เพราะ เหตุ ใด จึง กล่าว ว่า ความสันโดษเป็นทรัพย์อย่างยิ่ง

กาลครั้งหนึ่ง นานมาแล้ว เมื่อพระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นนกแขกเต้าอาศัยอยู่ในป่าใหญ่แห่งหนึ่งพร้อมด้วยบริวารห้าร้อยตัว ครั้นนกแขกเต้าอายุมากขึ้นจึงพิจารณาว่า อีกไม่นานก็จะจากโลกนี้ไปแล้ว การนำหมู่คณะจำนวนมากต้องดูแลให้หมู่คณะเป็นสุขอยู่รอดปลอดจากภัยธรรมชาติและอันตรายทั้งหลายทั้งปวง เป็นภาระที่หนักหนาย่อมก่อให้เกิดความยากลำบากในการแสวงหาความสงบ

เมื่อพิจารณาดูถึงนกทั้งหลายที่เติบโตผ่านร้อนผ่านหนาวมีประสบการณ์มากมาย เก่งพอจะนำหมู่นกทั้งหลายได้ จึงเลือกสรรค์นกตัวหนึ่งที่มีความรับผิดชอบสูงมีความสามารถมีประสบการณ์ดีให้เป็นผู้นำฝูงต่อไป ส่วนตนเองจึงขอลาหมู่นกทั้งหลายเป็นการถาวรเพื่อปลีกวิเวก เป็นอยู่อย่างสันโดษหาความสงบในบั้นปลายชีวิตเพื่อเตรียมตัวเดินทางไกลในวัฏฏสงสารต่อไป

เมื่อนกแขกเต้าโพธิสัตว์ได้จากฝูง จากหน้าที่ ที่ต้องนำฝูงไปสู่ป่าใหญ่อีกแห่งหนึ่งที่ไกลจากผู้คนและสิงสาราสัตว์จะรบกวนความสงบได้เพื่อบำเพ็ญภาวนาหาความสงบ นกแขกเต้าได้พบต้นมะเดื่อต้นหนึ่ง ริมแม่น้ำใสเย็นสายหนึ่งตั้งใจอาศัยอาหารเลี้ยงชีพจากต้นไม้นั้นเพียงแห่งเดียว ไม่ท่องเที่ยวไปหาอาหารใดๆที่อื่นอีกเลย

เมื่อยามมะเดื่อออกผลดก นกแขกเต้าก็อาศัยผลมะเดื่อเป็นอาหาร เมื่อหมดฤดูผลไม้ก็อาศัยใบมะเดื่อเป็นอาหาร ครั้นบางฤดูกาลใบมะเดื่อร่วงหล่นจนหมดสิ้นก็อาศัยเปลือกมะเดื่อเป็นอาหารต่อไป แม้ฤดูกาลเปลี่ยนไปอย่างไร นกแขกเต้าก็ยังคงอาศัยต้นมะเดื่อเป็นที่อยู่ อาศัยส่วนต่างๆของต้นมะเดื่อเป็นอาหาร อดบ้างอิ่มบ้าง ก็กินอยู่ด้วยความพอใจในสิ่งที่ตนมี ยินดีสิ่งที่ตนได้

การปฏิบัติตนสันโดษและมั่นคงแน่วแน่ด้วยอุเบกขาบารมีของพระโพธิสัตว์เช่นนี้มีอานุภาพมากถึงกับทำให้อาสน์ของพระอินทร์จอมเทพต้องแข็งกระด้างจึงใช้ทิพย์จักษุส่องมองลงไปในโลกมนุษย์ก็ได้พบนกแขกเต้ากำลังบำเพ็ญธรรมสันโดษและอุเบกขาอย่างเข้มข้น น่าสรรเสริญจึงต้องการทราบว่าการบำเพ็ญสันโดษและอุเบกขาธรรมของนกแขกเต้าตัวนี้เพื่อลาภยศสรรเสริญหรือเพื่อการขูดเกลา หรือเหตุอันใด

ท้าวสักกะเทวราชจึงได้เนรมิตให้ใบมะเดื่อร่วงหมด นกแขกเต้าก็กินเปลือกที่มีอยู่ประทังชีวิต ต่อมาเมื่อเปลือกแห้ง นกแขกเต้าก็กินเปลือกแห้งๆเพื่อประทังชีวิต ท้าวสักกะจึงเนรมิตต้นไม้ให้ตายยืนต้นแล้วเนรมิตตนเองเป็นพญาหงส์ทองเกาะบนกิ่งไม้ให้คำแนะนำนกแขกเต้าว่า เจ้านกแขกเต้า บัดนี้ต้นไม้ที่เจ้าอาศัยได้ตายลงแล้ว เจ้าจะอยู่ต่อไปทำไม จงบินไปเกาะยังต้นไม้อื่นที่มีผลใหญ่ใบดกท็อป ร่มทึบมีผลกินได้ตลอดไปเถิด เพียงแต่เจ้าบินจากต้นไม้นี้ไปไม่ไกลทางฝั่งป่าโน้น ก็จะมีไม้ดอกไม้ผลให้เจ้าได้อาศัยร่มเงาดอกผลดำรงชีวิตได้อย่างสุขสบาย

นกแขกเต้าตอบว่า ต้นมะเดื่อต้นนี้ คือกัลยาณมิตรที่ยิ่งใหญ่ ที่ข้าพเจ้าได้อาศัยเป็นที่อยู่และได้อาหารมานาน มาบัดนี้ต้นไม้นี้กำลังจะตายได้รับทุกข์ทรมาน กำลังหมดประโยชน์โดยสิ้นเชิง ถ้าข้าพเจ้าจากไปตอนนี้จะถูกติเตียนว่า ทิ้งมิตรในยามยาก ไม่ว่าใครก็ตามเคยอาศัยสิ่งใดดำรงชีวิตไม่ควรคิดอกตัญญู จึงควรอยู่ที่นี่จนกว่าจะตายจากกัน

ข้าพเจ้าขอบคุณท่านที่มาให้สติ ตักเตือนให้ข้าพเจ้ารีบหนีจากสภาพที่แร้นแค้นทุกข์ยากไปสู่ชีวิตที่ดีกว่า ถ้ามิตรผู้ยิ่งใหญ่ คือมะเดื่อต้นนี้อยู่ในสภาพที่ดีสมบูรณ์ทั้งใบดอกผลพรั่งพร้อมแม้ข้าพเจ้าจากไปก็ไม่อัตคัตขาดแคลนด้วยมิตร แต่บัดนี้มิตรผู้ยิ่งใหญ่ของข้าพเจ้าอยู่ในสภาพสูญสิ้นทุกสิ่ง ข้าพเจ้าจะต้องอยู่ต่อไปเป็นเพื่อนทุกข์ในยามยากซึ่งเป็นภารกิจที่มิตรควรทำแก่มิตรที่รักกันทั้งหลาย

พญาหงษ์ถามนกแขกเต้าว่า ถ้าเจ้าได้พบผู้วิเศษที่สามารถเนรมิตสิ่งใดๆให้เจ้าตามที่เจ้าปรารถนาได้เจ้าจะขอให้ผู้วิเศษนั้นเนรมิตอะไร

นกแขกเต้าตอบตรงไปอย่างไม่ลังเลว่า หากจะมีผู้วิเศษที่จะเนรมิตสิ่งใดๆให้ข้าพเจ้าสมปรารถนาข้าพเจ้าไม่ต้องการสิ่งใดนอกเหนือจาก ขอให้ต้นมะเดื่อกัลยาณมิตรของข้าพเจ้าผู้อาภัพนี้จงฟื้นคืนชีพมาอีกสักครั้งเถิด

เมื่อท้าวสักกะทดสอบบททดสอบถึงความสันโดษต่อนกแขกเต้าหมดทุกกระบวนการแล้ว จึงแน่ใจว่านกแขกเต้าตัวนี้บำเพ็ญบารมีอย่างบริสุทธิ์โดยมิได้มุ่งหวังลาภยศสรรเสริญแต่ประการใดจึงเนรมิตให้ต้นมะเดื่อนั้นฟื้นคืนชีพมาอีกครั้งหนึ่ง กลายเป็นต้นมะเดื่อที่มีพุ่มใหญ่ ใบหนางามเขียวขจี มีลูกดกห้อยระย้าให้นกแขกเต้าได้กินอย่างสะดวกสบายไม่ขาดแคลนในทุกฤดูกาล

นิทานเรื่องนี้สอนเรื่องความสันโดษ พอใจในสิ่งที่มียินดีในสิ่งที่ได้ ไม่ขวนขวายแสวงหาลาภ ด้วยอำนาจของความโลภใช้อุเบกขาธรรมรักษาใจอย่างมั่นคงเวลาสิ่งใดที่น่าใคร่น่าพอใจหรือน่าเกลียดน่าชังมากระทบก็รับรู้อย่างรู้เท่าทันแล้วปล่อยผ่านไปไม่หวั่นไหว ปล่อยใจไปตามสิ่งที่มากระทบนั้น อุเบกขาที่มีสติสัมปชัญญะมาประกอบอย่างสมดุลย่อมมีความมั่นคงไม่หวั่นไหว รักษาใจให้ปกติ

เมื่อมุ่งมั่นทำสิ่งใดเป็นไปเพื่อความโล่งโปร่งเบาจงตั้งใจทำสิ่งนั้นด้วยจิตใจที่แน่นหนักปักลง ความภูมิใจความอิ่มเอิบเบิกบานจากผลงานที่ทำลงไปหรือภูมิใจในสิ่งที่ได้ทำไปแล้วส่วนผลจะออกมาอย่างให้เป็นไปตามเหตุปัจจัยที่เหมาะสมอย่างไรก็อย่างนั้น

หลวงพ่อพุทธทาสกล่าวว่า หากทำงานด้วยความพอใจ สถานที่ทำงานไม่ว่าบ้าน วัดโรงเรียนหรือโรงงานชนิดใดๆจะกลายเป็นสวรรค์ในบัดดล สอดคล้องกับท่านติท นัทฮัน ปราชญ์ทางพุทธศาสนามหายาน นามก้องโลกกล่าวว่าบนผืนแผ่นดินที่ก้าวเดินอย่างมีสติด้วยความพอใจทุกก้าวบนแผ่นดินที่กำลังย่ำไปจะเป็นโคลนตม หินกรวด ลูกรังหรือถนนคอนกรีดล้วนเป็นแผ่นดินสวรรค์ ความพอใจจึงเป็นเส้นทางสู่ประตูสวรรค์และมั่งคั่งด้วยอริยทรัพย์ที่ให้ความสุขภายในดังที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า สันตุฏฐิ ปะระมัง ธะนัง ความพอใจในสิ่งที่มีอยู่เป็นทรัพย์อันประเสริฐ

5มิถุนายน 2559 เวลา 22.40 น.
วัดพุทธธรรม เมืองวิลโลบรูค รัฐอิลลินอยส์

raponsan:

ความสันโดษ เป็นทรัพย์อย่างยิ่ง
ความสันโดษ ความยินดีพอใจตามมีตามได้ตามกำลังและความจำเป็นของตน การดำรงชีวิตอยู่ของประชาชนในปัจจุบัน ถูกเหตุปัจจัยต่างๆ หลากหลายมากระทบกระทั่ง เบียดเบียนอยู่ทุกเมื่อ ซึ่งล้วนแต่ทำให้การดำเนินชีวิตเป็นไปด้วยความยากลำบาก ไม่สามารถดำเนินชีวิตตามสมควรแก่อัตภาพที่ควรจะเป็นให้อยู่ดีมีสุขได้

เมื่อเป็นเช่นนี้ ควรที่ทุกคนจะต้องหันกลับมาทบทวนถึงแนวทางแห่งการประพฤติปฏิบัติของตน เพื่อประคับประคองตนให้รอดพ้นจากภัยพิบัติทั้งปวง มีความอยู่ดีมีสุขตามสมควร ด้วยการปฏิบัติตามหลักธรรม คือ ความสันโดษ ที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแนะนำชาวโลกให้หาความสุขโดยการถือสันโดษ

คำว่า "สันโดษ" แปลว่า ความยินดี คือ ความพอใจ ความยินดีด้วยของของตนซึ่งได้มาด้วยความเพียร ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต และโดยชอบธรรม

ความหมายของสันโดษ คำว่า สันโดษ โดยทั่วไปมี 3 ประการ คือ
   1. ยถาลาภสันโดษ ยินดีตามได้
   2. ยถาพลสันโดษ ยินดีตามกำลัง
   3. ยถาสารุปปสันโดษ ยินดีตามสมควร

ประการ ที่ 1 ยถาลาภสันโดษ หมายถึง ความยินดีตามที่ตนได้มา คือตนได้สิ่งใดมาหรือเพียรหาสิ่งใดมาได้ ไม่ว่าจะหยาบหรือประณีตแค่ไหนก็ยินดีพอใจด้วยสิ่งนั้น ไม่ติดใจอยากได้สิ่งอื่น ไม่เดือดร้อนกระวนกระวายเพราะสิ่งที่ตนไม่ได้มา ไม่ปรารถนาสิ่งที่ตนไม่พึงได้ หรือเกินไปกว่าที่ตนจะพึงได้โดยถูกต้องชอบธรรม ไม่เพ่งเล็งปรารถนาสิ่งของที่คนอื่นได้ จนเกิดความริษยา

ประการที่ 2 ยถาพลสันโดษ หมายถึง ความยินดีตามกำลัง คือ ยินดีแต่พอแก่กำลังร่างกายสุขภาพและวิสัยของตน มีความพอใจในการจัดสรรหน้าที่การงาน จัดสรรการศึกษาศิลปวิทยา และจัดสรรคุณธรรมเพื่อปฏิบัติให้สมกับกำลังสติปัญญาของตนเอง เลือกทำในสิ่งที่ตนเองถนัดแล้วตั้งใจปฏิบัติให้ก้าวหน้าไปตามกำลังแต่ละ อย่างด้วยความขยันหมั่นเพียร

ประการที่ 3 ยถาสารุปปสันโดษ หมายถึง ความยินดีตามสมควร หรือยินดีตามที่เหมาะสมกับภาวะ ฐานะ แนวทางชีวิต และจุดหมายแห่งการบำเพ็ญกิจของตน ไม่นึกคิดอยากได้ทรัพย์สมบัติที่ล้ำค่าเกินฐานะของตนเอง   
   บางครั้งแม้จะได้สิ่งที่เกินฐานะของตนเองมาก็ไม่ลุ่มหลงว่าเป็นสิทธิ์ที่ควร จะได้ กลับเห็นว่าสิ่งที่ได้มานั้นล้ำค่า ควรให้คนอื่นได้มีส่วนร่วมดูแลรักษาหรือบริโภคใช้สอยด้วย โดยการทำให้เกิดประโยชน์แก่ตนเองและแก่สังคมรอบข้าง

   จะเห็นว่า ความสันโดษ เป็นทรัพย์อย่างยิ่ง เป็นการสร้างความสุขให้แก่ชีวิต การรับและการได้มาหากไม่มีสติก็อาจลุ่มหลงไปตามอำนาจของโลภะอย่างไม่มีขอบ เขต "ความรู้จักพอก่อสุขทุกสถาน" จึงเป็นคำเตือนสติให้ตนรู้จักความสุขที่แท้จริง ดังคำพูดที่ว่า คนที่รวยที่สุดคือ คนรู้จักพอใจในสิ่งที่ตนมี และ คนที่จนที่สุดคือ คนที่ไม่รู้จักพอ

   ถ้าทุกคนต่างมี ความสันโดษ พอใจยินดีใช้สอยวัตถุสิ่งของต่างๆ อย่างมีสติ ไม่สุรุ่ยสุร่าย ดำเนินชีวิตด้วยความซื่อสัตย์สุจริต มีความอดทน มีความเพียร มีสติปัญญา และความรอบคอบเพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรอง รับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของสังคม ก็จะสามารถสร้างความอยู่ดีกินดีเป็นเหตุให้เกิดความสุขขึ้นได้

   ดังนั้น ความสันโดษ ความยินดีพอใจ ตามมีตามได้ ตามกำลังและความจำเป็นของตน พร้อมทั้งมีขยันหมั่นเพียรหาเลี้ยงชีพด้วยความสุจริตไม่เป็นภัยต่อตนเองหรือ สังคม เมื่อหาทรัพย์มาได้แล้วต้องรู้จักเก็บออมระมัดระวังในการใช้จ่ายไม่ก่อให้ เกิดหนี้สินก็จะนำมาซึ่งความอยู่ดีมีสุข ความสันโดษ จึงเป็นคุณธรรมที่ทุกคนควรพินิจพิจารณา น้อมนำมาประพฤติปฏิบัติให้เกิดเป็นนิสัยติดตัวโดยแท้.

     เรื่องโดย พระเทพคุณาภรณ์ (โสภณ โสภณจิตฺโต ป.ธ. ๙)
     เจ้าอาวาสวัดเทวราชกุญชร วรวิหาร

ที่มา... ข่าวสดรายวัน วันที่ 03 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
ขอบคุณ //www.tumsrivichai.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538727323&Ntype=56
ขอบคุณภาพจาก //www.dmc.tv/,//a2.sphotos.ak.fbcdn.net/,//www.oknation.net/

sinjai:
ความสันโดษ น่าจะช่วยแก้ปัญหา เรื่องเศรษฐกิจให้กับเราได้บ้าง นะจ๊ะ

 ที่นี้เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับคนที่มีที่ดิน พอจะทำการเกษตรได้ ก็คงจะรอดได้

 แต่ปัญหา คนที่ไม่มีที่ดิน เช่าบ้านอยู่นี่สิ คงต้องปากกัด ตีนถีบ เอาตัวรอดให้ได้ ใช่หรือไม่คะ แล้วจะใช้หลักธรรมข้อใดมาช่วย ฟื้นฟูเยียวยา ให้รอดได้คะ

  :smiley_confused1: :c017:

ความสันโดษเป็นทรัพย์อย่างยิ่งหมายความว่าอย่างไร

ความสันโดษเป็นทรัพย์อย่างยิ่ง ( สนฺตุฏฺฐี ปรมํ ธนํ ) “ถ้าเราทำอะไร.. ที่มีอยู่รอบตัวเราทั้งหมดนี้ ให้เป็นที่พอใจอย่างใดอย่างหนึ่ง ในแง่ใดแง่หนึ่ง มันก็สบาย มันก็ร่ำรวย ร่ำรวยเกินกว่าที่จะร่ำรวย อย่างที่พระบาลี(พระไตรปิฎกภาษาบาลี)ว่า “สนฺตุฏฺฐี ปรมํ ธนํ = สันโดษเป็นทรัพย์อย่างยิ่ง”...

พุทธศาสนสุภาษิตข้อใด สอดคล้องกับคำว่า “ สันโดษ ”

ยถาสารุปปสันโดษ

นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ แปลว่าอะไร

นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ "นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง"

ความหมายของ “บัณฑิต” ในข้อใดชัดเจนที่สุดตามหลักศาสนา

บัณฑิตเป็นผู้ที่ได้ฝึกฝนพัฒนาตนและจิตดีแล้ว การที่บัณฑิตเป็นคนมีความรู้จึงมีความสงบเย็น ผู้ที่มีความมั่นคงทางอารมณ์จัดได้ว่าเป็นบัณฑิต

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก