ข้อใดต่อไปนี้เป็นสิ่งมีชีวิตที่ผ่านกระบวนการพันธุวิศวกรรม o-net 50

             GMO����ҨҡGeneticallyModifiedOrganism���¶֧���Թ�����ת����ѵ�����ա������¹�ŧ��þѹ�ء���
����෤�Ԥ�ҧ�ѹ�����ǡ�������ա�õѴ�����л�١�����չ�ҡ����ժ��Ե˹����������ժ��Ե�ա��Դ˹�����ͪ�Դ���ǡѹ����չ���١����
�ʹ仹������ö�ӧҹ���ҧ�õչ������� �ѧ��鹡�ö����չ�֧���������ժ��Ե������Ѻ�չ�����������ö�ʴ��ѡɳ��������������
�ҡ�͹�� �ת������Ѻ��ö����չ���� ���¡��� �ת�Ѵ����չ (Transgenic plant) ����ѵ�������Ѻ��ö����չ�������¡��� �ѵ��Ѵ����չ
(Transgenic animal) ���෤�����㹻Ѩ�غѹ���ʺ������������ҧ�ҡ㹾ת (Transgenic plant) ���ѧ����ö�������ҧ
�ӡѴ� �ѵ�� (Transgenic animal)

ข้อOส-อnบet

ปี ก า ร ศึ ก ษ า 2 5 5 8 - 2 5 6 2

น า ง ส า ว สุ ธ า สิ นี ห ม า ย ดี
ชั้ น มั ธ ย ม ศึ ก ษ า ปี ที่ 6

1.ภาพแสดงการลำเลียงสารผ่านเซลล์รูปแบบหนึ่ง โดยลูกศร
แสดงลำดับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นดังนี้

ภาพนี้เป็นกระบวนการลำเลียงสารแบบใด และข้อใดระบุตัวอย่างของการ
ลำเลียงสารด้วยกระบวนการนี้ได้ถูกต้อง (O-net 62)

1 เอกโซไซโทซีส การดูดน้ำกลับผ่านท่อหน่วยไต
2 เอกโซไซโทซีส การหลั่งเอนไซม์จากเซลล์ของผนังลำไส้เล็กเพื่อย่อยอาหาร
3 เอนโดไซโทซีส การแลกเปลี่ยนแก๊สบริเวณถุงลมปอด
4 เอนโดไซโทซีส การจับกินเพื่อทำลายแบคทีเรียของเซลล์เม็ดเลือดขาว
5 เอนโดไซโทซีส การดูดซึมแร่ธาตุในดินเข้าสู่เซลล์รากพืชผ่านโปรตีนตัวพา

ตอบ
ตัวเลือกที่ (2 ) กระบวนการลำเลียงสาร แบบ เอกโซไซโทซีส ตัวอย่าง
การลำเลียงสาร เช่น การหลั่งเอนไซม์จากเซลล์ของผนังลำไส้เล็กเพื่อ

ย่อยอาหาร

เฉลยข้อสอบO-net ( วิทยาศาสตร์ วิชา ชีววิทยา) ปีการศึกษา 2562

2. ชายสุขภาพดีคนหนึ่ง ทำกิจกรรมและอยู่ในสภาวะที่แตกต่างกัน
ดังนี้

สภาวะ A นั่งทำงาน 2 ชั่วโมง ในห้องที่มีอุณหภูมิ 24 องศา
เซลเซียส โดยมีการดื่มน้ำ

สภาวะ B เล่นกีฬากลางแจ้ง 2 ชั่งโมง ในบริเวณที่มีอุณหภูมิ
29 องศาเซลเซียส โดยไม่มีการดื่มน้ำ

ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับกลไกของร่างกายในขณะที่ชายคนนี้
อยู่ในสภาวะ A และ B

1. สภาวะ A ทำให้เลือดข้น ต่อมใต้สมองส่วนหลังไม่หลั่งฮอร์โมน
เพื่อให้ร่างกายดูดน้ำกลับ

2. สภาวะ A ทำให้เลือดเจือจาง ต่อมใต้สมองส่วนหลังถูกกระตุ้น
ให้หลั่งฮอร์โมนเพื่อให้ร่างกายดูดน้ำกลับ

3. สภาวะ B ทำให้เลือดเจือจาง ต่อมใต้สมองส่วนหลังไม่หลั่ง
ฮอร์โมนเพื่อให้ร่างกายดูดน้ำกลับ

4. สภาวะ B ทำให้เลือดเข้มข้น ต่อมใต้สมองส่วนหลังถูกกระตุ้นให้
หลั่่งฮอร์โมนเพื่อให้ร่างกายดูดน้ำกลับ

5. สภาวะ B ทำให้เลือดเจือจาง ต่อมใต้สมองส่วนหลัง ถูกกระตุ้น
ให้หลั่งฮอร์โมนเพื่อให้ร่างกายดูดน้ำกลับ

ตอบ
ตัวเลือกที่ (4 ) สภาวะ B ทำให้เลือดเข้มข้น ต่อมใต้สมอง

ส่วนหลังถูกกระตุ้นให้หลั่่งฮอร์โมนเพื่อให้ร่างกายดูดน้ำกลับ

เฉลยข้อสอบO-net ( วิทยาศาสตร์ วิชา ชีววิทยา) ปีการศึกษา 2562

3. กราฟแสดง ระดับภูมิคุ้มกันของร่างกายเมื่อได้รับวัคซีนครั้งที่ 1
และ 2 เป็นดังนี้

จากข้อมูล เพราะเหตุใดการฉีดวัคซีน ครั้งที่ 2 จึงสามารถกระตุ้น
ระดับภูมิคุ้มกันของร่างกายได้สูงขึ้น

1. เซลล์ทีสร้างแอนติบอดี ที่จำเพาะกับแอนติบอดีได้มากขึ้น
2. เซลล์บีจำแอนติเจนแล้วส่งสัญญาณไปกระตุ้นเซลล์ทีได้ทันที
3. เซลล์ทีจำแอนติเจนแล้วส่งสัญญาณไปกระตุ้นเซลล์บีได้ทันที
4. ฟาโกไซต์สามารถทำลายแอนติบอดีได้มากขึ้น
5. ฟาโกไซต์สามารถพัฒนาไปเป็นเซลล์พลาสมาได้เร็วขึ้น

ตอบ
ตัวเลือกที่ (3 ) เซลล์ทีจำแอนติเจนแล้วส่งสัญญาณไปกระตุ้น

เซลล์บีได้ทันที

เฉลยข้อสอบO-net ( วิทยาศาสตร์ วิชา ชีววิทยา) ปีการศึกษา 2562

4. การทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนังด้วยวิธีสะกิด (Skin Prick
Test) ทำได้โดยการหยดน้ำยาสกัด สารภูมิแพ้ลงบนผิวหนังและ
ใช้เข็มสะกิดผิวหนังบริเวณนั้น ถ้าผู้ป่วยแพ้สารก่อภูมิแพ้ชนิดใด
จะเกิดรอยนูน มีผื่นแดง และอาจรู้สึกคันในบริเวณที่หยดน้ำยา
สกัดสารภูมิแพ้ชนิดนั้นไว้
ในการทดสอบข้างต้น กลไกใดของระบบภูมิคุ้มกันที่ทำให้ผิวหนัง
เกิดรอยนูนและมีผื่นแดง

1. การจดจำสารก่อภูมิแพ้ของเซลล์บี
2. การทำลายสารก่อภูมิแพ้ของแอนติเจน
3. การแบ่งตัวของเซลล์ทีเพื่อพัฒนาเป็นเซลล์พลาสมา
4. การส่งสัญญาณของเซลล์ทีเพื่อกระตุ้นแอนติอิสตามีน
5. การหลั่งสารอิสตามีนของเซลล์โดยการกระตุ้นของ
แอนติบอดี

ตอบ
ตัวเลือกที่ (5 ) การหลั่งสารอิสตามีนของเซลล์โดยการกระ

ตุ้นของแอนติบอดี

เฉลยข้อสอบO-net ( วิทยาศาสตร์ วิชา ชีววิทยา) ปีการศึกษา 2562

5. การถ่ายทอดทางพันธุกรรมของโรคกล้ามเนื้อลีบ ซึ่งควบคุม
ด้วยยีนด้อยบนโครโมโซม X ของครอบครัวหนึ่ง เป็นดังนี้

กำหนดให้ A (บุคคลที่ 3 ในรุ่นที่ 2) คือผู้หญิงที่มีอาการของโรค แต่
ยังไม่สามาารถระบุได้ว่าเป็นพาหะของโรคกล้ามเนื้อลีบหรือไม่
เมื่อ A แต่งงานกับชายปกติ และก่อนตัดสินใจมีลูกพวกเขาจึงไปขอคำ
ปรึกษาจากแพทย์เพื่อวางแผนการมีลูกในอนาคต

การให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการถ่ายทอดพันธุกรรมของโรคกล้ามเนื้อลีบ
ในข้อใดไม่ถูกต้อง

1. ถ้า A ไม่เป็นพาหะ ของโรค ลูกชายทุกคนไม่มีโอกาสเป็นโรค
2. ถ้า A ไม่เป็นพาหะของโรค ลูกสาวทุกคนไม่มีโอกาสเป็นโรค
3. ถ้า A เป็นพาหะของโรค ลูกชายแต่ละคนมีโอกาสร้อยละ 50 ที่จะ
เป็นโรค
4. ถ้า A เป็นพาหะของโรค ลูกสาวแต่ละคนมีโอกาสร้อยละ 50 ที่จะ
เป็นโรค
5. ถ้า A เป็นพาหะของโรค ลูกสาวแต่ละคนมีโอกาสร้อยละ 50 ที่จะ
เป็นพาหะของโรค

ตอบ
ตัวเลือกที่ ( 4 ) ถ้า A เป็นพาหะของโรค ลูกสาวแต่ละคนมี

โอกาสร้อยละ 50 ที่จะเป็นโรค

เฉลยข้อสอบO-net ( วิทยาศาสตร์ วิชา ชีววิทยา) ปีการศึกษา 2562

6. การใช้เทคโนโลยีชีวภาพ ในข้อใด ที่ทำให้ได้ลูกรุ่นใหม่มี
ลักษณะเหมือนเดิมทุกประการ

1. การผสมพันธุ์โคเนื้อ ให้มีลักษณะใหม่ตามที่ต้องการ
2. การปรับปรุงพันธุ์ข้าวหอมมะลิโดยการใช้รังสีแกมมา
3. การคัดเลือกพันธุ์ปลาทับทิมจากการผสมข้ามสายพันธุ์
4. การตัดต่อยีนของข้าวโพดให้มีความต้านทานต่อเชื้อรา
5. การโคลนลูกวัวนมโดยใช้เซลล์เต้านมจากวัวนมต้นแบบ

ตอบ
ตัวเลือกที่ ( 5 ) การโคลนลูกวัวนมโดยใช้เซลล์เต้านมจากวัว

นมต้นแบบ

เฉลยข้อสอบO-net ( วิทยาศาสตร์ วิชา ชีววิทยา) ปีการศึกษา 2562

7. แมลงสาบเป็นพาหะที่ก่อให้เกิดโรคหลายชนิดในมนุษย์ เช่น
วัณโรค อหิวาตกโรค และโรคภูมิแพ้ โดยผลการวิจัยหนึ่งพบว่า
แมลงสาบเยอรมันสามารถปรับตัวให้มีความต้านทานต่อยาฆ่า
แมลง ที่มีฤทธิ์รุนแรงที่สุดได้อย่างรวดเร็ว อีกทั้งยังพบว่าลูก
แมลงสาบเยอรมันรุ่นต่อๆมา มีความต้านทานต่อยาฆ่าแมลง เช่น
กันแม้ไม่เคลสัมผัสกับยาฆ่าแมลงเหล่านั้นมาก่อน
จากข้อมูล ข้อใดกล่าวถึงความต้านทานต่อยาฆ่าแมลงของ
แมลงสาบไม่ถูกต้อง

1. ลูกแมลงสาบที่มี ความต้านทานต่อยาฆ่าแมลง เกิดจากสิ่งมีชีวิต
ต่างสปีชีส์กัน

2. ยีนควบคุม ความต้านทานต่อยาฆ่าแมลงสามารถถ่ายทอดไปยัง
แมลงสาบรุ่นถัดไปได้

3. ความต่อยาฆ่าแมลง ของแมลงสาบเป็นผลของความหลากหลาย
ทางพันธุกรรม

4. ความต้านทานต่อยาฆ่าแมลงนี้ เป็นความหลากหลายทางชีวภาพ
ระดับเดียวกันกับการดื้อยาปฏิชีวนะของแบคทีเรีย

5. ความต้านทานต่อยาฆ่าแมลงของแมลงสาบทำให้มนุษย์มีความ
เสี่ยงต่อการเกิดโรคบางชนิด จากแมลงสาบมากขึ้น

ตอบ
ตัวเลือกที่ ( 1 ) ลูกแมลงสาบที่มี ความต้านทานต่อยาฆ่าแมลง

เกิดจากสิ่งมีชีวิตต่างสปีชีส์กัน

เฉลยข้อสอบO-net ( วิทยาศาสตร์ วิชา ชีววิทยา) ปีการศึกษา 2562

8. สายใยอาหารของระบบนิเวศหนึ่ง แสดงดังภาพ

ถ้ามีงูที่กินเฉพาะหนูนาและปลาเล็กเป็นอาหารเข้ามาในระบบ
นิเวศแห่งนี้โดยที่นกไม่กินงูชนิดนี้เป็นอาหาร
ข้อใดกล่าวถูกต้อง

1. นกและงูมีมวลชีวภาพสูงที่สุดในระบบนิเวศนี้
2. มวลชีวภาพของต้นข้าวน้อยกว่ามวลชีวภาพของหนูนา
3. ผลผลิตข้าวที่ได้จากระบบนิเวศนี้มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น
4. ปลาเล็กจะเป็นผู้บริโภคลำดับที่ 2 และ 3 ในสายใยอาหารนี้
5. งูจะเป็นผู้บริโภคลำดับสุดท้ายเพียงชนิดเดียวในระบบนิเวศนี้

ตอบ
ตัวเลือกที่ ( 3 ) ผลผลิตข้าวที่ได้จากระบบนิเวศนี้มีแนวโน้มเพิ่ม

มากขึ้น

เฉลยข้อสอบO-net ( วิทยาศาสตร์ วิชา ชีววิทยา) ปีการศึกษา 2562

9. ป่าแห่งหนึ่งถูกปล่อยทิ้งร้าง ไว้เป็นเวลานาน หลังจากเกิด
เหตุการณ์ไฟไหม้ป่ายาวนาน 1 สัปดาห์ ซึ่งทำให้ต้นไม้และ สัตว์ใน
พื้นที่ ล้มตายกลายเป็นพื้นที่ว่างเปล่า
จากข้อมูล ป่าแห่งนจะเกิดการเปลี่่ยนแปลงแทนที่รูปแบบใด และ
เหตุการณ์ใดจะเกิดขึ้นเป็นลำดับแรกในการเปลี่ยนแปลงแทนที่่นี้

1. แบบปฐมภูมิ และ มีการอพยพของสัตว์เข้าไปในพื้นที่เมื่อมี
แหล่งอาหารเกิดขึ้น

2. แบบปฐมภูมิ และมีกลุ่มสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก เช่น แบคทีเรีย
เป็นสิ่งมีชีวิตผู้บุกเบิก

3. แบบปฐมภูมิ และมีการงอกของเมล็ดพืชที่ฝังตัวอยู่ใต้ดิน
เมื่อดินมีความชื้นที่เหมาะสม

4. แบบทุติยภูมิ และมีการอพยพของสัตว์เข้าไปในพื้นที่เพื่ออยู่
อาศัย

5. แบบทุติยภูมิ และมีการงอกของเมล็ดพืชที่ฝังตัวอยู่ใต้ดิน
เมื่อดินมีความชื้นที่เหมาะสม

ตอบ
ตัวเลือกที่ ( 5 ) แบบทุติยภูมิ และมีการงอกของเมล็ดพืชที่ฝัง
ตัวอยู่ใต้ดินเมื่อดินมีความชื้นที่เหมาะสม

เฉลยข้อสอบO-net ( วิทยาศาสตร์ วิชา ชีววิทยา) ปีการศึกษา 2562

10. ปัจจุบัน สัตว์หลายชนิด ได้รับผลกระทบ จากปัญหาสิ่ง
แวดล้อม หลายประการ เช่น การทำลายแหล่งที่อยู่อาศัย และการล่า
สัตว์ของมนุษย์ ซึ่งส่งผลกระทบต่อ การรักษาสมดุลของระบบนิเวศ
นอกจากนี้การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ และสภาพอากาศ ที่แปรปรวน
ของโลก เช่น อุณหภูมิ ร้อนจัด หรือหนาวจัด หรือการมีฤดูกาลที่
ยาวนานกว่าปกติ ส่งผลให้สัตว์ต้องเผชิญกับสภาพอากาศ ที่
แปรปรวนอย่างรุนแรง ซึ่งไม่เหมาะกับการดำรงชีวิต สัตว์บางชนิด
จึงหาอาหารได้ยากขึ้น การเจริญเติบโตของเชื้อโรคและปรสัตบาง
ชนิดที่เป็นอันตรายต่อสัตว์เพิ่มขึ้น ทำให้ประชากรสัตว์บางชนิดไม่
สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพดังกล่าวได้และลดจำนวนลงอย่าง
รวดเร็ว
จากข้อมูล ผลกระทบต่อสัตว์ในข้อใด ที่ไม่ได้เกิดจาก ภาวะโลกร้อน

1. การเพิ่มขึ้นของจำนวนพยาธิในปลา เพราะอุณหภูมิของน้ำเพิ่ม
สูงขึ้น

2. การสูญพันธุ์ของสิงโตภูเขา เพราะพื้นที่ป่าถูกตัดทำลายจึงถูก
ล่าได้ง่ายขึ้น

3. หมีขาวสามารถล่าอาหารได้น้อยลง เพราะมีการละลายของแผ่น
น้ำแข็งมากขึ้น

4. อัตราการรอดของลูกเพนกวินลดลง เพราะแม่เพนกวิน ต้องใช้
เวลาในการหาอาหารนานขึ้น

5. อัตราการตายของกวางเรนเดียร์เพิ่มขึ้น เพราะสภาพอากาศ
แปรปรวนทำให้หาอาหารยาก

ตอบ
ตัวเลือกที่ ( 2 ) การสูญพันธุ์ของสิงโตภูเขา เพราะพื้นที่ป่าถูก

ตัดทำลายจึงถูกล่าได้ง่ายขึ้น

เฉลยข้อสอบO-net ( วิทยาศาสตร์ วิชา ชีววิทยา) ปีการศึกษา 2562

11. ปัจจุบัน สัตว์หลายชนิด ได้รับผลกระทบ จากปัญหาสิ่งแวดล้อม
หลายประการ เช่น การทำลายแหล่งที่อยู่อาศัย และการล่าสัตว์ของ
มนุษย์ ซึ่งส่งผลกระทบต่อ การรักษาสมดุลของระบบนิเวศ นอกจาก
นี้การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ และสภาพอากาศ ที่แปรปรวนของโลก
เช่น อุณหภูมิ ร้อนจัด หรือหนาวจัด หรือการมีฤดูกาลที่ยาวนานกว่า
ปกติ ส่งผลให้สัตว์ต้องเผชิญกับสภาพอากาศ ที่แปรปรวนอย่าง
รุนแรง ซึ่งไม่เหมาะกับการดำรงชีวิต สัตว์บางชนิดจึงหาอาหารได้
ยากขึ้น การเจริญเติบโตของเชื้อโรคและปรสัตบางชนิดที่เป็น
อันตรายต่อสัตว์เพิ่มขึ้น ทำให้ประชากรสัตว์บางชนิดไม่สามารถปรับ
ตัวเข้ากับสภาพดังกล่าวได้และลดจำนวนลงอย่างรวดเร็ว
จากข้อมูล ผลกระทบต่อสัตว์ในข้อใด ที่ไม่ได้เกิดจาก ภาวะโลกร้อน

1. การเพิ่มขึ้นของจำนวนพยาธิในปลา เพราะอุณหภูมิของน้ำเพิ่ม
สูงขึ้น

2. การสูญพันธุ์ของสิงโตภูเขา เพราะพื้นที่ป่าถูกตัดทำลายจึงถูก
ล่าได้ง่ายขึ้น

3. หมีขาวสามารถล่าอาหารได้น้อยลง เพราะมีการละลายของแผ่น
น้ำแข็งมากขึ้น

4. อัตราการรอดของลูกเพนกวินลดลง เพราะแม่เพนกวิน ต้องใช้
เวลาในการหาอาหารนานขึ้น

5. อัตราการตายของกวางเรนเดียร์เพิ่มขึ้น เพราะสภาพอากาศ
แปรปรวนทำให้หาอาหารยาก

ตอบ
ตัวเลือกที่ ( 2 ) การสูญพันธุ์ของสิงโตภูเขา เพราะพื้นที่ป่าถูก

ตัดทำลายจึงถูกล่าได้ง่ายขึ้น

เฉลยข้อสอบO-net ( วิทยาศาสตร์ วิชา ชีววิทยา) ปีการศึกษา 2558

12. ออร์แกแนลล์ใดที่พบเฉพาะภายในเซลล์ของสัตว์เท่านั้น (O-net
58)

1. ไมโทคอนเดรีย
2. แวคิวโอล
3. ไลโซโซม
4. เซนทริโอล
5. ผนังเซลล์

ตอบ
(4) เซนทริโอล
เหตุผล
เพราะ เซนทริโอลเป็นออร์กาแนลล์ที่ไม่มีเยื่อหุ้ม พบในเซลล์สัตว์
และสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวพวกโพรทิสต์ แต่ไม่พบในเซลล์พืชและพวก
เห็ดรา ทำหน้าที่ เป็นที่ยึดเส้นใยสปินเดิลช่วยในการเคลื่อนที่ของ
โครโมโซม และแยกโครมาทิดแต่ละคู่ออกจากกันขณะเซลล์แบ่ง
ตัว

เฉลยข้อสอบO-net ( วิทยาศาสตร์ วิชา ชีววิทยา) ปีการศึกษา 2558

13. อวัยวะใดที่ปลาไม่ได้ใช้ ในการรักษาดุลยภาพของน้ำและแร่ธาตุ
ในร่างกาย (O-net 58)

1. เหงือก
2. รูจมูก
3. ผิวหนัง
4. ไต
5. ทวารหนัก

ตอบ (2) รูจมูก
เหตุผล
เหงือก ==> ช่วยขับแร่ธาตุกรณีปลาเค็ม ส่วน ปลาน้ำจืด เหงือก
ช่วยดูดแร่ธาตุ
ผิวหนังมีเกล็ด==> ช่วยป้องกันไม่ให้แร่ธาตุซึมเข้ากรณีปลาทะเล
ส่วนปลาน้ำจืด เกล็ดป้องกันไม่ให้น้ำซึมผ่าน
ไต==> ไตปลาน้ำเค็ม มีโกลเมอรูลัสเล็กหรือไม่มีเลยทำให้กรอง
ของเหลวได้น้อยและปัสสาวะออกมาน้อยด้วย ปัสสาวะจะมีเกลือ
แร่พวกที่เป็นประจุคู่เช่นแมกนีเซียมไอออนทูซัสเฟตเป็นส่วนใหญ่
และมีของเสียจากเมแทบอลิซึมของสารโปรตีนเจีอปน
ออกมาน้อยมาก ปัสสาวะมีความเข้มข้นเท่าเลือด (isotonic
urine) ส่วนไตไตปลาน้ำจืดมีโกลเมอรูลัส (glomerulus) ขนาด
ใหญ่ทำให้กรองของเหลวได้จำนวนมากและกำจัดปัสสาวะที่เจือ
จาง(dilute urine)และเจือจางกว่าเลือด(hypoto
nic urine) ออกมา เป็นการรักษาเกลือแต่และกำจัดน้ำส่วนเกิด
อย่างมีประสิทธิภาพ

เฉลยข้อสอบO-net ( วิทยาศาสตร์ วิชา ชีววิทยา) ปีการศึกษา 2558

14. นักท่องเที่ยวชาวไทยไปเที่ยวประเทศอินเดียในช่วงที่มีอากาศร้อน
จัด ร่างกายของเขาจะเกิดการเปลี่ยนแปลงดังต่อไปนี้ ยกเว้น ข้อใด
(O-net 58)

1. สมองส่วนไฮโพทาลามัสไปกระตุ้นร่างกาย
2. หลอดเลือดที่ผิวหนังขยายตัว
3. กล้ามเนื้อที่ยึดโคนเส้นขนคลายตัว
4. ต่อมเหงื่อเพิ่มการหลั่งเหงื่อ
5. อัตราการเผาผลาญสารอาหารเพิ่มขึ้น

ตอบ (5) อัตราการเผาผลาญสารอาหารเพิ่มขึ้น
เหตุผล
การเปลี่ยนแปลของร่างกายขณะที่อุณหภูมิภายนอกสูงขึ้นเป็นผล
ให้สมองส่วนไฮโพทาลามัสควบคุมร่างกายดังนี้

1. หลอดเลือดฝอยที่ผิวหนังคลายตัวเพื่อเพิ่มการแผ่รังสีความ
ร้อน

2. ขนเอนราบต่อมเหงื่อหลั่งเหงื่อเพิ่มการระเหยของเหงื่อ
3.ลดอัตราเมแทบอลิซึมของร่างกาย ซึ่งส่งผลให้อัตราการเผา

ผลาญสารอาหารลดลงด้วย
ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงในข้อ (5) จึงเป็นข้อยกเว้น

เฉลยข้อสอบO-net ( วิทยาศาสตร์ วิชา ชีววิทยา) ปีการศึกษา 2558

15. ข้อใดจับคู่ระหว่างอวัยวะในระบบภูมิคุ้มกันและหน้าที่ได้อย่างถูก
ต้อง (O-net 58)

1. ต่อมน้ำเหลือง ทำหน้าที่ผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดง
2. ตับทำหน้าที่สร้างและทำลายเกล็ดเลือด
3. ไขกระดูก ทำหน้าที่สร้างเกล็ดเลือด
4. ม้าม ทำหน้าที่ทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาว
5. ต่อมไทมัส ทำหน้าที่ทำลายเซลล์เม็ดเลือดแดง

ตอบ (3) ไขกระดูก ทำหน้าที่สร้างเกล็ดเลือด
เหตุผล
เพราะไขกระดูกเป็นแหล่งสร้างเซลล์เม็ดเลือดขาวทุกชนิด รวมทั้ง
เซลล์เม็ดเลือดแดงและเกล็ดเลือด

เฉลยข้อสอบO-net ( วิทยาศาสตร์ วิชา ชีววิทยา) ปีการศึกษา 2558

16. เซลล์ในรูปมีการแบ่งเซลล์แบบไมโอซีสในระยะใด (O-net 58)

1. เมตาเฟส I
2. แอนนาเฟส I
3. อินเตอร์เฟส II
4. เมตาเฟส II
5. แอนนาเฟส II

ตอบ (2) แอนนาเฟส I
เหตุผล
จากภาพจะเห็นได้ว่าเป็นการแยกกันของโครโมโซมคู่เหมือน
(Homologous chromosome) ซึ่งจะสังเกตเห็นได้ว่า
โครโมโซมที่แยกออกไปแต่ละแท่งประกอบด้วย 2 ซิสเตอร์โครมา
ทิด (Sister chromatid) ซึ่งสอดคล้องกับพฤติกรรมของ
โครโมโซมในระยะแอนนาเฟส I

เฉลยข้อสอบO-net ( วิทยาศาสตร์ วิชา ชีววิทยา) ปีการศึกษา 2558

17. ข้อใดเป็นจีเอ็มโอที่เกิดจากการทำพันธุวิศวกรรม (O-net 58)
1. ปลาทับทิม
2. ข้าว กข 15
3. กล้วยไม้ปลอดเชื้อ
4. มะละกอต้านทานไวรัส
5. วัวโคลน

ตอบ (4) มะละกอต้านทานไวรัส
เหตุผล
พันธุวิศวกรรม คือ การตัดต่อยีนหรือ DNA จากสิ่งมีชีวิตชนิด
หนึ่งนำไปเชื่อมต่อกับยีนหรือ DNA ของสิ่งมีชีวิตอีกชนิดหนึ่งเกิด
เป็นยีนหรือ DNA สายผสม ทำให้สิ่งมีชีวิตที่เป็นฝ่ายรับยีน จะ
สามารถสังเคราะห์โปรตีนชนิดที่ถูกกำหนดโดยยีนที่ได้รับมา ซึ่ง
โดยธรรมชาติแล้วจะไม่สามารถสังเคราะห์ได้เอง สอดคล้องกับสิ่ง
มีชีวิตในข้อ (4) มะละกอต้านทานไวรัส

เฉลยข้อสอบO-net ( วิทยาศาสตร์ วิชา ชีววิทยา) ปีการศึกษา 2558

18. สัตว์กลุ่มใดต่อไปนี้มีความหลากหลายทางสปีชีส์ต่ำที่สุด (O-net
58)

1. สุนัขบ้าน
2. เต่าไทย
3. นกจับแมลง
4. ตั๊กแตน
5. เป็ดป่า

ตอบ (1) สุนัขบ้าน
เพราะอ้างอิงมาจากหนังสือแบบเรียนชีววิทยา สุนัขบ้าน Canis
familiaris
โดย
Genus: Canis
Species: C. lupus
Subspecies: C. l. familiaris
จะเห็นได้ว่า familiaris เป็น Subspecies จึงจัดว่ามีความ
หลากหลายน้อยที่สุด

เฉลยข้อสอบO-net ( วิทยาศาสตร์ วิชา ชีววิทยา) ปีการศึกษา 2558

19. ลักษณะชีวนิเวศหรือไบโอมแบบใด ที่พบว่าพืชชนิดต่างๆ ได้เกิด
วิวัฒนาการไปสู่สปีชีส์ใหม่มากที่สุด (O-net 58)

1. ไบโอมป่าดิบชื้น
2. ไบโอมทุนดรา
3. ไบโอมทะเลทราย
4. ไบโอมป่าสน
5. ไบโอมสะวันนา

ตอบ (1) ไบโอมป่าดิบชื้น
เหตุผล
ไบโอมป่าดิบชื้น ภูมิอากาศร้อนและชื้น มีฝนตกตลอดทั้งปี
ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 200-400 เซนตริเมตร ป่าชนิดนี้พบพืชและ
สัตว์หลากหลายนับพัน สปีชีส์เป็นป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์สูง จึง
มีโอกาสที่จะเกิดสปีชีส์ใหม่มากที่สุด

เฉลยข้อสอบO-net ( วิทยาศาสตร์ วิชา ชีววิทยา) ปีการศึกษา 2558

20. ข้อใดเรียงลำดับของพืชที่น่าจะพบเมื่อทำการเผาไร่ข้าวโพดแล้ว
ปล่อยให้รกร้าง ได้อย่างถูกต้อง (O-net 58)

1. ข้าวโพด – หญ้า – แห้วกระเทียม – ไม้พุ่ม – ไม้ต้น
2. ข้าวโพด – แห้วกระเทียม – ไม้ต้น – ไม้พุ่ม – หญ้า
3. ข้าวโพด – ไม้ต้น – ไม้พุ่ม – แห้วกระเทียม – หญ้า
4. ข้าวโพด – หญ้า – ไม้พุ่ม – ไม้ต้น – แห้วกระเทียม
5. ข้าวโพด – แห้วกระเทียม – หญ้า – ไม้พุ่ม – ไม้ต้น

ตอบ (1) ข้าวโพด – หญ้า – แห้วกระเทียม – ไม้พุ่ม – ไม้ต้น
เหตุผล
การเปลี่ยนแปลงแทนที่ ขั้นสุด climax community ระบบ
นิเวศบริเวณนั้นๆจะเปลี่ยนสภาพกลายเป็นป่าไม้ ดังนั้นลำดับ
สุดท้ายของการเปลี่ยนแปลงหลังจากการเผาไร่ข้าวโพดน่าจะเป็น
ไม้ต้น ซึ่งสอดคล้องกับตัวเลือกข้อ 1 และ ข้อ 4 แต่หลังจากเผา
ไร่ข้าวโพดแล้วสิ่งมีชีวิตกลุ่มแรกที่จะเกิดมาแทนที่น่าเป็นหญ้า ดัง
นั้นตัวเลือกที่ถูกต้องมากที่สุดจึงเป็นข้อ 1

เฉลยข้อสอบO-net ( วิทยาศาสตร์ วิชา ชีววิทยา) ปีการศึกษา 2558

Thank you

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก