เพราะเหตุใดพระยาภักดีจึงให้เงินนายล้ำ

นางในวรรณคดี พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

ลออ: ความดีงามอันนำไปสู่ความเห็นแก่ลูก

ผู้เขียน สายป่าน ปุริวรรณชนะ
บรรณาธิการ ชนัญญา เตชจักรเสมา

ในบรรดา “นางเอก” จากพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ได้เลือกนำมาแนะนำให้รู้จักในครั้งนี้ “แม่ลออ” คงเป็นตัวละครที่มีบทบาทน้อยที่สุด เหตุเพราะเรื่องราวของเธอมาจากบทละครพูดองก์เดียวเรื่อง เห็นแก่ลูก ซึ่งมีตัวละคร “พระยาภักดีนฤนาถ” กับ “นายล้ำ (ทิพเดชะ)” บิดาเลี้ยงและบิดาแท้ๆ ของเธอเป็นตัวเดินเรื่อง ดังนี้

พระยาภักดีนฤนาทรับแม่ลออ บุตรีวัย ๒ ปีของนายล้ำ อดีตข้าราชการราชทินนาม “ทิพเดชะ” ผู้เคยเป็นเพื่อนสนิทของตนมาเป็นบุตรบุญธรรม เนื่องจากนายล้ำต้องโทษจำคุกฐานทุจริต ๑๕ ปีให้หลังนายล้ำกลับมาทวงสิทธิ์ความเป็นพ่อที่แท้จริงของแม่ลออจากพระยาภักดีฯ ด้วยหวังว่าจะให้ลูกสาวอุปการะเลี้ยงดูตน พระยาภักดีฯ ไม่อยากให้แม่ลออต้องอับอายที่มีพ่อเป็นอดีตนักโทษ หนำซ้ำยังอาจถูกครอบครัวของคู่หมายซึ่งเป็นชายหนุ่มชาติตระกูลดีและคนอื่นๆ ในวงสังคมชั้นสูงรังเกียจจึงพยายามเสนอให้นายล้ำรับเงิน ๑๐๐ ชั่งเป็นค่าปิดปาก แต่นายล้ำดึงดันจะเปิดเผยความจริง พระยาภักดีเกือบจะทำร้ายนายล้ำ ทว่าแม่ลออกลับมาถึงบ้านเสียก่อน เมื่อนายล้ำได้พูดคุยกับลูกสาวและรู้ว่าแม่ลออวาดภาพ “พ่อที่แสนดี” ไว้ในใจก็นึกละอาย สุดท้ายก็จากไปโดยไม่บอกแม่ลออว่าตนเป็นใคร

ไม่น่าเชื่อว่าสิ่งที่ทำให้นายล้ำผู้หวังจะมา “เกาะลูกสาวกิน” เปลี่ยนใจด้วยเกิดสำนึกละอายนั้นจะได้แก่คำพูดไม่กี่ประโยคของแม่ลออว่า

ถ้ายังงั้นดิฉันก็ยิ่งดีใจมากขึ้นที่ได้พบคุณ ก็คุณพ่อดิฉันที่ตายล่ะคะรู้จักไหม? (นายล้ำพยักหน้า.) ถ้ายังงั้นคุณก็ดีกว่าดิฉัน ดิฉันไม่รู้จักเลย,เคยเห็นแต่รูปที่ในห้องคุณแม่รูปร่างสูง ๆ หน้าอกกว้าง ดิฉันช่าง ชอบหน้าเสียจริง ๆ หน้าตาเป็นคนซื่อ ใจคอกว้างขวาง, ถ้าใครบอกดิฉันว่าเป็นคนไม่ดี ดิฉันไม่ยอมเชื่อ เป็นอันขาดเทียว แต่ท่านก็เป็นคนดีจริง ๆ อย่างที่ดิฉันนึกเดาเอาในใจ คุณพ่อนี่ก็ได้บอกดิฉันว่างั้น จริง ไหมคะ คุณพ่อ?

น่ายินดีที่จิตใจอันดีงามซึ่งสะท้อนผ่านการกระทำและคำพูดของลูกสาวทำให้ “พ่อที่ (เคย) เห็นแก่ตัว” อย่างนายล้ำ รู้จัก “เห็นแก่ลูก” ขึ้นมาได้ และก็น่าจะเป็นแรงบันดาลใจให้นายล้ำเลิกพฤติกรรมไม่ดีไม่งามในอดีต กลับตัวกลับใจเพื่อจะเป็น “พ่อที่ดี” ให้สมแก่ภาพของพ่อในหัวใจของลูกสาวได้ด้วย

สันนิษฐานว่าบทละครเรื่องนี้เป็นบทละครพูดพระราชนิพนธ์ภาษาไทยเรื่องแรกที่มิได้ทรงแปลจากบทละครต่างประเทศ ทรงใช้พระนามแฝงว่า “พระขรรค์เพชร” พร้อมทั้งพระราชทานชื่อเรื่องภาษาอังกฤษว่า “For His Child” ต่อมาหลังจากทรงตั้งทวีปัญญาสโมสรและสร้างโรงละครทวีปัญญาในปี พ.ศ. ๒๔๔๗ ละครพูดเรื่องเห็นแก่ลูกเป็นละครเรื่องหนึ่งในสองเรื่อง (อีกเรื่อง คือ ละครจากพระราชนิพนธ์แปลเรื่อง “เกินต้องการ”) ของรายการ “ละครสราญรมย์” เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑๑ กันยายน พ.ศ. ๒๔๕๔ ซึ่งเป็นรายการเดียวที่มีหลักฐานยืนยันว่าได้จัดแสดงในโรงละครทวีปัญญาสโมสร มีรายนามผู้แสดงดังนี้ หลวงเทพรัตนนรินทร์ รับบทพระยาภักดีนฤนารถ นายจำนงราชกิจ รับบทนายล้ำ ทิพเดชะ หลวงสวัสดิ์เวียงไชย รับบท อ้ายคำ นายช่วง รับบท แม่ลออ

อนึ่ง ในการนั้นโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งคณะเจ้าหน้าที่ละครสราญรมย์ ได้แก่ นายวรการบัญชาทำหน้าที่ผู้ช่วยผู้อำนวยการทั่วไป นายจำนงราชกิจทำหน้าที่เลขานุการ หลวงบุรีนวราษฐ์ทำหน้าที่ผู้จัดการแผนกฉาก หลวงพิทักษ์มานพทำหน้าที่ผู้จัดการแผนกโยธา ขุนประสานดุริยศัพท์ทำหน้าที่ครูผู้อำนวยการวงปี่พาทย์ ส่วนเครื่องเรือนประกอบฉากนำมาจากกองมหันตโทษ

หลังจากคราวละครสราญรมย์ ละครพูดเรื่องเห็นแก่ลูกได้นำมาจัดแสดงอีก ๒ ครั้งในรัชกาล ได้แก่ แสดงใน “เวรอันเต” ของหม่อมหลวงปิยบุตร์ และทรงเรียกบทไปทอดพระเนตรเพื่อจัดการฝึกซ้อมเมื่อวันที่ ๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๓

บทละครพูดเรื่องเห็นแก่ลูกยังได้รับความนิยมแม้ภายหลังรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ดังเช่นเมื่อวันที่ ๓๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๙๓ ได้มีการจัดแสดงละครพูดเรื่องนี้ขึ้นอีกครั้งหนึ่งในการเปิดชุมนุมดนตรีและละครของคุรุสภา ผู้ที่รับบทเป็นนายล้ำ (ทิพเดชะ) ได้แก่ นายขาว โกมลมิศร์ เล่ากันว่าท่านผู้นี้เข้าถึงบทบาทมากจนกระทั่งน้ำตาไหลขณะแสดง

แม้ว่าบทพระราชนิพนธ์เรื่อง เห็นแก่ลูก จะมีความยาวไม่มากนัก แต่กลับเป็นที่จับใจของผู้ที่ได้อ่านและได้ชมละครเรื่องนี้เป็นอย่างยิ่ง เห็นได้จากที่มีการแสดงละครเรื่องนี้ซ้ำหลายรอบดังที่ได้กล่าวมาแล้ว และยังคงได้รับการกล่าวถึง ตลอดจนบรรจุเป็นบทอ่านในหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ ในปัจจุบัน

บรรณานุกรม ปิ่น มาลากุล, หม่อมหลวง. งานละครของสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าแผ่นดินสยาม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๕๒. มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. เห็นแก่ลูก หนามยอกเอาหนามบ่ง คดีสำคัญ. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, ๒๕๑๓. เชิญพบกับลออได้ใน เห็นแก่ลูก ฉบับดิจิทัลออนไลน์เปิดอ่านได้ฟรี

//eresource.car.chula.ac.th/chula-ebooks/redirect.php?name=K6-00049

แกจะมาให้แม่ลออเป็นหมาหัวเน่าหรือ หมาหัวเน่า ในที่นี้มีความหมายว่าอย่างไร

a) บุคคลที่มีนิสัยไม่ดี

b) บุคคลที่สังคมรังเกียจ

c) บุคคลที่ไม่มีคุณลักษณะของกุลสตรี

d) บุคคลที่รูปร่างอัปลักษณ์

ข้อใด ไม่ใช่ ลักษณะของบทละครพูด

a) การกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ

b) การเคารพนับถือผู้ใหญ่

c) การมีน้ำใจต่อผู้อื่น

d) การมีปิยวาจา

นิสัยข้อใดของแม่ลออ ที่นักเรียนสามารถนำมาเป็นแบบอย่างในชีวิตได้

a) การสนทนาโต้ตอบของตัวละคร

b) สอดแทรกแนวคิด ข้อคิด คติเตือนใจ

c) เป็นการแสดงที่จำลองชีวิตจริง

d) มีบทร้อยกรองประกอบ และการร่ายรำประกอบ

นายล้ำมอบสิ่งใดเป็นของขวัญวันแต่งงานแก่แม่ลออ

a) สร้อยของแม่นวลที่นายล้ำซื้อให้

b) แหวนรักของนายล้ำที่ใส่มาตั้งแต่ยังหนุ่ม

c) แหวนของแม่นวลที่นายล้ำเก็บไว้ดูต่างหน้า

d)

จากบทละครพูดเรื่องเห็นแก่ลูก นักเรียนคิดว่าลักษณะของตัวละครใดที่มีพฤติกรรมสอดคล้องกับชื่อเรื่อง

a) นายล้ำ

b) แม่ลออ

c) อ้ายคำ

d) พระยาภักดีนฤนาถ

เพราะเหตุใดพระยาภักดีฯ จึงให้เงินนายล้ำและขอร้องแกมบังคับให้รีบหนีไป

a) ให้ไปตั้งตัวใหม่

b) ให้ตอบแทนที่สำนึกตัวได้

c) ตอบแทนนายล้ำที่ยกแม่ลออให้

d) ให้เป็นสินน้ำใจในฐานะเพื่อนเก่า

จากบทละครพูดเรื่องเห็นแก่ลูก การที่นายล้ำยอมกลับโดยไม่เปิดเผยให้แม่ลออรู้ เพราะสาเหตุใดเป็นสำคัญ

a) เพื่อพิสูจน์ความเป็นชายชาตรี

b) เพื่อเอาชนะคำสบประมาทของพระยาภักดี

c) เพื่อแสดงว่าตนมีศักดิ์ศรี

d) เพื่อให้แม่ลออมีชีวิตที่สุขสบาย

“เห็นได้ว่าเป็นคนกินเหล้าจัด แต่งกายจะค่อนข้างจะปอน ๆ แต่ยังเห็นได้ว่าเคยเป็นผู้ดีมาครั้งหนึ่งแล้ว” นักเรียนคิดว่าข้อใดแสดงให้เห็นว่าเคยเป็นผู้ดี ?

a) รูปร่าง

b) คำพูด

c) หน้าตา

d) บุคลิกภาพ

อ้ายคำปฏิบัติต่อแขกของนายเหมาะสมหรือไม่ เพราะเหตุใด

a) เหมาะสม เพราะสุภาพและรักษาประโยชน์ของนาย

b) หมาะสม เพราะแขกแต่งตัวสกปรก

c) ไม่เหมาะสม เพราะไม่ควรให้แขกเข้าบ้านเมื่อไม่น่าไว้วางใจ

d) ไม่เหมาะสม เพราะอ้ายคำเป็นแค่บ่าว

พฤติกรรมทั่วไปของนายล้ำ แสดงให้เห็นว่าเป็นคนเช่นไร

a) ฉ้อโกง

b) เกียจคร้าน

c) ไม่รับผิดชอบ

d) ไม่ชอบทำงานประจำ

อ้ายคำเป็นแบบอย่างที่ดีเด่นชัดในเรื่องใด

a) มีความกตัญญู

b) มีความเสียสละ

c) ไม่ไว้ใจคนแปลกหน้า

d) มีความซื่อ

การที่นายล้ำประพฤติผิดจนกลายเป็นคนสิ้นไร้ไม้ตอกและคิดประกอบอาชีพสุจริตในตอนท้าย ให้ข้อคิดเรื่องใด

a) ผู้หลงผิดเมื่อกลับตัวได้ย่อมได้รับความชื่นชมจากชนทุกชั้น

b) พฤติกรรมมีส่วนสำคัญในการกำหนดชะตาชีวิตมนุษย์

c) โชคร้ายเป็นเรื่องของเคราะห์กรรมที่ไม่มีใครฝ่าฝืนได้

d) มนุษย์ย่อมทำได้ทุกอย่างเพื่อความอยู่รอดเมื่อไม่มีทางเลือก

เมื่ออ่านบทละครพูดเรื่องเห็นแก่ลูกแล้ว สิ่งที่น่าประทับใจมากที่สุด คือข้อใด

a) ความรักของพ่อกับลูก

b) ความรักในครอบครัว

c) ความรักของหนุ่มสาว

d) ความรักของชู้

ข้อใด ไม่ใช่ ผู้แต่งบทละครพูดเรื่อง เห็นแก่ลูก

a) พระขรรค์เพชร

b) พระมหาธีรราชเจ้า

c) พระยาอุปกิตศิลปสาร

d) พระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖

ข้อใดเป็นลักษณะที่สำคัญที่สุดของบทละครพูด

a) มีข้อคิดแลคติธรรม

b) สร้างอารมณ์สะเทือนใจ

c) ดำเนินเรื่องด้วยบทสนทนา

d) มีการบรรยายฉาก

เหตุผลใดที่นายล้ำมาพบพระยาภักดี

พระยาภักดีนฤนาทรับแม่ลออ บุตรีวัย ๒ ปีของนายล้ำ อดีตข้าราชการราชทินนาม “ทิพเดชะ” ผู้เคยเป็นเพื่อนสนิทของตนมาเป็นบุตรบุญธรรม เนื่องจากนายล้ำต้องโทษจำคุกฐานทุจริต ๑๕ ปีให้หลังนายล้ำกลับมาทวงสิทธิ์ความเป็นพ่อที่แท้จริงของแม่ลออจากพระยาภักดีฯ ด้วยหวังว่าจะให้ลูกสาวอุปการะเลี้ยงดูตน พระยาภักดีฯ ไม่อยากให้แม่ลออต้องอับอายที่ ...

เพราะเหตุใดพระยาภักดีนฤนาถจึงไม่ให้นายล้ำพบแม่ลออ

๑๕ ปีต่อมา นายล้ำมาที่บ้านพระยาภักดีในสภาพสิ้นเนื้อประดาตัวหวังพึ่งพาแม่ลออที่กำลังจะแต่งงาน แต่พระยาภักดีไม่ยินยอมให้นายล้ำแสดงตนว่าเป็นบิดาของแม่ลออ เพราะเกรงว่าบุตรสาวจะอับอายและถูกสังคมรังเกียจ จึงเสนอเงินให้แก่นายล้ำ ๑๐๐ ชั่ง แต่นายล้ำไม่ยอมจนทั้งคู่เกือบต้องใช้กำลัง ครั้นแม่ลออกลับมาบ้านก็ได้สนทนากับนายล้ำ นายล้ำ ...

นายลํ้าต้องการพบแม่ลออเพราะเหตุใด

พระยาภักดีเกรงว่าบุตรสาวจะต้องอับอายขายหน้า จึงให้ เงินนาย เพื่อให้กลับไป นายล้าแสดงความเห็นแก่ตัวโดย จะขอพบแม่ลออ แม่ลออบังเอิญมาพบและพูดด้วย ความภาคภูมิใจในบิดาที่ให้กำเนิดตน นาย เกิด ความละอายใจและเห็นแก่ลูก ไม่เปิดเผยความจริงเพื่อให้ แม่ลออมีชีวิตที่มีความสุขต่อไป

พระยาภักดีนฤนาถ เป็นคนยังไง

เป็นคนอ่อนโยน เรียบร้อย สุภาพ และมีมารยาทงามสมกับเป็นตระกูลผู้ดี อีกทั้งยังเป็นคนที่มองโลกในแง่ดี

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก