นัก ดนตรี ใน ยุค กลาง ส่วน มาก คือ ใคร

1. สมัยกลาง ( The Middle Ages ค.ศ. 850 – 1450 ) พ.ศ. 1393 – 1993 ก่อนสมัยนี้ราวศตวรรษที่ 6 ดนตรีขึ้นอยู่กับศาสนา Pope Gregorian เป็นผู้รวบรวมบทสวด เป็นทำนองเดียว ( Monophony ) โดยได้ต้นฉบับจากกรีก เป็นภาษาละติน ต่อมาจึงมี 2 ทำนอง( Polyphony ) ศตวรรษที่ 11 การศึกษาเริ่มในโบสถ์ในสมัยกลางนี้เองได้เริ่มมีการบันทึกตัวโน้ต โดยมีพระองค์หนึ่งเป็นชาวอิตาเลียนชื่อ Guido D’Arezzo ( พ.ศ. 1538 – 1593 ) ได้สังเกตเพลงสวดเก่าแก่เป็นภาษาละตินเพลงหนึ่งแต่ละประโยคจะมีเสียงค่อย ๆ สูงขึ้น จึงนำเอาเฉพาะตัวแรกของบทสวดมาเรียงกัน จึงออกเป็น Do Re Mi Fa Sol La Te Do( เว้นตัว Te เอาตัวที่ 2 ) ต่อมา ค.ศ. 1300 ( พ.ศ. 1843 ) ดนตรีก็เริ่มเกี่ยวกับศาสนาอย่างแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น

2. สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา ( The Renaissance Period ค.ศ. 1450 – 1600 ) ยุคนี้เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 1993 – 2143 ตรงกับสมัยโคลัมบัส และเชคสเปียร์ ดนตรีในยุคนี้มักจะเป็นการเริ่มร้องหมู่เล็ก ๆ ส่วนใหญ่จะเกี่ยวกับการร้องเพื่อสรรเสริญพระเจ้า ร้องกันในโบสถ์มี 4 แนว คือ โซปราโน อัลโต เทเนอร์ และเบส การร้องจะมีออร์แกนหรือขลุ่ยคลอ ดนตรีในสมัยนี้ยังไม่มีโน้ตอ่าน และมักเล่นตามเสียงร้อง 

3. สมัยบาโรค ( BaroQue ค.ศ. 1650 – 1750 ) ยุคนี้เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2143 – 2293 และนักดนตรีที่มีชื่อเสียงในยุคนี้ได้แก่ บาค ไฮเดิล ในยุคต้นของสมัยบาโรค ( พ.ศ. 2143 – 2218 ) มีเครื่องดนตรีประมาณ 20 – 30 ชิ้นสลับกันเล่น เพื่อให้มีรสชาติในการฟังเครื่องดนตรีในการคลอเสียงร้อง เช่น ลิ้วท์ ขลุ่ย ต่อมาได้วิวัฒนาการใช้เครื่องสายมากขึ้นเพื่อประกอบการเต้นรำ รวมทั้งเครื่องลมไม้ด้วย ในสมัยนี้ผู้อำนวยเพลงจะเล่นฮาร์พซิคอร์ด

4. สมัยคลาสสิค ( Classical Period ค.ศ. 1750 – 1825 ) ตั้งแต่ พ.ศ. 2273 – 2368 สมัยนี้ตรงกับการปฏิวัติและการปฏิรูปในอเมริกา ไฮเดิลเป็นผู้ริเริ่มในการแต่งเพลงและคลาสสิค การแต่งเพลงในยุคนี้เกิดจากความคิดสร้างสรรค์ และจินตนาการของคีตกวีที่จะเลือกใช้เครื่องมือให้เหมาะสมกับลีลา และโอกาสตามอารมณ์ของดนตรี เช่น ดนตรีลักษณะหวานก็ใช้ไวโอลิน ถ้าแสดงความองอาจกล้าหาญ ก็ใช้แตรทรัมเปต มีการเดี่ยวเครื่องดนตรี นักดนตรีต้องศึกษาและเล่นให้ถูกต้องตามแบบแผน เพราะดนตรีในยุคนี้เริ่มเข้าร่องเข้ารอย คีตกวีในยุคที่มีไฮเดิล โมสาร์ท กลุ๊ก บีโธเฟน โดยเฉพาะบีโธเฟน เป็นคีตกวีในสมัยโรแมนติกด้วย

5. สมัยโรแมนติก ( Romantic Period ค.ศ. 1825 – 1900 ) พ.ศ. 2368 – 2443 สมัยนี้ตรงกับสมัยนโปเลียนแห่งฝรั่งเศส เพลงในสมัยนี้ ผิดไปจากเพลงในสมัยก่อน ๆ คือเมื่อก่อนเริ่มแรกเกี่ยวกับศาสนา ต่อมามีการเลือกใช้เครื่องดนตรีและในสมัยนี้ จะแต่งตามจุดประสงค์ตามความคิดฝันของคีตกวี เน้นอารมณ์เป็นสำคัญนักแต่งเพลงที่มีชื่อเสียงในสมัยนั้นมี ชูเบิร์ต เสตร้าส์ เมนโดโซน โชแปง ชูมานน์ บราหมส์ ไชคอฟสกี้ โดยเฉพาะในยุคนี้ แต่ละประเทศในยุโรปจะมีความนิยมไม่เหมือนกัน เช่น ลักษณะของเพลงร้อง เพลงประกอบละคร เพลงเต้นรำแบบวอลท์ เป็นไปตามคีตกวีและความนิยมส่วนใหญ่

6. สมัยอิมเพรสชั่นนิสซึม ( Impressionism ค.ศ. 1850 – 1930 ) ประมาณ พ.ศ. 2393 – 2473 เป็นสมัยแห่งการใช้ความคิดสร้างสรรค์ ดัดแปลงดั้งเดิมจากสมัยโรแมนติกให้แปลกออกไปตามจินตนาการของผู้แต่ง เปรียบเทียบได้กับการใช้สีสันในการเขียนรูปให้ฉูดฉาด ในด้านดนตรีผู้ประพันธ์มักสรรหาเครื่องดนตรีแปลก ๆ จากต่างประเทศ เช่น จากอินเดียมาผสมให้มีรสชาติดีขึ้น การประสานเสียงบางครั้งแปร่ง ๆ ไม่รื่นหูเหมือนสมัยก่อน ทำนองเพลงอาจนำมาจากทางเอเชียหรือประเทศใกล้เคียง แล้วมาดัดแปลงให้เหมาะสมกับดุริยางค์ นักดนตรีที่มีชื่อเสียงในสมัยนั้นมี คลาวด์อบุชชี อิกอร์ สตราวินสกี่ อาร์โนลด์ โชนเบิร์ล           

7. สมัยคอนเทมพอลารี ( Contempolary ค.ศ. 1930 – ปัจจุบัน ) หรือ Modern Music – Eletronics ตั้งแต่ พ.ศ. 2473 จนถึงปัจจุบัน ชีวิตของคนในปัจจุบันอยู่กับความก้าวหน้า ทางวิทยาศาสตร์ได้รู้ได้เห็นสิ่งแปลก ๆ ใหม่ ๆ เช่น ไอพ่น ยานอวกาศโทรทัศน์ นักแต่งเพลงปัจจุบัน จึงเปลี่ยนวิธีการของการประพันธ์เพลงให้เป็นไปในแบบปัจจุบัน

ในยุคสมัยบาโรค คีตกวีส่วนมากนิยมประพันธ์เลิกนิมยมการประพันธ์สไตล์ Polyphony และหันมาสนใจแบบ Monody คือในบทเพลงที่มีแนวทำนองขับร้องแนวเดียว ดำเนินทำนองและมีแนวสำคัญที่เรียกเป็นภาษาอิตาเลี่ยนว่า Basso continuo ทำหน้าที่คลอเคลื่อนที่ตลอดเวลาประกอบจึงทำให้เกิดคอร์ดขึ้นมา

แต่ในยุคสมัยนี้ก็ยังไม่ได้เลิกประพันธ์เพลงแบบ polyphony ซะทีเดียว การประพันธ์แบบpolyphony ยังปรากฏอยู่ใน Fugue ,organ corale ,cantata 


เพลงแบบ Homophony ได้รับการพัฒนาอย่างสมบูรณ์แบบ ผู้ที่มีชื่อเสียงในฐานะผู้บุกเบิกการประพันธ์เพลงแบบบรรเลงในยุคนี้คือ Vivaldi ส่วนโครงสร้างเพลงอื่นๆก็มีความสลับซับซ้อนมากขึ้น มีสีสันเสียงมากขึ้น


ลักษณะของเพลงยุคบาโรค


1. การทำให้เกิดความขัดกัน (Contrast) ดัง-เบา เร็ว-ช้า บรรเลงเดี่ยว-บรรเลงร่วมกัน พบได้ใน Trio sonata ,Concerto grosso 

2. คีตกวีส่วนใหญ่ไม่ได้เขียนเพลงบรรเลงอย่างครบสมบูรณ์เพราะว่าต้องการให้ผู้บรรเลงได้แสดงศักยภาพในการเล่นโดยใช้ไหวพริบปฏิภานหรือการ Improvisation ในแนวของตนเอง



คีตกวีในยุคบาโรค


1. Johann Sebastian Bach (J.S Bach)




2.George Federic Handel


3. Antonio Vivaldi


4.Johann Pachebel


Four seasons (winter) -Vivaldi




4. ยุคสมัยคลาสสิค (1750-1820)


ในสมัยนี้ดนตรีเริ่มแพร่หลายสู่ประชาชนมากขึ้น สถาบันศาสนาจึงไม่ใช่ศูนย์กลางของดนตรีอีกต่อไป ยุคนี้ถือเป็นยุคของดนตรีบริสุทธิ์ เพลงในสมัยนี้จึงเป็นเพลงที่ประพันธ์ขึ้นเพื่อการฟังโดยเฉพาะ ไม่ใช่การประพันธ์เพื่อประกอบพิธีทางศาสนา ส่วนใหญ่มักเป็นเพลงบรรเลง ใช้Polophony น้อยลง ใช้ Homophony มากขึ้น มีกฏเกณฑ์ในการแต่งเพลงที่เคร่งครัด มีการกำหนดจังหวะที่สม่ำเสมอกัน การเขียนทำนองเพลงมีการพัฒนาให้มีหลักเกณฑ์และความสมดุล

 เพลงที่นิยมมากที่สุดคือ Symphony 


ลักษณะของเพลงในยุคคลาสสิค


1.ลักษณะเปลี่ยนไปจากยุคบาโรคโดยสิ้นเชิงคอืไม่นิยมการประสานเสียง และหันมานิยมการเน้นทำนองหลักโดยมีแนวเสียงอื่นประสานเพื่อความไพเราะมากยิ่งขึ้น


2. มีการประสานเสียงแบบ Basso continuo 


3. ผู้ประพันธ์นิยมเขียนโน้ตทุกแนวไว้ ไม่มีการเว้นว่างเพื่อการ improvisation  


4. ศูนย์การของดนตรียุคคลาสสิคตอนนั้นคือเมือง แมนฮีม และกรุงเวียนนา 



คีตกวีในยุคคลาสสิค



1. Wolfgang Amadeus Mozart 


2. Ludwig Van Beethoven


3. Franz Joseph Haydn 



Fur elise - Mozart





5. ยุคสมัยโรแมนติก (1820-1900)


ยุคนี้ถือเป็นยุคทองของดนตรี มีการแสดงคอนเสิร์ตต่อสาธารณชนอย่างเปิดเผย นักดนตรีมีโอกาสแสดงอารมณ์ในการบรรเลงมากขึ้น ดนตรีในยุคนี้จึงไม่ค่อยได้คำนึงถึงรูปแบบและความสมดุลแต่จะเน้นเรื่องการถ่ายทอดอารมณ์ ความรัก ความโกรธ ความเศร้า หรือความกลัว นอกจากนี้ยังนิยมเขียนเพลงเพื่อบรรยายธรรมชาติ เรื่องความฝันของตนเอง เพลงที่มีการเขียนเพื่อบรรยายธรรมชาติเรียกว่าดนตรีพรรณา (Descriptive music)  


ความแตกต่างระหว่างดนตรีคลาสสิคและดนตรีโรแมนติก


คลาสสิค                                                 โรแมนติก


เน้นรูปแบบที่แน่นอน                               เน้นเนื้อหา

เน้นความมีเหตุผลเกี่ยวข้องกัน                เน้นอารมณ์

มีแนวความคิดแบบ ภววิสัย                      มีแนวความคิดแบบอัตวิสัย


ลักษณะของดนตรียุคโรแมนติก


1. คีตกวีมีีแนวความคิดเป็นของตัวเอง แสดงออกถึงความรู้สึกอย่างมีอิสระ ไม่จำเป็นต้องทำตามแบบแผน

2. อารมณ์และจินตนาการเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างสรรค์ผลงาน

3. ลักษณะภายในองค์ประกอบของดนตรี

  •    ทำนองเน้นความรู้สึกและอารมณ์ ความยาวของประโยคเปลี่ยนแปลงได้ไม่จำกัด
  •    การประสานเสียงใช้คอร์ด 7,9 
  •    Chromatic chord มีบทบาทสำคัญ
  •    ความดังเบาชัดเจน



คีตกวีในยุคโรแมนติก


1. Federic Chopin



2.Robert Schumann


3. Johannes Brahms



4. Felix Mandelssohn



5. Piotr Ilyich Tchaikovsky



Polonaise in A flat major - Chopin






6. ยุคศตวรรษที่ 20 (หลังจาก1900)


ในยุคสมัยนี้มีการเปลี่ยนแปลงและมีการพัฒนาหลายๆด้าน ทำให้รูปแบบของดนตรีเปลี่ยนไป คีตกวีก็พยายามหาสิ่งใหม่ๆและทฤษฎีใหม่ๆทำให้เกิดดนตรีหลายรูปแบบ 


ลักษณะของดนตรียุคศตวรรษที่ 20


1. เนื่องจากมีการพัมนาและเเปลี่ยนแปลง และมีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ส่วนประกอบของดนตรีจึงซับซ้อนมากขึ้น แต่ยังยึดรูปแบบของดนตรีคลาสสิคอยู่ 


2. เพลงในยุคสมัยนี้ประพันธ์ขึ้นมาเพื่อบรรเลงด้วยเครื่องดนตรี Electronic ที่มีเสียงต่างออกไปจากเตรื่องดนตรี Acoustic

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก