ปัจจัยที่เอื้อพัฒนาการทางด้านเศรษฐกิจของอาณาจักรสุโขทัยมีอะไรบ้าง

ใบงานที่ 4.3 พัฒนาการทางด้านเศรษฐกิจสมัยสุโขทัย

คำชี้แจง     ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้

    1.  สภาพทางภูมิศาสตร์ของอาณาจักรสุโขทัยมีความเหมาะสมกับการทำเกษตรกรรมหรือไม่ อธิบายเหตุผล

เหมาะสม เนื่องจากสุโขทัยตั้งอยู่ในที่ราบลุ่ม มีแม่น้ำ ปิง วัง ยม และน่านไหลผ่าน และมีเทือกเขาขนาบทั้งสองด้านทำให้อุณหภูมิพอเหมาะไม่ร้อนจนเกินไป และมีลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ และลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้พัดผ่าน จึงมีฝนตกชุกเหมาะแก่การประกอบอาชีพเกษตรกรรม 

       2.  เพราะเหตุใด จึงกล่าวได้ว่าเศรษฐกิจที่สำคัญของสุโขทัยขึ้นอยู่กับการพาณิชยกรรม

            เนื่องจากสุโขทัยมีตลาดปสาน เป็นศูนย์กลางการค้าขาย สำหรับชาวเมือง  และมีการผลิตเงินตราขึ้นเพื่อเป็น  สื่อกลางในการค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้า ได้แก่ เบี้ย บาท และพดด้วง นอกจากนี้ยังสนับสนุนการค้าอย่างเสรีโดยไม่เก็บ  ภาษี และมีการติดต่อค้าขายกับดินแดนต่างๆ นอกราชอาณาจักรด้วย 

       3.  จากข้อความในศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ความตอนหนึ่งว่า “เมื่อชั่วพ่อขุนรามคำแหง เมืองสุโขทัยนี้ดี ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว เจ้าเมืองบ่เอาจกอบในไพร่ลูท่าง เพื่อนจูงวัวไปค้า ขี่ม้าไปขาย ใครจักใคร่ค้าช้างค้า ใครจักใคร่ค้าม้าค้า ใครจักใคร่ค้าเงินค้าทองค้า” แสดงให้เห็นสภาพเศรษฐกิจของสุโขทัยอย่างไรบ้าง

            (พิจารณาตามคำตอบของนักเรียน โดยให้อยู่ในดุลยพินิจของครูผู้สอน)

บทสรุป

4.  พัฒนาการทางด้านเศรษฐกิจสมัยสุโขทัยเป็นอย่างไรบ้าง

            (พิจารณาตามคำตอบของนักเรียน โดยให้อยู่ในดุลยพินิจของครูผู้สอน)

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการในสมัยสุโขทัย

ปัจจัยด้านภูมิศาสตร์และสิ่งแวดล้อม

- สภาพภูมิอากาศ สุโขทัยตั้งอยู่ท่ามกลางเทือกเขา ทำให้อากาศไม่ร้อนจนเกินไป นอกจากนี้ยังมีฝนตกชุกในฤดูมรสุม

- ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ เช่น ป่าไม้ สัตว์ป่า ของป่า และแร่ธาตุต่างๆ

- การคมนาคม สุโขทัยมีเส้นทางการค้าทางน้ำและทางบกที่สามารถติดต่อกับแคว้นต่างๆได้สะดวก

ปัจจัยด้านอารยธรรม

สุโขทัยได้รับวัฒนธรรมภายนอกเข้ามาผสมผสานกับวัฒนธรรมเดิมของไทย
ทั้งด้านศาสนา ภาษา การปกครอง กฎหมาย และศิลปกรรม จนเกิดเป็นศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทยสืบต่อมาในสมัยหลัง

การเมืองการปกครองสมัยสุโขทัย

 อาณาจักรสุโขทัยเมื่อแรกตั้งยังมีอาณาเขตไม่กว้างขวาง      มีจำนวนพลเมืองยังไม่มากและอยู่ในระหว่างการก่อร่างสร้างตัว  การปกครองในระยะแรกจึงยังเป็นการปกครองระบบแบบครอบครัว   ผู้นำของอาณาจักรทำตัวเหมือนบิดาของประชาชน  มีฐานะเป็นพ่อขุน  มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับประชาชน ต่อมาหลังสมัยพ่อขุนรามคำแหงสถานการณ์ของบ้านเมืองเปลี่ยนแปลงไป  จึงเริ่มใช้การปกครองที่เป็นแบบแผนมากขึ้น  ความสัมพันธ์ระหว่างผู้นำกับประชาชนแตกต่างไปจากเดิม      ความพยายามที่จะเพิ่มพูนอำนาจของกษัตริย์ให้สูงทรงมีฐานะเป็นธรรมราชา และทรงใช้หลักธรรมมาเป็นแนวทางในการปกครอง

                           ลักษณะการปกครองในสมัยสุโขทัย

การปกครองในสมัยสุโขทัยแบ่งเป็น 2 ระยะคือ

1.  สมัยสุโขทัยตอนต้น   เริ่มตั้งแต่สมัยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ไปถึงสิ้นสมัยของพ่อขุนรามคำแหง

2.  สมัยสุโขทัยตอนปลายตั้งแต่สมัยพระยาเลอไทยไปถึงสมัยสุโขทัยหมดอำนาจ

                             การปกครองสมัยสุโขทัยตอนต้น ( พ.ศ. 1792  -1841 )

      หลังจากที่พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ได้สถาปนาอาณาจักรสุโขทัยขึ้นมาแล้วได้พยายามขจัดอิทธิพลของขอมให้หมดไปจึงได้จัดระบบการปกครองใหม่เป็นการปกครองแบบไทย ๆที่ถือว่าประชาชนทุกคนเป็นคนในครอบครัวเดียวกัน  โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นหัวหน้าครอบครัว คือ พระมหากษัตริย์ได้ปกครองประชาชนในฐานะบิดาปกครองบุตร หรือที่เรียกว่าการปกครองแบบปิตุราชาธิปไตย ซึ่งมีลักษณะที่สำคัญดังต่อไปนี้คือ

1.  รูปแบบการปกครองเป็นแบบราชาธิปไตย คือพระมหากษัตริย์ทรงมีฐานะเป็นผู้ปกครองสูงสุด ทรงเป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตย

2.  พระมหากษัตริย์มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับประชาชนเปรียบเสมือนบิดากับบุคร  ทำตัวเปรียบเสมือนหัวหน้าครอบครัว  พระมหากษัตริย์ในสมัยสุโขทัยตอนต้นจึงมีพระนามนำหน้าว่า พ่อขุน

3.  ลักษณะการปกครองระบบครอบครัวลดหลั่นกันเป็นชั้น ๆ นอกจากพระมหากษัตริย์ทำตัวเปรียบเสมือนบิดาของราษฎรแล้ว   ยังมีการจัดระบบการปกครอง  ดังนี้

       -ให้ครัวเรือนหลายครัวเรือนรวมตัวกันเป็น บ้าน อยู่ในความดูแลของ พ่อบ้าน ผู้อยู่ภายใต้การปกครองเรียกว่า   ลูกบ้าน

       -หลายบ้านรวมกันเป็น เมือง  ผู้ปกครองเรียกว่า  ขุน

       -เมืองหลายเมืองรวมกันเป็น    อาณาจักร    อยู่ในการปกครองของ    พ่อขุน 

แสดงให้เห็นว่านอกจากพ่อขุนผู้เป็นประมุขสูงสุดแล้ว ยังมีผู้ปกครองที่ได้รับมอบหมายจากพ่อขุนทำหน้าที่เป็นกลไกในการปกครองด้วย

4.  พระมหากษัตริย์ทรงยึดหลักธรรมทางศาสนาในการบริหารบ้านเมือง และทรงชักชวนให้ประชาชนปฏิบัติธรรม

 เพื่อที่จะสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข นอกจากนี้ในสมัยสุโขทัยตอนต้นยังมีการปกครองแบบทหารแอบแฝงอยู่ด้วยเนื่องจากในระยะแรกตั้งสุโขทัยมีอาณาเขตแคบ ๆ ประชาชนยังมีน้อยดังนั้นทุดคนจึงต้องมีหน้าที่ในการป้องกันประเทศเท่าๆกันจึงกำหนดว่า เวลาบ้านเมืองปกติประชาชนต่างทำมาหากินแต่เวลาเกิดศึกสงครามชายฉกรรจ์ทุกคนต้องเป็นทหาร  โดยมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นจอมทัพ

                        การปกครองในสมัยสุโขทัยตอนปลาย       (พ.ศ. 1841-1981  )

     หลังจากที่พ่อชันรามคำแหงสวรรคตในพ.ศ. 1841แล้วอาณาจักรสุโขทัยเริ่มระส่ำระสายพระมหากษัตริย์รัชกาลต่อมาเริ่มอ่อนแอ  ไม่สามารถรักษาความมั่นคลของอาณาจักรไว้ได้   เมืองหลายเมืองแยกตัวออกไปเป็นอิสระสภาพการเมืองภายในเกิดปัญหาการสืบราชสมบัติ  รูปแบบการปกครองแบบบิดาปกครองบุตรเริ่มเสื่อมสลายลง เนื่องจากสถาบันพระมหากษัตริย์ไม่มั่นคงเพียงพอ จนกระทั่งสมัยพระยาลิไทย ซึ่งขณะนั้นปกครองอยู่ที่เมืองศรีสัชนาลัยได้ยกกำลังเข้ายึดเมืองสุโขทัยและปราบศัตรูจนราบคาบบ้านเมืองจึงสงบลง   เมื่อพระมหาธรรมราชาที่ 1 ( ลิไทย ) ขึ้นครองราชย์สมบัติในปี 1890    ทรงตระหนักถึงความไม่มั่นคงภายใน  ประกอบกับเวลานั้นกรุงศรีอยุธยาที่ตั้งขึ้นมาใหม่กำลังแผ่ขยายอำนาจจนน่ากลัวจะเกิดอันตรายกับสุโขทัย  พระมหาธรรมราชาที่ 1 ( ลิไทย )  ทรงเห็นว่าการแก้ปัญหาทางการเมืองด้วยการใช้อำนาจทางทหารอย่างเดียวนั้นไม่สามารถทำได้ เพราะอำนาจทางการทหารในสมัยของพระองค์นั้นไม่เข้มแข็งพอ  จึงทรงดำเนินพระราชกุศโลบาย โดยทรงทำนุบำรุงส่งเสริมพระพุทธศาสนา ทรงเป็นผู้ปฏิบัติธรรมเป็นตัวอย่าง และได้ทรงสร้างถาวรวัตถุทางพระพุทธศาสนาไว้ทั่วไปเพื่อเป็นที่เคารพบูชาของประชาชนให้เกิดเลื่อมใสศรัทธายึดหลักธรรมของพระพุทธศาสนาเป็นหลักในการดำเนินชีวิต     สร้างความสามัคคีกลมเกลียวกันในแผ่นดิน การปกครองที่อาศัยพระพุทธศาสนานี้เรียกว่าการปกครองแบบธรรมราชา พระมหากษัตริย์จะทรงตั้งมั่นอยู่ในทศพิธราชธรรม การปกครองแบบธรรมราชานี้ถูกนำมาใช้จนประทั่งสิ้นสุดสมัยสุโขทัย

      การปกครองแบบกระจายอำนาจ

    เนื่องจากในสมัยพ่อขุนรามคำแหงอาณาจักรสุโขทัยมีอาณาเขตกว้างขวางมากที่สุด จึงจำเป็นต้องมีการปกครองแบบกระจายอำนาจโดยแบ่งหัวเมืองออกเป็น ชั้น ๆเพื่อกระจายอำนาจในการปกครองออกไปให้ทั่วถึงเมืองต่าง ๆในสมัยสุโขทัยแบ่งออกเป็น 4 ชั้น  แต่ละชั้นพระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจในการปกครองดังนี้

   1. เมืองหลวง หรือเมืองราชธานี    อาณาจักรสุโขทัยมีเมืองสุโขทัยเป็นราชธานี เมืองหลวงหรือเมืองราชธานีมีพระมหากษัตริย์ปกครองเอง   เมืองราชธานี เป็นศูนย์กลางทางการปกครอง เศรษฐกิจ สังคม ศาสนาวัฒนธรรมประเพณ๊

 2   เมืองลูกหลวง หรือเมืองหน้าด่าน  เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าหัวเมืองชั้นใน  ตั้งอยู่รายรอบราชธานีทั้ง 4 ทิศ ห่างจากเมืองหลวงมีระยะทางเดินเท้า  2 วัน  เมืองลูกหลวงมีดังนี้

                      ทิศเหนือ                 ได้แก่        เมืองศรีสัชนาลัย

                      ทิศตะวันออก         ได้แก่        เมืองสองแคว  ( พิษณุโลก )

                      ทิศใต้                     ได้แก่        เมืองสระหลวง    ( เมืองพิจิตรเก่า  )

                      ทิศตะวันตก            ได้แก่       เมืองนครชุม     ( กำแพงเพชร )   

 เมืองลูกหลวงมีความสำคัญรองมาจากเมืองหลวง   ผู้ที่ถูกส่งไปปกครองคือเจ้านายเชื้อพระวงษ์

3. เมืองพระยามหานคร เป็นหัวเมืองชั้นนอก ห่างจากเมืองราชธานีออกไปมากกว่าเมืองลูกหลวง  พระมหากษัตริย์จะทรงแต่งตั้งขุนนางชั้นผู้ใหญ่หรือผู้ที่เหมาะสมและมีความสามารถไปปกครองดูแลเมืองเหล่านี้โดยขึ้นตรงต่อพระมหากษัตริย์ มีวิธีการปกครองเช่นเดียวกับหัวเมืองชั้นใน เมืองพระยามหานครในสมัยสุโขทัย    เช่น เ มืองพระบาง  (นครสวรรค์ ) เมืองเชียงทอง ( อยู่ในเขตจังหวัดตาก )เมืองบางพาน ( อยู่ในเขตจังหวัดกำแพงเพชร )    เป็นต้น

4. เมืองประเทศราช       ได้แก่เมืองที่อยู่นอกอาณาจักร ชาวเมืองเป็นชาวต่างชาติต่างภาษาพระมหากษัตริย์ทรงดำเนินนโยบายในการปกครองคือให้เจ้านายพื้นเมืองเดิมเป็นเจ้าเมืองปกครองกันอง  โดยไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการปกครองภายใน  ยกเว้นกรณีที่จำเป็นเท่านั้น ยามปกติเมืองประเทศราชต้องส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวายพระมหากษัตริย์สุโขทัยทุก 3 ปี     ยามสงครามต้องส่งกองทัพและเสบียงอาหารมาช่วย   สมัยพ่อขุนรามคำแหงมีเมืองประเทศราชหลายเมืองดังต่อไปนี้คือ

       ทิศเหนือ                                 ได้แก่         เมืองแพร่ เมืองน่าน

       ทิศตะวันตก                            ได้แก่         เมืองทะวาย เมืองเมาะตะมะ เมืองหงสาวดี

       ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ         ได้แก่          เมืองเซ่า   ( หลวงพระบาง )         เมืองเวียงจันทน์

       ทิศใต้                                       ได้แก่          เมืองนครศรีธรรมราช  เมืองมะละกา เมืองยะโฮร์

จากหลักฐานศิลาจารึกหลักที่ 1 ทำให้เราทราบว่า  เศรษฐกิจในสมัยสุโขทัยมีความเจริญรุ่งเรือง  ประชาชนมีความกินดีอยู่ดี  บ้านเมืองมมีความอุดมสมบูรณ์
          ปัจจัยสำคัญที่ช่วยส่งเสริมให้สุโขทัยสามารถพัฒนาเศรษฐกิจให้เจริญก้าวหน้า  มีหลายประเภทดังนี้
          1.  ภูมิประเทศ  สุโขทัยตั้งอยู่บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำ  ที่ราบเชิงเขาซึ่งเป็นแหล่งเพาะปลูก  เลี้ยงสัตว์  และจับสัตว์น้ำ
          2.  ทรัพยากรธรรมราช  สุโขทัยมีพืชพรรณธรรมชาติต่าง ๆ อย่างอุดมสมบูรณ์  เช่น  ป่าไม้  สัตว์ป่า  และแร่ธาตุต่าง ๆ
          3.  ความสามารถของผู้นำ  กษัตริย์ซึ่งเป็นผู้ปกครองกรุงสุโขทัยทรงมีพระปรีชาสามารถในการคิดริเริ่ม  และดัดแปลงสิ่งแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการดำรงชีวิตของราษฎร  เช่น  สร้างทำนบกั้นน้ำไว้เพื่อเก็บกักน้ำ  ที่เรียกว่า  ทำนบพระร่วง  ส่งน้ำไปตามคูคลองสู่คูเมือง  เพื่อระยายน้ำสู่พื้นที่เกษตรกรรม  จึงทำให้ประชาชนมีน้ำใช้สอยอย่างเพียงพอ
               พื้นฐานทางด้านเศรษฐกิจของสุโขทัย  

   ขึ้นอยู่กับอาชีพหลักของประชาชน 3 อาชีพ  ได้แก่  เกษตรกรรม  หัตถกรรม  และค้าขาย

          1.  เกษตรกรรม
               สังคมสุโขทัยเป็นสังคมเกษตรกรรม  อาชีพหลักของประชาชน  คือ  การเพาะปลูก  และเลี้ยงสัตว์  การเพาะปลูกจะมีทั้งการทำนา  ทำไร่  และทำสวน  พืชที่ปลูกกันมาก  เช่น  ข้าว  มะม่วง  หมากพลู  เป็นต้น  บริเวณที่ใช้เป็นพื้นที่เพาะปลูก  ได้แก่  ที่ราบลุ่มแม่น้ำปิง  แม่น้ำยม  และแม่น้ำน่าน
               เนื่องจากสภาพทางธรรมราชของบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำดังกล่าวนี้ไม่เอื้ออำนวยต่อการเพาะปลูก  เพราะมีน้ำน้อยในหน้าแล้ง  และเมื่อถึงฤดูน้ำจะมีน้ำปริมาณมากไหลบ่ามาท่วมขังเป็นเวลานาน  ทำให้ผลผลิตทางการเกษตรไม่อุดมสมบูรณ์  ดังนั้น  สุโขทัยจึงรู้จักการสร้างที่เก็บกักน้ำ  แล้วค่อท่อน้ำจากคูเมืองไปสู่สระต่าง ๆ เพื่อระบายน้ำไปสู่พื้นที่เกษตรกรรม  ทำให้สามารถผลิตผลผลิตได้อุดมสมบูรณ์

          2.  หัตถกรรม
               หัตถกรรมที่สำคัญของสุโขทัยส่วนใหญ่เป็นการผลิต  เครื่องสังคโลก  หรือเครื่องปั้นดินเผา  เครื่องสังคโลกของสุโขทัยที่ผลิตได้  คือ  จาน  ชาม  และถ้วยต่าง ๆ นอกจากนั้นยังนิยมผลิตเครื่องสังคโลกในรูปแบบต่าง ๆ ตามความต้องการของผู้ซื้อ  เช่น  แจกัน  เหยือก  โถน้ำ  โอ่ง  ไห  เป็นต้น
               จากหลักฐานการขุดพบซากเตาเผาเครื่องสังคโลก  หรือเตาทุเรียงเป็นจำนวนมาก  ทำให้สันนิษฐานได้ว่า  แหล่งที่ผลิตเครื่องสังคโลกที่สำคัญมีอยู่ 2 แห่ง  คือ  กรุงสุโขทัย  และเมืองศรีสัชนาลัย
               และจากการพบซากเตาเผาเครื่องสังคโลกขนาดใหญ่เป็นจำนวนมาก  ทำให้สันนิษฐานได้ว่าเครื่องสังคโลกของสุโขทัยน่าจะเป็นสินค้าที่ได้รับความนิยมจากดินแดนต่าง ๆ ในสมัยนั้น

               3.  การค้าขาย
                    การค้าขายในสมัยสุโขทัยเป็นการค้าแบบเสรี  ทุกคนมีอิสระในการค้าขาย  รัฐไม่จำกัดชนิดสินค้าและไม่เก็บภาษีผ่านด่าน  ที่เรียกว่า  จกอบ  ผู้ใดอยากค้าขายอะไรก็ไม่มีการห้าม  มีการค้าสัตว์ชนิดต่าง ๆ เช่น  ช้าง  ม้า  วัว  ควาย  เป็นต้น  ตลอดจนการค้าขายแร่เงินและแร่ทอง
                    นอกจากจะมีการค้าขายภายในราชอาณาจักรแล้ว  ยังมีการค้าขายและแลกเปลี่ยนสินค้ากับอาณาจักรต่าง ๆ ที่อยู่ภายนอกอาณาจักรสุโขทัยอีกด้วย  เช่น  เมืองหงสาวดี  ตะนาวศรี  ล้านนา  กัมพูชา  มะละกา  ชวา  และจีน  เป็นต้น  สินค้าออกที่สำคัญ  ได้แก่  เครื่องสังคโบก  พริกไทย  น้ำตาล  งาช้าง  หนังสัตว์  นอแรด  เป็นต้น  ส่วนสินค้าส่วนใหญ่เป็นพวกผ้าไหม  ผ้าทอ  อัญมณี  เป็นต้น

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก