เพราะ เหตุ ใด จีนจึง ติดต่อ ค้าขายกับ สุโขทัย 1 คะแนน

ในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ราชอาณาจักรสุโขทัยมีความเจริญรุ่งเรืองมาก เพราะพระองค์เป็นทั้งนักรบและนักปราชญ์ ทรงปกครองประเทศชาติได้เป็นปึกแผ่นและมีการขยายการค้าไปทั่วราชอาณาจักรและไปถึงต่างประเทศ จากความเจริญรุ่งเรืองและมีการประกอบการค้าทั้งในและนอกราชอาณาจักรในยุตสมัยราชอาณาจักรสุโขทัยดังที่กล่าวมาข้างต้นปรากฏในศิลาจารึกซึ่งแสดงหลักฐานว่า มีการจัดเก็บภาษีอากรมาตั้งแต่ก่อนยุคพ่อขุนรามคำแหง คือข้อความตอนหนึ่งที่ว่า

เมื่อชั่วพ่อขุนรามคำแหง   เมืองสุโขทัยนี้ดี

ในน้ำมีปลาในนามีข้าว   เจ้าเมืองบ่เอาจังกอบในไพร่ลู่ทาง

เพื่อนจองวัวไปค้า   ขี่ม้าไปขาย

ใครจักค้าช้างค้า   ใครจักค้าม้าค้า

�ҡ���������������  ��кҷ���稾�й���������������� �������ɮ��Ҫ��� �ç�繹ѡ��ä�ҷ����ʺ������������㹸�áԨ��ä�� ���դ�����ԭ��觤��  �����੾�о��ͧ��  ���ѧ�ӼŻ���ª��������ҹ���ͧ  ���ͧ��ç�繾�ͤ�ҷ��ŧ�ع���Ѻ��ЪҪ��ͧ���ͧ��  ŧ�ع���Ѻ��ҹ���ͧ����Ȫҵ�  �������ѧ�ŵͺ᷹  �繷���Шѡ��Ѵ���  ���ç�ӹ֧�֧��ǹ���ͧ����¹͡�ҡ��ЪҪ�����蹴Թ��  ��觤��·ء���������㨡ѹ�Դ�ٹ������õԤس�ͧ���ͧ����� �ç�� ��кԴ���觡�ä����.

การพัฒนาทางด้านการค้าขาย ที่ตั้งของเมืองสุโขทัยแม้จะไม่เหมาะสมที่จะเป็นศูนย์กลางการค้าแต่ความพยายามของผู้ปกครองที่จะส่งเสริมการค้าขายเพื่อหารายได้ชดเชยด้านการเกษตรกรรมที่ไม่ค่อยสมบูรณ์นักทำให้การค้าของอาณาจักรสุโขทัยรุ่งเรือง ทั้งการค้าภายในประเทศและการค้ากับต่างประเทศซึ่งขอแยกพิจารณาดังนี้

1 การค้าภายในประเทศ ลักษณะการค้าภายในประเทศในสมัยสุโขทัยเป็นอย่างไรไม่ทราบชัดเจน แต่มีข้อความปรากฎในศิลาจารึกหลักที่ 1 ตอนหนึ่งว่า “…เบื้องตีนนอนเมืองสุโขทัยมีตลาดป(สา)น มีพระอจนะ มีปราสาท มีป่าหมากพร้าว ป่าหมากกลาง มีไร่นา มีถิ่นถาน มีบ้านใหญ่เร…” คำว่า “ ปสาน “ แปลว่า ตลาดที่มีห้องหรือร้านเป็นแถวติดต่อกัน ภาษาเปอร์เชียว่า “ บาซาร์ “ แสดงให้เห็นว่าในเมืองสุโขทัยมีตลาดประจำสำหรับประชาชนซื้อขายสินค้ากัน ตลาดปสานนี้คงตั้งอยู่ในย่านชุมชน เพราะปรากฎข้อความในจารึกว่ามีถิ่นฐาน มีบ้านใหญ่บ้านเล็ก นอกจากมีตลาดปสานอันเป็นตลาดประจำแล้ว เชื่อว่าคงมีตลาดชนิดที่เรียกว่า “ ตลาดนัด “ ด้วย สำหรับการซื้อขายประจำวันโดยปกติคงทำกันที่ตลาดปสาน โดยพ่อค้าแม่ค้ามีร้านขายสินค้าอยู่ในตลาดนั้น ประชาชนต้องการสิ่งของอะไรก็ไปที่ร้านขายของตลาดปสานซื้อหาได้ทันที

2 การค้ากับต่างประเทศ การค้ากับต่างประเทศในสมัยสุโขทัยส่วนใหญ่เป็นการค้าเครื่องปั้นดินเผาที่เรียกว่า “ สังคโลก “ เริ่มเจริญรุ่งเรืองในสมัยพ่อขุนรามคำแหง ปรากฎในช่วงที่ตรงกับสมัยนี้จีนประสบอุปสรรคในการส่งสินค้าเครื่องปั้นดินเผาออกนอกประเทศ ทั้งนี้เพราะจีนเกิดสงครามกลางเมือง มีการเปลี่ยนราชวงศ์จากซ้องมาเป็นมองโกลแล้วก็เปลี่ยนราชวงศ์เหม็ง สงครามอันยาวนานนี้ทำให้จีนปั่นป่วนเกิดความอดอยาก ทั้งมีโรคระบาดและน้ำท่วม เมื่อบ้านเมืองวุ่นวายโจรผู้ร้ายก็ชุกชุม อีกทั้งชายฝั่งทะเลของจีนยังถูกโจรสลัดญี่ปุ่นรบกวนอีกด้วย ทำให้จีนไม่สามารถผลิตอุตสาหกรรมเครื่องปั้นดินเผาของตนได้และก็ไม่สามารถส่งออกจำหน่าย่ต่างประเทศอีกด้วย ในช่วงนี้เป็นช่วงที่สุโขทัยจะเข้ายึดการค้าเครื่องปั้นดินเผาของจีนมา สุโขทัยคงจะสร้างงานหัตถกรรมเครื่องปั้นดินเผาขึ้นมาโดยอาศัยความช่วยเหลือจากช่างเทคนิคของจีน ดังนั้น ลักษณะบางประการของเครื่องปั้นดินเผาของสุโขทัย จึงมีอิทธิพลของจีนอย่างมาก และสามารถนำไปขายในตลาดในฐานะแทนของจีนที่ขาดตลาดไป สำหรับเส้นทางทางการค้ากับต่างประเทศมีเส้นทางที่สำคัญ ดังนี้

2.1 เส้นทางขนส่งทางบก ประกอบด้วยเส้นทางที่สำคัญ 3 สายคือ
1. เส้นทางทางบกสายเมืองสุโขทัย ผ่านเมืองตากไปเมืองเมาะตะมะ เส้นทางสายนี้อาจจะใช้เส้นทางที่เรียกว่า “ ถนนพระร่วง “ เลียบตามลำแม่น้ำยมและเลียบที่ราบ “ คุ้มแม่สอด “ ซึ่งเป็นเส้นทางที่ใช้เดินทางติดต่อระหว่างเมืองสุโขทัยกับเมืองหงสาวดีตั้งแต่สมัยโบราณ

2. เส้นทางบกสายเมืองสุโขทัย ผ่านเมืองเพชรบุรี เมืองกุยบุรี เมืองมะริด ไปถึงตะนาวศรี

3. เส้นทางบกสายเมืองสุโขทัย ผ่านเมืองตาก เมืองลำพูน ขึ้นไปถึงเมืองเชียงใหม่ ซึ่งเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรล้านนาไทย

2.2 เส้นทางขนส่งทางน้ำ สินค้าที่เป็นเครื่องปั้นดินเผาจะถูกบรรทุกลงเรือขนาดเล็กล่องจากเมืองศรีสัชนาลัย เมืองสุโขทัยไปตามแม่น้ำยมลงไปถึงเมืองพระบาง เมืองชัยนาท และกรุงศรีอยุธยา หลังจากนั้นจะบรรทุกสินค้าลงเรือขนาดใหญ่ส่งไปขายต่างประเทศ เส้นทางขนส่งทางน้ำตั้งแต่กรุงศรีอยุธยาลงไปประกอบด้วยเส้นทางที่สำคัญ 4 สาย ดังนี้คือ

1. เส้นทางจากกรุงศรีอยุธยาไปยังเมืองต่าง ๆ ในหมู่เกาะริวกิว โดยเริ่มจากสันดอน ปากแม่น้ำเจ้าพระยาในอ่าวไทย ผ่านสมุทรปราการ เกาะสีชัง พัทยา สัตหีบ ตราด กัมพูชา จาม เวียดนาม และตัดตรงผ่านทะเลจีนใต้ไปยังหมู่เกาะริวกิว หลักฐานทางโบราณคดีที่พบ คือ ซากเรือสำเภา โบราณที่สัตหีบ เรือสำเภาที่เกาะกระดาด และซากเรือสำเภาโบราณที่ชายฝั่งทะเลจังหวัดจันทบุรี

2. เส้นทางจากกรุงศรีอยุธยาไปยังหมู่เกาะพิลิปปินส์ โดยเริ่มจากสันดอนปากแม่น้ำเจ้าพระยาในอ่าวไทยตรงไปสัตหีบ แล้วตัดตรงไปยังเมืองปัตตานี และเมืองมะละกา ซึ่งเป็นศูนย์กลางการค้าที่สำคัญ หลังจากนั้นมีเส้นทางต่อไปยังหมู่เกาะอินโดนีเซีย เกาะเชเลเซย์ และหมู่เกาะฟิลิปปินส์ การขนส่งตามเส้นทางนี้ต้องใช้เรือเดินทะเลขนาดใหญ่ เพราะการเดินทางใช้เวลานาน

3. เส้นทางจากกรุงศรีอยุธยาไปยังเมืองสงขลา โดยเริ่มจากสันดอนปากแม่น้ำเจ้าพระยาในอ่าวไทย แต่น่าจะใช้เรือขนาดกลางบรรทุกเครื่องปั้นดินเผาไปขายแก่พ่อค้าชาวต่างประเทศ่ตามเมืองท่าสำคัญทางชายฝั่งทะเลด้าน่ตะวันออกของอ่าวไทย เช่นเมืองนครศรีธรรมราช และเมืองสงขลา หลักฐานโบราณคดีที่พบ คือ ซากเรือโบราณที่เมืองนครศรีธรรมราชและซากเรือสำเภาโบราณที่เมืองสงขลา

           การมีเงินตราใช้เป็นตัวกลางแลกเปลี่ยนทำให้สะดวกต่อการชำระหนี้ในการซื้อขาย  และการชำระหนี้จึงมีการกระจายสินค้าอย่างกว้างขวาง  ตลาดการค้าขยายตัว  พ่อค้าได้รับความสะดวก  สามารถใช้เงินพดด้วงซื้อสินค้าราคาแพงได้สะดวกขึ้น

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก