พยาบาล จุฬา ภร ณ์ เรียน ที่ไหน

โรงพยาบาลจุฬาภรณ์

เป็นโรงพยาบาลภายใต้หน่วยงานวิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ซึ่งเป็นหน่วยงานในกำกับของรัฐ สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี โดยโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ทำหน้าที่ให้บริการทางวิชาการและวิชาชีพดัานสุขภาพ ให้การบริบาลรักษาพยาบาลผู้ป่วยทั่วไป ผู้ป่วยสิทธิเบิกจ่ายตรงข้าราชการ สิทธิประกันสังคมและบัตรทองที่ส่งต่อมาจากต้นสังกัด และให้บริการทางการแพทย์ด้วยศูนย์ความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านต่างๆ ด้วยทีมแพทย์และพยาบาลที่เชี่ยวชาญ ตลอดจนเทคโนโลยีและอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ทันสมัยระดับมาตรฐานสากล และให้การสนับสนุนการวิจัย และการศึกษาในหลักสูตรต่างๆ ของวิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ 

ณ ปัจจุบัน โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ เปิดให้บริการทั้งหมด 3 อาคาร ประกอบด้วย

ศูนย์การแพทย์มะเร็งวิทยาจุฬาภรณ์

ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี  ทรงมีพระปณิธานแน่วแน่ที่จะช่วยเหลือประชาชนชาวไทยทั้งหลายโดยเฉพาะผู้ป่วยในท้องถิ่นทุรกันดารที่ต้องทนทุกข์จากโรคมะเร็ง ซึ่ง ณ ปัจจุบันเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่งของคนไทย ทรงมีพระดำริให้จัดตั้งโรงพยาบาลจุฬาภรณ์เพื่อให้เป็นโรงพยาบาลเฉพาะทางด้านการรักษาโรคมะเร็งขนาด 100 เตียง และเปิดให้บริการแก่ประชาชนอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ.2552  จากการอุทิศพระวรกาย เพื่อทรงนำความเจริญก้าวหน้ามายังโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ทั้งทางด้านวิทยาการความรู้ และเทคโนโลยีสมัยใหม่ ทำให้โรงพยาบาลจุฬาภรณ์เจริญก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว เป็นที่ศรัทธาของประชาชนทั้งหลายของการเป็นโรงพยาบาลชั้นนำด้านการรักษาโรคมะเร็ง และให้บริการเป็นที่ประทับใจแก่ประชาชนทุกระดับ โดยเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2560 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนาม “ศูนย์การแพทย์มะเร็งวิทยาจุฬาภรณ์” แก่โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ (เดิม) เพื่อให้เป็นศูนย์การแพทย์เฉพาะทางชำนาญการด้านการรักษาโรคมะเร็งอย่างครบวงจร ภายใต้โรงพยาบาลจุฬาภรณ์

อาคารศูนย์การแพทย์มะเร็งวิทยาจุฬาภรณ์ โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ เป็นโรงพยาบาลเฉพาะทางด้านการตรวจและรักษาโรคมะเร็ง ควบคู่กับการศึกษาวิจัย เพื่อสร้างนวัตกรรม และองค์ความรู้ใหม่ทั้งในด้านการป้องกัน การตรวจวินิจฉัย และรักษาโรคมะเร็ง โดยผู้ป่วยมะเร็งทุกรายที่เข้ารับการรักษา ณ ศูนย์การแพทย์มะเร็งวิทยาจุฬาภรณ์ โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ จะได้รับการประเมินผลการตรวจวินิจฉัยเบื้องต้นโดยคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญกำหนดแผนการรักษา หรือ Tumor Board ซึ่งประกอบด้วยคณะแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสหสาขาต่างๆ จะร่วมกันพิจารณาตัดสินแนวทางการรักษาที่เหมาะสม และดีที่สุดสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย เพื่อให้ผู้ป่วยมะเร็งมีโอกาสรอดชีวิต และมีคุณภาพชีวิตที่ดี พร้อมศักยภาพของการให้บริการรักษาโรคมะเร็งอย่างครบวงจรด้วยวิธีการต่างๆ ทั้งการผ่าตัด การฉายรังสี การให้ยาเคมีบำบัด การรักษามะเร็งแบบมุ่งเป้า การตรวจวินิจฉัย และรักษามะเร็งด้วยเวชศาสตร์นิวเคลียร์ หัตถการรักษามะเร็ง การรักษาผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายโดยทีมสหสาขาวิชาชีพที่เน้นผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง

นอกจากนี้ ในอาคารศูนย์การแพทย์มะเร็งวิทยาจุฬาภรณ์ โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ยังเปิดให้บริการรักษาผู้ป่วยโรคทั่วไป และโรคเฉพาะทางด้วยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้การดูแลผู้ป่วยครอบคลุมโรคต่างๆได้มากขึ้น และให้ผู้ป่วยได้รับความสะดวกสบายในการเข้ารับรักษาพยาบาลที่ครบวงจรในที่เดียว

อาคารศูนย์ไซโคลตรอนและเพทสแกนแห่งชาติ เป็นศูนย์ที่ก่อตั้งจากพระปณิธานและพระวิสัยทัศน์ใน ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 ที่ทรงเล็งเห็นถึงความสำคัญในการใช้เครื่องเพทซีทีสแกน และไซโคลตรอนในการวินิจฉัย และการวางแผนการรักษาที่มีประสิทธิภาพ และเพื่อให้เป็นศูนย์กลางการให้บริการตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็ง โรคระบบประสาท และโรคหัวใจด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยและมีราคาสูงให้เกิดประโยชน์ และความคุ้มค่าอย่างสูงสุด เพื่อให้ประชาชนคนไทยทุกระดับสามารถเข้าถึงบริการการตรวจวินิจฉัยด้วยเทคโนโลยีขั้นสูงได้อย่างเท่าเทียมกัน อีกทั้งเป็นสถานวิจัย และถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการวินิจฉัยแก่บุคลากรระดับต่างๆทั้งใน และต่างประเทศ  

ด้วยพระกรุณาธิคุณใน ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ที่ให้โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ เป็นที่พึ่งของประชาชนชาวไทยให้ได้รับการรักษาอย่างดียิ่ง ช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ที่ได้รับความทุกข์ทรมานจากโรคร้าย และเป็นการยกระดับการรักษาให้ได้มาตรฐานสากล อีกทั้งช่วยพัฒนาบุคลากรผู้เชี่ยวชาญรวมถึงการค้นคว้าวิจัยทางด้านวิชาการตลอดจนเทคโนโลยีใหม่ๆ ให้ทัดเทียมนานาประเทศ  

ศูนย์การแพทย์จุฬาภรณ์เฉลิมพระเกียรติ

ในโอกาสที่ ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ทรงเจริญพระชนมายุครบ 5 รอบ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2560  เพื่อเฉลิมพระเกียรติในโอกาสมหามงคลดังกล่าว ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์จึงได้ดำเนินโครงการจัดสร้างอาคารบนพื้นที่ ๑๗ ไร่ ตั้งอยู่ภายในศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ โซนซี ถนนแจ้งวัฒนะ เพื่อขยายการให้บริการของโรงพยาบาลจุฬาภรณ์เพื่อเป็นอาคารผู้ป่วยทั่วไป (OPD) และผู้ป่วยฉุกเฉิน (ER) และเป็นอาคารสนับสนุนอาคารศูนย์การแพทย์ภัทรมหาราชานุสรณ์ โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ส่วนต่อขยายขนาด 400 เตียง ในโครงการเฉลิมพระเกียรติ 90 ปี พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทั้งนี้ เพื่อสนองพระปณิธานอันแน่วแน่ที่ทรงอยากให้โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ขยายการรักษาพยาบาลให้ครอบคลุมทุกโรค และเป็นที่พึ่งพิงให้กับประชาชนโดยเฉพาะผู้ป่วยยากไร้และด้อยโอกาสให้ได้รับการรักษาอย่างมีคุณภาพและเท่าเทียมกัน ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี  พระราชทานนาม “ศูนย์การแพทย์จุฬาภรณ์เฉลิมพระเกียรติ” แก่อาคารดังกล่าว โดยเสด็จพระดำเนินเปิดอาคารในวันที่ 1 ธันวาคม 2560 

อาคารศูนย์การแพทย์จุฬาภรณ์เฉลิมพระเกียรติ โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ เป็นโรงพยาบาลขนาด 50 เตียง ให้บริการตรวจรักษาผู้ป่วยโรคอายุรกรรมทั่วไป และ 3 ศูนย์โรคเฉพาะทาง ได้แก่ ศูนย์หัวใจและหลอดเลือด ศูนย์การแพทย์เฉพาะทางครบวงจรเปิดให้บริการเพื่อรองรับการตรวจรักษาสำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดซึ่งจัดเป็นกลุ่มโรคที่คร่าชีวิตประชาชนไทยเป็นอันดับ 2 รองจากโรคมะเร็ง ให้บริการครบวงจรตั้งแต่การตรวจวินิจฉัยด้าน Non-Invasive การรักษาโรคหัวใจ ด้วยเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดของห้องปฏิบัติการสวนหัวใจและหลอดเลือด และเครื่องเอกซเรย์ตรวจสวนหัวใจและหลอดเลือดชนิดระนาบเดียวที่มีความทันสมัยมากที่สุดในปัจจุบัน และเป็นเครื่องแรกในอาเซียนที่ใช้เทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยให้การตรวจรักษาของแพทย์สามารถทำได้รวดเร็ว และแม่นยำ และด้วยตัวเครื่องที่มีความคล่องตัวสูงที่นอกจากการตรวจรักษาโรคในหลอดเลือดหัวใจได้เป็นอย่างดีแล้ว ยังสามารถรองรับการตรวจรักษาหลอดเลือดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นหลอดเลือดแขน ขา ได้เป็นอย่างดีด้วย ตลอดจนการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ การส่งเสริมการดูแลเชิงป้องกันด้วยทีมแพทย์เฉพาะทางสหสาขาวิชาชีพ และการดูแลทุกสถานการณ์หัวใจตลอด 24 ชั่วโมง คลินิกจักษุ ให้บริการตรวจรักษาโรคทางตาทั้งเด็ก และผู้ใหญ่ด้วยเครื่องตรวจตาที่ทันสมัย อาทิ ตรวจวัดสายตา กล้ามเนื้อตา ตาเขตาเหล่ ต้อกระจก ต้อหิน ต้อเนื้อต้อลม และการผ่าตัดตาด้วยกล้องผ่าตัดสามมิติ  นอกจากนี้ ผู้ป่วยสามารถตรวจจอประสาทตา โดยไม่ต้องหยอดขยายม่านตา ช่วยประหยัดเวลา และไม่มีปัญหาเรื่องตามัว ศูนย์ศัลยกรรมกระดูกและข้อ ให้บริการตรวจรักษาโรคทั่วไปและโรคเฉพาะทางกระดูก และข้อด้วยศัลยแพทย์กระดูกและข้อเฉพาะทางด้านต่างๆ รองรับการให้บริการผ่าตัดรักษาข้อกระดูกด้วยเทคนิคการผ่าตัดส่องกล้องซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ทันสมัย โดยนำมาใช้ เพื่อตรวจวินิจฉัยหาความผิดปกติของข้อกระดูกและสามารถทำการผ่าตัดรักษาโดยไม่ต้องเปิดแผลใหญ่ และให้ผลการรักษาที่ดีกว่า

นอกจากนี้ ยังมีบริการตรวจรักษาทางด้านอื่นๆ อาทิ คลินิกโรคผิวหนังและเลเซอร์ คลินิกอายุรกรรมทั่วไป คลินิกทันตกรรม คลินิกเวชศาสตร์ฟื้นฟู กายภาพบำบัด และศูนย์รังสีวินิจฉัยที่ให้บริการตรวจด้วยเครื่องมือทางรังสีที่ทันสมัยชนิดต่างๆ ภายในอาคารศูนย์การแพทย์จุฬาภรณ์เฉลิมพระเกียรติได้จัดแบ่งออกเป็นโซนการศึกษาวิจัยของราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ด้วยส่วนหนึ่ง โดยมีห้องปฏิบัติการตรวจวินิจฉัยเอ็มอาร์ไอ สำหรับโครงการต่างๆเพื่อยกระดับ และพัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับประชาชน 

โครงการด้านการบริการทางการแพทย์ที่อยู่ในระหว่างการดำเนินงานก่อสร้างอาคาร ได้แก่

ศูนย์การแพทย์ภัทรมหาราชานุสรณ์

ด้วยพระบารมีปกเกล้าฯ โครงการจัดสร้างโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ส่วนต่อขยายขนาด 400 เตียง และศูนย์การศึกษาของราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ จึงถือกำเนิดขึ้นจากความร่วมมือของทุกภาคส่วน โครงการตั้งอยู่ภายในศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 ถนนแจ้งวัฒนะ บนเนื้อที่ 24 ไร่ มีกำหนดเริ่มดำเนินโครงการจัดสร้างอาคารในปี พ.ศ. 2560 ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนาม “ศูนย์การแพทย์ภัทรมหาราชานุสรณ์” ให้เป็นชื่อของอาคาร อันมีความหมายว่า ศูนย์การแพทย์ที่ระลึกถึงพระมหากษัตริย์ผู้ประเสริฐยิ่ง เพื่อถวายราชสดุดี และรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่ทรงมีต่อประชาชนไทยตลอดระยะเวลาที่ทรงครองสิริราชสมบัติ เพื่อการพัฒนา และยกระดับคุณภาพชีวิตของพสกนิกรชาวไทย โดยเสด็จทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2561

อาคารศูนย์การแพทย์ภัทรมหาราชานุสรณ์ ประกอบด้วย 2 ส่วนหลัก คือ ศูนย์การแพทย์ซึ่งจะเป็นโรงพยาบาลระดับตติยภูมิขนาดใหญ่ 400 เตียง เป็นส่วนต่อขยายของโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ สำหรับให้บริการด้านสุขภาพและสาธารณสุขที่ได้มาตรฐาน เพื่อให้การรักษาพยาบาลสำหรับประชาชนทุกระดับ โดยเป็นพระภารกิจที่เพิ่มขึ้นในการดูแลทุกข์สุขของประชาชน อันสืบเนื่องมาจากพระประสงค์ที่จะดูแลผู้ป่วยอื่นๆ อย่างครบวงจร ไม่เฉพาะแต่ผู้ป่วยโรคมะเร็งเท่านั้น เพราะราษฏรที่ทรงพบเห็นในถิ่นทุรกันดาร นอกเหนือจากโรคมะเร็งแล้วยังเจ็บป่วยด้วยโรคอื่นๆ อีกเป็นจำนวนมาก ศูนย์การแพทย์แห่งใหม่นี้จะให้การตรวจวินิจฉัยและรักษาด้วยศูนย์ความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านต่างๆ ด้วยทีมแพทย์และพยาบาลผู้เชี่ยวชาญ ตลอดจนเทคโนโลยีและอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ทันสมัยระดับมาตรฐานสากล นอกจากนี้ ด้วยพระวิสัยทัศน์ที่ยาวไกลว่าควรมีการผลิตและพัฒนาบุคลากรทางการแพทย์ที่มีประสิทธิภาพ และมีจำนวนพอเพียง ศูนย์การแพทย์ภัทรมหาราชานุสรณ์ จึงเป็นอาคารสำหรับการเรียนการสอน และการวิจัยของ วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ โดยเป็นแหล่งพัฒนาองค์ความรู้ทางด้านวิชาการ งานวิจัย และนวัตกรรมด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีทางการแพทย์ให้ทัดเทียมนานาประเทศ มุ่งสร้างบัณฑิต และพัฒนาบุคลากรทางการแพทย์ วิทยาศาสตร์ พยาบาล และการสาธารณสุข ที่มีความเป็นเลิศควบคู่คุณธรรม จริยธรรม และจิตเมตตา เพื่อคุณประโยชน์อย่างเด่นชัดทางการแพทย์ ซึ่งเกิดมีขึ้นได้ด้วยพระบารมีปกเกล้าฯ ในอนาคตอันใกล้นี้ ซึ่งนับเป็นความโชคดีของประชาชนชาวไทยอย่างแท้จริง

“…I want Chulabhorn Hospital to be a resource for the middle-class and the underprivileged people to receive excellent services as equal as the well-off. The expansion of the hospital not only supports cancer care, but also covers a spectrum of illnesses. Another important reason is I would like the expansion of this hospital to commemorate the 90th Birthday Anniversary of my father, HM King BhumibolAdulyadej in 2016. I hope everyone will make the contributions and make my dream come true...”

- Royal Speech Given by Professor Dr. HRH Princess Chulabhorn-

                                 On 8 July 2015 at Chulabhorn Hospital

Chulabhorn Hospital

From a Cancer Hospital to a General Hospital with full range of Medical Services

Chulabhorn Oncology Medical Centre

Under the gracious guidance of Her Royal Highness, the operation of Chulabhorn Hospital was continuously improved and advanced to the point that it became a comprehensive cancer hospital and extend to other diseases in order to further provide inclusive healthcare for Thai people. The Chulabhorn Hospital, a current 100-bed comprehensive cancer hospital, was made a new name as “Chulabhorn Oncology Medical Centre” by Her Royal Highness on August 19, 2017.

Chulabhorn Chalermprakiet Medical Centre

A general hospital, an expanded the operation of Chulabhorn Hospital,was established in 2017to commemorate the 60th Birthday Anniversary of Professor Dr. HRH Princess ChulabhornMahidol and was inaugurated by Her Royal Highness on December 1, 2017. At ChulabhornChalermprakiet Medical Centre, 50 beds general hospital, has three new specialized centresincludesCardiology, Orthopedic, and Breast Centre. With modern equipment and state-of-the-art diagnostic, and intensive care facilities in a one-stop medical centre. 

Bhattara Maha Raja Memorial Medical Centre

A comprehensive medical centre which provides a full range of medical services with 400-bed capacity. Professor Dr. HRH Princess Chulabhorn Mahidol wishes to establish this medical centre in remembrance of her beloved father the Late King Bhumibol Adulyadej. This centre is going to be in operation within 4 years. With modern equipments and state-of-the-art facilities, offer the best medical care to people from all walks of life and provide an excellent setting for clinical teaching and research.

ราช วิทยาลัย จุฬา ภร ณ์ เรียน ที่ไหน

เลขที่ 54 ถนนกำแพงเพชร 6 แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210. ประเทศ ราชอาณาจักรไทย

Pccms เรียนที่ไหน

MED PCCMS คือ คณะแพทยศาตร์และการสาธารณสุข หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต Doctor of Medicine Program วิทยาลัยวิทยาศาตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ซึ่งเป็นหลักสูตรการเรียน 7 ปี ได้ใบปริญญา 2 ใบ คือ ปริญญาบัตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต (iBSc) จาก University College London และแพทยศาสตรบัณฑิต จากวิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ ...

คณะพยาบาล มีมหาลัยไหนบ้าง

รายชื่อคณะพยาบาลศาสตร์ในประเทศไทย.
คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (เปิดสอนในระดับปริญญาโทและปริญญาเอก).
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

คณะพยาบาลศาสตร์เรียนเกี่ยวกับอะไรบ้าง

พยาบาลศาสตร์ เป็นการศึกษาที่เน้นหนักในการให้บริการด้านสุขภาพอนามัยแก่ผู้ป่วยทางกายหรือทางจิต ผู้ที่ได้รับบาดเจ็บทุพพลภาพและผู้สูงอายุ การให้บริการด้านพยาบาล คำนึงถึงความต้องการของคนไข้ ตามลักษณะของโรคที่เป็น สังเกตและบันทึกความเปลี่ยนแปลงของคนไข้ รายงานให้แพทย์ทราบถึงอาการผิดปกติที่เกี่ยวกับร่างกาย อารมณ์ และจิตใจ ช่วย ...

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก