ใครเป็นผู้คิดประดิษฐ์ท่ารำ ระบำโบราณคดี ทั้ง 5 ชุด ที่ถูกต้องที่สุด

   ประวัติที่มา

           ระบำทวารวดี เป็นระบำชุดที่ ๑ ในระบำโบราณคดีที่เกิ ดขึ้นจากแนวความคิดของนายธนิต อยู่โพธิ์ (อดีตอธิบดีกรมศิลปากร) ซึ่งต้องการศึกษา และเรียนรู้เรื่องเครื่องแต่งกายของมนุษย์ เพื่อประโยชน์แก่วิชาประวัตศาสตร์ และโบราณคดี โดยทูลขอร้องให้หม่อมเจ้ายาใจ จิตรพงศ์ ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งสถาปนิกพิเศษของกรมศิลปากร ทางศึกษาแบบอย่าง และเขียนเลียนแบบเครื่องแต่งการสมัยทวารวดีบางรูป โดยในครั้งแรกคิดจะจัดสร้างเครื่องแต่งกายตามสมัยโบราณคดี ถวายทอดพระเนตรในงานเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดการแสดงศิลปะโบราณวัตถุในอาคารสร้างใหม่ ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร แต่หลังจากได้ภาพตามต้องการแล้ว จึงเปลี่ยนแนวความคิดใหม่ในการจัดแสดงระบำโบราณคดีชุดต่าง ๆ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทอดพระเนตรแทนการจัดแสดงเครื่องแต่งกาย

             ระบำโบราณคดีชุดทวารวดีนี้ ในครั้งแรกนำออกแสดงให้ประชาชนชม ณ สังคีตศาลา ในงานดนตรีมหกรรมประจำปี เมื่อวันที่ ๑๒ มีนาคม พ.ศ.๒๕๑๐ ภายหลังจึงนำมาปรับปรุงใหม่เป็นโบราณคดีรวม ๕ สมัย จัดแสดงสำหรับถวายทอดพระเนตร เมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๑๐

          ระบำทวารวดี เป็นระบำสมัยทวารวดี อยู่ในระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๑ – ๑๖ ประดิษฐ์ขึ้นจากลักษณะท่วงท่าอากัปกิริยาของมนุษย์ และเทวรูป รวมทั้งอาภรณ์ และเครื่องประดับที่ปรากฏอยู่บนภาพปั้น และภาพแกะสลัก ที่ค้นพบในประเทศไทย ณ โบราณสถาน ตำบลคูบัว จังหวัดราชบุรี อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี และตำบลโคกไม้เดนและจัดเสน จังหวัดนครสวรรค์ นักโบราณคดีเชื่อว่าชนชาติที่อาศัยอยู่ในสมัยทวารวดีนี้เป็นมอญ หรือเผ่าชนที่พูดภาษามอญ ทำให้ดนตรี และกระบวนท่ารำ ตลอดจนเครื่องแต่งกายมีลัษณะเป็นแบบมอญ
      

          นายมนตรี ตราโมท ผู้เชี่ยวชาญดุริยางค์ไทย กรมศิลปากร ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีไทย) ปีพุทธศักราช ๒๕๒๘ เป็นผู้แต่งทำนองเพลง โดยมรสำเนียงออกไปทางเพลงมอญ

          นางลมุล ยมะคุปต์ ผู้เชี่ยวชาญการสอนนาฏศิลป์ไทย วิทยาลัยนาฏศิลป กรมศิลปากร และนางเฉลย ศุขวะณิช ผู้เชี่ยวชาญการสอนนาฏศิลป์ไทย วิทยาลัยนาฏศิลป กรมศิลปากร ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (นาฏศิลป์) ปีพุทธศักราช ๒๕๓๐ เป็นผู้ประดิษฐ์ท่ารำ

          นายสนิท ดิษฐพันธ์ ออกแบบเครื่องแต่งกาย นางชนานันท์ ช่างเรียน สร้างเครื่องแต่งกาย นายชิต แก้วดวงใหญ่ สร้างศิราภรณ์ และเครื่องประดับ

รูปแบบ และลักษณะการแสดง
      

          ระบำทวารวดี เป็นการระบำหมู่ประกอบด้วยผู้แสดง ๖ คน ท่ารำประดิษฐ์ขึ้นโดยเลียนแบบจากภาพปั้น และภาพแกะสลัก เพื่อให้เกิดการเคลื่อนไหว ความสวยงามของการรำอยู่ที่กระบวนท่าที่มีลักษณะเฉพาะ ตามยุคสมัยที่มีความสวยงามในลักษณะเฉพาะของการใช้มือ เท้า และศรีษะ รวมทั้งการแปรแถวในการรำด้วยลักษณะต่าง ๆ
การรำแบ่งเป็นขั้นตอนต่าง ๆ ได้ดังนี้

                         ขั้นตอนที่ ๑  รำออกมาตามทำนองเพลง
                         ขั้นตอนที่ ๒   ทำท่ารำตามกระบวนเพลงช้า และเร็ว จนจบกระบวนท่า
                         ขั้นตอนที่ ๓   ทำท่าจบด้วยการนั่งกลางเวที 

                         ขั้นตอนที่ ๔   รำเข้าเวทีตามทำนองเพลง 

ใครเป็นผู้คิดประดิษฐ์ท่ารำ ระบำโบราณคดี ทั้ง 5 ชุด

ระบำโบราณคดีชุดทวารวดี ศรีวิชัย ลพบุรี และเชียงแสน ผลงานประดิษฐ์ท่ารำโดย อาจารย์เฉลย สุขะวณิช. (รายงานวิจัย) กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ใครเป็นผู้คิดค้นระบำโบราณคดี

การสร้างสรรค์งานนาฏศิลป์รูปแบบระบำจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2510 จากแนวคิดของ นายธนิต อยู่โพธิ์ อดีตอธิบดีกรมศิลปากร ได้สร้างระบำโบราณคดีขึ้น 5 ชุดการแสดง คือ ระบำทวารวดี ระบำศรีวิชัย ระบำลพบุรี ระบำเชียงแสนและระบำสุโขทัย ซึ่งได้พบภาพเขียน ภาพปั้น และภาพจำหลักตามโบราณสถาน และโบราณวัตถุสมัยต่างๆ ...

ใครเป็นผู้ประดิษฐ์การแสดงชุด "ระบำลพบุรี"

ระบำ ลพบุรี เป็นระบำชุดที่ ๓ ในระบำโบราณคดีที่เกิดขึ้นจากแนวความคิดของนายธนิต อยู่โพธิ์ (อดีตอธิบดีกรมศิลปากร) เช่นเดียวกับระบำทวารวดี อยู่ในระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๖ – ๑๙ ประดิษฐ์ขึ้น โดยอาศัยหลักฐานจากโบราณวัตถุ และภาพจำหลักตามโบราณสถาน ซึ่งสร้างขึ้นตามแบบศิลปะของขอม ที่อยู่ในประเทศกัมพูชา และประเทศไทย อาทิ พระปรางค์ ...

ใครเป็นผู้ประดิษฐ์ท่ารำระบำสุโขทัย

ชื่อเรื่อง : ระบำสุโขทัย ชื่อเรื่อง : คำอธิบาย : พุมธศตวรรษที่ 19-20 ระบำโบราณคดีทำนองโดยอาจารย์มนตรี ตราโมทผู้เชี่ยวชาญด้านดนตรีไทยและศิลปินแห่งชาติ ประดิษฐ์ท่ารำโดย อาจารย์ลมุล ยมะคุปต์ อาจารย์เฉลย ศุขะวณิช และท่านผู้หญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนี

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก