทุกๆวัน

ตัวอย่างการเขียนโครงการความปลอดภัย

ในการจัดทำแผนงานโครงการความปลอดภัย จะประกอบไปด้วยโครงการความปลอดภัยย่อยๆหลายโครงการมาประกอบกัน ซึ่งในแต่ละโครงการย่อยจำเป็นต้องเขียนรายละเอียดของแต่ละโครงการเพื่อนำเสนอต่อผู้บริหารของสถานประกอบการ เพื่อขออนุมัติ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีรูปแบบการเขียนโครงการ ตัวอย่างการเขียนโครงการมีดังนี้

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงของพนักงานในแผนก …………………………….

1. ความเป็นมาและสภาพปัญหา
จากสถิติการประสบอันตรายจากการทำงาน ซึ่งรวบรวมไว้ พบว่า การประสบอันตรายของบริษัทยังอยู่ในอัตราที่สูง ซึ่งบริษัทได้มีการตั้งเป้าหมายให้มีการลดการประสบอันตรายจากการทำงานลงให้ได้อย่างต่อเนื่อง จากการดำเนินงานการบริหารจัดการเพื่อลดสถิติการประสบอันตรายดังกล่าวพบว่า แม้บริษัทได้ดำเนินการปรับปรุงกฏระเบียบ ข้อบังคับ ในเรื่องความปลอดภัยในการทำงาน ดำเนินการปรับปรุงสถานที่ทำงานให้อยู่ในสภาพที่ปลอดภัย ดำเนินการซ่อมบำรุงเครื่องมือเครื่องจักร อุปกรณ์ต่างๆ และมีการกำกับดูแลให้ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการดูแลด้านความปลอดภัยในการทำงาน ได้ทำหน้าที่ของตนเองให้ครบถ้วนแล้ว แต่ยังปรากฏว่าสถิติการประสบอันตรายจากการทำงานของบริษัทยังคงไม่ลดลงตามเป้าหมายที่วางไว้ และจากการสอบสวนวิเคราะห์อุบัติเหตุแล้ว พบว่า สาเหตุของการประสบอันตราย ส่วนใหญ่มาจากการกระทำของพนักงานประมาณ 80 เปอร์เซ้นต์ ดังนั้นจึงควรได้ดำเนินกิจกรรมเพื่อการปรับเปลี่ยน พฤติกรรมเสี่ยงของพนักงาน ควบคู่ไปกับกิจกรรมต่างๆที่บริษัทได้จัดทำขึ้นเพื่อลดสถิติการประสบอันตรายดังกล่าวข้างต้น

2. หลักการเหตุผล
จากการศึกษาข้อมูลระบบการบริหารจัดการความปลอดภัยในการทำงานของต่างประเทศพบว่า การบังคับให้พนักงานปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฏระเบียบ หรือมาตรฐานความปลอดภัย ยังไม่เพียงพอต่อการที่จะลดสถิติการประสบอันตรายจากการทำงานให้ได้ตามเป้าหมาย ต้องมีการให้ความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงเพื่อสร้างวัฒนธรรมองค์กรด้านความปลอดภัยประกอบด้วย เป็นการใช้กลยุทธในการส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดองค์ความรู้ ประกอบการปลูกจิตสำนึกรักความปลอดภัย เพื่อให้สามารถจัดระบบบริหารจัดการให้เหมาะกับประเภทของความเสี่ยงและปัญหาที่เป็นสาเหตุให้เกิดอุบัติเหตุในการทำงานของบริษัทได้ อันจะนำมาซึ่งความสำเร็จในการบริหารจัดการด้านความปลอดภัยฯอย่างยั่งยืน โดยหน่วยงานความปลอดภัยจะเป็นผู้ให้ความรู้ และคำแนะนำในการดำเนินการ
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยง เป็นการจัดการด้านความปลอดภัยด้วยการปลูกฝังพฤติกรรมการทำงานที่ถูกต้อง และความปลอดภัย โดยมีกระบวนการตั้งแต่ค้นหาพฤติกรรมเสี่ยงของพนักงานและดำเนินการปรับปรุงให้พนักงานมีการเปลี่ยนวิธีการทำงานให้ปลอดภัยขึ้น พร้อมทั้งส่งเสรอมให้มีการนำพฤติกรรมความปลอดภัยที่ดี มาปฏิบัติกันจนเป็นวัฒนธรรมของบริษัท

3. วัตถุประสงค์
3.1 เพื่อลดพฤติกรรมการทำงานที่ไม่ปลอดภัย และเพิ่มพฤติกรรมที่ปลอดภัยในการทำงาน
3.2 เพื่อลดสถิติการประสบอัรตรายจากการทำงาน
3.3 เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมที่ปลอดภัยให้เป็นนิสัย

4. กลุ่มเป้าหมาย
4.1 พนักงานจากหน่วยงานที่มีการประสบอันตรายสูง
4.2 พนักงานทุกระดับของบริษัท

5. วิธีดำเนินการ
5.1 ฝึกอบรมผู้บริหารให้เข้าใจความจำเป็นในการปรับพฤติกรรมเสี่ยง
5.2 วิเคราะห์หาพฤติกรรมเสี่ยงที่มีอยู่ในสถานประกอบกิจการ โดยผู้บริหารและคณะกรรมการความปลอดภัยฯ
5.3 ฝึกอบรมและร่วมกันค้นหาพฤติกรรมเสี่ยง โดยหัวหน้าหน่วยงานและผู้แทนหน่วยงานที่เป็นเป้าหมาย
5.4 รวบรวมจัดทำทะเบียน จัดเรียงลำดับ และคัดเลือกพฤติกรรมเสี่ยงที่จะปรับเปลี่ยน
5.5 อบรมสื่อสารให้พนักงานทุกคนทราบและเข้าใจพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์
5.6 อบรมฝึกสังเกตและการกำชับเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมปลอดภัยและแก้ไขพฤติกรรมเสี่ยง
5.7 ทีมตรวจสอบทำการวัดผลเป็นระยะๆ
5.8 ดำเนินการกับพฤติกรรมเสี่ยงตัวต่อไปจนกว่าจะหมด

6. กำหนดระยะเวลาและแผนการดำเนินงาน
ดำเนินการต่อเนื่อง 3 ปี พ.ศ. 2550 – 2552 โดยมีแผนงานสำหรับปีแรก (2550) ดังนี้

7. งบประมาณ
งบประมาณในการดำเนินงาน จากงบประมาณปี 2550 งานความปลอดภัย อาชีวิอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน เป็นเงิน 25,000 บาท (สองหมื่นห้าพันบาทถ้วน)

8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
8.1 สามารถลดมูลค่าความสูญเสียที่เกิดจากการประสบอันตรายจากการทำงาน
8.2 ทำให้พนักงานมีขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติหน้าที่ส่งผลทำให้ผลผลิตมีคุณภาพและปริมาณเพิ่มมากขึ้น
8.3 สามารถลดการประสบอันตรายได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
8.4 ภาพลักษณ์ของบริษัทเป็นที่ยอมรับในระดับสากล

9. ผู้เสนอโครงการ

(นายสำนึก รักษ์ปลอดภัย)
เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ
กรรมการและเลขานุการคณะกรรมการความปลอดภัยฯ

10. หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ

ฝ่ายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

11. ผู้อนุมัติโครงการ

(นายรวย มากคุณธรรม)
กรรมการผู้จัดการบริษัท เซฟตี้เฟิร์ส จำกัด

__________________________

จากตัวอย่างข้างต้น ก็คงจะเป็นแนวทางให้เพื่อนๆเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานทุกท่าน เขียนโครงการความปลอดภัยในการทำงานกันได้สะดวกขึ้น และก็นำโครงการย่อยๆทั้งหมดไปจัดทำเป็นแผนงานประจำปีของบริษัท เป็นอันเสร็จสิ้นหน้าที่การทำแผนงานความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

 

Tagged with: การเขียนโครงการความปลอดภัย

Filed under:Safet Officer : เกี่ยวกับ เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน • Uncategorized

Like this post? Subscribe to my RSS feed and get loads more!

 

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก