ผลิตภัณฑ์ที่มีเครื่องหมายอยเป็นผลิตภัณฑ์แบบใดบ้าง

หลายคนคงจะเคยได้ยินและคงจะคุ้นชินกันเป็นอย่างดีกับคำว่า อย. ซึ่งเราก็มักจะเคยพบเจอกันอยู่บ่อยครั้งบนฉลากอาหารหรือตามยาต่าง ๆ แต่จะมีสักกี่คนที่จะรู้ว่า เครื่องหมาย อย. คืออะไร และมีประโยชน์อย่างไร

ซึ่งในบทความนี้เองเราก็จะตามมาเจาะลึกถึงหน้าที่ และประโยชน์ของเจ้าเครื่องหมาย อย. นี้กันว่ามันทำหน้าที่อะไรและมีความสำคัญกับการใช้ชีวิตประจำวันของเราอย่างไรบ้างและถ้าทุกท่านพร้อมแล้วเราก็ตามมาดูไปพร้อมกันเลย

เครื่องหมาย อย. คือ เครื่องหมายที่ไว้ใช้เพื่อแสดงหรือบ่งบอกว่าผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ได้รับการการันตีว่ามีคุณภาพ และผ่านการตรวจสอบจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาแล้วนั่นเอง ซึ่งเครื่องหมายเหล่านี้ก็จะทำให้ผู้บริโภคสามารถมั่นใจได้ในระดับหนึ่งว่า สินค้าที่เราซื้อมานั้นจะเป็นสินค้าที่มีคุณภาพ

ซึ่งเครื่องหมาย อย. นอกจากจะใช้กับอาหารและยา ก็ยังสามารถใช้ได้กับ อาหารควบคุม เครื่องมือแพทย์ เครื่องสำอาง วัตถุอันตราย เป็นต้น ซึ่งประโยชน์ของ เครื่องหมาย อย. ก็มีดังนี้

ประโยชน์ของเครื่องหมาย อย. มีอะไรบ้าง

  • เครื่องหมาย อย. ช่วยให้สามารถตรวจสอบแหล่งที่มาของสถานที่และชื่อบริษัทที่ทำการผลิตหรือจดแจ้งได้
  • เครื่องหมาย อย. ช่วยให้สามารถรับสิทธิคุ้มครองจากคณะกรรมการอาหารและยาได้ หากเกิดอันตรายจากผลิตภัณฑ์ที่มี อย.
  • เครื่องหมาย อย. ช่วยส่งเสริมให้ผู้บริโภคได้มีส่วนร่วมในการตรวจสอบ และรู้เท่าทันภัยที่มาจากสินค้าเหล่านี้ รวมไปถึงการที่มีผู้บริโภคสามารถทราบส่วนผสมที่ทางผู้ผลิตได้จดแจ้งไว้กับ อย. เพื่อความปลอดภัยของตนเองได้อีกด้วย
  • เครื่องหมาย อย. ช่วยสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคได้ด้วยการสังเกต สัญลักษณ์ อย. ซึ่งทำให้เป็นการสร้างมาตรฐานในการสังเกตเหล่าสินค้าต่าง ๆ เพื่อให้เข้าใจและสังเกตได้ง่ายขึ้นได้อีกด้วย
  • เครื่องหมาย อย. ทำให้ผู้บริโภครู้สึกปลอดภัย เพราะหน่วยงานของ อย. เองจะมีการตรวจผลิตภัณฑ์ ก่อนการจดแจ้งหรือสุ่มตรวจสินค้าอยู่อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ผู้บริโภคมั่นใจว่าสินค้าที่มีสัญลักษณ์จะมีคุณภาพและปลอดภัยอยู่เสมอ
  • เครื่องหมาย อย. มีส่วนสำคัญสำหรับผู้ประกอบการเอง หากสินค้าของท่านมีเครื่องหมาย อย. ก็จะยิ่งทำให้แบรนด์และผลิตภัณฑ์ของท่านได้รับความน่าเชื่อถื อและความไว้วางใจจากผู้บริโภคมากขึ้น ทำให้สามารถสร้างฐานลูกค้า และผลกำไรตามมาได้อย่างมากมาย

ทั้งหมดนี้ก็เป็นเรื่องราวสาระความรู้เกี่ยวกับ เครื่องหมาย อย. ที่เราได้นำมาฝากทุกท่านกันในบทความนี้ แน่นอนว่าในยุคที่การค้าขายก้าวไกลผลิตภัณฑ์ที่แปลกใหม่ก็มีบทบาทในท้องตลาดมากขึ้น สิ่งหนึ่งที่จะช่วยเสริมการตัดสินให้เราได้ก็คงต้องมาจากหน่วยงานที่น่าเชื่อถือ ดังนั้นหากคุณกำลังมองหาสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ของใช้จำเป็นให้ทุกท่านจำไว้เลยว่า สิ่งหนึ่งที่เราควรสังเกตเลยก็คือเครื่องหมาย อย. เพื่อความมั่นใจ และความปลอดภัยให้ตัวคุณหรือคุณที่คุณรักได้ด้วยนั่นเอง

บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที

อย. คือ สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา (Food and Drug Administration) กระทรวงสาธารณะสุข ผู้คอยปกปักษ์คุ้มครองผู้บริโภคให้ได้รับ 6 ผลิตภัณฑ์สุขภาพ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์อาหาร ยา เครื่องสำอาง เครื่องมือแพทย์ วัตถุอันตรายที่ใช้ในบ้านเรือน และวัตถุเสพติดที่ใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ ที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน รวมไปถึงส่งเสริมข้อมูลที่ถูกต้องถูกหลักวิชาการมีประโยชน์ต่อผู้บริโภค

หน้าที่ของ อย. มีอะไรบ้าง
อย. มีหน้าที่กำกับและตรวจสอบผลิตภัณฑ์ให้ได้มาตรฐานอยู่เสมอ และมีหน้าที่ตามกฎหมายดังนี้
1. ดำเนินการตามกฎหมายเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพที่อยู่ในความรับผิดชอบ
2. กำกับดูแล และตรวจสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์ก่อนออกสู่ตลาด รวมถึงคำโฆษณาผลิตภัณฑ์นั้น ๆ
3. ส่งเสริมและพัฒนาองค์ความรู้ผู้ประกอบการ
4. ตรวจสอบผลิตภัณฑ์หลังออกสู่ตลาดและการโฆษณาผลิตภัณฑ์
5. เฝ้าระวังปัญหาหรืออันตรายที่จะเกิดขึ้น
6. ส่งเสริมผู้บริโภคให้มีความรู้และศักยภาพในการเลือกผลิตภัณฑ์สุขภาพได้อย่างปลอดภัย คุ้มค่า
7. ส่งเสริมการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพโดยการมีส่วนร่วมของภาครัฐ ภาคเอกชน ประชาชน และเครือข่าย

ประเภทของเครื่องหมาย อย.
1. ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ต้องมีเครื่องหมาย อย. หรือผลิตภัณฑ์ที่มีความเสี่ยงสูง ได้แก่ ผลิตภัณฑ์อาหาร , เครื่องมือแทย์ที่ต้องมีใบอนุญาต , วัตถุอันตรายที่ใช้ในบ้านเรือน เช่น ยาฆ่าแมลง
2. ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่มีเครื่องหมาย อย. ได้แก่ ยา , เครื่องสำอาง , เครื่องมือแพทย์ที่ต้องแจ้งรายการละเอียด , เครื่องมือแพทย์ทั่วไป , วัตถุอันตรายที่ใช้ในบ้านเรือน เช่น ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดต่าง ๆ ซึ่งจะต้องมีเลขที่จดแจ้งหรือทะเบียนยากำกับบนผลิตภัณฑ์

วิธีเช็คเลข อย.
1. เข้าเว็บไซต์ www.oryor.com หรือ www.moph.go.th
2. กรอกเลขที่ผลิตภัณฑ์ทั้งหมด เพื่อตรวจสอบ
3. ตรวจสอบว่าข้อมูลตรงกับผลิตภัณฑ์หรือไม่?

** ข้อมูลอ้างอิง **
– สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ( อย. )
– wongnai

เรื่องใกล้ตัวที่หลายคนไม่สนใจ หรือสนใจ แต่ไม่เข้าใจ และเป็นเรื่องใกล้ตัวที่ผู้บริโภคทุกคนควรรู้! มาทำความรู้จักกับ “อย.” และช่องทางการเช็กเลขอย. กันเถอะ

8 มิ.ย. 2018 · โดย faywhale

เคยสงสัยไหมว่าเครื่องหมายอย. บนซองขนมมาจากไหน มีไว้ทำอะไร แล้วสินค้าตัวไหนบ้างที่ต้องมีเครื่องหมายอย. เอ...แล้วข่าวอาหารเสริมที่เขาบอกว่ามีอย. ไหงกลายเป็นอย. ปลอม! แบบนี้จะเช็กเลขอย. ได้ที่ไหนล่ะ มีแต่เรื่องน่าสงสัยและไม่เข้าใจเต็มไปหมดเกี่ยวกับอย. Wongnai เลยขอขี่ม้าขาวมาไขความกระจ่าง “อย.” คืออะไร...เรื่องใกล้ตัวที่คนมองข้าม แต่ควรทำความรู้จักไว้! ให้ผู้บริโภคอย่างเรา ๆ ได้รู้จัก "เครื่องหมาย อย." กันมากขึ้น ว่าคืออะไร มีไว้ทำไม พร้อมชี้เป้าช่องทางการเช็กเลขอย. !!

1อย. คืออะไร มีแล้วชีวิตดีอย่างไร?

“อย.” ไม่ได้แปลว่า อะไร แต่อย. คือ สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา (Food and Drug Administration) กระทรวงสาธารณะสุข ผู้คอยปกปักษ์คุ้มครองผู้บริโภคให้ได้รับ 6 ผลิตภัณฑ์สุขภาพ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์อาหาร ยา เครื่องสำอาง เครื่องมือแพทย์ วัตถุอันตรายที่ใช้ในบ้านเรือน และวัตถุเสพติดที่ใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ ที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน รวมไปถึงส่งเสริมข้อมูลที่ถูกต้องถูกหลักวิชาการมีประโยชน์ต่อผู้บริโภค เพื่อให้เรา ๆ มีพฤติกรรมการบริโภคที่เหมาะสมสุขภาพดีปลอดภัยแบบเฮลตี้ 

2หน้าที่ของ “อย.” ผู้พิทักษ์ของผู้บริโภค

อย. เขาไม่ได้อยู่เฉย ๆ นะจ๊ะ เพราะหลัก ๆ แล้วอย. มีหน้าที่กำกับและตรวจสอบผลิตภัณฑ์ให้ได้มาตรฐานอยู่เสมอ และมีหน้าที่ตามกฎหมายดังนี้

1. ดำเนินการตามกฎหมายเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพที่อยู่ในความรับผิดชอบ

2. กำกับดูแล และตรวจสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์ก่อนออกสู่ตลาด รวมถึงคำโฆษณาผลิตภัณฑ์นั้น ๆ

3. ส่งเสริมและพัฒนาองค์ความรู้ผู้ประกอบการ

4. ตรวจสอบผลิตภัณฑ์หลังออกสู่ตลาดและการโฆษณาผลิตภัณฑ์

5. เฝ้าระวังปัญหาหรืออันตรายที่จะเกิดขึ้น

6. ส่งเสริมผู้บริโภคให้มีความรู้และศักยภาพในการเลือกผลิตภัณฑ์สุขภาพได้อย่างปลอดภัย คุ้มค่า

7. ส่งเสริมการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพโดยการมีส่วนร่วมของภาครัฐ ภาคเอกชน ประชาชน และเครือข่าย

3ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ต้องมีเครื่องหมายอย. VS ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่มีเครื่องหมายอย. 

รู้จักกันไปแล้วว่าใครคือ อย. และมีหน้าที่อะไร ทีนี้ก็มาถึงสัญลักษณ์ของอย. กันบ้าง นั่นก็คือ “เครื่องหมาย อย. และเลขที่จดแจ้ง” เครื่องหมาย อย. และเลขที่จดแจ้ง เป็นการบ่งบอกเพียงว่าผลิตภัณฑ์นั้นได้รับอนุญาตจาก อย. ให้ผลิตหรือจำหน่าย ไม่ได้หมายความว่าอย. เป็นผู้รับรองว่าโฆษณาของผลิตภัณฑ์ที่กล่าวถึงสรรพคุณและประโยชน์จะใช้แล้วเห็นผลจริง ฉะนั้นการดูโฆษณาจึงต้องวิจารณญาณส่วนตัวสูงประกอบการตัดสินใจด้วย

แล้วเคยสงสัยไหมว่าทำไมขนมห่อนี้มีเครื่องหมาย อย. แล้วทำไมยาสีฟันไม่เห็นมีเครื่องหมาย อย. แต่กลับอยู่ในผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ต้องมี อย. เอ๊ะ ยังไง เอ๊ะ งง!?...ไม่ต้องงงค่ะ เพราะผลิตภัณฑ์แต่ละประเภทแบ่งตามเครื่องหมาย อย. เป็น

3.1 ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ต้องมีเครื่องหมาย อย. หรือผลิตภัณฑ์ที่มีความเสี่ยงสูง ได้แก่ ผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องมือแทย์ที่ต้องมีใบอนุญาต วัตถุอันตรายที่ใช้ในบ้านเรือน เช่น ยาฆ่าแมลง 

3.2 ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่มีเครื่องหมาย อย. ได้แก่ ยา เครื่องสำอาง เครื่องมือแพทย์ที่ต้องแจ้งรายการละเอียด เครื่องมือแพทย์ทั่วไป วัตถุอันตรายที่ใช้ในบ้านเรือน เช่น ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดต่าง ๆ ซึ่งจะต้องมีเลขที่จดแจ้งหรือทะเบียนยากำกับบนผลิตภัณฑ์

4“เครื่องหมาย อย.” เช็กที่ไหน มาดูกัน

เมื่อมาถึงจุดที่เราพอจะแยกประเภทผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่ต้องมีเลข อย. หรือเลขที่จดแจ้งแล้ว ก็ถึงคราวที่ต้องรู้ว่า “เลข อย. เนี่ย มันเช็กความถูกต้องอย่างไร” อย่างแรกคือ เราสามารถนำเครื่องหมาย อย. หรือเลขที่จดแจ้งบนผลิตภัณฑ์ไปเช็กได้ในเว็บไซต์ของกระทรวงสาธารณสุขที่ ระบบตรวจสอบผลิตภัณฑ์ หรือในเว็บไซต์อย. ที่ ตรวจเลขที่ผลิตภัณฑ์สุขภาพ และถ้าใครว่ายุ่งยาก เสียเวลา ทาง อย. เขามี ORYOR Smart Application แอปพลิเคชั่นสุดล้ำให้เราโหลดไปใช้ฟรี ๆ ทั้งระบบ iOS และ Android เลยค่ะ เมื่อโหลดและติดตั้งเสร็จการเปิดใช้ก็ง่ายมาก เพราะมีฟังก์ชั่น “ตรวจเลขที่ผลิตภัณฑ์สุขภาพ” โดยเฉพาะ เวลาเช็กก็ใส่ให้ครบทั้งตัวอักษรและตัวเลขนะคะ ไม่งั้นเช็กไม่ได้ แต่ถ้าขี้เกียจโหลดแอปฯ สามารถโทรเช็กได้ที่สายด่วน อย. 1556 หรือแอดไลน์ @FDAthai ก็ตรวจสอบเลข อย. ได้เหมือนกัน

ทีนี้พอเช็กแล้ว เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเลข อย. ที่เราเห็นนี้ไม่ได้ถูกสวมมาหลอก ๆ สิ่งแรกที่สามารถสังเกตได้ง่ายที่สุดจาก หนึ่ง ชื่อผลิตภัณ์ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ สอง ชื่อการค้า (ยี่ห้อ) และสาม ชื่อผู้ประกอบการ (ผลิตโดย…) ทั้งสามชื่อนี้จะต้องเป็นข้อมูลที่ตรงกันบนตัวผลิตภัณฑ์ แต่ ๆ การเช็กและการสังเกตทั้งหมดนี้ไม่สามารถการันตีได้ว่าผลิตภัณฑ์นั้นจะเป็นของมีคุณภาพเสมอไป เพราะ “เครื่องหมายเลข อย.” หรือ “เลขที่จดแจ้ง” เป็นเพียงการมาจดแจ้งว่าจะผลิตผลิตภัณฑ์อะไร โดยมีส่วนประกอบอะไร หากไม่ผิดหลักเกณฑ์ ไม่มีส่วนผสมต้องห้ามก็สามารถจดได้ หลังจากนั้น อย. จะสุ่มตรวจภายหลังว่าสินค้านั้นทำตามที่จดแจ้งหรือไม่ (เท่ากับว่าหากเรายื่นผลิตภัณฑ์จดอย่างถูกต้อง แต่ภายหลังเราแอบใส่สารอะไรลงไปก็ได้ ตราบใดที่ อย. สุ่มตรวจไม่เจอ…)

5ระวัง! คำโฆษณาเกินจริง

ฟังดูแล้วถึงผู้บริโภคอย่างเราจะมีช่องทางให้ตรวจสอบ แต่ก็ใช่ว่าผลิตภัณฑ์นั้นจะมีประสิทธิภาพเสมอไป แล้วเราจะทำอย่างไรดีล่ะ อย่างแรกจงจำให้ขึ้นใจว่า “โปรดใช้วิจารณญาณในการรับชม” โดยองค์การอาหารและยา สหรัฐอเมริกา (U.S. FDA) มีข้อแนะนำป้องกันการหลอกลวงการโฆษณาผลิตภัณฑ์ด้านสุขภาพตามนี้

5.1 ผลิตภัณฑ์ที่อ้างว่ารักษาโรคได้สารพัด เช่น ผลิตภัณฑ์อาหารเสิรมสามารถรักษาโรคสมองฝ่อได้

5.2 ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับรองจากบุคคลว่าใช้แล้วเห็นผลจริง เช่น ผลิตภัณฑ์นี้รักษาฉันให้หายจากโรคได้

5.3 ผลิตภัณฑ์ที่อ้างว่ามาจากธรรมชาติล้วน ๆ แต่ในความเป็นจริงไม่ได้แน่นอนเสมอว่าว่าวัตถุดิบจากธรรมชาติจะปลอดภัย เช่น เห็ดในธรรมชาติอาจมีพิษแฝงได้

5.4 อย่าหลงเชื่อโฆษณาที่ใช้ข้อความว่า รักษาได้อย่างมหัศจรรย์ เป็นการค้นพบใหม่ เป็นการปฏิวัติทางการแพทย์

5.5 การกล่าวอ้างถึงทฤษฎีสมคบคิดระหว่างบริษัทยาและรัฐบาล เพื่อปิดบังผลการวิจัยอันมหัศจรรย์ไว้เป็นความลับ

5.6 ไม่ควรหลงเชื่อผลิตภัณฑ์ที่กล่าวอ้างว่าใช้แล้วเห็นผลในเวลาอันรวดเร็ว

และอีกวิธีหนึ่งคือ เช็กเครื่องหมาย อย. หรือเลขที่จดแจ้งกับคำโฆษณาว่าตรงกันหรือไม่ เช่น บนฉลากของผลิตภัณฑ์อาหารจะพบการโฆษณาในเชิงบำบัด รักษา หรือบรรเทาโรค แต่ไม่พบทะเบียนตำรับยาบนผลิตภัณฑ์ กลับมีเครื่องหมาย อย. แทน ให้สันนิษฐานไว้ก่อนเลยว่าสินค้านี้คือผลิตภัณฑ์อาหาร ไม่ใช่ยาวิเศษแต่อย่างใด

6ช่องทางติดต่อ อย.

ขอย้ำตรงนี้อีกครั้งว่า ผู้บริโภคอย่างเราสามารถตรวจเลข อย. ได้ด้วยตัวเอง แต่ ๆ เลขที่ออกมานั้นหวยจะตกอยู่ที่ใครก็คงเป็นเรื่องตาดีได้ ตาร้ายเสีย เพราะถึงจะเจอเลข อย. ก็ใช่ว่าจะเป็นสินค้ามีคุณภาพเสมอไป ตามข่าวดังที่ได้ออกมาอยู่ช่วงหนึ่ง ซึ่งช่องทางหลัก ๆ ของหน่วยงาน อย. ได้แก่ สายด่วน 1556 Line @FDAthai ORYOR Smart Application เว็บไซต์กระทรวงสาธารณะสุข www.moph.go.th และเว็บไซต์ อย. www.oryor.com

อห. โอ้โหหห เรื่องของ อย. เป็นแบบนี้นี่เอง ตอนนี้พอจะเข้าใจอะหย่อย เอ้ย อย. มากขึ้นแล้วใช่ไหมคะ ว่า “อย." คือ สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา ผู้ดูแลและตรวจสอบผลิตภัณฑ์สุขภาพต่าง ๆ รวมไปถึงกำกับดำเนินการตามกฎหมายแก่ผู้ประกอบการที่ทำผิด ซึ่งผู้บริโภคอย่างเราต้องสตรองว์เข้าไว้ค่ะ เพราะสินค้าในท้องตลาดมีเป็นล้านอย่าง ก่อนใช้ก็ควรตรวจสอบด้วยตัวเองในระดับหนึ่ง เพราะจะดีจะร้ายอยู่ที่ตัวเราเลือกนะคะ และสำหรับบทความสาระรู้ดี ๆ แบบนี้สามารถติดตามต่อได้ที่ เกร็ดความรู้เรื่องอาหาร ที่นักกินตัวจริงไม่ควรพลาด ตั้งแต่เรื่องชีส ไวน์ รีวิวมาม่า ไปจนถึงวิธีแก้สะอึก!

ข้อมูลอ้างอิง

Oryor. “รู้จัก อย.” [แอปพลิเคชั่น] เข้าถึงได้จาก: OryorSmartApp สืบค้น 9 พฤษภาคม 2561

Oryor. “ป้องกันการโฆษณาหลอกลวงด้านสุขภสพอย่างไร” [แอปพลิเคชั่น] เข้าถึงได้จาก: OryorSmartApp สืบค้น 9 พฤษภาคม 2561

ผลิตภัณฑ์ใดบ้างที่มีอย

1.ผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ 2.แป้งข้าวกล้อง3.น้ำเกลือปรุงอาหาร4.ซอสในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท5.ขนมปัง 6.หมากฝรั่งและลูกอม7.วุ้นสำเร็จรูปและขนมเยลลี 8. กำหนดกรรมวิธี การผลิตอาหารซึ่งมี การใช้กรรมวิธีการ ฉายรังสี9.

อย. รับรองสินค้าอะไร

อย.” ไม่ได้แปลว่า อะไร แต่อย. คือ สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา (Food and Drug Administration) กระทรวงสาธารณะสุข ผู้คอยปกปักษ์คุ้มครองผู้บริโภคให้ได้รับ 6 ผลิตภัณฑ์สุขภาพ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์อาหาร ยา เครื่องสำอาง เครื่องมือแพทย์ วัตถุอันตรายที่ใช้ในบ้านเรือน และวัตถุเสพติดที่ใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ ที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน ...

เครื่องหมายอยใช้กับอะไร

เครื่องหมาย อย. คือ เครื่องหมายที่ไว้ใช้เพื่อแสดงหรือบ่งบอกว่าผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ได้รับการการันตีว่ามีคุณภาพ และผ่านการตรวจสอบจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาแล้วนั่นเอง ซึ่งเครื่องหมายเหล่านี้ก็จะทำให้ผู้บริโภคสามารถมั่นใจได้ในระดับหนึ่งว่า สินค้าที่เราซื้อมานั้นจะเป็นสินค้าที่มีคุณภาพ

ดูอย่างไร ผลิตภัณฑ์นั้นได้รับอนุญาตจาก อย แล้ว

การแสดงเครื่องหมาย อย. ในฉลากผลิตภัณฑ์เครื่องมือแพทย์จะมีลักษณะเป็นตัวอักษร ผ.(ผลิต) หรือ น.(นำเข้า) ตามด้วยเลขที่ใบอนุญาต/ปี พ.ศ. อยู่ในกรอบเครื่องหมาย อย. โดยกำหนดให้แสดงในผลิตภัณฑ์เครื่องมือแพทย์ เช่น ถุงมือสำหรับการตรวจโรค ถุงยางอนามัย และเลนส์สัมผัส เป็นต้น

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก