ส่องกล้องตรวจมะเร็งปากมดลูก

การตรวจด้วยกล้องขยายทางช่องคลอด คือ Colposcopy หรือ การตรวจนื้อเยื่อบุผิว (epithelium) ของปากมดลูก ช่องคลอด ปากช่องคลอด และทวารหนัก ด้วยกล้องขยายส่องสว่างหลังจากทาหรือชโลมด้วยน้ำยาเฉพาะ เพื่อตรวจหาความผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับมะเร็ง หรือเพื่อตรวจยืนยันความปกติของเนื้อเยื่อบุผิว หัตถการที่อาจจะทำร่วมกับการตรวจ คือ การตัดเนื้อเยื่อเป้าหมายออกตรวจ (targetingbiopsies) จากบริเวณที่มีความผิดปกติรุนแรงที่สุด

ข้อบ่งชี้ของการตรวจด้วยคอลโปสโคป ได้แก่

  1. ผลการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ด้วย Pap smear ผิดปกติ (ASC-US หรือรุนแรงกว่า) เป็นข้อบ่งชี้ให้ทำการตรวจมากที่สุด
  2. ปากมดลูกมีลักษณะผิดปกติเช่น มีแผล หรือก้อนเนื้อ จากการตรวจด้วยตาเปล่า
  3. เลือดออกผิดปกติระหว่างรอบเดือนที่ไม่สามารถอธิบายสาเหตุได้ หรือเลือดออกหลังจากมีเพศสัมพันธ์ และตกขาวเนิ่นนานที่ไม่สามารถอธิบายสาเหตุได้ อาจตรวจด้วยคอลโปสโคปเพื่อวินิจฉัยแยกโรคมะเร็ง
  4. รอยโรคน่าสงสัยบริเวณช่องคลอดและปากช่องคลอดจากการตรวจด้วยตาเปล่า

กรณีอื่น ๆ ที่อาจพิจารณาตรวจด้วยคอลโปสโคป

  • การติดเชื้อ high-risk HPV แบบเนิ่นนาน (persistent HPV infection) เช่น ผลการตรวจ HPV DNA testing ให้ผลบวก 2 ครั้ง จากการตรวจห่างกัน 12 เดือน
  • ผลการตรวจด้วยน้ำส้มสายชู (visual inspection with acetic acid, VIA) พบฝ้าขาวหรือผิดปกติ
  • การตรวจติดตามผลหลังการรักษารอยโรค CIN ด้วยการรักษาเฉพาะที่ เช่น การจี้ด้วยความเย็น และ การตัดด้วยห่วงไฟฟ้า ฯลฯ
  • รอยโรค CIN 1 ที่คงอยู่นานกว่า 12 เดือน
  • คู่นอนเป็นเนื้องอกหรือหูดหงอนไก่ที่อวัยวะเพศส่วนล่าง
  • ผล Pap smear พบว่ามีการอักเสบหลายครั้งโดยไม่ทราบสาเหตุ โดยเฉพาะในสตรีที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อมะเร็งปากมดลูก

ข้อบ่งห้ามของการตรวจด้วยคอลโปสโคป 

  1. สตรีที่กำลังมีเลือดประจำเดือนออกมาก
  2. ปากมดลูก ช่องคลอด หรือปากช่องคลอดอักเสบแบบเฉียบพลันหรือรุนแรง ควรตรวจหาสาเหตุและรักษาให้หายก่อน เพราะการตรวจและการตัดชิ้นเนื้ออาจทำให้ตกเลือด เจ็บปวด และไม่ให้ความร่วมมือในการตรวจ นอกจากนี้การอักเสบอาจทำให้ความแม่นยำของการตรวจลดลง
  3. สตรีที่รับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือดอาจจะต้องหยุดยาหลายวันก่อนทำ cervical biopsy หรือ endocervical curettage
  4. การตั้งครรภ์ไม่ได้เป็นข้อบ่งห้ามของการตรวจด้วยคอลโปสโคป แต่การสืบค้นอาจจะต้องมีการปรับเปลี่ยน เช่น หลีกเลี่ยงการทำ biopsy ถ้าการตรวจไม่สงสัยมะเร็งระยะลุกลามและไม่ควรทำ endocervical curettage สตรีหลังวัยหมดประจำเดือนที่ไม่ได้รับฮอร์โมนทดแทน อาจจะต้องให้ฮอร์โมนเอสโตรเจนทาหรือรับประทาน 3 สัปดาห์ก่อนการตรวจ ควรให้งดการมีเพศสัมพันธ์ การสอดยาหรือผ้าอนามัยในช่องคลอด 24 ชั่วโมงก่อนการตรวจ

จุดประสงค์ของการตรวจด้วยคอลโปสโคปในสตรีที่มีผล Pap smear ผิดปกติมี 3 ประการคือ

  1. เพื่อตรวจแยกว่าไม่มีมะเร็งปากมดลูกระยะลุกลาม
  2. เพื่อตรวจหารอยโรคขั้นสูงได้แก่ พยาธิสภาพ CIN2,3 และ adenocarcinoma in situ (AIS) ซึ่งต้องทำการการรักษาไม่ให้รอยโรคคืบหน้าเป็นมะเร็งระยะลุกลาม
  3. เพื่อเป็นแนวทางในการดูแลรักษาที่เหมาะสมต่อไปเช่น ถ้าผล Pap smear เป็น ASC- US หรือ LSIL และการตรวจด้วยคอลโปสโคปไม่พบรอยโรค สามารถตรวจติดตามดูการดำเนินโรคได้ทุก 6 เดือน หรือถ้าผล Pap smear เป็น HSIL และผลการตรวจด้วยคอลโปสโคปไม่เห็น transformation zone หรือเห็น transformation zone ได้ไม่หมดหรือเห็นรอยโรคได้ไม่หมด ควรทำการตัดปากมดลูกเพื่อการวินิจฉัย (diagnostic excision) ต่อไป

การให้คำแนะนำหลังการตรวจ

  1. ภายหลังการตรวจด้วยคอลโปสโคปผู้ป่วยสามารถทำงานได้ตามปกติ แนะนำให้ดึงผ้ากอซที่ใส่ประจุไว้ในช่องคลอดออกหลังการตรวจประมาณ 3 ชั่วโมง สังเกตเลือดออกทางช่องคลอด ภายหลังการตัดเนื้อออกตรวจอาจจะมีเลือดออกมาเล็กน้อยได้ประมาณ 1-3 วัน ถ้ามีเลือดออกมากผิดปกติให้กลับมาที่โรงพยาบาลทันทีเพื่อตรวจหาสาเหตุและทำการห้ามเลือด
  2. ควรงดการมีเพศสัมพันธ์ประมาณ 2 สัปดาห์เพื่อป้องกันการตกเลือดและการติดเชื้อ
  3. ไม่ควรสวนล้างหรือใส่ผ้าอนามัยชนิดสอดในช่องคลอดในช่วง 7 วันแรกหลังการตรวจ

ศูนย์สูติ-นรีเวช

เมื่อคุณมีความเสี่ยง หรือมีอาการสงสัยบ่งชี้ว่าจะเป็นมะเร็งปากมดลูก หรือพบผลตรวจมะเร็งปากมดลูกผิดปกติ รพ.วิภาวดี ได้จัดโปรกแกรมการตรวจมะเร็งปากมดลูก ด้วยการส่องกล้อง เพื่อค้นหาโรคและรักษาได้ทันท่วงที

ราคา10,900 - 10,900 ฿

หมดเขต 31 ธันวาคม 2565

รายละเอียดแพคเกจ

Package Colposcopy แบบตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจ

ราคา10,900

ตรวจหาความผิดปกติของเนื้อเยื่อบริเวณปากมดลูกโดยการส่องกล้อง แบบตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจ
สำหรับผู้ที่สงสัยเป็นมะเร็งปากมดลูก หรือพบผลตรวจมะเร็งปากมดลูกผิดปกติโปรแกรมนี้ได้เพื่อค้นหาโรคและรักษาได้ทันท่วงที

แพคเกจเสริม

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก