บริจาคเลือดใช้เข็มเบอร์อะไร

รวมเรื่องราวเข็มกลัด

เข็มกลัดบริจาคเลือด มีกี่แบบ ต้องบริจาคเลือดกี่ครั้ง ถึงได้เข็มกลัด

รู้หรือไม่ว่าการบริจาคเลือดจะได้รับสิทธิประโยชน์มากมาย และยังมีโอกาสได้รับเข็มกลัดที่ระลึกอีกด้วย เชื่อว่าหลายคนอาจยังไม่รู้ข้อมูลเหล่านี้ เพราะจุดประสงค์ในการมาบริจาคเลือด ไม่ได้มุ่งหวังจะได้สิทธิประโยชน์หรือเพื่อรับของที่ระลึกต่าง ๆ เพียงแต่อยากจะมีโอกาสได้ช่วยเหลือเพื่อมนุษย์ด้วยกัน ซึ่งศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ได้มอบสิทธิประโยชน์พิเศษมากมายให้สำหรับที่มาบริจาค โดยสิทธิประโยช์จะมีอะไรบ้าง และ เข็มกลัดบริจาคเลือด ต้องบริจาคกี่ครั้งถึงจะได้รับ บทความนี้ได้รวบรวมคำถามคำตอบที่คุณอยากรู้ไว้ให้ที่นี่

ทำอย่างไรให้ได้ เข็มกลัดบริจาคเลือด แล้วมีทั้งหมดกี่แบบอะไรบ้าง

การบริจาคเลือด นอกจากได้ร่วมทำบุญ เพื่อช่วยชีวิตคนอื่นแล้ว ก็ยังมีสิทธิประโยชน์มากมายที่สภากาชาดไทยได้มอบให้กับคนที่มาบริจาคเลือด เชื่อว่าคนที่มาบริจาคเลือดเป็นประจำทุก ๆ 3 เดือน ก็น่าจะพอรู้ในเรื่องนี้อยู่แล้ว แต่ก็ยังมีอีกหลายคนที่ยังไม่รู้ รวมถึงคนที่ไม่เคยบริจาคเลือดมาก่อน แต่ปีนี้อยากมาบริจาคเลือดดูบ้าง งั้นลองมาอ่านข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ทำอย่างไรถึงจะได้ เข็มกลัดบริจาคเลือด และเข็มกลัดบริจาคมีให้เลือกกี่แบบอะไรบ้าง ตามเราไปอ่านพร้อมกันเลย

ต้องบริจาคเลือดกี่ครั้ง ถึงจะได้รับเข็มกลัด

นอกจากเหนือจากสิทธิประโยชน์ค่ารักษาพยาบาลแล้ว ยังได้รับเข็มกลัดเพื่อเป็นการแสดงความขอบคุณและได้รับการยกย่องสรรเสริญให้กับผู้บริจาคเลือด คราวนี้ลองมาดูกันสิว่าต้องบริจาคกี่ครั้งถึงจะได้รับเข็มกลัด ดังนี้

เข็มกลัดที่ระลึกสำหรับผู้บริจาคเลือดมีกี่แบบ

ซึ่งปัจจุบันเข็มกลัดที่ระลึกสำหรับผู้บริจาคเลือดนั้นจะมีด้วยกันทั้งหมด 11 รูปแบบ ซึ่งแต่ละแบบจะมีลักษณะที่คล้ายคลึงกันมาก ๆ ต่างกันก็เพียงตัวอักษรจำนวนครั้งที่บริจาคเลือดมาแล้วกี่ครั้ง และวัสดุในการผลิตก็จะมีความต่างกันพอสมควร

ต้องบริจาคเลือดกี่ครั้งถึงจะได้รับเข็มกลัดที่ระลึก

สำหรับผู้ที่จะได้รับเข็มกลัดที่ระลึกนั้นจะถูกแบ่งไปตามจำนวนครั้งที่มาบริจาค โดยมาบริจาคครั้งที่ 1,7, 16, 24, 36, 48, 60, 72, 84, 96 และ 108 ตามลำดับ ผู้ที่มาบริจาคเลือดจะได้รับเข็มกลัดที่ระลึก สำหรับคนที่มาบริจาคเลือดครบ 50 ครั้ง ก็จะได้รับพระราชทานเหรียญกาชาดสมนาคุณชั้น 3 พร้อมใบประกาศกำกับเหรียญกาชาดสมนาคุณ / หากบริจาคเลือดครบ 75 ครั้ง ก็จะได้รับพระราชทานเหรียญกาชาดสมนาคุณชั้น 2 พร้อมใบประกาศกำกับเหรียญกาชาดสมนาคุณ และบริจาคเลือดครบ 100 ครั้ง จะได้รับพระราชทานเหรียญกาชาดสมนาคุณชั้น 1 พร้อมใบประกาศกำกับเหรียญกาชาดสมนาคุณ

นอกจากนี้แล้วหากบริจาคเลือดครบ 36 ครั้ง และ 108 ครั้ง ผู้บริจาคเลือดจะไม่ได้รับเข็มที่ระลึกกลับไปด้วย เนื่องจากผู้บริจาคเลือดจะได้รับการจัดงานพระราชทานเข็มที่ระลึกผู้บริจาคเลือดด้วยตัวเอง แต่ถ้าไม่ได้มาเข้าร่วมงานพระราชทานฯ ทางศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติจะจัดส่งไปให้ผู้บริจาคเลือดในภายหลัง

สิทธิประโยชน์ที่จะได้รับเมื่อบริจาคเลือด

สำหรับผู้มาบริจาคเลือดทุกคนจะได้รับสิทธิพิเศษในเรื่องการรักษาพยาบาล ซึ่งจะได้รับสิทธิพิเศษตามขั้นบันไดจำนวนครั้งที่มาบริจาคเลือด ดังนี้

กรณีที่คุณรักษาตัวในโรงพยาบาลในสังกัดสภากาชาดไทย

โดยโรงพยาบาลในสังกัดสภากาดชาดไทย มีดังนี้ รพ.จุฬาลงกรณ์ และ รพ.สมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา จังหวัดชลบุรี

  • กรณีที่บริจาคเลือด 7 ครั้งขึ้นไป : คุณจะจ่ายค่ารักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยสามัญ โดยไม่รวมค่ายาและเวชภัณฑ์ต่าง ๆ กรณีที่อยู่ห้องพิเศษ ผ่าตัด ผ่าตัดคลอดบุตร เสียค่าใช้จ่าย 50%
  • กรณีที่บริจาคเลือด 24 ครั้งขึ้นไป : ฟรีค่ารักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยสามัญ โดยไม่รวมค่ายาและเวชภัณฑ์ต่าง ๆ กรณีที่อยู่ห้องพิเศษ ผ่าตัด ผ่าตัดคลอดบุตร เสียค่าใช้จ่าย 50%

กรณีที่คุณรักษาตัวในโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข

  • กรณีที่บริจาคเลือด 1 ครั้งขึ้นไป : คุณจะได้รับค่าช่วยเหลือของค่าห้องและค่าอาหารพิเศษ โดยจะให้เบิกตามสิทธิที่เบิกได้ก่อน ส่วนที่เกินจากสิทธิให้จ่ายเพียง 50%
  • กรณีที่บริจาคเลือด 18 ครั้งขึ้นไป : คุณจะได้รับค่าช่วยเหลือของค่าห้องและค่าอาหารพิเศษ 50% ของอัตราที่กำหนดไว้

สุดท้ายถ้าหากใครกำลังมองหาโรงงานสั่งผลิตเข็มกลัดโลหะสักแห่ง ก็สามารถสอบถามและปรึกษา Hi-Tai Premium ของเราได้ทุกช่องทาง เพราะเราถนัดงานฝีมือผลิตด้วยวัสดุคุณภาพ ทำให้ได้เข็มกลัดโลหะที่ตรงต่อความต้องการของคุณได้

เข็มบริจาคเลือด มีกี่ขนาด

- เข็มที่ระลึกผู้บริจาคโลหิต 1, 7, 16, 24, 36, 48, 60, 72, 84, 96, 108 ครั้ง และเหรียญกาชาดสมนาคุณชั้นที่ 3.

บริจาคเลือด เจาะตรงไหน

เส้นเลือดที่เป็นตำแหน่งที่เหมาะสำหรับการเก็บตัวอย่างเลือดส่งตรวจ คือ เส้นเลือดดำ median cubital vein ใน antecubital fossa หรือ crook of the elbow (ด้านในของขัอพับของแขน) เนื่องจากบริเวณดังกล่าว เส้นเลือดอยู่ตื้น และเส้นใหญ่ ถ้าผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการบริการยาทางหลอดเลือดดำหลายครั้ง หรือ อยู่ในสภาพป่วยหนัก ควรหลีก ...

เข็มดูดยา เบอร์ไหน

เข็มเบอร์ 18 เป็นเข็มขนาดใหญ่มักใช้สำหรับดูดยาจากขวดเนื่องจากมีขนาดรูเข็มที่ใหญ่กว่าเข็มฉีดยาเข้าไปในชั้นกล้ามเนื้อของคนไข้ถึง 3 เท่า นอกจากขนาดรูแล้ว ความหนาของเข็มก็มากกว่า เราไม่ใช้เข็มเบอร์ 18 ในการฉีดวัคซีนเนื่องจากผู้ที่ได้รับการฉีดจะมีอาการเจ็บปวดมาก จากขนาดที่ใหญ่ของเข็มมีโอกาสเกิดเลือดออกในชั้นกล้ามเนื้อได้มาก ...

เจาะเลือดที่แขนข้างไหน

แขนข้างที่กำลังให้สารน้ำ (Intraveneous Fluid ) การเจาะเลือดจากแขนนี้จะทำให้เลือดที่ได้มีการปนเปื้อน ทำให้ผลวิเคราะห์ผิดพลาด เช่น ได้ค่า Glucose สูง ค่า Hematocrit ต่ำ ถ้าจำ เป็นให้เจาะเส้นเลือดนั้นตรงบริเวณที่อยู่ใต้ตำแหน่งที่ให้ โดยหยุดให้ IV ก่อน 2 นาที และควรปรึกษาแพทย์ก่อน

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก