กฎกระทรวง มีผลบังคับใช้เมื่อใด

     กฎกระทรวงเป็นกฎหมายลำดับรองซึ่งฝ่ายปกครองตราขึ้นใช้บังคับแก่ประชาชนเป็นการทั่วไป  เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการซึ่งเป็นรายละเอียดที่จะต้องปฏิบัติตามที่พระราชบัญญัติแม่บทฉบับใดฉบับหนึ่งได้กำหนดไว้การออกกฎกระทรวงจะกระทำโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงที่เกี่ยวข้องกับพระราช บัญญัติฉบับใดฉบับหนึ่ง ซึ่งเป็นผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินั้นด้วยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี และเมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ก็มีผลใช้บังคับได้ นอกจากนี้ กฎกระทรวงยังรวมถึงกฎกระทรวงที่ออกโดยนายกรัฐมนตรีในฐานะที่บังคับบัญชาสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งมีฐานะเป็นกระทรวง เรียกว่า กฎสำนักนายกรัฐมนตรี กฎกระทรวงจะออกได้ต่อเมื่อมีพระราชบัญญัติฉบับใดฉบับหนึ่งให้อำนาจไว้อย่างชัดแจ้ง ข้อสำคัญคือจะต้องอ้างอิงพระราชบัญญัติที่ให้อำนาจไว้ในกฎกระทรวงเสมอว่า อาศัยอำนาจตามความในพระราชบัญญัติฉบับใด มาตราใด ดังนั้น ในพระราชบัญญัติจึงต้องมีบทมาตรากำหนดให้อำนาจออกกฎกระทรวงไว้โดยเฉพาะด้วยเช่นกัน เพราะกฎกระทรวงเป็นกฎหมาย รูปหนึ่งที่ฝ่ายนิติบัญญัติมอบอำนาจให้ฝ่ายปกครองเป็นผู้ออก เพื่อกำหนดวิธีการและหลักเกณฑ์ในรายละเอียดภายใต้หลักใหญ่ที่พระราชบัญญัติกำหนดไว้ ดังนั้น ผู้ออกกฎกระทรวงจึงต้องอยู่ภายในขอบเขตของอำนาจที่ได้รับมอบหมายจากฝ่ายนิติบัญญัติกฎกระทรวงแบ่งเป็นข้อๆ มิได้แบ่งออกเป็นมาตราเหมือนกับพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวงต้องมีข้อความที่ไม่ขัดแย้งต่อพระราชบัญญัติ และจะแก้ไขเปลี่ยนแปลงพระราชบัญญัติไม่ได้ ทั้งจะต้องไม่บัญญัติในเรื่องที่อยู่ในขอบเขตของฝ่ายนิติบัญญัติ เช่น มีบทกำหนดโทษไม่ได้ นอกจากนี้ กฎกระทรวงออกโดยอาศัยผู้ใช้อำนาจบริหารเช่นเดียวกับพระราชกฤษฎีกาแต่มีข้อแตกต่างที่ว่า พระราชกฤษฎีกาออกโดยพระมหากษัตริย์ในฐานะประมุขของผู้ใช้อำนาจบริหารในฐานะรัฐบาล  ส่วนกฎกระทรวงออกโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวง ในฐานะประมุขของผู้ใช้อำนาจบริหารในฐานะฝ่ายปกครอง

กฎหมายที่ใช้ในประเทศไทยมีมากมาย หลายประเภท  เช่น พระราชบัญญัติ พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง เทศบัญญัติ ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร  เป็นต้น กฎหมายบางประเภทก็มีผลบังคับใช้ กับบุคคลโดยทั่วไป  บางประเภทก็มีผลบังคับใช้เฉพาะประชาชนที่อยู่ในเขตท้องที่นั้นๆ  กฎหมายที่มีความสำคัญบังคับใช้กับบุคคลทั่วไปย่อมมีความสำคัญมากกว่ากฎหมายที่มีผลบังคับใช้เฉพาะประชาชนที่อยู่ในเขตท้องที่นั้นๆ   ซึ่งเรียกลักษณะนี้ว่า ลำดับศักดิ์ของกฎหมาย ศักดิ์ของกฎหมายไทย มีดังนี้

1. ลำดับศักดิ์ของกฎหมายไทย

2. ประโยชน์การจัดลำดับศักดิ์ของกฎหมาย

ลำดับศักดิ์ของกฎหมายไทย

การจัดลำดับฐานะหรือความสูงต่ำของกฎหมาย โดยมีหลักในการตีความว่า กฎหมายที่มีศักดิ์ต่ำกว่า คือ มีลำดับชั้นต่ำกว่าจะขัดหรือแย้งต่อกฎหมายที่มีศักดิ์สูงกว่า หรือมีลำดับชั้นสูงกว่ามิได้ ดังนั้นกฎหมายที่มีศักดิ์หรือลำดับชั้นต่ำกว่าหรืออาจเรียกอีกอย่างว่ากฎหมายลูก จะต้องออกหรือตราออกมาให้มีข้อความสอดคล้องกับกฎหมายที่มีลำดับศักดิ์สูงกว่า ซึ่งเป็นกฎหมายแม่ให้อำนาจกฎหมายลูกไว้ หากบัญญัติออกมามีข้อความขัดแย้งหรือฝ่าฝืนบทบัญญัติของกฎหมายแม่แล้ว จะมีผลให้กฎหมายลูกที่มีศักดิ์ต่ำกว่าใช้บังคับมิได้ ดังนั้น ศักดิ์ของกฎหมายจึงหมายถึง ลำดับฐานะหรือความสูงต่ำของกฎหมายที่มีความสำคัญสูงกว่าหรือต่ำกว่ากัน การจัดแบ่งลำดับชั้นของกฎหมายไทยสามารถจัดแบ่งลำดับชั้น  ออกเป็น  7  ประเภท  ดังนี้

1.  รัฐธรรมนูญ  เป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ  กฎหมายใดขัดแย้งไม่ได้  โดยจะมีเนื้อหาเกี่ยวกับการใช้อำนาจอธิปไตย  ความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันการเมือง  สิทธิเสรีภาพของประชาชน

2.  พระราชบัญญัติ  ประมวลกฎหมาย เป็นกฎหมายที่รัฐสภาตราขึ้น

3.  พระราชกำหนด เป็นกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นตามคำแนะนำของคณะรัฐมนตรีตามบท บัญญัติในรัฐธรรมนูญใช้ในกรณีจำเป็นรีบด่วนหรือเรื่องที่จะรักษาความมั่นคงในทางเศรษฐกิจ  ความปลอดภัยของประเทศ  แต่ต้องเสนอต่อรัฐสภาโดยเร็ว

4.  พระราชกฤษฎีกา  เป็นกฎหมายที่ตราขึ้นโดยพระมหากษัตริย์ตามคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี  เพื่อกำหนดรายละเอียดตามพระราชบัญญัติที่กำหนดไว้

5.  กฎกระทรวง  เป็นกฎหมายที่รัฐมนตรีตราขึ้นผ่านคณะรัฐมนตรีเพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติหรือพระราชกำหนด

6.  ข้อบังคับหรือข้อบัญญัติ เป็นกฎหมายขององค์กรปกครองท้องถิ่น เช่น เทศบาล กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา เป็นต้น

7.  ประกาศคำสั่ง  เป็นกฎหมายเฉพาะกิจ  เช่น พระบรมราชโองการ ประกาศคณะปฎิวัติ คำสั่งหน่วยงานราชการ  เป็นต้น

ประโยชน์การจัดลำดับศักดิ์ของกฎหมาย

การจัดลำดับศักดิ์ของกฎหมายก็เพื่อประโยชน์ในการเริ่มต้นจัดทำร่างกฎหมายว่ากฎหมายประเภทนี้ระดับใดเป็นผู้จัดทำร่างเพื่อตราและประกาศใช้บังคับ นอกจากนี้ยังทำให้ผู้ใช้กฎหมายทราบลำดับชั้นของกฎหมายที่ใช้อยู่ว่าประเภทใด หรือฉบับใดมีศักดิ์และความสำคัญสูงกว่ากัน สามารถพิจารณาตรากฎหมายฉบับใหม่เพื่อแก้ไข เพิ่มเติม หรือยกเลิกฉบับเดิมได้ตามศักดิ์ของกฎหมาย รวมทั้งกรณีมีปัญหาในการวินิจฉัยและตีความกฎหมาย โดยยึดหลักว่ากฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ขณะนั้นต้องให้กฎหมายที่มีศักดิ์ระดับเดียวกันหรือสูงกว่ามาแก้ไขเพิ่มเติมหรือยกเลิก จึงจะมีผลบังคับได้ตามกฎหมาย

กฎกระทรวง
ฉบับที่ 296 (พ.ศ. 2555)
ออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยภาษีเงินได้
---------------

                  อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 3 เตรส แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2521 และมาตรา 4 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 20) พ.ศ. 2513 อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 และมาตรา 41 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้
                  ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น ( 17/2 ) ของข้อ 2 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 144 (พ.ศ. 2522) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยภาษีเงินได้
                  “( 17/2) ��การจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากร เฉพาะที่เป็นการจ่ายเงินได้จากการซื้อพลอย ทับทิม มรกต บุษราคัม โกเมน โอปอล นิล เพทาย ไพฑูรย์ หยก และอัญมณีที่มีลักษณะทำนองเดียวกัน เฉพาะที่ยังมิได้เจียระไน� แต่ไม่รวมถึงสิ่งทำเทียมวัตถุดังกล่าว หรือที่ทำขึ้นใหม่ เพชร ไข่มุก และสิ่งทำเทียมเพชรหรือไข่มุกหรือที่ทำขึ้นใหม่ ให้แก่ ผู้มีเงินได้ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาและมิได้เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ใช้สิทธิยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 311) �พ.ศ.� 2540 ร้อยละ �1.0 �ทั้งนี้ สำหรับการจ่ายเงินได้พึงประเมินระหว่างวันที่กฎกระทรวงนี้มีผลใช้บังคับถึงวันที่� 31 ธันวาคม พ.ศ.� 2557”

ให้ไว้� ณ� วันที่� 28� ธันวาคม �พ.ศ. 2555

กิตติรัตน์ ณ ระนอง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรกำหนดให้มีการหักภาษี ณ ที่จ่าย สำหรับการจ่ายเงินได้พึงประเมินบางประเภทเพิ่มขึ้นจากที่กำหนดไว้ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 144 (พ.ศ. 2522) ออกตามความในประมวลรัษฎากร� ว่าด้วยภาษีเงินได้ เนื่องจากการหักภาษี ณ ที่จ่าย จะเป็นการป้องกันการหลีกเลี่ยงภาษีและทำให้รัฐสามารถควบคุมตรวจสอบการเสียภาษีของผู้มีเงินได้ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาอันจะทำให้การจัดเก็บภาษีมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้

(ร.จ. ฉบับกฤษฎีกาฯ เล่ม 130 ตอนที่ 3 ก วันที่ 11 มกราคม 2556)

กฎหมายจะมีผลบังคับใช้เมื่อใด

๑. ให้มีผลใช้บังคับนับตั้งแต่วันประกาศ คือ ผู้มีอำนาจลงนามในประกาศ วันไหนก็มีผลใช้บังคับวันนั้น ๒. ให้มีผลใช้บังคับนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา คือ เมื่อประกาศ ในราชกิจจานุเบกษาวันใด ก็มีผลใช้บังคับวันนั้น

กฎหมายจะมีผลบังคับใช้นับแต่เมื่อใดหลังจากที่ได้มีการประกาศในหนังสือราชกิจจานุเบกษาแล้ว

กรณีที่กฎหมายกำหนดให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด ๖๐ วัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ถ้ากฎหมายลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาวันที่ ๑ ม.ค. ๒๕๕๑ (ดูจากหัวกระดาษมุมบนขวา) จะต้องเริ่มนับตั้งแต่วันที่ ๑ ม.ค. ๒๕๕๑ ไปจนครบ ๖๐ วัน ซึ่งจะครบ ๖๐ วัน ในวันที่ ๒๙ ก.พ. ๒๕๕๑ กฎหมายให้ใช้บังคับเมื่อพ้น ๖๐ วัน ดังนั้น จึงเริ่มมีผล ...

กฎหมายไทยใช้บังคับกับบุคคลใดบ้าง

๔. กฎหมายใช้บังคับแก่บุคคลใด กฎหมายเมื่อออกมาใช้บังคับแล้ว จะใช้ได้กับบุคคลทุกคนที่อยู่ในราชอาณาจักรไทย ไม่ว่าบุคคลนั้นจะมีสัญชาติไทยหรือไม่ ทั้งนี้ มีข้อยกเว้นที่เกิดจากกฎหมายภายในและกฎหมาย ระหว่างประเทศในการใช้บังคับกฎหมายแก่บุคคลต่างๆ

มีกรณีใดบ้างที่มีการประกาศใช้พระราชกําหนด

สถานการณ์ที่จะประกาศใช้พระราชกำหนดได้ 1. พระราชกำหนดทั่วไป ออกได้ในกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้เพื่อประโยชน์ในการรักษาความปลอดภัยของประเทศ เพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจ หรือเพื่อป้องปัดพิบัติสาธารณะ

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก