ข้อ ใด เป็นพระ ราช กรณียกิจ ของ สมเด็จ พระเจ้าตากสิน มหาราช ในด้าน ความมั่นคง

 การปกป้องแผ่นดินเป็นพระราชกรณียกิจที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ได้กระทำตลอดพระชนม์ชีพ ซึ่งนอก จากการต่อสู้เพื่อรวมแผ่นดินแล้ว ยังต้องป้องกันหัวเมืองชายแดนอีกด้วย ตลอดรัชสมัย สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงทำสงครามกับพม่าถึง ๙ ครั้ง แต่ด้วยพระอัจฉริยะภาพ ทางยุทธวิธีและความเชี่ยวชาญในการรบของทหาร จึงทำให้ทัพไทยรบชนะพม่าทุกครั้ง

สงครามครั้งที่ ๑ รบพม่าที่บางกุ้ง พ.ศ. ๒๓๑๐ 

สงครามครั้งที่ ๒ พม่าตีเมืองสวรรคโลก พ.ศ. ๒๓๑๓

สงครามครั้งที่ ๓ ไทยตีเมืองเชียงใหม่ครั้งแรก พ.ศ. ๒๓๑๓ – พ.ศ. ๒๓๑๔

สงครามครั้งที่ ๔ พม่าตีเมืองพิชัยครั้งที่ ๑ พ.ศ. ๒๓๑๕

สงครามครั้งที่ ๕ พม่าตีเมืองพิชัยครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๓๑๖

สงครามครั้งที่ ๖ ไทยตีเมืองเชียงใหม่ ครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๓๑๗

สงครามครั้งที่ ๗ รบพม่าที่บางแก้วเมืองราชบุรี พ.ศ. ๒๓๑๗

สงครามครั้งที่ ๘ อะแซหวุ่นกี้ตีหัวเมืองเหนือ พ.ศ. ๒๓๑๘

สงครามครั้งที่ ๙ พม่าตีเมืองเชียงใหม่ พ.ศ. ๒๓๑๙ สงครามครั้งนี้ถือว่าเป็นการรบครั้งสุดท้ายที่ไทยรบกับพม่าในสมัยกรุงธนบุรี เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกได้รับการสถาปนาให้เป็นสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก มียศอย่างเจ้าต่างกรม คงดำรงตำแหน่งสมุหนายก

การศึกสงครามดังกล่าวนี้ ส่งผลให้พระราชอาณาจักรไทยเป็นเอกราชและมีความมั่นคงสืบต่อมาจนถึง ปัจจุบัน

อาณาเขตในประเทศไทยในรัชสมัยสมเ็จพระเจ้าตากสินมหาราช

ในสมัยกรุงธนบุรีได้มีการรวบรวมหัวเมืองต่างๆ เข้ามาในพระราชอาณาจักร ได้แก่ ธนบุรี อ่างทอง สิงห์บุรี ลพบุรี อุทัยธานี นครสวรรค์ ฉะเชิงเทรา นครนายก ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด นครชัยศรี นครปฐม สุพรรณบุรี ราชบุรี สมุทรสาคร สมุทรสงคราม เพชรบุรี กาญจนบุรี และประจวบคีรีขันธ์สมเด็จพระเจ้าตากสิน ได้ทรงต่อสู้เพื่อขยายพระราชอาณาจักรเกือบตลอดรัชกาล อาณาเขตของ ประเทศไทยในสมัยนั้น มีดังนี้ทิศเหนือ ได้ดินแดนหลวงพระบาง และเวียงจันทน์

ทิศใต้ ได้ดินแดนกะลันตัน ตรังกานู และไทรบุรี

ทิศตะวันออก ได้ดินแดนลาว เขมร ทางฝั่งแม่น้ำโขงจดอาณาเขตญวน

ทิศตะวันตก จรดดินแดนเมาะตะมะ ได้ดินแดน เมืองทวาย มะริด ตะนาวศรีสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้มีการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา การติดต่อการค้ากับต่างประเทศ ในด้านการปกครอง หลังจากสถาปนาเมืองธนบุรีเป็นราชธานีแล้ว ทรงจัดวางตำแหน่งหน้าที่ข้าราชการทั้งฝ่ายทหารและพลเรือน ทรงสอดส่องทุกข์สุขของราษฎร และหลังจากกอบกู้แผ่นดินได้แล้ว พระองค์ได้ทรงอัญเชิญพระบรมศพสมเด็จพระเจ้าเอกทัศมาจัดถวายพระเพลิงอย่างสมพระเกียรติและยังทรงรับอุปการะบรรดา เจ้าฟ้า พระองค์ฟ้า พระราชโอรส ตลอดทั้งพระเจ้าหลานเธอของพระมหากษัตริย์กรุงศรีอยุธยาทุกพระองค์ ด้วยความกตัญญู

การปราบปรามก๊กต่างๆ

1. เมืองพระฝาง คือกลุ่มชาวบ้านที่มีหัวหน้าชื่อ เรือน ซึ่งในอดีตเป็นพระภิกษุ ชั้นราชาคณะ ของ เมืองเหนือ เรียกว่า สังฆราชเรือน ได้สึกออกมาและรวบรวมผู้คนซ่องสุมกำลังป้องกันตนเอง อยู่ที่เมืองฝาง ซึ่งเป็นเมืองชายแดนเหนือสุดตามลำแม่น้ำน่านของกรุงศรีอยุธยา เป็นเมืองที่มีพระธาตุศักดิ์สิทธิ์ที่นับถือกันมาตั้งแต่เมื่อครั้งเมืองฝางยังเป็นดินแดนของแคว้นสุโขทัย ปัจจุบันตั้งอยู่ที่ตำบลผาจุก อำเภอเมือง
จังหวัดอุตรดิตถ์
2. เมืองพิษณุโลก ซึ่งเคยเป็นหัวเมืองทางเหนือที่สำคัญของอยุธยา และเคยเป็นเมืองสำคัญของสุโขทัย มาก่อน เจ้าเมืองพิษณุโลก ( เรือง ) ได้สถาปนาตนขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดิน และรวบรวมบ้านเมืองที่เคยเป็นเมืองทางเหนือ ของอยุธยาไว้ด้วยกันแต่ก็ไม่สามารถทำได้สำเร็จ จึงมีอำนาจอยู่เฉพาะที่เมืองพิษณุโลกเท่านั้น
3. เมืองพิมาย มีเจ้าพิมายรวบรวมผู้คนในละแวกเมืองพิมาย ซึ่งเป็นบริเวณที่มีผู้คนมาก เนื่องจากเป็น ดินแดนของการตั้งรกรากที่อาศัยมาแต่ดั้งเดิม และเป็นบ้านเมืองที่เจริญมาตั้งแต่ราชอาราจักรขอมกัมพูชา กรมหมื่นเทพพิพิธ เชื้อพระวงศ์ชั้นสูงของราชสำนักอยุธยาได้หนีมาอยู่กับเจ้าพิมายด้วย แต่อำนาจทั้งหลายยังคงอยู่ที่เจ้าพิมายซึ่งมีฐานกำลังของคนพื้นเมืองพวกเดียวกัน
4. เมืองนครศรีธรรมราช เมืองใหญ่บนดินแดนแหลมมลายูของราชอาณาจักรอยุธยาเดิมและเคยเป็นเมืองสำคัญแต่โบราณ ที่ถูกอยุธยาผนวกดินแดนไว้ตั้งแต่ก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยา ปลัดเมืองนครศรีธรรมราชชื่อหนูตั้งตัวเป็นใหญ่
หัวเมืองอื่นๆ ตั้งแต่ใต้เมืองไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานีลงไป อาทิเช่นเมืองสงขลา เมืองพัทลุง ต่างก็ยอมรับอำนาจของเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช ( หนู ) แต่โดยดี
5. เมืองจันทบุรี ซึ่งตั้งอยู่นอกเขตการรุกรานของกองทัพพม่าที่เข้ามาทำสงครามครั้งนี้ หัวหน้าคือพระยาตาก ( สิน ) ซึ่งต่อมาคือพระเจ้ากรุงธนบุรี หรือที่เรียกกันทั่วไปว่าพระเจ้าตากสินมหาราช ขุนนางหัวเมืองเหนือของกรุงศรีอยุธยาที่ถูกเรียกมาช่วยป้องกัน พระนครศรีอยุธยา ได้นำทหารหัวเมืองที่ติดตามมาด้วยกันประมาณ 500 กว่าคน ตีฝ่าวงล้อมกองทัพพม่าที่ปิดล้อมกรุงศรีอยุธยาออกมาได้ และมาตั้งมั่นรวบรวมผู้คนจากบ้านเมืองแถบชายฝั่งทะเลตะวันออกตั้งแต่ระยองลงไป

การทำสงครามกับพม่า
การทำสงครามกับพม่าในสมัยกรุงธนบุรี มีดังนี้
– ศึกพม่าที่บางกุ้ง ซึ่งอยู่ระหว่างจังหวัดสมุทรสงครามกับราชบุรี ปลายปี พ.ศ. 2310
– ศึกพม่าตีเมืองสวรรคโลก พ.ศ. 2313
– ศึกพม่าตีเมืองพิชัย (ครั้งที่ 1) พ.ศ. 2315
– ศึกพม่าตีเมืองพิชัย (ครั้งที่ 2) พ.ศ. 2316 ได้เกิดวีรกรรมพระยาพิชัยดาบหัก
– ศึกบางแก้ว พ.ศ. 2317
– ศึกอะแซวุ่นกี้ พ.ศ. 2318 – 2319
– ศึกพม่าตีเมืองเชียงใหม่ พ.ศ. 2319
จากการที่กองทัพพม่าต้องพ่ายแพ้ต่อกองทัพของพรเจ้าตากหลายครั้ง ทำให้กองทัพพม่าต้องลดการรุกรานไทยลง
อย่างไรก็ตามจะเห็นได้ว่าในช่วงเวลาเหล่านี้ ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับพม่าจะดำเนินไปในรูปของการเป็นศัตรู การทำสงครามแย่งชิง
ดินแดนไพร่พลและทรัพย์สมบัติกันอยู่เสมอ

การขยายพระราชอาณาเขตไปยังหลวงพระบางและเวียงจันทน์
พ.ศ. ๒๓๑๙ ขณะที่สมเด็จพระเจ้าตากสิน ยังติดพันสงครามกับอะแซหวุ่นกี้อยู่นั้น เมืองนครจำปาศักดิ์ซึ่งมีพระยานางรอง เจ้าเมืองนางรอง (เมืองขึ้นของนครราชสีมา) คบคิดกับเจ้าโอ เจ้าอินทร์ และอุปราชแห่งเมืองนครจำปาศักดิ์แข็งเมืองเป็นขบถไม่ขึ้นต่อไทย สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชจึงทรงให้เจ้าพระยาจักรี และเจ้าพระยาสุรสีห์ไปปราบได้สำเร็จ
พ.ศ. ๒๓๒๑ เจ้าเมืองหลวงพระบางขอสวามิภักดิ์เข้ารวมในพระราชอาณาจักรไทย ส่วนทางเมืองเวียงจันทน์เกิดจลาจล คือพระวอ สนาบดี ได้วิวาทกับเจ้าเมืองเวียงจันทน์ พระวอสู้ไม่ได้จึงพาพรรคพวกมาอยู่ที่ตำบลดอนมดแดง (ที่ตั้งเมืองอุบลราชธานีปัจจุบัน) แล้วขอพึ่งพระบรมโพธิสมภารยอมเป็นเมืองขึ้นของไทย ต่อมาเจ้าเมืองเวียงจันทน์ได้ให้กองทัพยกมาจับพระวอประหารชีวิตเสีย สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงพิโรธ โปรดให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกกับเจ้าพระยาสุรสีห์ยกกองทัพไปปราบ ได้สู้รบกันนานถึง ๖ เดือน เจ้าเมืองเวียงจันทน์ไม่สามารถรักษาเมืองไว้ได้จึงหลบหนีเข้าแดนญวนไป ทิ้งผู้คน พาหนะและทรัพย์สีงของเครึ่องศาสตราวุธไว้เป็นอันมาก โปรดให้พระยาสุโภอยู่รักษาเมือง
สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกและเจ้าพระยาสุรสุห์ชนะศึกครั้งนี้ ได้เมืองเวียงจันทน์ เมืองหลวงพระบางกับหัวเมืองขึ้นทั้งปวง ขยายอาณาเขตทางทิศตะวันออกและทิศเหนือจดแดนญวนและแดนเมืองตังเกี่ย เสร็จสงคราม สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกได้อัญเชิญพระพุทธมหามณีรัตนปฎิมากร (พระแก้วมรกต) และพระบางจากเมืองเวียงจันทน์ มาประดิษฐานที่กรุงธนบุรีด้วย

การขยายพระราชอาณาเขตไปยังกัมพูชา

ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชนี้ ไทยยกทัพไปรบกับกัมพูชาถึง ๓ ครั้ง คือ

พ.ศ. ๒๓๑๒ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงมีพระราชสาส์นไปถึงสมเด็จพระนารายณ์ราชา เจ้าเมืองกัมพูชาวว่าสภาพการณ์ในเมืองไทยกลับคืนเป็นปกติแล้ว ขอให้จัดส่งต้นไม้ทองเงินกับเครื่องบรรณาการตามพระราชประเพณีที่เคยปฏิบัติมา แต่พระเจ้ากรุงกัมพูชาเห็นว่าสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชมิใช่เชื้อพระวงศ์จึงไม่ยอมอ่อนน้อม จึงทรงมีรับสั่งให้จัดกองทัพยกไปตีเขมร ๒ ทัพ ทัพหนึ่งให้พระขยาอภัยรณฤทธิ์ กับพระยาอนุชิตราชาคุมกำลังพล ๒,๐๐๐ คน ยกไปจากเมืองนครราชสีมาลงมาทางช่องเสม็ดไปตีเมืองเสียมราฐ อีกทัพหนึ่งให้พระยาโกษาธิบดีคุมกำลังพล ๒,๐๐๐ คน ยกไปทางเมืองปราจีนบุรี ตีเมืองพระตะบองถ้าพระนารายณ์ราชายังไม่อ่อนน้อมก็ให้ยึดเมืองทั้งสองรอกองทัพหลวงยกตามไปเพื่อเข้าตีกรุงกัมพุชาในฤดูแล้ง

พระยาอภัยรณฤทธิ์ และพระยาอนุชิตราชา ยกทัพไปตีเมืองเสียมราฐได้แล้วก็ยั้งทัพรอคอยทัพหลวงจนถึงฤดูแล้ง เกินเวลานัดหมายแล้วสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชก็ยังไม่มาจึงเกิดแคลงใจ เพราะไม่ทราบว่าพระองค์ทรงติดมรสุมที่นครศรีธรรมราชเสด็จกลับไม่ได้ ส่วนภายในกรุงธนบุรีซึ่งทราบว่าสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชตีเมืองนครศรีธรรมราชได้ ตั้งแต่เดือน ๑๐ แต่เวลาล่วงเลยไปหลายเดือนก็ยังไม่เสด็จกลับ จึงเกิดลือกันว่าสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชสิ้นพระชนม์แล้ว พระยาอภัยรณฤทธิ์และพระยาอนุชิตราชา ทราบข่าวลือก็ตกใจ เกรงจะเกิดจลาจลในกรุง จึงปรึกษาเห็นพัองต้องกันว่าควรยกทัพกลับไปรักษากรุงธนบุรีไว้ก่อน จึงให้เลิกทัพกลับลงมาทางนครราชสีมา ลงมาหยุดอยู่ที่เมืองลพบุรี

ส่วนพระยาโกษาธิบดีชึ่งยกทัพไปตีเมืองพระตะบองทางปราจีนบุรีนั้น ทราบว่าพระยาอภัยรณฤทธิ์และพระยาอนุชิตราชากลับจากเสียมราฐ ก็เกรงเขมรจะยกกำลังมาทำร้าย จึงยกทัพออกจากเมืองพระตะบองมาหยุดอยู่ที่ปราจีนบุรี แล้วมีใบบอกกล่าวโทษไปทูลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชว่าพระยาทั้งสองหนีตาทัพ ขณะนั้นสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ยกทัพกลับมาถึงกรุงธนบุรี ได้รับใบบอกกล่าวโทษ ก็รีบสั่งให้พระยาทั้งสองมาเฝ้าแล้วตรัสถามว่าเหตุใดจึงบังอาจยกทัพกลับก่อนได้รับท้องตราเรียก พระยาอนุชิตราชาก็ทูลความ ตามที่ได้ข่าวลือและทูลว่าได้ปรึกษากับพระยาอภัยรณฤทธิ์ ตั้งใจจะยกทัพกลับมารักษาสถานการณ์ในกรุงไว้ ไม่ยอมเป็นข้าคนอื่นอีก สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้ทรงฟังก็หายกริ้ว กลับสรรเสริญว่าสมควรแล้ว และสั่งให้พระยาโกษาธิบดี ยกทัพกลับคืนกรุงธนบุรี ระงับการตีกรุงกัมพูชาไว้ก่อน

พ.ศ. ๒๓๑๔ ขณะที่ไทยติดพันทำศืกกับพม่าที่เชียงใหม่ สมเด็จพระนารายณ์ราชาเจ้ากรุงกัมพูชา ได้ให้นักพระโสทศเจ้าเมืองเปียมยกกองทัพมาตีเมืองตราด และเมืองจันทบุรี (ปรากฏในราชพงศาวดารกรุงกัมพูชา) แต่กองทัพเมืองจันทบุรี สามารถปกป้องเมืองและตีทัพเขมรแตกกลับไปได้ ความทราบถึงสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชก็ทรงกริ้วเขมรมาก จึงโปรดให้พระยายมราช (พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก) ซึ่งรั้งตำแหน่งสมุหนายก ขึ้นเป็นเจ้าพระยาจักรี (แทนพระยาจักรีแขกที่ถึงอสัญกรรม) คุมกำลังพลจำนวน ๑๐,๐๐๐ คนยกไปตีเมืองพระตะบอง และเมืองโพธิสัตว์ โดยยกไปทางเมืองปราจีนบุรี และให้นำนักองค์นนท์หรือพระรามราชาไปในกองทัพด้วยเพื่อช่วยเกลี้ยกล่อม แล้วพระองค์ก็เสด็จยกทัพหลวงไปทางเรือ มีเรือรบ ๑๐๐ ลำ เรือทะเล ๑๐๐ รำ กำลังพล ๑๕,๐๐๐ คน มีพระยาโกษาธิบดีเป็นแม่ทัพหน้ายกไปตีเมืองกำพงโสมก่อน พระองค์ทรงยกตามไป ให้เกลี้ยกล่อมพระยาราชาเศรษฐีเจ้าเมืองบันทายมาศ (พุทไธมาศ) ให้มาอ่อนน้อมโดยดีแต่ไม่เป็นผล จึงรับสั่งให้เข้าโจมตีได้ พระยาราชาเศรษฐีหนีออกทะเลไป ปรากฏว่าทัพไทยตีได้ชัยชนะ เรึ่อยมาจากเมืองพระตะบอง โพธิสัตว์ บริบูรณ์ จนถึงบันทายเพชร (พุทไธเพชร) ซึ่งเป็นราชธานี

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงตั้งพระรามราชาปกครองเขมรต่อไป แล้วให้เลิกทัพกลับกรุงธนบุรี เมื่อสมเด็จพระนารายณ์ราชาทราบว่าสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชยกทัพกลับแล้ว ก็ขอกำลังญวนกลับมาตั้งมั่นที่แพรกปรักปรัด ส่วนพระรามราชาตั้งมั่น อยู่ที่เมืองกำปอด กรุงกัมพชาขณะนั้นจึงแยกเป็น ๒ ฝ่าย ฝ่ายใต้ขึ้นกับสมเด็จพระนารายณ์ราชาฝ่ายเหนือขึ้นอยู่กับพระรามราชา

พ.ศ. ๒๓๒๓ กรุงกัมพูชาเกิคจลาจล พระรามราชาและสมเด็จพระนารายณ์ราชารบต่อสู้กัน แต่ต่อมาก็ปรองดองกันได้ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชจึงทรงตั้งพระรามราชาเป็นสมเด็จพระรามราชา พระเจ้ากรุงกัมพูชา สมเด็จพระนารายณ์ราชาเป็นพระมหาอุปโยราช นักองค์ธรรมเป็นพระมหาอุปราช แต่ต่อมาพระมหาอุปราชถูกลอบปลงพระชนม์และพระมหาอุปโยราชก็เกิดสิ้นพระชนม์ด้วยพระโรคปัจจุบันอีก บรรดาขุนนาง เห็นว่าเป็นฝีมือของสมเด็จมือของสมเด็จพระรามราชาจึงจับพระองค์ถ่วงน้ำเสีย

กรุงกัมพูชาจึงเหลือเพียงนักองค์เอง ชึ่งมีพระชนม์เพียง ๔ พรรษาปกครองโดยมีฟ้าทะละหะ (มู) ว่าราชการแทน ต่อมาฟ้าทะละหะฝักใฝ่ญวนไม่ยอมอ่อนน้อมต่อไทย สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชจึงโปรดให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกและเจ้าพระยาสุรสีห์ยกทัพไปปราบปราม และมีพระราชโองการให้อภิเษกสมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนอินทรพิทักษ์พระราชโอรส พระองค์ใหญ่ขึ้นครองกัมพูชา ทางฟ้าทะละหะได้ขอกำลังญวน ทัพไทยตีเมืองรายทางได้จนถึงเมืองบันทายเพชร (พุทไธเพช ) ส่วนทัพญวนตั้งคุมเชิงที่เมืองพนมเปญพอดีกรุงธนบุรีเกิดจลาจล สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกจึงเลิกทัพกลับ

ในช่วงเวลาเพียง ๑๕ ปี อาณาเขตเมืองไทยสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชขยายออกไปกว้างใหญ่ไพศาล กล่าวคือ ทิศเหนือตลอดอาณาจักรลานนาไทย ทิศใต้คลอดเมืองไทรบุรีและตรังกานู ทิศตะวันออกตลอดกัมพชาจนญวนใต้ ทิศคะวันออกเฉียงเหนือ ถึงนครเวียงจันทน์ หัวเมืองพวน นครหลวงพระบาง และหัวพันทั้งห้าทั้งหก ทิศตะวันออกเฉียงใต้จดเมืองบันทายมาศ (พุทไธมาศ) ทิศตะวันตกตลอดเมืองมะริดและตะนาวศรี ออกมหาสมุทรอินเดีย

บรรณานุกรม

//manechan.wordpress.com

//sites.google.com

//www.nana-ideas.com

//www.kwc.ac.th

าณ//www.nana-ideas.comาเขตประเทศไทยในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชาณาเขตประเทศไทยในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

พระราชกรณียกิจด้านความมั่นคงของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชคือข้อใด

การสร้างชาติให้เป็นปึกแผ่นมั่นคง ทรงกระทำตลอดรัชกาลของพระองค์ นับตั้งแต่การปราบปรามชาวไทยที่แบ่งเป็นก๊กต่าง ๆ การปราบปรามหัวเมืองที่กระด้างกระเดื่อง ตลอดจนการทำสงครามกับพม่าทำให้พม่าลบคำดูหมิ่นไทย เป็นการสร้างขวัญและกำลังใจแก่ชาวไทยที่ยังไม่หายครั่นคร้ามพม่า ได้มีกำลังใจดีขึ้น ดังนี้

พระราชกรณียกิจของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชมีอะไรบ้าง

3. พระราชกรณียกิจอื่น ๆ นอกจากจะทรงกู้เอกราชและทรงสถาปนากรุงธนบุรีเป็นเมืองหลวงแล้ว พระองค์ยังได้ขยายอาณาเขตโดยตีเวียงจันทน์ได้และอัญเชิญพระแก้วมรกตมา ประดิษฐานไว้ที่เมืองหลวง ทรงทำนุบำรุงศาสนาและทรงส่งเสริมให้คนแต่งหนังสือต่าง ๆ ขึ้น เพราะหนังสือตำราอันมีค่าถูกพม่าเผาไปเกือบหมด ทรงเอาใจใส่ดูแลทุกข์สุขของราษฎรเป็นอย่าง ...

ข้อใดเป็นพระราชกรณียกิจด้านเศรษฐกิจของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

พระราชกรณียกิจด้านการค้าขายติดต่อกับต่างประเทศ การค้าขายกับจีน ในสมัยธนบุรี มีสำเภาของพ่อค้าจีนเข้ามาติดต่อค้าขายด้วยตลอดรัชกาลสมเด็จพระเจ้าตากสินได้โปรดเกล้าฯ ให้ส่งสำเภาหลวงบรรทุกสินค้าออกไปค้าขายกับจีนอยู่เสมอ จึงนับได้ว่าจีนเป็นชาติสำคัญที่สุดที่ไทยค้าขายด้วย

พระราชกรณียกิจของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชก่อให้เกิดประโยชน์อย่างไร

การปราบปรามก๊กต่าง ๆ พ.ศ.๒๓๑๑ ยกกองทัพไปปราบกรมหมื่นเทพพิพิธได้สำเร็จ แล้วสำเร็จโทษกรมหมื่นเทพพิพิธด้วยท่อนจันทน์ ตามประเพณี ... .
การทำสงครามกับพม่า ... .
การขยายพระราชอาณาเขตไปยังหลวงพระบางและเวียงจันทน์ ... .
การขยายพระราชอาณาเขตไปยังกัมพูชา.

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก