ใบงานที่ 1.3 การคิดตามนัยแห่งพระพุทธศาสนาและการคิดแบบวิทยาศาสตร์

เปรียบเทียบและอธิบายหลักการของพระพุทธศาสนากับหลักวิทยาศาสตร์
ด้านความเชื่อ


   พระพุทธศาสนา
พระพุทธศาสนามีหลักการด้านความเชื่อ
ดังปรากฏอยู่ใน กาลามสูตร ซึ่งพระพุทธ-เจ้าทรงสอนไม่ให้เชื่ออย่างงมงายไร้เหตุผล 

 พระพุทธเจ้าแทนที่จะตรัสเหมือนกับสมณพราหมณ์เหล่าอื่นที่เคยพูดมาแล้ว พระองค์ไม่ได้ทรงสรรเสริญคำสอนของพระองค์ และก็ไม่ทรงติเตียนคำสอนศาสนาของผู้อื่นแต่พระองค์กลับตรัสอีกแบบหนึ่ง การพูดแบบนี้เป็นลักษณะของวิทยาศาสตร์ปัจจุบัน คือพระองค์ได้กล่าวถึงสิ่งที่ไม่ควรเชื่อ 10 ประการโดยตรัสว่า ท่านทั้งหลายจงฟัง

   มา อนุสฺสวเนน อย่าเพิ่งเชื่อโดยฟังตามกันมา
   มา ปรมฺปราย  อย่าเพิ่งเชื่อโดยถือว่าเป็นของเก่าเล่าสืบๆกันมา
   มา อิติกิราย   อย่าเพิ่งเชื่อเพราะข่าวเล่าลือ
   มา ปิฏกสมฺปทาเนน อย่าเพิ่งเชื่อโดยอ้างคัมภีร์  หรือตำรา
   มา ตกฺกเหตุ  อย่าเพิ่งเชื่อโดยคิดเดาเอาเอง
   มา นยเหตุ   อย่าเพิ่งเชื่อโดยคิดคาดคะเนอนุมานเอา
   มา อาการปริวิตกฺเกน  อย่าเพิ่งเชื่อโดยตรึกเอาตามอาการที่ปรากฏ
   มา ทิฎฐินิชฺฌานกฺขนฺติยา  อย่าเพิ่งเชื่อเพราะเห็นว่าต้องกับความเห็นของตน
   มา ภพฺพรูปตา  อย่าเพิ่งเชื่อว่าผู้พูดควรเชื่อได้
   มา สมโณ โน ครูติ  อย่าเพิ่งเชื่อว่าผู้พูดนั้นเป็นครูของเรา

  สรุปแล้ว พระพุทธเจ้าตรัสว่าอย่าเพิ่งเชื่อ เพราะเหตุ 10 ประการนี้      
                              

   วิทยาศาสตร์
วิทยาศาสตร์จะเชื่อเรื่องใดจะต้องมีการพิสูจน์ความจริงโดยใช้การทดลองและทุกอย่างจะต้องดำเนินไปอย่างมีกฎเกณฑ์และมีเหตุผลเป็นตัวตัดสินใจโดยอาศัยปัญญาในการพิจารณา

ด้านความรู้

   พระพุทธศาสนา

พระพุทธเจ้าทรงเริ่มคิดจากประสบการณ์ที่ได้เห็น คือ ความเจ็บ ความแก่ และความตาย ซึ่งล้วนแต่ทุกข์พระองค์ทรงทดลองโดยอาศัยประสบ-การณ์ของพระองค์ จนในที่สุดพระองค์ก็ทรงสามารถค้นพบหลักความจริงอันเป็นหนทาง
ที่จะหลุดพ้นจากความทุกข์


  วิทยาศาสตร์

วิทยาศาสตร์ยอมรับความรู้จากประสบการณ์ ซึ่งมีการพิสูจน์โดยผ่านตา หู จมูก  ลิ้น  กาย  และใจ          


ด้านความแตกต่าง

  พระพุทธศาสนา
พระพุทธศาสนาเน้นการแสวงหาความจริงภายใน คือ ความจริงด้านจิตใจที่มุ่งให้มนุษย์สามารถพัฒนาจิตใจของตนให้หลุดพ้นจากกิเลสได้อย่างสิ้นเชิง
  วิทยาศาสตร์
วิทยาศาสตร์มุ่งเน้นการแสวงหาความจริงภายนอกด้านวัตถุเป็นสำคัญ


                             
    
 หมายเหตุ ขอขอบพระคุณภาพจาก google

การคิดตามนัยแห่งพระพุทธศาสนากับการคิดแบบวิทยาศาสตร์

พระพุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์ มีวิธีการที่เป็นระบบเหมือนกัน ดังนี้

  1. วิธีคิดตามนัยแห่งพระพุทธศาสนา เป็นกระบวนการคิดพิจารณาค้นคว้าหาคำตอบ

ของพระพุทธเจ้าเพื่อตรัสรู้ สรุป ได้ 2 วิธี คือ

  (1) คิดโดยสืบสาวจากผลไปหาเหตุ เช่น การสังเกตสภาพของคนแก่ คนเจ็บ คน

ตาย (เป็นผล) และคิดตามหลักอริยสัจ 4 (ทุกข์, สมุทัย, นิโรธ, มรรค)

  (2) คิดโดยสืบสาวจากเหตุไปหาผลคือ การคิดจะลงมือปฏิบัติโดยวิธีการต่าง ๆ

เช่น การบำเพ็ญเพียรทางจิต จะส่งผลให้เกิดการรู้แจ้งในสัจธรรม

  2. วิธีคิดแบบวิทยาศาสตร์ เป็นการคิดใช้เหตุผล หรือคิดตามกระบวนการของ “วิธีการ

วิทยาศาสตร์” โดยเริ่มตั้งแต่ การสังเกต การรวบรวมข้อมูล การตั้งสมมติฐาน การทดสอบ และการสรุปผลตามลำดับ

  4. ความสอดคล้องกันระหว่างแนวคิดของพระพุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์

พระพุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์ มีแนวคิดสอดคล้องกัน 2 ประการ ดังนี้

  1. ความไม่เที่ยงของสรรพสิ่งในโลก สิ่งทั้งหลายทั้งปวงเกิดขึ้นและดำเนินเป็นไป

ตามกฎแห่งเหตุและผลตามธรรมชาติ (หลักคำสอนเรื่องไตรลักษณ์ของพระพุทธศาสนา) สอดคล้องกับทรรศนะของวิทยาศาสตร์ที่ว่าทุกสิ่งในสากลจักรวาลมีการเคลื่อนไหวหรือเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ไม่หยุดนิ่ง

  2. มนุษย์คือผลผลิตของธรรมชาติ ไม่ได้เกิดจากการปั้นแต่งของพระเจ้า

  3. การพิสูจน์ความจริงอย่างเสรีและมีเหตุผล พระพุทธศาสนาสอนไม่ให้เชื่ออะไร

ง่าย ๆ (หลักคำสอนเรื่องกาลามาสูตร) โดยไม่ได้พิสูจน์ให้ประจักษ์ด้วยประสบการณ์ของตนเองเสียก่อน ซึ่งสอดคล้องกับหลักแนวคิดของวิทยาศาสตร์เช่นกัน

  ความแตกต่างในแนวคิดระหว่างพระพุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์

  มีคำสอนในพระพุทธศาสนาบางเรื่องที่วิทยาศาสตร์ไม่ยอมรับ เพราะวิทยาศาสตร์ไม่สามารถแยกแยะหรือพิสูจน์ได้ มีดังนี้

  1. คำสอนเรื่องของจิต ได้แก่ หลักคำสอนเรื่อง “เบญจขันธ์” หรือองค์ประกอบของมนุษย์ 5 ประการ ได้แก่ รูปขันธ์ (ร่างกาย) และนามขันธ์ 4 (ส่วนประกอบที่เป็นจิต 4 อย่าง ได้แก่ เวทนา สัญญา สังขาร และวิญาณ) ซึ่งวิทยาศาสตร์ไม่สามารถใช้เครื่องมือพิสูจน์ให้ประจักษ์ได้

  2. คำสอนเรื่องปัญญา คำสอนในพระพุทธศาสนาเรื่องปัญญาขึ้นสูงสุด คือ การ

เข้าถึงโลกุตระ (ปัญญาที่ที่หลุดพ้นจากกิเลสหรือวิสัยทางโลก) โดยวิธีฝึกอบรมวิปัสสนาจนเกิดปัญญารู้แจ้งตามความจริงนั้น เป็นสิ่งที่วิทยาศาสตร์ยังไม่ยอมรับ ฤ


กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก