เพราะเหตุใดจึงกล่าวว่า บิดา มารดา เป็นพรหมของบุตร

บิดามารดา เป็นพรหมของบุตร หรือเป็นพระอรหันต์ของบุตร กันแน่? แล้วพระอรหันต์เป็นอย่างไร ต้องยกยอโฆษณาตนเองหรือ?

ผมขอ ยกที่ผมได้แสดงความเห็นไว้ในกระทู้ก่อนหน้านี้ ผมได้ตอบไว้ดังนี้.
----------------------
ความคิดเห็นที่ 21
    ในพระไตรปิฏกพระพุทธเจ้าตรัสว่า พ่อแม่ เปรียบดังพรหม ของลูก  (เฉพาะลูกไม่ได้เกี่ยวกับบุคคลอื่นๆ ที่ไม่ใช่ลูก)

    ส่วนผู้ใดจะ เปรียบเทียบอื่นใด ก็เป็นเรื่องความเห็นของเฉพาะบุคคลนั้นๆ. (ซึ่งทำให้พอทราบสภาวะของบุคคลนั้นได้ ของผู้มีปัญญา)

    P_vicha
----------------------

  แล้วผู้นั้นได้เสนอข้อมูลว่า...

--------------------------------
ความคิดเห็นที่ 21-1
  แล้วที่พระองค์ตรัสว่าบิดามารดาเป็นอาหุไนยบุคคลล่ะครับ

  (คำว่า อาหุไนยบุคคล หมายถึงพระอริยเจ้า)

   สมาชิกหมายเลข 3344432
----------------------------------

  ผมได้เสนอความคิดเห็นต่อไปว่า..

---------------------------------
ความคิดเห็นที่ 21-2
บุญที่ปรากฏนั้นก็เฉพาะบุตร คือเป็นอาหุไนยบุคคลเพราะเฉพาะกับบุตรเท่านัน ไม่ได้เป็นสารณะของบุคคลทั่วไป

สำหรับพระอริยะบุคคลนั้นเป็นอาหุไนยบุคคล ของสัตว์ทั้งหลาย  เทียบกันไม่ได้เลย หรือประมาณไม่ได้เลยครับ

ดังนั้น การเปรียบเทียบบิดามารดา เป็นดังพระอรหันต์ของบุตร จึงยังไม่สมเหตุสมผล เพราะยังมีคุณสมบัตื และคูณธรรมอีกหลายประการ ที้เทียบไม่ได้

    ดังนั้นผู้มีปัญญาแท้จริง ก็จะไม่กล่าวเช่นนั้น.

    เพียงแต่จะกล่าวว่า ถ้าจะแสวงหาพระอรหันต์ เพื่อจะทำบุญกับท่านเพื่อให้ได้บุญมากๆ จงอย่าแสวงหาให้ลำบากเลย เพราะผู้ที่หาเองก็ไม่มีปัญญารู้ได้ว่าบุคคลใดเป็นพระอรหันต์จริง ถ้าเชื่อในคำโฆษณายกยอและข่าวลือก็จะหลงทางไปกันใหญ่(มีเหตุและมีผลอยู่ในธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้)  จึงเป็นการลำบากเปล่าๆ ทำบุญกับบิดามารดาตนเองนั้นแหละ ง่ายที่สุดได้ผลมาก เมื่อทำบุญกับท่านได้เนื่องๆ ผลบุญก็จะสะสมมากยิ่งกว่า การไปทำบุญกับพระอรหันต์เพียงครั้งหรือสองครั้ง โดยไม่รู้ว่าจริงหรือเท็จหรือเปล่า.

   หมายเหตุ ผมจะยกข้อความไปตั้งกระทู้ใหม่ นะครับ.

P_vicha
-----------------------------------

  ต่อไปจะกล่าวถึง การบรรลุธรรม และเหตุที่ชัดขวางการบรรลุ เป็นพระอริยะบุคคลเบื้องต้น (มีเหตุและมีผลอยู่ในธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้)

    การบรรลุธรรมเป็นพระอริยะ นั้นต้องปฏิบัติธรรม ทั้งสมถะและวิปัสสนา คืออาจจะ สมถะก่อนแล้วตามด้วยวิปัสสนา หรือ วิปัสสนาก่อนแล้วตามด้วยสมถะ  คือสมถะและวิปัสสนาต้องเกื่อหนุนกันจนบรรลุมรรคผลนิพพาน นั้นเอง

       การปฏิบัติกรรมฐานในพระพุทธศาสนา มีอยู่ 40 อย่าง เช่น กสิน 10 พรหมวิหาร 4  มรนานุสติ กายคตานุสติ อานาปานสติ อสุภะกรรมฐาน พุทธนุสติ ธรรมมานุสติ สังฆานุสติ ฯลฯ ซึ่งเป็นการเริ่มต้นการเกิด สมาธิ ให้จิตใจสงบ ไม่วอกแวก ไม่ฟุ้งซ้าน มีอารมณ์เป็นหนึ่งขึ้น หรือคือสมถะ นั้นเอง.
    ส่วนการปฏิบัติกรรมฐานนั้น ก็อาศัยเพียงกรรมฐานใดกรรรมฐานหนึ่ง ปฏิบัติให้ดีให้ชำนาญ หรืออาจจะ 2 - 3 กรรมฐานก็ได้ ที่เหมาะสมกับจริตของจิตตนเอง ปฏิบัติให้ดีสมบูรณ์และสมดุลย์

    ปฏิบัติสมถะนั้นๆ ที่ฃำนาญแล้วดีแล้วจะยกขึ้นเป็นวิปัสสนานั้น เกิดจากการปฏิบัติลงสู้ทางสายเอก คือสติปัฏฐาน 4  ได้แก่ พิจารณา
                  1.กายในกาย
                  2.เวทนาในเวทนา
                  3.จิตในจิต
                 4.ธรรมในธรรม

    แต่ไม่ใช่เป็นการปฏิบัติหยาบๆ แล้วเข้าสู่หรือยกเป็นสติปัฏฐาน 4 ได้  ต้องปฏิบัติธรรมอยู่เนื่องๆ ไม่ทอดธุระ ด้วยธรรมอิทธิบาท 4. คือ มี ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา  และต้องอาศัยธรรมคือ สัมมัปปธาน 4. เป็นธรรมในการระงับกิเลสที่กำลังเกิดขึ้น หรือที่กำลังเกิด หรือที่ยังไม่เกิดไม่ให้เกิดขึ้นในจิตใจ

    เมื่อปฏิบัติสติปัฏฐาน 4 ด้วยมี อิทธิบาท 4 สัมมัปปธาน 4 จนมีพละ 5 คือ สติ สมาธิ ปัญญา(แจ้งชัดในรูป-นาม ตามความเป็นจริงของไตรลักษณ์) ศรัทธา ความเพียร เจริญขึ้นสมบูรณ์ขึ้น สมดุลย์ขึ้น จนมีอินทรีย์ 5 สมบูรณ์ดี

     เมื่อการปฏิบัติสติปัฏฐาน 4 ด้วยอิทธิบาท4 สัมมัปปธาท 4 พละ 5 อินทรีย์ 5 สมบูรณ์พร้อมแล้ว ย่อมทำให้ สติปัฏฐาน 4 นั้น สมบูรณ์พร้อม
     เมื่อปฏิบัติสติปัฏฐาน 4 อยู่เนื่องๆ ไม่ทอดธุระ จนเจริญสมบูรณ์พร้อมก็ย่อมทำให้โพชฌงค์ 7 เจริญสมบูรณ์
     เมื่อปฏิบีติธรรมและอบรมกายและใจอยู่เนื่องๆ ในโพชฌงค์ 7 ไม่ทอดธุระ จนเจริญสมบูรณ์พร้อม ย่อมทำให้มรรคมีองค์ 8 เจริญสมบูรณ์
     เมื่อมรรคมีองค์ 8  เจริญสมมูรณ์พร้อม ย่อมเกิดมรรคสมังคี บรรลุมรรคผลนิพพาน เป็นพระอริยะบุคคลไปตามลำดับ ตั้งแต่โสดาบัน ไปจนถึง อรหันต์บุคคลตามพละกำลังและบารมีที่อบรมมานั้น.

     ซึ่งหมายความว่าการจะบรรลุธรรมเป็นพระอริยบุคคลตั้งแต่เบื้องต้นพระโสดาบันบุคคลนั้น ต้องเจริญ โพธิปักขิยธรรม 37 ประการ ตามที่กล่าวไว้ข้างบนนั้น จนเจริญสมบูรณ์สมดุลย์รวมกันจนเกิด มรรคสมังคี ขึ้นไปตามลำดับนั้นเอง .

     แต่สิ่งที่เป็นกิเลสที่ขวางทางไม่ให้บรรลุมรรคผลนิพพานได้โดยง่ายตั้งสแต่พระโสดาบันนั้นมีอยู่ เมื่อยังปักแน่นในตัณหาเกิดทิฏฐิ(ความประสงค์ ความเห็น ความพยายาม)ส่อไปทาง อยากได้อยากเป็นใน ลาภ ยศ และสรรเสริญ   ติดข้องอยู่ในการโฆษณา อวดเพื่อหวังในลาภ ยศ สรรเสริญ ในตน ซึ่งสวนทางกับการปฏิบัติของพระพุทธเจ้า และคำตรัสของพระพุทธเจ้า.

     เพราะพระพุทธเจ้าตรัสว่า ตอนพระองค์เป็นพระโพธิสัตว์ก่อนตรัสรู้นั้น  พระองค์ปฏิบัติธรรมเพราะเห็นทุกข์จนสละได้ทุกอย่างแม้ชีวิต ก็เพื่อดับทุกข์ ละกิเลสอย่างสิ้นเชิง ไม่ใช่เพื่อลาภ ยศ สรรเสริญ หรือเพื่อยกตนอวดตน.

      พระพุทธเจ้าจึงตรัสถึง มหาโจรทั้ง 5  ที่ยากที่จะบรรลุมรรคผลนิพพาน หรือหมดสิทธิ์ในการบรรลุมรรคผลนิพพานในชาติปัจจุบันนี้อย่างแน่นอนเพราะผิดศีลปาราชิก ในมหาโจรประเภทที่ 1 ดังนี้.

       1.ผู้ที่บวช (หรือมาถือบวชปฏิบัติธรรมของฆราวาส) แล้ว/เพื่อ หวังในลาภ ยศ สรรเสริญ และภายหลังได้ผลตามต้องการ ได้เลี้ยงชีพตามศรัทธาของผู้คนจำนวนหนึ่งหรือหมู่มาก แต่ยังมีกิเลสครบสมบูรณ์ของปุถุชนทั้งที่รู้ตนอยู่ นี้จัดเป็นมหาโจร ประเภทที่ 1.

          ผมไม่ขอกล่าวถึง มหาโจร ประเภทที่เหลื่อ เพื่อให้อยู่ในขอบเขตของกระทู้ที่ตั้งไว้.

      ดังนั้นพระอรหันต์ ไม่ได้ทราบกันได้ด้วยการโฆษานาตัวเอง เพื่อลาภ ยศ และสรรเสริญ นั้นเอง ดังนั้นการทำบุญเพื่อให้ได้บุญมากและโดยง่าย และสะสมจนทวีมากขึ้น ก็คือทำบุญกับ พ่อแม่ตนเองนั้นแหละสะดวกและง่ายที่สุด.

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก