ระบบปฏิบัติการ linux พัฒนามาจากระบบปฏิบัติการใด

ลินุกซ์ทะเล (LinuxTLE) คือชื่อของระบบปฏิบัติการในลักษณะของลินุกซ์ที่ปัจจุบันพัฒนาต่อมาจากอูบุนตุโดยเพิ่มความสามารถภาษาไทย ปัจจุบันพัฒนาโดยเนคเทค โดยรุ่นปัจจุบันคือ ลินุกซ์ทะเล 9.0 รหัสว่า “หัวหิน” ที่เน้นการใช้งานสำหรับผู้ใช้ทั่วไป ทั้งการใช้ที่บ้าน ที่สำนักงาน ในสถานศึกษา สำหรับคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ทั้งคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะและคอมพิวเตอร์พกพา

ชื่อ TLE ย่อมาจากคำว่า Thai Language Extension ที่หมายถึงส่วนขยายภาษาไทย เพื่อบอกให้ทราบว่าเป็นชุดเผยแพร่ลินุกซ์ที่เน้นการใช้งานภาษาไทย โดยชื่อเรียก “ทะเล” นั้นเกิดจากการลากเข้าความในภายหลัง เพื่อให้ออกเสียงได้ง่าย และมีลักษณะความเป็นไทยแฝงอยู่

ลินุกซ์ทะเลได้รับการยกย่องให้เป็นดิสโทรยอดเยี่ยมประจำสัปดาห์จาก เว็บไซต์ดิสโทรวอตช์ ในเดือนธันวาคม 2547[1]

ประวัติ ลินุกซ์ทะเล เดิมพัฒนาโดยอาสาสมัครและได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานต่าง โดยในอดีตใช้ชื่อ MaTEL (Mandrake and Thai Extension Linux) MaTEL 6.0 ได้ออกมาในรูปซีดีในเดือนกรกฎาคม 2542

ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อจาก MaTEL เป็น Linux-TLE (ลินุกซ์ทีแอลอี) เพื่อแยกออกมาจากส่วนของแมนเดรก และออกรุ่น 6.01 และ 6.1 ในเดือนกันยายน 2542 โดยนอกจากเผยแพร่ในรูปซีดีแล้ว ยังมีการให้ดาวน์โหลดจากเว็บไซต์เนคเทคเอง และในปี พ.ศ. 2543 ทางเนคเทคได้รับมาเป็นผู้พัฒนาและเผยแพร่หลัก และได้ชื่อไทยว่า ลินุกซ์ ทะเล โดยมีสัญลักษณ์เป็นรูปโลมา ในรุ่น 3.0 จนถึงปัจจุบัน

ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2547 ลินุกซ์ทะเลได้รับการยกย่องให้เป็นดิสโทรยอดเยี่ยมประจำสัปดาห์จาก เว็บไซต์ดิสโทรวอตช์[1][1]

ปัจจุบัน ลินุกซ์ทะเลพัฒนาเป็นรุ่น ลินุกซ์ทะเล 9.0 “หัวหิน”

ข้อมูลมาจาก //th.wikipedia.org/wiki/

ประวัติลินุกซ์ซิส

ลินุกซ์ซิส (Linux SIS : Linux Simple Internet Server) เป็นระบบปฏิบัติการที่ ต้นแบบมาจาก ลินุกซ์(Fedora Core) ซึ่ง ถูกพัฒนาขึ้นโดย Nectec และทีม OpenTLE ซึ่งเป็นโครงการ รหัสเปิด (โอเพนซอร์ส) ซึ่งทุกคนสามารถพัฒนามันได้

LinuxSIS 5.0 กับโครงการโรงเรียนในฝัน

ความร่วมมือกับโครงการโรงเรียนในฝัน

ศูนย์เทคโนโลยี อิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ได้ร่วมมือกับกระทรวงศึกษาธิการ ในโครงการหนึ่งอำเภอ หนึ่งโรงเรียนในฝัน โดยผลักดันให้มีการนำโปรแกรมโอเพ่นซอร์สใช้งานในโรงเรียนที่ร่วมโครงการคือ

1.โปรแกรมจัดการเครื่องแม่ข่าย และระบบเครือข่าย ได้แก่ LinuxSIS 5.0
2.โปรแกรมจัดการสื่อการเรียนการสอนผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ โปรแกรม Moodle
ซึ่งทั้งสองโปรแกรมนี้ ได้ติดตั้งไปกับเครื่องแม่ข่ายของโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการทุกเครื่อง

ในปี 2548 เป็นช่วงเริ่มต้นของโครงการ ศูนย์ฯ โดยโครงการรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์คอมพิวเตอร์ ได้ร่วมมือกับโครงการโรงเรียนในฝัน เพื่อผลักดันให้มีการกำหนด Spec ต่างๆ ในการจัดซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับโรงเรียนในโครงการ และช่วยกำหนด Spec สำหรับเครื่องแม่ข่ายในโครงการ ทั้งนี้ ศูนย์ฯ โดยโครงการโอเพ่นซอร์สได้มีส่วนร่วม เพื่อจัดทำโปรแกรมต้นแบบ สำหรับจัดการเครื่องแม่ข่าย และระบบเครือข่าย และโปรแกรมจัดการสื่อการเรียนการสอนผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ นอกจากนี้ ศูนย์ฯ ได้ร่วมกับโครงการโรงเรียนในฝัน จัดตั้งเครื่องแม่ข่ายหลักของโครงการ (www.labschool.net) เพื่อเป็นที่รวมรวมข้อมูลต่างๆ ของโครงการ และเป็นระบบทดสอบหลักของโปรแกรมจัดการสื่อการเรียนการสอนผ่านระบบ อิเล็กทรอนิกส์ โดยฝากไว้ที่เครื่องแม่ข่ายของโครงการรองคุณภาพผลิตภัณฑ์คอมพิวเตอร์ ที่อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย

ในปี 2549 ศูนย์ฯ ยังคงให้ความร่วมมือต่อเนื่องกับโครงการโรงเรียนในฝัน โดยในส่วนของโปรแกรมจัดการสื่อการเรียนการสอนผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์นั้น ได้มีการย้ายเครื่องแม่ข่ายออกจากอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้น ทางด้านโปรแกรมจัดการเครื่องแม่ข่าย และระบบเครือข่าย ศุนย์ฯได้พัฒนาขึ้นใหม่สำหรับโครงการนี้ โดยยังคงชื่อโปรแกรมเดิมที่เคยพัฒนาสำหรับเครือข่ายเพื่อโรงเรียนไทย คือ LinuxSIS (School Internet Server) และกำหนดให้เป็นรุ่นที่ 5

สำหรับ LinuxSIS 5.0 นั้น ศูนย์ฯ ได้พัฒนาขึ้นจาก Fedora Core 4 และได้ออกรุ่นทดสอบ เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2549 เพื่อให้ทันกับโครงการโรงเรียนในฝันฯ นอกจากนั้น ศูนย์ฯ ยังได้ให้ความร่วมมือในการฝึกอบรม โดยได้ส่งพนักงานเข้าร่วมเป็นวิทยากรในการอบรมทั้งสองรุ่น โดยรุ่นแรก เป็นการอบรมครูผู้ดูแลเครื่องแม่ข่าย และระบบเครือข่ายทุกโรงเรียนทั่วประเทศ (แบ่งเป็น 4 ภาค – 4 รอบ) ในระหว่างวันที่ 30 พฤษภาคม – 14 มิถุนายน 2549 และรุ่นที่สอง นอกจากศูนย์ฯ จะได้สนับสนุนวิทยากรแล้ว ศูนย์ฯ ยังได้สนับสนุนค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมอีกด้วย ในการอบรมครั้งนั้น เป็นการอบรมเพิ่มเติมในระดับลึกขึ้น สำหรับตัวแทนของแต่ละเขตการศึกษา เพื่อเป็นการสร้างผู้เชียวชาญ สำหรับให้การสนับสนุนเชิงเทคนิคแก่โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ โดยอบรมทั่วประเทศ (แบ่งเป็น 4 ภาค – 4 รอบ) ในระหว่างวันที่ 4 กันยายน – 20 กันยายน 2549 และหลังจากการอบรม ศุนย์ฯ โดยโครงการโอเพ่นซอร์ส ได้เปิดหน้าสนับสนุนไว้ใน WebSite ของโครงการ (//www.opentle.org) อีกด้วย ซึ่งได้มีการสนับสนุนต่างๆ ผ่านระบบ Webboard และอื่นๆ (เช่น โทรศัพท์)

สำหรับปี 2550 นี้ ศูนย์ฯ ได้จัดให้มีการประชุม เพื่อปรึกษาแนวทางความร่วมมือ ในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2550 ซึ่งได้ข้อสรุปเบื้องต้น ดังนี้

1.โครงการหนึ่งอำเภอหนึ่งโรงเรียนในฝัน จะเปลี่ยนชื่อเป็น โครงการโรงเรียนต้นแบบในฝัน (School Base Management : SBM)
2.สำหรับปีนี้ ถือเป็นกลุ่มที่สอง จะรับอำเภอละ 1 โรงเรียนเช่นเดิมแล้วเอามาคัดเอาโรงเรียนที่ค่อนข้างจะพร้อม จากตัวเลขประมาณการได้ 879 โรง
3.ปีนี้จะจัดอบรมให้ทุกโรงเรียน (เหมือนอบรมรอบแรกของรุ่นแรก) โดยจะอบรมครั้งเดียวทั้งสองเรื่อง คือ โปรแกรมจัดการเครื่องแม่ข่าย และระบบเครือข่าย และ โปรแกรมจัดการสื่อการเรียนการสอนผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์
4.อบรมประมาณ 5 รอบ (5 ภูมิภาค) ในช่วงเดือน มิถุนายน 2550
สำหรับกลุ่มแรก จะผลักดันให้มีการจัดตั้ง ศูนย์ ICT ของโรงเรียนในฝัน 20 ศูนย์ฯ และเพิ่มของเชียงใหม่อีก 2 ศูนย์ฯ รวมทั้งสิ้น 22 ศูนย์ฯ โดยศูนย์ฯ เหล่านี้ จะมีหน้าที่ให้การสนับสนุนโรงเรียนในเขตการศึกษาต่างๆ (175 เขต ที่ได้อบรมไปเมื่อช่วงเดือน กันยายน 2549) และเนคเทคจะให้การสนับสนุนศูนย์ฯ เหล่านี้อีกชั้นหนึ่ง โดยจะมีการประชุมกันอีกครั้งหนึ่งในเรื่องของการประสานงาน และกิจกรรมต่างๆ ระหว่าง 22 ศูนย์ฯ กับเนคเทค

ประวัติของ Suriyan
Suriyan เป็นซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการที่สามารถใช้งานได้บนเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วไป โดย SIPA เห็นว่าการที่ประชากรในชาติจะต้องใช้ซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการที่เป็น ซอฟต์แวร์เชิงพาณิชย์นั้น นอกจากจะสิ้นเปลืองและไม่ปลอดภัยแล้ว เราจะไม่สามารถใช้งานได้อย่างยั่งยืนอีกด้วย ทาง SIPA จึงพัฒนาระบบปฏิบัติการ Suriyan ที่เป็นระบบปฏิบัติการโอเพนซอร์สทั้งระบบขึ้นมาให้ใช้งาน

Suriyan เป็นโครงการพัฒนาลินุกซ์ของสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรม ซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือที่รู้จักกันในชื่อ SIPA เพื่อเป็นทางเลือกสำหรับผู้ที่ต้องการใช้ระบบปฏิบัติการลินุกซ์บนเครื่องเด สท็อป ซึ่งทาง SIPA เลือกใช้ระบบปฏิบัติการลินุกซ์ Ubuntu มาเป็นฐานในการพัฒนา Suriyan เป็นลินุกซ์กึ่งสำเร็จรูป ไม่ได้รวมโปรแกรมที่น่าใช้งานไว้ทุกตัว แต่ Suriyan มาพร้อมกับความสามารถหลักของ Ubuntu ผนวกกับภาษาไทย ฟอนต์ไทย งานพัฒนาที่ได้รับการสนับสนุนจากนักพัฒนาอิสระ และชุดโปรแกรมพื้นฐาน ที่ทุกคนต้องใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นงานด้านสำนักงาน ด้านมัลติมีเดีย ด้านกราฟิกและโปรแกรมอรรถประโยชน์ต่างๆ สำหรับ Suriyan สามารถใช้คลังซอฟต์แวร์ (Software Repository) ของ Ubuntu ได้และยังสามารถใช้งานคลังซอฟต์แวร์ PPA โดยปกติ และยังสามารถอัพเกรดไปเป็น Ubuntu ในเวอร์ชันถัดไปได้อัตโนมัติ ซึ่งจะยังคงใช้งานชุดแพคเกจบางส่วนที่มาพร้อมกับ Suriyan ได้

Linux พัฒนามาจากระบบปฏิบัติการใด

โดยลีนุส โทรวัลด์ส (Linus Torvalds) นักศึกษาภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (Computer Science) ในมหาวิทยาลัยเฮลซิงกิ โดยได้พัฒนามาจากระบบปฏิบัติการ Minix ที่เป็นระบบยูนิกซ์(Unix)บนพีซีในขณะนั้น ซึ่งตอนแรกเป็นเพียงโครงงานที่เขาทำส่งอาจารย์สมัยเรียนปริญญาตรีเท่านั้น แต่ต่อมาก็ได้มีการพัฒนาต่อ เขาก็ได้ทำการชักชวนให้นักพัฒนา ...

ระบบปฏิบัติการลินุกซ์ มีอะไรบ้าง

ลินุกซ์ ถือเป็นส่วนสำคัญของซอฟต์แวร์เซิร์ฟเวอร์ที่เรียกว่า LAMP ย่อมาจาก Linux, Apache, MySQL, Perl/PHP/Python ซึ่งเป็นที่นิยมใช้เป็นเว็บเซิร์ฟเวอร์ และพบมากสุดระบบหนึ่ง ตัวอย่างซอฟต์แวร์ซึ่งพัฒนาสำหรับระบบนี้คือ มีเดียวิกิ ซอฟต์แวร์สำหรับวิกิพีเดีย

ลินุกซ์เป็นระบบปฏิบัติการรูปแบบใด

โดย Linux ในทางเทคนิคแล้ว มันเป็นระบบปฏิบัติการแบบ เคอร์เนล (Kernel) (เหมือนกับ Darwin ใน OSX และ NT ใน Windows) สำหรับระบบปฏิบัติการ "GNU" ในอดีตระบบปฏิบัติการ Linux จะเรียกว่า "GNU/Linux" เพราะเป็นระบบปฏิบัติการที่เกิดจากความร่วมมือกันระหว่าง "GNU Project" ของ มูลนิธิซอฟต์แวร์ฟรี (Free Software Foundation) ที่มีความ ...

ลีนุกซ์ถือกำเนิดขึ้นที่ใด

นุกซ์ถือกำเนิดขึ้นในฟินแลนด์ ปี คศ. 1991 โดยลีนุส โทรวัลด์ส (Linus Torvalds) นักศึกษาภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (Computer Science) ในมหาวิทยาลัยเฮลซิงกิ

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก