โครงการแหลมผักเบี้ยมีวัตถุประสงค์เพื่ออะไร

โครงการพระราชดำริแหลมผักเบี้ย ตั้งอยู่ที่อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี เป็นอีกหนึ่ง สถานที่ที่สามารถมาเที่ยวชมและศึกษาเรียนรู้เรื่องของระบบนิเวศป่าชายเลนที่อุดมสมบูรณ์ โดยได้จัดทำเส้นทางศึกษาธรรมชาติตลอดเส้นทางป่าชายเลน ที่นักท่องเที่ยวจะได้สัมผัสกับความเขียวขจีและร่มรื่นตลอดสองข้างทาง ไปจนสุดทางปากอ่าวที่จะได้ชมทัศนียภาพของวิวทะเลกว้างไกลสุดตา มีศาลาชมวิวให้ยืนพักผ่อนรับลมทะเล ชมวิวของผืนน้ำกว้างใหญ่ได้แบบสบายตา สบายใจ  

การเที่ยวชมป่าชายเลนแหลมผักเบี้ย สามารถจอดรถไว้บริเวณหน้าทางเข้า ลงทะเบียนเข้าชมกับเจ้าหน้าที่ จากนั้นจะมีรถรางให้บริการฟรีตามรอบ พานำชมตามจุดต่างๆ  โดยรถจะออกทุก 1 ชั่วโมง 

ในรถจะมีวิทยากร บรรยายอธิบายตามจุดต่างๆที่รถรางวิ่งผ่าน เช่น ความสำคัญของป่าชายเลนในการบำบัดน้ำเสียชุมชนและความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับระบบนิเวศน์ป่าชายเลน  สภาพพื้นที่ป่าชายเลน รวมทั้งชื่อชนิดพันธุ์ไม้และสัตว์หน้าดินที่พบมากในบริเวณนั้น  

ผืนป่าชายเลนแห่งนี้ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ย สืบเนื่องจากพระมหากรุณาธิคุณแห่ง องค์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช  ทรงมีพระราชดำริด้านปัญหาขยะและน้ำเสีย โดยมีวัตถุประสงค์หลัก คือ การศึกษาวิจัยหาเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการแก้ไขปัญหาน้ำเสียและขยะชุมชนที่ประหยัด สะดวก ทำได้ง่าย โดยยึดหลักการ “ธรรมชาติช่วยธรรมชาติ” และสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับพื้นที่อื่นๆ ในประเทศได้

นั่งรถรางไม่ถึง 5 นาที มาถึงป่าชายเลนแหลมผักเบี้ย ที่จัดทำเป็นทางเดินทอดยาวผ่านป่าชายเลน ระยะทางประมาณ 850 เมตร  บรรยากาศร่มรื่นมาก โดยแต่ละจุดมีป้ายอธิบายพันธุ์พืชที่ปลูกในจุดต่างๆ  ระหว่างทางเดินเต็มไปด้วยต้นแสมและโกงกางที่ขึ้นอย่างหนาแน่น มีความร่มรื่น เย็นสบาย และชุกชุมไปด้วยสัตว์น้ำ สัตว์หน้าดิน เช่น ปลาตีน ปูแสมและปูก้ามด้าม ที่แสดงถึงความสมบูรณ์ของธรรมชาติ 

เดินมาครึ่งทางจะเจอกับหอคอยชมวิว ที่สามารถขึ้นไปชมป่าชายเลนในมุมสูงได้ 

ระหว่างทางสามารถแวะพักชมวิว ถ่ายรูปสวย กับพันธุ์ไม้ป่าชายเลน ที่กลายเป็นซุ้มประตูที่สวยงาม 

เดินมาสุดทาง คือ ปากอ่าว ชมวิวทะเล มีการจัดทำศาลาชมวิวให้ได้พักผ่อน มาในจังหวะที่ฝนจะตกสภาพอากาศครึ้ม อากาศจะทึมๆ ทำให้มองไม่เเห็นสีฟ้าของทะเลชัดเจน แต่อากาศแบบนี้ก็ดีในเรื่องความเย็นสบาย สดชื่นมาก 

ศาลาชมวิวเพิ่งสร้างเสร็จได้ไม่นาน ก่อนหน้านี้หากใครเคยมาเที่ยวที่นี่ จะมีเฉพาะสะพานแบบโล่งๆ ไปจนสุดปลายทาง  

ป่าชายเลนแหลมผักเบี้ย ถือ เป็นสถานที่พักผ่อนแบบชิลๆ ที่ไม่ไกลจากกรุงเทพ แวะมาสูดอากาศบริสุทธิ์ชมวิวให้โล่งปอด แวะมาเที่ยวกันได้ค่ะ แนะนำให้มาช่วงบ่ายๆ แดดร่ม จะชิลมาก 

ที่มา : //www.chaoprayanews.com/2014/05/12/%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AF-%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A1%E0%B8%9C%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%A2/

โครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ย ตั้งอยู่ที่แหลมผักเบี้ย จ.เพชรบุรี เป็นพื้นที่แปลงทดลองของโครงการตามแนวพระราชดำริเกี่ยวกับการพัฒนาและฟื้นฟูป่าชายเลน และสถานีบำบัดน้ำเสียชุมชน โดยยึดหลักการ "ธรรมชาติช่วยธรรมชาติ" นอกจากนี้ยังเป็นพื้นที่ที่ชาวบ้านในพื้นที่ใช้เป็นแหล่งประกอบอาชีพอื่นๆจากผลผลิตจากสภาพธรรมชาติที่ดีอันเนื่องมาจากโครงการฯ เช่นการใช้พืชที่ปลูกไว้ใช้ในการกรองน้ำเสีย เช่น กกธูป เพื่อทำจักสาน, การทำประมงและจับสัตว์น้ำในพื้นที่ป่าชายเลนที่เกิดขึ้นใหม่ 

แทบทุก ๆ จังหวัดของประเทศไทย ไม่มีจังหวัดไหนที่ไม่มีโครงการพระราชดำริที่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ที่ได้ทรงศึกษาวิจัยเพื่อช่วยเหลือราษฏรที่ลำบาก เพื่อให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น อย่างในจังหวัดเพชรบุรีนี้เอง ก็มีโครงการที่น่าสนใจมากมาย และหนึ่งในนั้นคือ "โครงการศึกษา และวิจัยแหลมผักเบี้ยอันเนื่องมาจากพระราชดำริ"  ที่ทรงให้สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนา สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร.) และ กรมชลประทานร่วมกันหาวิธีแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับขยะมูลฝอย น้ำเสีย และการฟื้นฟูสภาพป่าชายเลนในจังหวัดเพชรบุรี

โครงการศึกษาวิจัย และพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ยอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตั้งอยู่ที่ตำบลแหลมผักเบี้ย อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี มีพื้นที่ 1,135 ไร่ สามารถบำบัดน้ำเสียได้ 1 ใน 5 ของเขตเทศบาลเมืองเพชรบุรี ซึ่งมีประชากรประมาณ 40,000 คน โดยน้ำเสียจะถูกส่งมาตามท่อด้วยความยาวกว่า 18 กิโลเมตร ตามจังหวัดเพชรบุรี เพื่อเข้าสู่ระบบบำบัดที่ไม่ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีชั้นสูง และเป็นยังมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

เทคโนโลยีการบำบัดน้ำเสียตามแนวพระราชดำริที่ได้นำมาใช้ในแหลมผักเบี้ยมีทั้งหมด 4 ระบบ ได้แก่ 

1. ระบบบ่อบำบัดน้ำเสีย เป็นระบบที่อาศัยการกักพักน้ำเสียไว้ในระยะเวลาที่เหมาะสมกับความสกปรกของน้ำ เติมออกซิเจนด้วยการสังเคราะห์แสงของแพลงก์ตอน และสาหร่าย อาศัยแรงลมช่วยในการเติมอากาศเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการย่อยสลายสารอินทรีย์ด้วยจุลินทรีย์ และกักพักน้ำในแต่ละบ่อเป็นเวลา 7 วัน น้ำเสียแต่ละบ่อจะไหลล้นจากด้านบน และไหลลงสู่ด้านล่างของบ่อถัดไป

2. ระบบพืชและหญ้ากรองนาเสีย เป็นระบบที่ให้พืช หญ้าอาหารสัตว์ ช่วยดูดซับธาตุอาหารจากการย่อยสลายสารอินทรีย์ในดิน โดยมีระยะเวลาในการขังน้ำเสีย 5 วัน สลับปล่อยแห้ง 2 วัน ที่ใช้ในการบำบัด แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ หญ้าอาหารสัตว์ ได้แก่ หญ้าสตาร์ หญ้าคาลลา และหญ้าโคสครอส พืชทั่วไป ได้แก่ ธูปฤาษี กกกลมและหญ้าแฝกพันธุ์อินโดนีเซีย เมื่อครบตามระยะเวลาก็จะตัดพืชออก แล้วก็นำไปให้กลุ่มแม่บ้านทำเครื่องสานเพื่อเพิ่มประโยชน์และสามารถสร้างรายได้ให้กับกลุ่มแม่บ้านได้ด้วย

3. ระบบพื้นที่ชุ่มน้ำเทียม เป็นระบบที่ใช้กลไกการบำบัดเช่นเดียวกับระบบพืช และหญ้ากรอง จะแตกต่างกันที่วิธีการ คือ จะเติมน้ำเสียลงสู่ระบบอย่างต่อเนื่องตลอดวัน โดยอัตราการไหลของน้าเสียเท่ากับปริมาณน้ำเสียใหม่ที่สามารถผลักดันไล่น้ำเสียเก่าออกจากระบบหมดในเวลา 1 วัน พืชที่ใช้ก็เป็นชนิดเดียวกันกับระบบก่อนหน้า

4. ระบบแปลงพืชป่าชายเลน ระบบนี้จะให้ธรรมชาติบำบัดด้วยตัวของมันเองตามระยะเวลาการขึ้นลงของน้ำทะเลในแต่ละวัน อาศัยระบบรากของพืชป่าชายเลนช่วยปล่อยก๊าซออกซิเจนเติมให้กับน้ำเสียและจุลินทรีย์ในดิน หรับสัดส่วนในการผสมระหว่างน้ำเสียและน้ำทะเลจะมีสัดส่วนมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับค่าความสกปรกของน้ำเสีย

โครงการแหลมผักเบี้ยมีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาเรื่องใด

วัตถุประสงค์ - เพื่อสร้างเครือข่ายสิ่งแวดล้อมในการให้บริการวิชาการและถ่ายทอดความรู้ให้แก่ชุมชนตามภูมิสังคมต่างๆ ทั่วประเทศ สาระสำคัญ และกิจกรรม - เครือข่ายชุมชนต้นแบบแหลมผักเบี้ย

โครงการแหลมผักเบี้ย ช่วยอะไร

โครงการแหลมผักเบี้ยนี้นับว่าเป็นแบบอย่างแก่ชุมชนทั่วประเทศในการแก้ไขปัญหาน้ำเสียได้เป็นอย่างดี เพราะนอกจากจะเป็นแบบที่เรียบง่าย แล้วยังเข้าใจง่าย จึงสามารถนำไปใช้ปฏิบัติตามได้ง่าย มีค่าใช้จ่ายที่ไม่แพง และใช้เทคโนโลยีที่ไม่สูงนัก ซึ่งความเรียบง่ายนี้เองที่จะนำชุมชนไปสู่ความยั่งยืนได้ในที่สุด

ข้อใดคือหลักการสำคัญของโครงการในพระราชดำริแหลมผักเบี้ย

หลักการ : ระบบนี้ใช้หลักการบำบัดน้ำเสียโดยอาศัยกลไกให้สาหร่ายสังเคราะห์แสงเพื่อให้ออกซิเจนแก่จุลินทรีย์สำหรับการหายใจและย่อยสลายของเสีย โดยมีลมพัดช่วยเติมอากาศและแสงแดดเป็นตัวช่วยฆ่าเชื้อโรคอีกทางหนึ่ง ระบบนี้เหมาะสำหรับเมืองในเขตร้อนเช่นประเทศไทย

โครงการในพระราชดำริฯ แหลมผักเบี้ย อยู่จังหวัดใด มีความสำคัญอย่างไร

แชร์ แหลมผักเบี้ย หรือ “ โครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ย อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ” ตำบลแหลมผักเบี้ย อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี เป็นโครงการบำบัดน้ำเสีย ที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงมีพระราชดำริขึ้นโดยใช้สายลม แสงแดด และธรรมชาติ เข้าจัดการสร้างน้ำเสียสู่น้ำในให้ท้องถิ่นอีกครั้ง

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก