องค์กรใดมีเป้าหมายหลักในการสร้างความร่วมมือทางเศรษฐกิจ การร่วมมือกันทางเศรษฐกิจคืออะไร องค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่มีความสำคัญต่อประเทศไทยมากที่สุดคือองค์กรใด องค์กรใดเป็นการร่วมกลุ่มกันทางเศรษฐกิจ องค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจ มีอะไรบ้าง องค์กรทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศ มีอะไรบ้าง กลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจ มีอะไรบ้าง องค์การทางเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลก คือ ความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ มีอะไรบ้าง องค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่สําคัญในภูมิภาคต่างๆของโลก มีอะไรบ้าง องค์กรความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ระดับภูมิภาค

องค์กรทางเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดคือหน่วยงานความร่วมมือใด

บทเรียนกับ StartDee วันนี้กลับมาอย่างยิ่งใหญ่ในมาดนักการทูต เพราะบทเรียนของเราวันนี้เป็นเรื่อง ‘ความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจ’ นั่นเอง! เพื่อน ๆ ที่งุนงงสับสนเกี่ยวกับความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น APEC, AFTA, WTO วันนี้เราจะมาไขข้อข้องใจให้เพื่อน ๆ ว่าแต่ละองค์กรข้อตกลงนั้นมีที่มาอย่างไร มีวัตถุประสงค์เพื่ออะไร ไปดูกันเลย นอกจากนั้น เพื่อน ๆ ยังสามารถเรียนเรื่องนี้กันได้แบบเต็ม ๆ ที่แอปพลิเคชัน StartDee ด้วยนะ รีบโหลดเร็ว ! 

ความร่วมมือทางเศรษฐกิจแบบต่าง ๆ

AFTA

เปิดตัวด้วยตัว A แรกอย่างอาฟตา อาฟตาหรือเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA: ASEAN Free Trade Area) เป็นข้อตกลงทางการค้าในกลุ่มประเทศอาเซียน เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2535 โดยข้อเสนอของ ฯพณฯ อานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรีของไทย เนื่องจากเป็นข้อตกลงทางการค้าในกลุ่มประเทศอาเซียน สมาชิกของอาฟตาจึงประกอบไปด้วย 10 ประเทศสมาชิกอาเซียนที่เราคุ้นเคยกันดี ได้แก่ ไทย กัมพูชา เมียนมา บรูไน ฟิลิปปินส์ ลาว เวียดนาม มาเลเซีย สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย

วัตถุประสงค์ของ AFTA

  1. เพิ่มความสามารถในการแข่งขันของอาเซียนในตลาดโลก
  2. ส่งเสริมการค้าเสรีระหว่างประเทศสมาชิกในอาเซียน
  3. ปรับเปลี่ยนโครงสร้างภาษีศุลกากรและลดข้อกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษี เช่น มาตรการ กฎหรือข้อบังคับทางการค้าต่าง ๆ
  4. กำหนดให้สิทธิประโยชน์ระหว่างประเทศสมาชิกแบบต่างตอบแทน

ผลจากการเป็นสมาชิก AFTA

  1. การค้าระหว่างไทยกับอาเซียนขยายตัวเพิ่มมากขึ้น
  2. ไทยได้ดุลการค้ากับอาเซียนในภาพรวม
  3. นำเข้าวัตถุดิบได้ถูกลง ลดต้นทุนการผลิต

APEC

APEC คือความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก ย่อมาจาก Asia-Pacific Economic Cooperation เอเปกเป็นข้อเสนอของนายบ๊อบ ฮอว์ก (Bob Hawke) อดีตนายกรัฐมนตรีออสเตรเลีย เอเปกก่อตั้งในปี พ.ศ. 2532 ปัจจุบันมีสมาชิกทั้งสิ้น 21 เขตเศรษฐกิจ มีประชากรรวมกันประมาณ 2,500 ล้านคน ซึ่งคิดเป็น 42 เปอร์เซ็นต์ของประชากรโลก 

วัตถุประสงค์ของ APEC

  1. ปรึกษาหารือหรือแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นทางด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศสมาชิกในฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก
  2. ส่งเสริมการค้าและการลงทุนอย่างเสรีและขจัดอุปสรรคทางด้านการค้า

ผลจากการเป็นสมาชิก APEC

  1. ประเทศไทยมีโอกาสทางการค้าและการลงทุนเพิ่มขึ้น โดยมีตลาดใหญ่ขึ้น (การค้าระหว่างประเทศของไทยกว่า 69 เปอร์เซ็นต์ค้าขายกับกลุ่มเอเปก)

WTO

WTO คือองค์การการค้าโลก ย่อมาจาก World Trade Organization จัดตั้งขึ้นตามความตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้า หรือแกตต์ (GATT: General Agreement on Tariffs and Trade) จัดตั้งอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2538 ปัจจุบัน WTO มีสมาชิกรวมกว่า 164 ประเทศ

วัตถุประสงค์ของ WTO

  1. บริหารข้อตกลงที่เป็นผลจากการเจรจาและดูแลให้มีการปฏิบัติตามข้อตกลงนั้น ๆ 
  2. เป็นเวทีเจรจาลดอุปสรรคทางการค้าและแก้ไขข้อขัดแย้งระหว่างสมาชิก
  3. ติดตามสถานการณ์การค้าระหว่างประเทศให้เป็นไปในแนวการค้าเสรี
  4. ให้ความช่วยเหลือด้านข้อมูลแก่ประเทศกำลังพัฒนา
  5. ประสานงานกับ IMF (International Monetary Fund หรือ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ) และธนาคารโลก 

ผลจากการเป็นสมาชิก WTO

  1. สินค้าสำคัญของไทยถูกกีดกันทางการค้าน้อยลง โดยเฉพาะสินค้าการเกษตร อาหารแปรรูป สิ่งทอ และเสื้อผ้า
  2. การคิดอัตราภาษีนำเข้าแต่ละประเทศเป็นระบบเดียวกัน
  3. ประเทศไทยเปิดเสรีทางการค้าให้กับประเทศอื่น
  4. ไทยต้องปรับปรุงมาตรฐานการผลิตสินค้าให้เป็นไปตามหลักสากลมากขึ้น เช่น ต้องไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ไม่มีสารเคมีเจือปน ไม่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา

 

จะเห็นว่าความร่วมมือด้านเศรษฐกิจแต่ละส่วนนั้นมีความแตกต่างกันในแง่ของประเทศที่เป็นสมาชิก ซึ่งประเทศสมาชิกเหล่านี้ก็มักจะเป็นคู่ค้ากับประเทศของเราด้วย AFTA จะเป็นความร่วมมือในระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ APEC ก็จะใหญ่ขึ้นมาเป็นระดับเอเชีย-แปซิฟิก และ WTO ที่เป็นความร่วมมือระดับโลก แต่อย่างไรก็ตาม ความร่วมมือเหล่านี้ก็ช่วยให้การค้าและการส่งออกของแต่ละประเทศสะดวกและเป็นไปในทางที่ดีขึ้น โดยเราได้สรุปความแตกต่างของความร่วมมือด้านเศรษฐกิจทั้ง 3 มาให้เพื่อน ๆ ดูตามตารางด้านล่างนี้เลย

 

ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจAFTAAPECWTOตราสัญลักษณ์
ชื่อเต็มASEAN Free Trade AreaAsia Pacific Economic CooperationWorld Trade Organizationชื่อไทยเขตการค้าเสรีอาเซียนความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย -  แปซิฟิกองค์การการค้าโลกปีที่ก่อตั้งพ.ศ. 2535พ.ศ. 2532พ.ศ. 2538สมาชิก10 ประเทศสมาชิกอาเซียน21 เขตเศรษฐกิจ164 ประเทศ

 

หวังว่าบทเรียนจาก StartDee ในวันนี้จะช่วยให้เพื่อน ๆ หายสับสนเกี่ยวกับความแตกต่างของ ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะเป็น APEC, AFTA หรือ WTO ส่วนเพื่อน ๆ คนไหนที่สนใจเรื่ององค์กรระหว่างประเทศด้วยก็สามารถตามไปอ่านบทความ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 วิชาสังคมศึกษา เรื่อง องค์การระหว่างประเทศ (UN, ASEAN) ได้เลย! ส่วนใครอยากเรียนสังคมศึกษากันต่อ คลิก บทความออนไลน์มรดกของอารยธรรมกรีกโบราณ 1

องค์กรใดมีเป้าหมายหลักในการสร้างความร่วมมือทางเศรษฐกิจ

WTO คือองค์การการค้าโลก ย่อมาจาก World Trade Organization จัดตั้งขึ้นตามความตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้า หรือแกตต์ (GATT: General Agreement on Tariffs and Trade) จัดตั้งอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2538 ปัจจุบัน WTO มีสมาชิกรวมกว่า 164 ประเทศ วัตถุประสงค์ของ WTO.

การร่วมมือกันทางเศรษฐกิจคืออะไร

การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ หมายถึง การที่ประเทศตั้งแต่สองประเทศขึ้นไปตกลงกัน เพื่อลด หรือยกเลิกข้อจำกัดทางด้านการค้าระหว่างกัน ทั้งด้านภาษีและไม่ใช่ภาษีศุลกากร การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจสามารถแบ่งระดับของความร่วมมือตามลำดับจากน้อยไปหามาก โดยลดอุปสรรคทางการค้าลงเรื่อยๆ หรือขยายระดับความร่วมมือกันให้กว้างขึ้น ดังนี้

องค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่มีความสำคัญต่อประเทศไทยมากที่สุดคือองค์กรใด

องค์การเศรษฐกิจระหว่างประเทศ หมายถึง องค์การที่มีบทบาทและอิทธิพลมากที่สุดในกระบวนการกำหนดนโยบายทางด้านเศรษฐกิจของสังคมโลก ซึ่งองค์การเหล่านี้จะทำหน้าที่ดูแลให้ประเทศสมาชิกปฏิบัติตามกติกาของสังคมโลก อีกทั้งผลักดันให้ดำเนินนโยบายเศรษฐกิจเสรีนิยม และมีการปรับเปลี่ยนกระบวนการให้เหมาะสม ขณะเดียวกันส่งเสริมให้ภาคเอกชน มี ...

องค์กรใดเป็นการร่วมกลุ่มกันทางเศรษฐกิจ

กลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (APEC) กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) องค์การการค้าโลก (WTO)

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก