สิ่งมีชีวิตใดเป็น Top Consumer

     ฐานของพีระมิดมวลชีวภาพ ซึ่งเป็นทุ่งหญ้านั้นมีประมาณหญ้าหลาย 1,000 กิโลกรัม เมื่อขยับขั้นมาในระดับผู้บริโภคขั้นที่ 1 (กระต่าย) มวลชีวภาพของกระต่ายซึ่งมีหลาย 100 กิโลกรัม จะมีปริมาณน้อยกว่าหญ้า แต่เมื่อขยับขั้นสูงขึ้นมาอีกเป็นระดับผู้บริโภคขั้นที่ 2 (งู) มวลชีวภาพของงูก็น้อยลงไปอีก ซึ่งอาจมีประมาณ 150 กิโลกรัม และมวลชีวภาพขั้นสุดท้าย ซึ่งเป็นเหยี่ยวนั้น มีเพียงประมาณ 5 กิโลกรัม ดังนั้นการถ่ายทอดพลังงานในแต่ละขั้นของลำดับขั้นอาหารนั้น จะพบว่าจากผู้ผลิตไปยังผู้บริโภคแต่ละขั้นนั้น พลังงานจะถูกถ่ายทอดไปเพียงประมาณ 10 % หมายความว่า ถ้ากระต่ายกินหญ้าไป 100 กิโลกรัม กระต่ายจะมีน้ำหนักเพิ่มเพียง 10 กิโลกรัม เท่านั้น โดยพลังงานส่วนที่เหลือประมาณ 90% จะถูกใช้ไปในการดำรงชีวิตของกระต่าย และบางส่วนจะถูกเปลี่ยนเป็นพลังงานความร้อน

โครงสร้างของกลุ่มสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ    แบ่งได้ 3 พวก คือ

                  1. ผู้ผลิต (Producer) หมายถึงสิ่งมีชีวิตที่สามารถสร้างอาหารได้เอง โดยกระบวนการสังเคราะห์แสง
(Photosynthesis) ได้แก่ พืชสีเขียว แพลงตอนพืช แบคทีเรียบางชนิด ฯลฯ  สิ่งมีชีวิตเหล่านี้จะมีรงควัตถุสีเขียว
คือ  คลอโรฟิลล์ เพื่อรับพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้ร่วมกับคาร์บอนไดออกไซด์และน้ำ

     

                                          

   พวกผู้ผลิตจัดว่ามีความสำคัญมากเพราะเป็นส่วนที่เริ่มต้นเชื่อมต่อระหว่างส่วนประกอบที่ไม่มีชีวิตและ
ส่วนประกอบที่มีชีวิตอื่นๆในระบบนิเวศดยการสร้างและสะสมอาหารขึ้นมาจากแร่ธาตุและสารประกอบ
โมเลกุลเล็ก  รวมทั้งพลังงานจากแสงอาทิตย์ซึ่งสิ่งมีชีวิตพวกอื่น ๆ ในระบบนิเวศไม่สามารถใช้สิ่งเหล่านี้ได้โดยตรงในการเจริญเติบโต

  2.  ผู้บริโภค (Consumer) หมายถึงสิ่งมีชีวิตที่ไม่สามารรถสร้างอาหารเองได้ แต่ได้รับอาหาร จากการกินสิ่งมีชีวิตอื่น  สิ่งมีชีวิตที่มีบทบาทเป็นผู้บริโภค  คือ  พวกสัตว์ต่ าง ๆ จำแนกเป็น  3  ชนิด  ตามลำดับขั้นการบริโภค  คือ
2.1  ผู้บริโภคปฐมภูมิ (Primary Consumer)  เป็นสิ่งมีชีวิตที่กินพืชเป็นอาหารอย่างเดียว
เรียกว่า ผู้บริโภคพืช  (Herbivores)  ได้แก่  กระต่าย  วัว  ควาย  ช้าง  ม้า  ปลาที่กินพืชเล็ก ๆ  ฯลฯ
2.2 ผู้บริโภคทุติยภูมิ  (Secondary Consumer)  เป็นสิ่งมีชีวิตที่กินสัตว์ด้วยกันเป็นอาหาร  Carnivores)
เช่น  งู  เสือ  นกฮูก  นกเค้าแมว  จรเข้  ฯลฯ
2.3  ผู้บริโภคตติยภูมิ  (Tertiary Consumer)  ได้แก่  สิ่งมีชีวิตที่กินทั้งพืช และสัตว์เป็นอาหาร เรียกว่า Omnivore  เช่น  คน  หมู  สุนัข  ฯลฯ

   นอกจากนี้ยังอาจมีผู้บริโภคอันดับต่อไปได้อีกตามลำดับขั้นของการบริโภค ผู้บริโภคขั้นสุดท้ายเรียก  ผู้บริโภคขั้นสูงสุด (Top Consumer)  หมายถึง สิ่งมีชีวิตที่อยู่ในระดับขั้นการกินสูงสุด ซึ่งก็คือสัตว์ที่ไม่ถูกกิน
โดยสัตว์อื่น ๆ ต่อไป เป็นสัตว์ที่อยู่ในอันดับสุดท้ายของการถูกกินเป็นอาหาร เช่น มนุษย์ เป็นต้น

   3.  ผู้ย่อยสลาย  (Decomposer)  หมายถึง สิ่งมีชีวิตที่สร้างอาหารเองไม่ได้  แต่จะได้อาหารโดยการสร้างเอนไซม์ออกมาย่อยสลายซากของสิ่งมีชีวิต ของเสีย กากอาหาร ให้เป็นสารที่มีโมเลกุลเล็กลงแล้วจึงดูดซึมไปใช้บางส่วน  ส่วนที่เหลือจะปล่อยออกสู่ระบบนิเวศ ซึ่งผู้ผลิตสามารถนำไปใช้สร้างอาหารต่อไป  สิ่งมีชีวิตที่มีบทบาทเป็นผู้ย่อยสลายส่วนใหญ่  ได้แก่ แบคทีเรีย
เห็ด  รา ฯลฯ สิ่งมีชีวิตกลุ่มนี้มีบทบาทสำคัญอย่างมากในระบบนิเวศเพราะทำให้เกิดการหมุนเวียนของสาร

Share this:

  • Twitter
  • Facebook

Like this:

ถูกใจ กำลังโหลด...

ระบบนิเวศ เป็นหัวข้อสำคัญเมื่อติว GED Science นะครับออกข้อสอบอยู่บ่อยๆ ซึ่งระบบนิเวศนี้เต็มไปด้วยสิ่งมีชีวิตหลากหลายสายพันธุ์ต่างอยู่ร่วมกัน การที่สิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดอยู่ร่วมกันได้นั้น ขึ้นกับปัจจัยหลายอย่าง เช่น อุณหภูมิ แสง ภูมิประเทศ รวมไปถึงสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการดำรงชีพ สภาพแวดล้อมดังกล่าว หมายถึงถิ่นที่อยู่ที่สิ่งมีชีวิตสามารถหาอาหารได้อย่างสะดวก ดังนั้นจุดร่วมกันอย่างหนึ่งของสิ่งมีชีวิตแต่ละสายพันธุ์ คือ ความต้องการสารอาหารในการสร้างพลังงานเพื่อใช้ในการดำรงชีพ ซึ่งสามารถอธิบายด้วยหลักการของห่วงโซ่อาหาร (Food chain) ในข้อสอบ GED Science มีเรื่องนี้ทุกรอบเลยก็ว่าได้นะครับ

            เมื่อติว GED Science หัวข้อนี้ ที่พลาดไม่ได้ก็จะมีอีกเรื่องคือ ห่วงโซ่อาหาร (Food chain) ที่เป็นกระบวนการถ่ายทอดพลังงานในรูปของอาหารเป็นลำดับขั้นจากสิ่งมีชีวิตหนึ่งไปยังสิ่งมีชีวิตอีกหนึ่งโดยการกินกันเป็นทอดๆ ทำให้สารอาหารและพลังงานถ่ายทอดไปในหมู่สิ่งมีชีวิตและตกลงสู่สิ่งแวดล้อม โดยห่วงโซ่อาหารถูกอธิบายด้วยแผนภาพพีระมิดแสดงลำดับขั้นของสิ่งมีชีวิต โดยฐานของพีระมิดบ่งบอกถึงลำดับขั้นต่ำสุด ในขณะที่ยอดพีระมิดบ่งบอกถึงลำกับขั้นสูงสุด ห่วงโซ่ถูกจำแนกตามลักษณะของสิ่งมีชีวิต ได้แก่

  1. Producer (ผู้ผลิต) คือ สิ่งมีชีวิตที่สร้างอาหารเองได้ เช่น พืชทุกชนิด และแบคทีเรียจำพวกสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน เพราะพืชสร้างอาหารได้เองด้วยกระบวนการสังเคราะห์แสง ผลผลิตที่ได้จากการสังเคราะห์แสงคือ น้ำตาลซึ่งนำมาใช้เป็นแหล่งพลังงานให้แก่ตัวเองได้ โดยไม่จำเป็นต้องบริโภคสิ่งมีชีวิต ในทางชีววิทยาจากภาพแสดงให้เห็นว่า ต้นหญ้าเป็นผู้ผลิต
  2. Primary consumer (ผู้บริโภคลำดับที่ 1)คือ สิ่งมีชีวิตที่บริโภคพืช ส่วนใหญ่เป็นสัตว์กินพืช (Herbivore) จากภาพแสดงให้เห็นว่า กระต่ายเป็นผู้บริโภคลำดับที่ 1 นอกจากนี้ม้าลาย, กวาง, ตั๊กแตน, ผีเสื้อ ก็เป็นผู้บริโภคลำดับที่ 1 เช่นกัน
  3. Secondary consumer (ผู้บริโภคลำดับที่ 2) คือ สิ่งมีชีวิตที่บริโภคสัตว์กินพืช ส่วนใหญ่เป็นสัตว์กินเนื้อ (Carnivore) จากภาพแสดงให้เห็นว่า งูเป็นผู้บริโภคลำดับที่ 2 นอกจากนี้นก, แมงมุม, ปลา ก็เป็นผู้บริโภคลำดับที่ 2 เช่นกัน
  4. Tertiary consumer (ผู้บริโภคลำดับที่ 3) คือ สิ่งมีชีวิตที่อยู่ขั้นสูงสุดของห่วงโซ่อาหาร เป็นผู้บริโภคลำดับสุดท้าย ส่วนใหญ่เป็นสัตว์ที่มีสถานะเป็นนักล่ากินเนื้อ (Carnivore) หรือ สัตว์ที่กินได้ทั้งพืชและสัตว์ (Omnivore) ในบางครั้งผู้บริโภคลำดับนี้สามารถบริโภคสัตว์ที่อยู่ลำดับต่ำกว่าได้ จากภาพแสดงให้เห็นว่า เหยี่ยวเป็นผู้บริโภคลำดับที่ 3 นอกจากนี้มนุษย์, เสือ, สิงโต, ฉลาม ก็เป็นผู้บริโภคลำดับที่ 3 ซึ่งล้วนแล้วเป็นสัตว์ที่มีความสามารถในการเป็นผู้ล่าทั้งสิ้น

ในข้อสอบ GED Science นิยมออกหัวข้อเรื่องห่วงโซ่อาหาร เพราะเป็นเนื้อหาที่เข้าใจง่ายและวัดความรู้ผู้เข้าสอบได้อย่างชัดเจน โดยข้อสอบมักแสดงภาพประกอบแล้วถามสิ่งมีชีวิตในแผนภาพว่าถูกจัดอยู่ในกลุ่มใด ซึ่งถือเป็นข้อสอบที่ง่ายและประหยัดเวลา ดังนั้นหากน้องๆกำลังเรียน GED Science หรือ ติวๆกันอยู่ก็อย่าลืมเรื่องนี้กันนะครับ

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก