เครื่องปั้นดินเผาสมัยสุโขทัยที่รับอิทธิพลจากจีน คือข้อใด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เครื่องเคลือบสีเขียวหรือเซลาดอน

โถเขียนลายสีดำ หรือสีน้ำตาลใต้เคลือบใส

เครื่องสังคโลก หมายถึง เครื่องปั้นดินเผาที่ผลิตขึ้นในรูปแบบของภาชนะ เครื่องประกอบสถาปัตยกรรม ตุ๊กตา เช่น ถ้วย ชาม จาน ไหดิน โอ่งน้ำ ขวดดิน กระปุก ป้านน้ำชา ช้อน ตลอดจนตุ๊กตารูปคน รูปสัตว์ เช่น ช้าง รูปยักษ์ รูปเทวดา พระพุทธรูป กระเบื้องมุงหลังคา สิงห์สังคโลก ลูกมะหวด ท่อน้ำ ตุ๊กตาเสียกบาล ตัวหมากรุก ช่อฟ้า บราลี ฯลฯ มีทั้งชนิดเคลือบน้ำยาและไม่เคลือบน้ำยา

ประวัติ[แก้]

เครื่องสังคโลกมีการผลิตมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยไปจนถึงสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนกลาง โดยมีการพัฒนาทั้งรูปแบบและวิธีการผลิตจนสามารถส่งเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญในช่วงระหว่างพุทธศตวรรษที่ 20–22 การผลิตเครื่องสังคโลกลดลงตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 23 เหตุผลสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้ตลาดการค้าสังคโลกเปลี่ยนแปลงคือ การที่จีนหวนกลับมาผลิตเครื่องลายครามน้ำเงิน-ขาว ซึ่งกลายเป็นที่นิยม และการค้าสมัยกรุงศรีอยุธยาเปลี่ยนแปลงไปตามข้อเรียกร้องของชาวตะวันตกที่มีบทบาททางการเมืองในภูมิภาคนี้ เมื่อสุโขทัยอยู่ภายใต้อยุธยา ฝีมือการทำเครื่องปั้นดินเผาก็เสื่อมลงเป็นแค่การปั้นดินหยาบ ๆ เท่านั้น[1]

แหล่งผลิต[แก้]

เครื่องสังคโลกผลิตขึ้นจากเตาในอำเภอเมืองสุโขทัยและอำเภอศรีสัชนาลัย เฉพาะภาชนะขนาดใหญ่ เช่น ไห ได้พบว่า มีแหล่งเตาเผาร่วมสมัยกันอยู่อีก 2 แหล่ง คือ ที่บ้านชีปะขาวหาย อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก กับที่เตาใกล้วัดพระปรางค์ ตำบลเชิงกลัด อำเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี[2]

ชื่อ[แก้]

คำว่า "สังคโลก" สันนิษฐานว่าคำว่า "สัง" น่าจะเพี้ยนเสียงมาจากคำว่า "ซ้อง" อันเป็นนามราชวงศ์ซึ่งปกครองประเทศจีนระหว่าง พ.ศ. 1503–1819 เหตุด้วยเครื่องเคลือบสีเทาชนิดเดียวกับสังคโลกนั้นเกิดขึ้นในเมืองจีนสมัยของราชวงศ์ซ้องมาก่อน ส่วนคำว่า "โลก" มาจาก คำว่า "โกลก" แปลว่า เตา เมื่อรวมกับคำว่า ซ้อง แล้ว อาจแปลความได้ว่า "เตาแผ่นดินซ้อง" อีกสมมติฐานหนึ่งเชื่อว่า เพี้ยนเสียงมาจาก คำว่า "สวรรคโลก" เป็นชื่อเรียกของเมืองศรีสัชนาลัย โดยให้เหตุผลประกอบว่าคงเป็นสินค้าส่งออกที่แพร่หลายที่เครื่องถ้วยดังกล่าวผลิตจากเมืองศรีสัชนาลัยหรือเมืองสวรรคโลก[3]

ประเภท[แก้]

ลักษณะเนื้อดินและลวดลาย เนื้อดินเป็นประเภทเนื้อแกร่ง ซึ่งใช้อุณหภูมิในการเผาสูงประมาณ 1150-1280 องศาเซลเชียส ลวดลายที่ปรากฏในถ้วยชามสังคโลกที่พบมากในจาน ชาม คือ รูปปลา กงจักร ดอกไม้ โดยเฉพาะรูปปลานั้นสันนิษฐานว่าเป็นปลากา[4]

ส่วนเทคนิคการตกแต่งทั้งการเคลือบและลวดลายมีดังนี้

  • เครื่องปั้นดินเผาเนื้อแกร่งไม่เคลือบ ประดับลวดลายด้วยการใช้แม่พิมพ์กดลวดลายประทับ เช่น ลายก้านขด หรือลายเรขาคณิต มีการประดับด้วยวิธีปั้นดินแล้วแปะติดเข้ากับภาชนะก่อนเผา
  • เครื่องถ้วยสีน้ำตาลเข้ม เป็นการเคลือบสีพื้นเดียว
  • เครื่องถ้วยเคลือบขาวที่เขียนลวดลายใต้เคลือบน้ำตาลดำ
  • เครื่องถ้วยเคลือบขาวที่เขียนลวดลายบนเคลือบสีน้ำตาลทอง
  • เครื่องถ้วยเคลือบสีเขียวไข่กา หรือ เซลาดอน ซึ่งตกแต่งลวดลายด้วยวิธีการขูดและขุดลายในเนื้อดินแล้วเคลือบทับ

อ้างอิง[แก้]

  1. นริศรา ผิวแดง. "เส้นสายลายสังคโลก". มิวเซียมไทยแลนด์.
  2. "เครื่องถ้วยสมัยสุโขทัยและสมัยอยุธยาตอนต้น". สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ.
  3. "สังคโลก คืออะไร?". กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์.
  4. "เครื่องสังคโลก". มหาวิทยาลัยรามคำแหง.


กระปุกสังคโลกเคลือบสีเขียวไข่กา สมัยสุโขทัยพุทธศตวรรษที่ ๑๙-๒๒


ตุ๊กตาสังคโลก จากแหล่งเตาเผา อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย สมัยสุโขทัย พุทธศตวรรษที่ ๑๘-๒๐


โถฝาสังคโลก เขียนลายใต้เคลือบ ศิลปะสุโขทัย พุทธศตวรรษที่ ๑๘-๒๑ ผลิตจากแหล่งเตาเผาศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย


คนทีจีน สมัยราชวงศ์หมิง พุทธศตวรรษที่ ๒๑ มีลักษณะคล้ายคนทีดินเผาจากเตาวัดพระปรางค์ ริมแม่น้ำน้อย อ.บางระจัน จ.สิงห์บุรี


โอ่งสังคโลก เคลือบสีน้ำตาลศิลปะสุโขทัย พุทธศตวรรษที่ ๑๘-๒๑ ผลิตจากแหล่งเตาเผาพิษณุโลก


จานสังคโลกเคลือบสีเขียวไข่กา (เซลาดอน) จากแหล่งเตาเผา อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย พุทธศตวรรษที่ ๑๙-๒๑

เครื่องถ้วยสมัยสุโขทัยและสมัยอยุธยาตอน ต้น

เครื่องถ้วยที่ผลิตในสมัยนี้ ผลิตขึ้นจากเตา ในอำเภอเมืองสุโขทัย และที่อำเภอศรีสัชนาลัย เฉพาะภาชนะขนาดใหญ่ เช่น ไห ได้พบว่า มีแหล่งเตาเผาร่วมสมัยกันอยู่อีก ๒ แหล่ง คือ ที่บ้านชีปะขาวหาย อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก กับที่เตาใกล้วัดพระปรางค์ บ้านชันสูตร ตำบลเชิงกลัด อำเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี

คำว่า "สังค โลก" เป็นคำเรียกเครื่องถ้วย เฉพาะที่ผลิตที่จังหวัดสุโขทัย ในระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๒ การเริ่มต้นการผลิตนั้น อาจจะมีการพัฒนาภายในชุมชนมาก่อน เพราะได้พบเครื่องปั้นดินเผาพื้นเมือง ทั้งที่เป็นภาชนะใช้สอยชนิดไม่เคลือบ และชนิดเคลือบ เครื่องถ้วยชนิดเคลือบ เนื้อดินปั้น มีลักษณะเช่นเดียวกับพวกภาชนะที่ไม่เคลือบ คือ มีเนื้อดินปั้นหยาบหนาเป็นสีเทาอมม่วง และเคลือบ เฉพาะด้านใน เป็นต้นว่า จาน ไห และกระเบื้อง มุงหลังคา สีที่นิยมคือ สีเขียวมะกอก เครื่องถ้วยแบบนี้ส่วนใหญ่ไม่มีลาย แต่บางใบ ก็มีลายขูดเป็นเส้นๆ คล้ายลายหวีใต้เคลือบ

ระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๘-๑๙ เข้าใจว่า ทางสุโขทัยได้เริ่มมีการติดต่อกับจีน โดยเฉพาะจีนใต้ และอันนัม หรือเวียดนาม ซึ่งเดิมเป็นส่วนหนึ่งของจีนอย่างใกล้ชิด จึงน่าที่จะมีช่างจีน และช่างอันนัม ได้เข้ามาค้าขาย และตั้งหลักแหล่งอยู่ในบริเวณเตาเผา ทั้งที่เมืองสุโขทัยเก่า และที่ศรีสัชนาลัย จึงปรากฏว่า ได้มีการพัฒนาการผลิตเครื่องถ้วยใหม่ โดยพยายามลอกเลียนแบบ และลวดลายจากเครื่องถ้วยจีน ในยุคนั้น พบเครื่องสังคโลก มีทั้งที่ใช้ลายขุดขูดใต้เคลือบเซลาดอน ด้านในภาชนะเป็นลวดลายดอกบัว ลายดอกไม้ก้านขด ขอบริมของภาชนะผายออก มีทั้งขอบริมแบบเรียบ และมีลายคดโค้ง แบบลายกลีบบัว และด้านนอกตกแต่งเป็นลายกลีบบัว แบบนี้เป็นแบบที่จีนนิยมมาก ในสมัยราชวงศ์หยวน (พ.ศ. ๑๘๒๓- ๑๙๑๑) ซึ่งผลิตที่เตาหลงฉวน มณฑลเจ้อเจียง แต่หลังจากนั้นแล้ว ช่างก็ได้พัฒนาเครื่องสังคโลก ให้มีความงดงามตามรสนิยมของตน ดังนั้นจึงเห็น ได้ว่าเครื่องสังคโลกที่ผลิตในระยะหลังๆ จะมี ลักษณะที่เด่นเฉพาะตน แม้ว่าจะยังมีรูปแบบของจีนให้เห็นอยู่บ้างก็ตาม แหล่งเตาเผาที่สำคัญ เช่น

เตาที่เมืองสุโขทัยเก่า

ผลิตภัณฑ์จากแหล่งเตาเผาริมแม่น้ำโจน โดยทั่วไปจะเผาในเตากูบ ซึ่งแบ่งตัวเตาออกเป็น ๓ ส่วน คือ ส่วนใส่เชื้อเพลิง อยู่ส่วนนอก ตรงกลางเป็นที่ตั้งภาชนะที่เข้าเผา และส่วนท้ายเป็นปล่องไฟ โดยมีการตั้งภาชนะ บนกี๋ท่อ ภาชนะส่วนบนวางซ้อนกันโดยมีกี๋งบน้ำ อ้อยที่มีขา ๔-๖ ปุ่ม ดังนั้นภาชนะที่ผลิตที่นี่ส่วน ใหญ่จะมีรอยปุ่มกี๋งบน้ำอ้อยปรากฏอยู่ที่ด้านใน เสมอ ยกเว้นใบที่ตั้งอยู่บนสุด เนื้อดินปั้นของ ภาชนะที่ผลิตจากเตาเมืองสุโขทัยเก่าจะมีลักษณะ หยาบสีเทา ดังนั้นก่อนที่ช่างจะตกแต่งลวดลาย ช่างจะใช้น้ำดินหรือสลิปเคลือบตัวภาชนะที่ขึ้นรูป แล้วเพื่อตกแต่งผิวภาชนะให้เรียบก่อน จากนั้นจึง จะเขียนลายแล้วจึงเคลือบใสทับ แล้วนำเข้าเผา ด้วยอุณหภูมิประมาณ ๙๐๐-๑๐๐๐ องศาเซลเซียส ลายที่นิยมเขียนเป็นลายดอกไม้อย่างคร่าวๆ ภายใน วงกลมด้านในเขียนลายกลีบบัวฟันยักษ์ ซึ่ง ลักษณะลวดลายนี้จะคล้ายคลึงกับเครื่องถ้วยอันนัม (ญวน) ที่อยู่ร่วมยุคสมัยเดียวกันด้วย นอกจากนี้ มีลายจักรภายในวงกลม และลายปลาตัวเดียวภายในวงกลม เป็นต้น รูปแบบของภาชนะมี จาน จานเล็ก และชาม

เตาที่ศรีสัชนาลัย

ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากแหล่งเตาริมแม่น้ำยมนี้ มีมากมายหลายรูปแบบ ตั้งแต่ โอ่ง ไห ตุ่ม หม้อ พาน จาน ชาม คนโท คนที ตุ๊กตา เครื่องประดับอาคาร เช่น กระเบื้องมุง หลังคา กระเบื้องเชิงชาย ครอบอกไก่ ช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ บราลี เทพนม ตลอดจนทวารบาล นอกนั้นมีพวกตุ๊กตาเสียกบาล ตุ๊กตารูปสัตว์ รูป ปั้นคู่ชายหญิง เป็นต้น ซึ่งเตาเผาที่รู้จักมานานมี เตาป่ายาง และเตายักษ์

ลักษณะเนื้อดินปั้นของเครื่องสังคโลกที่เตาศรีสัชนาลัยนี้ มีคุณภาพดี เนื้อละเอียด ผลิตภัณฑ์มีฝีมือประณีตกว่าที่เตาสุโขทัย มีทั้งเคลือบสีเขียว มะกอก เขียวไข่กา (เซลาดอน) สีขาว สีน้ำตาล พื้นสีขาวเขียนลายบนเคลือบด้วยสีน้ำตาลทอง หรือพื้นขาวเขียนลายใต้เคลือบสีเทาหรือดำ

วิธีการตกแต่งลวดลายประดับ มีทั้งการ เขียนลายใต้เคลือบ เขียนลายบนเคลือบ เขียนลายในเคลือบ ขุดขูดให้เป็นลายปั้นลายติดที่ตัวผลิตภัณฑ์ แล้วเคลือบ และมีการใช้แม่พิมพ์ ลวดลายที่นิยมมีลายดอกไม้ โดยเฉพาะลายดอกบัว ลายดอกไม้ก้านขด ลายปลาคาบสาหร่าย ลายสังข์ แบบลายของจีน และลายแปลกอื่นๆ

นอกจากนี้มีผลิตภัณฑ์ที่ไม่เคลือบด้วย เช่น ไห ตุ่ม คนโท และคนที ดินเผาที่มีการทาน้ำดินหรือสลิปแล้ว จะเขียนลายด้วยสีแดงเป็นลายก้านขด หรือลายวงกลมซ้อน ลักษณะของคนโทเหล่านี้ คล้ายกับผลิตภัณฑ์ที่เตาเวียงท่ากาน จังหวัด เชียงใหม่

เตาบ้านชีปะขาวหาย

ชื่อเตานี้เข้าใจว่า อาจจะเลือนมาจากชื่อเดิมคือ บ้านเตาไห แล้วเลือนไปเป็นบ้านเต่าหาย ต่อมาเปลี่ยนไปเป็นบ้านชีปะขาวหาย แหล่งเตานี้อยู่ริมแม่น้ำน่าน เตาส่วนใหญ่ถูกทำลายไปเกือบหมด ด้วยภัยทั้งจากธรรมชาติ และมนุษย์ ผลิตภัณฑ์ที่แหล่งเตาเผานี้ส่วนใหญ่ จะเป็นภาชนะเคลือบสีน้ำตาลเข้มคล้ายผลิตภัณฑ์ จากเตาศรีสัชนาลัย เช่น โอ่ง ไห กระปุก นอก จากนี้ยังผลิตท่อน้ำและลูกกระสุนปืนใหญ่ด้วย ทั้งนี้เพราะลักษณะเนื้อดินปั้นซึ่งมีเนื้อหยาบสี น้ำตาลอมแดงเหมือนกัน รวมทั้งเคลือบสีน้ำตาล เช่นเดียวกัน

เตาวัดพระปรางค์บ้านชันสูตร

เตานี้อยู่ใกล้บริเวณวัดพระปรางค์ที่บ้านชันสูตร ตำบลเชิงกลัด อำเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี ผลิตภัณฑ์จากแหล่งนี้คือ ไหสี่หูขนาดกลาง มีขอบปากม้วน กลมใหญ่ รอบคอและไหล่นิยมประดับด้วยแนวเส้นตั้งแต่ ๓ เส้นขึ้นไป เนื้อดินปั้นหยาบสีออกแดง มีทั้งเคลือบสีน้ำตาลและไม่เคลือบ เช่นเดียวกับ เตาศรีสัชนาลัยและเตาพิษณุโลก แต่รูปร่างต่าง กันไปเล็กน้อยคือ มีลักษณะคล้ายไหจีน และพบ ตามแหล่งโบราณคดีทั่วไปที่พบเครื่องสังคโลก จากศรีสัชนาลัย

อย่างไรก็ดีเตาเผาทั้ง ๔ แหล่งนี้เข้าใจว่า ได้ดำเนินงานมาตั้งแต่ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๘ เป็นอย่างช้า โดยเฉพาะที่แหล่งศรีสัชนาลัย น่าจะเริ่มมาก่อนคือ ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๗ ก็เป็นได้ และเข้าใจว่า ได้ดำเนินงานสืบต่อเรื่อยมา จนถึงพุทธศตวรรษที่ ๒๒ ในสมัยอยุธยา จึงได้เลิกไป ด้วยสาเหตุที่ไม่ทราบแน่ชัด อาจจะเกิดจากน้ำท่วม หรือภัยจากสงคราม เพราะจากการขุดค้นพบเตาเผาบางแห่งในศรีสัชนาลัย แสดงว่า เตาเผาได้ถูกละทิ้งไปอย่างรีบเร่ง บางเตายังมีภาชนะทิ้งอยู่ภายในเตา ตรงส่วนตั้งเผา โดยยังมิได้เคลื่อนย้ายผลิตภัณฑ์ ที่เข้าใจว่า เลิกกิจการ ประมาณต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๒ เพราะบางแห่ง ได้มีการพบเครื่องสังคโลกปะปนอยู่กับเครื่องถ้วยลายคราม สมัยราชวงศ์หมิงของจีน ในรัชกาล พระเจ้าวั่นลี่ด้วย (พ.ศ. ๒๑๑๕-๒๑๖๓)

ประเภทของเครื่องสังคโลก

เนื้อดินปั้นของเครื่องสังคโลกเป็นประเภทเนื้อแกร่ง หรือสโตนแวร์ ซึ่งต้องใช้อุณหภูมิในการนำเข้าเผาสูงประมาณ ๑๑๕๐-๑๒๘๐ องศาเซลเซียส และมีการใช้เทคนิคในการตกแต่ง ทั้งการเคลือบ และลวดลายต่างๆ กัน หลายรูปแบบ ซึ่งพอจำแนกได้ดังนี้

  • เครื่องปั้นดินเผาเนื้อแกร่งไม่เคลือบ แต่ประดับลวดลาย ด้วยการใช้แม่พิมพ์กดลวดลายประทับ เช่น ลายก้านขด หรือลายเรขาคณิต นอกจากนี้ มีการประดับด้วยวิธีการปั้นดิน แล้วแปะติดเข้ากับภาชนะ ก่อนเข้าเผา ซึ่งเข้าใจว่าเป็นแบบ ดั้งเดิมที่มีมาก่อนและทำสืบต่อมาในระยะหลังด้วย
  • เครื่องถ้วยเคลือบสีน้ำตาลเข้ม อันเป็นการเคลือบสีพื้นเดียว ซึ่งจะมีลักษณะทั้งรูปแบบ และสีน้ำเคลือบ คล้ายกับเครื่องถ้วยลพบุรีประเภทเคลือบสีน้ำตาล
  • เครื่องถ้วยเคลือบขาวสีเดียว 
  • เครื่องถ้วยเคลือบขาวที่เขียนลวดลายใต้เคลือบน้ำตาลดำ มีลักษณะคล้ายเครื่องถ้วยจีน จากเตาสือโจ้ว กับเครื่องถ้วยอันหนาน 
  • เครื่องถ้วยเคลือบขาวที่เขียนลวดลายบน เคลือบสีน้ำตาลทอง 
  • เครื่องถ้วยเคลือบขาวที่เขียนลายในเคลือบด้วยสีน้ำตาลทอง 
  • เครื่องถ้วยเนื้อดินแกร่งกึ่งสโตนแวร์ ไม่เคลือบแต่ชุบน้ำดิน แล้วเขียนลวดลายด้วยสีแดง
  • เครื่องถ้วยเคลือบสีเขียวไก่กาหรือเซลาดอน ซึ่งตกแต่งลวดลาย ด้วยวิธีการขูดและขุดลายในเนื้อดิน แล้วเคลือบทับ ซึ่งประเภทนี้คล้ายคลึงกับเครื่องถ้วยจีน จากเตาหลงฉวน สมัยราชวงศ์สุ้ง ตอนปลายถึงราชวงศ์หยวน (ประมาณพุทธศตวรรษ ที่ ๑๙-๒๐)
  • เครื่องถ้วยดินเผา หรือตากให้แห้ง แล้วนำสลิปน้ำดินขาว ทาทับอย่างหนาๆ แล้วสลักลายเบา ต่อจากนั้นก็นำเข้าเตาเผา

เครื่องปั้นดินเผาในสมัยสุโขทัยที่มีชื่อเสียงคือข้อใด

เครื่องปั้นดินเผา เป็นวัฒนธรรมเชิงหัตถศิลป์ที่สืบทอดให้เราผู้เป็นอนุชนได้สืบเนื่องความคิดของบรรพชนของเรา และพัฒนาจนมาเป็นเครื่องใช้ไม้สอยที่ทันสมัยจนทุกวันนี้ สุโขทัยเป็นแหล่งอารยธรรมที่เจริญรุ่งเรืองมานานนับพันปี ปรากฏได้จากโบราณสถาน และโบราณวัตถุ เครื่องปั้นดินเผาที่มีชื่อเสียงของสุโขทัย คือ เครื่องสังคโลก

เครื่องปั้นดินเผาสมัยสุโขทัยคืออะไร

คำว่า "สังค โลก" เป็นคำเรียกเครื่องถ้วย เฉพาะที่ผลิตที่จังหวัดสุโขทัย ในระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๒ การเริ่มต้นการผลิตนั้น อาจจะมีการพัฒนาภายในชุมชนมาก่อน เพราะได้พบเครื่องปั้นดินเผาพื้นเมือง ทั้งที่เป็นภาชนะใช้สอยชนิดไม่เคลือบ และชนิดเคลือบ เครื่องถ้วยชนิดเคลือบ เนื้อดินปั้น มีลักษณะเช่นเดียวกับพวก ...

เครื่องปั้นดินเผาได้รับอิทธิพลมาจากไหน

สมัยสุวรรณภูมิ (อ้ายลาว ประมาณ พ.ศ. 300 – พ.ศ. 800) เนื่องจากการเผยแพร่พระพุทธศาสนา พวกอินเดีย มอญ ขะแมร์ จึงได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากอินเดีย การทำเครื่องปั้นดินเผาได้เจริญขึ้น และมีรูปทรงต่างๆ ซับซ้อนกว่าเดิม แตกต่างกับช่างไทย ซึ่งยังคงพัฒนาการมาจากหม้อทะนน และเป็นแบบของอาณาจักรอ้ายลาว

เครื่องสังคโลกสุโขทัยที่ได้รับอิทธิพลมาจากถ้วยจีนมีลักษณะอย่างไร

ประเภท ลักษณะเนื้อดินและลวดลาย เนื้อดินเป็นประเภทเนื้อแกร่ง ซึ่งใช้อุณหภูมิในการเผาสูงประมาณ 1150-1280 องศาเซลเชียส ลวดลายที่ปรากฏในถ้วยชามสังคโลกที่พบมากในจาน ชาม คือ รูปปลา กงจักร ดอกไม้ โดยเฉพาะรูปปลานั้นสันนิษฐานว่าเป็นปลากา

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก