ศิลปะอินเดีย แบบ ใด ที่ ได้ รับ อิทธิพล จาก ศิลปะ กรีก โรมัน มาก ที่สุด

แนวคิดหลัก  รูแบบงานทัศน์ศิลป์ของแต่ละท้องถิ่น  มีลักษณะที่แตกต่างกันออกไป  ขึ้นอยู่กับอิทธิพลจากสิ่งต่างๆ  เช่น  ความเชื่อ  วัฒนธรรมประเพณีของทิองถิ่นนั้น  นอกจากนี้  วัฒนธรรมของท้องถิ่นใกล้เคียงยังเป็นอิทธิพลหนึ่งที่มีผลต่อการสร้างงานทัศนศิลป์งานทัศนศิลป์ของวัฒนธรรมตะวันออกและตะวันตกศิลปะตะวันตก
      ศิลปะตะวันออก  มีรากฐานสำคัญจากศิลปะของอินเดียและจีน  เนื่องจากทั้งสองประเทศนี้มีอารยธรรมที่ยิ่งใหญ่มาเป็นระยะเวลายาวนาน  ส่งผลให้ท้องถิ่นใกล้เคียงได้รับอิทธิพลด้านศิลปะจากอินเดียและจีน  เช่น  ไทย  พม่า  ลาว  ได้รับอิทธิพลทางด้านศิลปวัฒนธรรมจากอินเดีย  ส่วนญี่ปุ่น  เกาหลี เวียดนาม  ได้รับอิทธิพลจากจีน
      ลักษณะของศิลปะตะวันออกมีความเป็นอุดมคติ  นั่นคือไม่ยึดหลักความเป็นจริงตามธรรมชาติทั้งหมดจะสร้างสรรค์รูปแบบตามจินตนาการผสานไว้ในงามศิลปะ
       ศิลปะตะวันออกได้รับอิทธิพลมาจากวัฒนธรรมและสภาพแวดล้อมเป็นสำคัญ  เช่น  ศาสนา  ประเพณี ภูมิประเทศ  ภูมิอากาศ  โดยศิลปะตะวันออกจะมีความหลากหลายกันไปในแต่ละท้องถิ่น  เนื่องจากมีการนับถือ  ศาสนา  วัฒนธรรม  ความเชื่อ  ที่แตกต่างกันออกไป                                                                                                                                                                                                                                                                                                      ศิลปะอินเดีย
      ประเทศอินเดีย    เป็นประเทศที่มีอารยธรรมของตนเองและได้รับวัฒนธรรมจากชนชาติอื่นร่วม  ได้แก่  เมโสโปเตเมีย  อิหร่าน  กรีก  โรมัน  วัฒนธรรมของอินเดียมีอิทธิพลแก่ชนชาติตะวันออกทั้งทางตรงและทางอ้อม   โดยเฉพาะทางด้านศิลปะ   ซึ่งได้ขยายอิทธิพลอย่างกว้างขวางไปสู่ภูมิภาคเอเชียใต้ เอเชียตะวันออก  และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้   ศิลปะอินเดียนั้นเกิดจากแรงบันดาลใจทางศาสนาและลัทธิความเชื่อต่างๆ  เช่น  ความเชื่อเรื่องเทพเจ้า                                            อินเดียเป็นประเทศที่มีการนับถือศาสนาหลากหลาย  ได้แก่  ศาสนาพราหมณ์ฮินดู  ศาสนาพุทธ  ทำให้ศิลปะซึ่งส่วนใหญ่ได้รับแรงบรรดาลใจจากศาสนา  มีความแตกต่างกันไปตามความเชื่อของศาสนานั้นๆศิลปะอินเดียแบ่งออกได้ดังนี้                                                                                        ศิลปะแบบสาญจี   เป็นศิลปะสมัยที่เก่าแก่ที่สุด  อยู่ในราชวงศ์เมาริยะ   และราชวงศ์ศุงกะ (สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช)  โดยเป็นช่วงที่พุทธศาสนาเจริญรุ่งเรื่อง   ส่งผลให้งานศิลปะเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาสถาปัตยกรรม   ได้แก่   สถูปต่างๆ ที่มีลักษณะเป็นรูปโอคว่ำมีฉัตรปักอยู่บนยอดและมีฐานรองรับตัวสถูปลักษณะพุทธศาสนสถานของศิลปะอินเดีย  ที่สำคัญอีกออย่างหนึ่ง  คือ  รั้วและเสา  โดยรั้วจะสร้างขึ้นล้อมรอบบริเวณอันศักดิ์สิทธิ์ทางศาสนา  เช่น  บริเวณที่พระพุทธเจ้าประทับหรือสั่งสอนพระธรรม   หรือล้อมรอบองค์สถูป  ส่วนเสานั้นมีวัตถุประสงค์ที่ใช้หลายอย่าง  เช่น   ใช้สำหรับประดิษฐานสัญลักษณ์ของศาสนา  ใช้สำหรับจารึกเรื่องราวต่างๆหรือใช้เป็นเสาโคมไฟ  ประติมากรรมส่วนใหญ่จะนำมาประกอบกับสถาปัตยกรรม  เช่น   ภาพสลักบนรั้วและประตูล้อมรอบสถูปรูปแบบของศิลปะที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาในสมัยนี้นิยมใช้สัญลักษณ์แทนรูปมนุษย์  ดังเช่นภาพสลักพระพุทธเจ้า 4 ปราง  คือ  ประสูติ  ตรัสรู้  ปฐมเทศนา  และปรินิพพาน  จะใช้รูปสัญลักษณ์แทน  ได้แก่   ดอกบัว  ต้นโพธิ์  ธรรมจักร  พระสถูป  แทนปางเหล่านั้นตามลำดับ
      ศิลปะแบบคันธาระ  (พุทธศตวรรษที่ 6  หรือ   7)   เป็นศิลปะที่มีความเกี่ยวข้องกับพุทธศาสนา  โดยได้รับอิทธิพลศิลปะจากกรีกและโรมัน  และศิลปะในยุคนี้ได้เริ่มประดิษฐ์พระพุทธรูปที่มีรูปลักษณ์ของมนุษย์แต่มีลักษณ์คล้ายชาวกรีกและโรมัน
       ศิลปะแบบมถุรา  (พุทธศตวรรษที่  6  หรือ  9) ประติมากรรมในยุคนี้นิยมการสลักพระพุทธรูปหรือเรื่องราวทางพระพุทธศาสนาด้วยหินทราย  บางผลงานมีลักษณะของศิลปะกรีกและโรมัน  โดยพระพุทธรูปในยุคนี้มีลักษณะคล้ายชาวอินเดียมากขึ้น                                                                                                                                                                                                                             ศิลปะแบบอมราวดี (พุทธศตวรรษที่  หรือ 7 ) ศิลปะในสมัยนี้มีรูปแบบอุดมคติ  เน้นลักษณะแสดงการเคลื่อนไหว   ประติมากรรมที่พบคือพระพุทธรูปซึ่งมีลักษณะพระพักตร์คล้ายแบบกรีกและโรมัน  ห่มจีวรเป็นริ้วทั้งองค์
       ศิลปะแบบคุปตะ (พุทธศตวรรษที่ 9 หรือ 13) จัดศิลปะสมัยใหม่  ประติมากรรมในสมัยนี้นิยมการสลักรูปนูนสูงมากกว่ารูปลอยตัว  ส่วนพระพุทธรูปมีลักษณะอินเดียแท้  ศิลปะที่มีชื่อเสียงในสมัยนี้  ได้แก่  งานจิตรกรรม  ซึ่งค้นพบที่ผนังถ้ำอชันตา  ด้านสถาปัตยกรรมเริ่มมีการก่อสร้างด้วยอิฐ  นิยมสร้างเทวสถานซึ่งมีลักษณะใหญ่โตกว่าในสมัยก่อน
       ศิลปะแบบทมิฬ  (พุธศตวรรษที่  14 )   ศิลปะแบบทมิฬหรือดราวิเดียนมีประติมากรรมที่ทำจากหินสำริดและการสลักรูปจากไม้  ส่วนสถาปัตยกรรมส่วนใหญ่นั้นสร้างจากหินซ้อนกันเป็นชั้นๆ และนิยมสร้างเทวส-ถาน
        ศิลปะแบบปาละเสนะ (พุทธศตวรรษที่ 1418 ) เป็นศิลปะที่มีความเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาโดยมีการผสมความเชื่อของลัทธิฮินดูเข้าไป  งานประติมากรรม  ได้แก่  ภาพสลักจากหิน  การหล่อด้วยสำริดโดยพระพุทธรูปในสมัยนี้มีลักษณะการทรงเครื่องมากขึ้น  และพบประติมากรรมรูปพระโพธิสัตว์
         โดยสรุปแล้ว ศิลปะอินเดียจะมีความเกี่ยวข้องกับศาสนา  โดยส่วนมากจะนิยมการสร้างงานประติมากรรมเพื่อการบูชา  สถาปัตยกรรมสร้างขึ้นเพื่อเป็นเทวสถานหรือประกอบพิธีทางศาสนา  ส่วนจิต-กรรมมักไม่ค่อยกล่าวถึง  ซึ่งจิตกรรมอินเดียโดยรวมแล้วมีความเกี่ยวข้องทางศาสนาเช่นเดียวกัน  โดยเป็นภาพจิตกรรมฝาผนัง  หรือภาพเขียนประกอบคัมภีร์ ซึ่งมีการใช้สีที่สดใส  ไม่เน้นแสงเงา
  ศิลปะจีน
    ชาวจีนนับถือกราบไหว้บรรพบุรุษมาตั้งแต่โบราณกาล  มีวัฒนธรรมที่มุ่งเน้นความสัมพันธ์ของคนในสังคมกับธรรมชาติ  งานศิลปะของจีนจึงมีความเกี่ยวข้องกับมนุษย์  สังคมและธรรมชาติ  ได้มีการค้นพบหลักฐานทางโบราณคดีของจีนในสมัยก่อนประวัติศาสตร์หลายอย่าง  เช่น  เครื่องปั้นดินเผาหม้อสามขา  แสดงให้เห็นว่าสังคมชาวจีนมีรากฐานมาจากการเกษตร  มีความรู้ทางฝีมือช่างมายาวนาน
     ประติมากรรมของจีนที่มีมาแต่โบราณได้แก่ภาชนะต่างๆ  ที่ทำด้วยสำริด  ใช้สำหรับงานพิธีกรรม  การเคารพบรรพบุรุษ  ภาชนะนิยมตกแต่งด้วยรูปสัตว์หรือรูปเกี่ยวกับธรรมชาติ  มีประติมากรรมหลายชิ้นที่พบแสดงให้เห็นถึงความเชื่อด้านศาสนา  เช่น  รูปสลักหินทีมีเรื่องราวเกี่ยวกับเทพนิยายตามความเชื่อของลัทธิเต๋า  หรือรูปเคารพที่เกี่ยวข้องกับศาสนาพุทธ  ประติมากรรมที่มีชื่อเสียงของจีน  ได้แก่  การแกะสลักหยกเพื่อใช้เป็นเครื่องประดับ  และเครื่องเคลือบที่มีความแข็งแรง  ลวดลายสีสันสวยงาม
    จิตกรรมของจีนจะสัมพันธ์กับธรรมชาติ  โดยการใช้สีและเส้นอ่อนช้อยงดงาม  เต็มไปด้วยพลัง  นอกจากธรรมชาติแล้ว  จิตกรรมจีนยังได้รับอิทธิพลจากปรัชญาทางพระพุทธศาสนา  ลัทธิเต๋า  ลัทธิขงจื๊อ  จึงปรากฏภาพพุทธประวัติควบคู่ไปกับสวรรค์
     สถาปัตยกรรมของจีนที่มีชื่อเสียงที่สุด  คือกำแพงเมืองจีน  สร้างขึ้นในสมัยราชวงศ์จิ๋นเพื่อป้องกันการรุกรานจากชนเผ่าทางเหนือ  นอกจากนี้ยังมีสถาปัตยกรรมอื่นๆ  เช่น  เจดีย์ที่มีหลังคาทุกชั้น  ภายในอาคาตกแต่งด้วยกระเบื้องเคลือบ
  ศิลปะขอม
     ชนชาติขอมเป็นชนชาติหนึ่งที่ได้รับอิทธิพลรูปแบบศิลปะจากอินเดียในระยะเริ่มแรกนั้นศิลปะขอมมีลักษณะคล้ายกับศิลปะอินเดียมาก  ต่อมาจึงได้มีการพัฒนาเป็นรูปแบบของตนเอง  ซึ่งจะพบงานด้านสถาปัตยกรรมและประติมากรรมเป็นส่วนมาก
      สถาปัตยกรรมของขอมส่วนใหญ่ได้รับแบบอย่างมาจากอินเดีย  แต่มีลักษณะของศิลปะจีนร่วมด้วยและปรับเปลี่ยนให้เข้ากับศิลปะของตนเอง
      วิหารของขอมได้รับอิทธิพลจากอินเดีย  โดยสถาปนิกได้สร้างงานสถาปัตยกรรมของตนขึ้นมาเป็นรูปแบบของขอม  ส่วนหลังคาแสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของจีน  แต่เสาสี่เหลี่ยมที่มีหัวเสารูปครุฑยังคงเป็นรูปแบบของขอมโดยมีการประดับด้วยประติมากรรมต่างๆ
  ศิลปะไทย
    ชนชาติไทยเป็นชนชาติที่มีการผสมผสานกันในหลายเชื้อชาติ  ทั้งมอญ  เขมร  มลายู  ดังนั้นวัฒนธรรมไทยจึงได้รับอิทธิพลจากชนชาตินั้นด้วยโดยชนชาติเหล่านั้นเองต่างก็ได้รับอิทธิพลจาก    อารยธรรมอินเดีย  ศิลปะไทยจึงมีลักษณะคล้ายกับศิลปะอินเดีย
     ศิลปะไทยมีรูปแบบเฉพาะในเรื่องความอ่อนหวาน  และได้สอดแทรกวัฒนธรรม  ขนบธรรมเนียมประเพณี และความรู้สึกของคนไทยไว้ในงานอย่างลงตัวศิลปะไทยเริ่มต้นตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์
      ซึ่งมีการค้นพบเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ ที่ ตำบลบ้านเชียง  อำเภอหนองหาน  จังหวัดอุดรธานี  รวมถึงภาพที่เกี่ยวกับพิธีกรรมและการใช้ชีวิต
 ศิลปะสมัยทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ 1216)
    ศิลปะสมัยทวารวดีสร้างขึ้นเพื่อพระพุทธศาสนานิกายมหายาน  การสร้างพระพุทธรูปสมัยนี้  ระยะแรกเป็นการเรียนแบบศิลปะคุปตะของอินเดีย  ต่อมาจึงพัฒนามาเป็นรูปแบบของตนเอง  งานประติมากรรมในสมัยนี้เป็นงานสำริดดินเผาไฟ  และปูนปั้น  สันนิษฐานว่าศูนย์กลางของอาณาจักรอยู่บริเวณ   จังหวัดนครปฐม
 ศิลปะสมัยศรีวิชัย(พุทธศตวรรษที่ 1314)
   สันนิฐานว่าอาณาจักรศรีวิชัยมีอาณาเขตตั้งแต่บริเวณภาคใต้ของประเทศไทย  ไปจนถึงเกาะสุมาตราและเกาะชวา  ศิลปะสมัยศรีวิชัยได้แพร่เข้ามาพร้อมกับศาสนาพุทธแบบมหายานและศาสนาฮินดู  จึงมักพบประติมากรรมรูปพระโพธิสัตว์
   ศิลปะสมัยลพบุรี (พุทธศตวรรษที่ 1618) อาณาจักรลพบุรีหรือละโว้  มีอาณาเขตบริเวณภาคกลาง  ภาคตะวันออก  และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของงประเทศไทย  ศิลปะไทยในสมัยลพบุรีได้รีบอิทธิจากขอมซึ่งเป็นศิลปะที่ผสมผสานระหว่างศาสนาพุทธนิกายมหายานกับศาสนาฮินดู  ประติมากรรมมักสร้างขึ้นจากโลหะและการสลักหิน ด้านสถาปัตยกรรมนิยมสร้างประสาทหิน เช่น ปราสาทหินพิมาย จังหวัดนครราชสีมา
  ศิลปะล้านนา (พุทธศตวรรษที่ 1823)อาณาจักรล้านนาหรือเชียงแสน  มีศูนย์กลางอยู่ทางภาคเหนือของประเทศไทย  โดยพบโบราณสถานและโบราณวัตถุจำนวนมากที่จังหวัดเชียงรายและจังหวัดเชียงใหม่  ศิลปะสมัยนี้ได้รับอิทธิพลจากศาสนาพุทธนิกายเถรวาท  ประติมากรรมที่ปรากฏ  ได้แก่  พระพุทธรูปและลวดลายประดับโบราณสถาน
ศิลปะสมัยสุโขทัย (พุทธศตวรรษที่ 1920)อาณาจักรสุโขทัยมีศูนย์กลางอยู่บริเวณจังหวัดสุโขทัย  ศิลปะสุโขทัยได้รับอิทธิพลมาจากพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท  ลัทธิลังกาวงศ์  ประติมากรรมในสมัยสุโขทัยมีรูปแบบที่งดงาม  นิยมหล่อพระพุทธรูปด้วยโลหะผสมสำริด   ศิลปะประยุกต์ที่มีชื่อเสียงอีกอย่างหนึ่งคือ  เครื่องสังคโลก  ซึ่งเป็นเครื่องเคลือบดินเผาที่มีการเขียนสวดสายต่างๆลงบนเครื่องปั้น
 ศิลปะสมัยอยุธยา (พุทธศตวรรษที่ 1924)อาณาจักรอยุธยามีศูนย์กลางอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา  รูปแบบทางศิลปะในสมัยนี้มีความหลากหลายเนื่องจากอาณาจักรมีระยะเวลายาวนาน  โดยส่วนใหญ่จะเกี่ยวเนื่องกับพระพุทธศาสนาและพระมหากษัตริย์
    ด้านประติมากรรมส่วนใหญ่จะเป็นพระพุทธรูปที่มีรูปแบบเปลี่ยนแปลงไปตามสมัยพระพุทธนิยมหล่อด้วยสำริด ในสมัยอยุธยาตอนต้นพระพุทธรูปเป็นศิลปะแบบอู่ทอง  ซึ่งเป็นการผสมผสานศิลปะทวารวดีกับลพบุรี ด้านสถาปัตยกรรมซึ่งนอกเหนือจากด้านศาสนาและพระมหากษัตริย์แล้ว  ได้มีสถาปัตยกรรมเกี่ยวกับที่อยู่อาศัยของประชาชนด้วย  สถาปัตยกรรมด้านศาสนาและพระมหากษัตริย์ที่ปรากฏในสมัยอยุธยาช่วงแรกคือ  พระปรางและเจดีย์ตามแบบอย่างศิลปะของลพบุรีและสุโขทัย        ด้านจิตกรรมจะมีความเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา  โดยเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับชาดก  พุทธประวัติจิตกรรมที่ปรากฏ  ได้แก่  การจำหลักลายเส้นบนแผ่นหิน
  ศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์ (พุทธศตวรรษที่ 25-ปัจจุบัน)ศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์ เป็นศิลปะที่ถ่ายทอดมาจากศิลปะอยุธยา  เริ่มต้นตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช  (รัชกาลที่1)ทรงสถาปนากรุงเทพมหานครขึ้นเป็นราชธานีจนถึงปัจจุบัน                
ด้านประติมากรรม
  ในช่วงแรกรูปแบบงานยังคงสืบทอดมาจากสมัยอยุธยา  จนถึงสมัยรัชกาลที่
3ได้มีอิทธิพลจากศิลปะจีนเข้ามาจากการนำเข้ารูปสลักฝีมือช่างชาวจีนมาประดับอาคาร  ในสมัยราชกาลที่46ได้มีการติดต่อกับชาวต่างชาติมากขึ้น  โดยเฉพาะประเทศทางตะวันตก  ทำให้ศิลปะตะวันตดหลั่งไหลเข้าสู่ประเทศไทย
    ด้านสถาปัตยกรรม    นะยะแรกเป็นการสืบทอดแบบจารึกศิลปะอยุธยาแต่มีการตกแต่งประดับประดามากขึ้น  ในสมัยรัชกาลที่3 มีแบบสถาปัตยกรรมที่เรียกว่า อย่างนอก คือแบบลายจีนเข้ามา  มีการตกแต่ง ศาสนสถานเป็นลวดลายแบบจีน  เช่น  อุโบสถวัดราชโอรส                                        ด้านจิตกรรม มีทั้งรูปแบบของไทยและแบบร่วมสมัย  ในช่วงแรกยังคงเน้นการวาดภาพประดับฝาผนังโบสถ์  วิหาร  โดยใช้สีที่มีความหลากหลายมากกว่าในสมัยอยุธยา นิยมปิดทองคำเปลวเพื่อให้ภาพดูสวยงามต่อมาได้มีการผสมผสานกับศิลปะตะวันตก  ทำให้วิธีการวาดภาพ  การใช้สี   มีความหลากหลาย  ภาพที่วาดมีความเหมือนจริงและเป็นแบบ 3 มิติ
 ที่มา//www.sites.google.com/site/artsthasnsilp

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก