รูป แบบ อิน โฟ กราฟิก ที่ มักมีเส้น ลูกศร หรือ ลั ญ ลักษณ์ ที่แสดงความ สัมพันธ์ กัน คือ ข้อ ใด

  • Content, Media

7 ประเภทของ Infographic ที่ควรรู้ ก่อนลงมือทำ Content

แต่ก่อนที่เราจะเริ่มลงมือทำคอนเทนต์ในรูปแบบ Infographic กันนั้น มาดูกันก่อนดีกว่าว่า Infographic มีกี่ประเภท และควรนำไปใช้เมื่อไหร่ จะได้ไม่เสียเวลาทำแบบผิด ๆ ถูก ๆ นะครับ (กดเพื่ออ่านต่อ)

หากใครที่ได้อ่านแล้ว ก็มาเริ่มทำความรู้จักกันต่อว่า 7 ประเภทของ Infographic ที่ควรรู้ ก่อนลงมือทำ content นั้น มีอะไรบ้าง จะได้เลือกใช้กันได้ตามวัตถุประสงค์ในการทำคอนเทนต์ที่เราได้ตั้งไว้

.

แต่ขอบอกก่อนว่า อันนี้เป็นเพียงตัวอย่างแบบเบสิก ที่นินจาการตลาดอยากแนะนำให้ได้รู้กันนะครับ ไม่ใช่ประเภทของ Infographic จริง ๆ ทั้งหมด เพราะจริง ๆ แล้วเราสามารถต่อยอดคอนเทนต์ไปได้อีกมากมาย ไม่ได้จำกัดเพียง 7 ประเภทนี้ แต่วันนี้เรามาเรียนรู้รูปแบบพื้นฐานกันก่อน เผื่อจะจุดประกายไอเดียในการทำคอนเทนต์ของคุณได้บ้าง

1. เน้นการให้ข้อมูล (Informational Infographic)

.

สำหรับประเภทนี้ สโคปของมันค่อนข้างกว้าง เพราะสามารถใช้กับการเขียนเรื่องอะไรก็ได้ที่เป็น Facts ใช้ในการสื่อสารแบบภาพรวมหรือสรุปเรื่อง ๆ หนึ่งไว้ในภาพเดียว เช่น เลือกหัวข้อ Digital Marketing Trends 2020 ก็ทำเป็นภาพ Infographic เล่าออกมาว่า จะมีอะไรใหม่เกินขึ้นบ้าง หรือมีอะไรที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งคอนเทนต์ประเภทนี้ ค่อนข้างได้รับความนิยมในการทำสูงอยู่พอสมควร เพราะสามารถเล่าเรื่องออกมาได้ง่ายกว่าการเขียนเป็นบทความ ที่มีรายละเอียดในการเขียนเยอะกว่า

Photo: //venngage.com

2. ข้อมูลเชิงสถิติ (Statistical Infographic)

.

แค่ได้ยินคำว่า “สถิติ” บางคนก็รู้สึกปวดหัว ไม่อยากอ่านแล้วใช่ไหมล่ะครับ แต่จริง ๆ แล้วเราสามารถนำเสนอออกมาให้มันดูง่าย ด้วยการใช้ Infographic ได้ ซึ่งเราจะต้องสรุปเนื้อหามาก่อนว่า เราจะนำเสนอเรื่องอะไร และข้อมูลในจุดใดบ้าง จากนั้นก็นำมาทำเป็นข้อมูลภาพ หรือ Infographic ที่สวยงาม ทำให้ข้อมูลเชิงสถิติที่หลาย ๆ คนเบือนหน้าหนี หันกลับมามีความสนใจต่อเรื่องที่เราจะสื่อสารมากยิ่งขึ้น เพราะดูเข้าใจง่ายนั่นเอง

Photo: //venngage.com

3. เรียงลำดับเวลา (Timeline Infographic)

.

หากเราอยากจะเล่าประวัติความเป็นมาหรือวิวัฒนาการของเรื่อง ๆ หนึ่ง ที่มีความเด่นชัดในเรื่องของการแบ่งเวลาอย่างชัดเจนว่า ในแต่ละช่วงเวลามีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง เราสามารถใช้ Infographic เป็นตัวช่วยในการเล่าเรื่องได้ เพื่อความกระชับของข้อมูล

Photo: //venngage.com

4. เล่ากระบวนการทำงาน (Process Infographic)

.

Process Infographic เป็นการบอกเล่าข้อมูลที่เป็นขั้นตอน/ กระบวนการทำงานต่าง ๆ เป็นข้อมูลภาพ จะมีความคล้ายกับ Timeline Infographic เลย คือ เล่าเป็นสเต็ป ๆ ไป แต่อันนี้ไม่ได้เฉพาะเจาะจงในเรื่องของเวลา จะเน้นการอธิบายขั้นตอน/ กระบวนการต่าง ๆ ด้วยภาพ ให้มีความง่ายและเข้าใจได้อย่างชัดเจน เพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างราบรื่น

.

Infographic ประเภทนี้ เหมาะมากสำหรับสินค้าหรือบริการ ที่มีวิธีการใช้งานหลายขั้นตอน ซึ่งการทำ Process Infographic ไว้ให้ลูกค้านั้น จะช่วยให้ลูกค้าที่อยู่ในขั้น Evaluation หรือ Decision ตามหลัก Customer Journey ตัดสินใจซื้อสินใจได้ง่ายขึ้น เอาดี ๆ Infographic นี่อาจจะช่วยให้เราปิดการขายได้มากขึ้นก็ได้นะ

Photo: //venngage.com

5. เปรียบเทียบข้อมูล (Comparison Infographic)

.

สำหรับการทำคอนเทนต์เชิงเปรียบเทียบข้อมูลนั้น สามารถแยกย่อยออกมาได้อีกหลายคอนเทนต์เลย เช่น ความแตกต่าง ข้อดี/ ข้อเสีย ฯลฯ ซึ่งถ้าหากว่าเรามีสินค้าหลายตัว ก็อาจจะเอามาทำเป็น Infographic เปรียบเทียบกันว่า มีอะไรที่เหมือนหรือต่างกันอย่างไร เพื่อให้ลูกค้าพิจารณารายละเอียดสินค้าได้ง่ายขึ้น

Photo: //venngage.com

6. เรียงลำดับความสำคัญ (Hierarchical Infographic)

.

เป็นประเภทที่เน้นการจัดลำดับความสำคัญของข้อมูล โดยใช้สัญลักษณ์ในการเล่าเรื่องบนรูปภาพอย่างชัดเจน ทำให้เห็นว่าข้อมูลไหนสำคัญที่สุด เรียงไปหาน้อยที่สุด เช่น การใช้รูปทรงพีระมิด หรือแผนผัง เป็นต้น

Photo: //www.uprinting.com

7. เน้นข้อมูลเป็นข้อ ๆ (List Infographic)

.

เหมาะสำหรับการทำคอนเทนต์แนะนำ Tips หรือ Tricks ในการทำสิ่งต่าง ๆ มีความคล้ายกับ Informational Infographic แต่ List Infographic จะเน้นการให้ข้อมูลแบบเรียงเป็นข้อ ๆ ได้ชัดเจนกว่า ไม่ได้หมายถึงการดีไซน์นะครับ แต่เป็นเรื่องของการเล่าเนื้อหา เพราะ List Infographic จะเล่าเป็น point ซะส่วนใหญ่ แต่ Informational Infographic สามารถเล่าเรื่องราวในรูปแบบไหนก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเรียงเป็นข้อ เน้นการสรุปภาพรวมหรือใจความสำคัญของเรื่องที่เล่ามากกว่า

Photo: //venngage.com

นี่เป็นเพียงตัวอย่างแนวทางเล็ก ๆ น้อย ๆ สำหรับการทำคอนเทนต์ในรูปแบบ Infographic หากดูแล้วว่าอันไหนเหมาะสำหรับสินค้า/ บริการของเรา ก็สามารถนำไปปรับใช้ได้เลยนะครับ แต่อย่าลืมเรื่องของ Corporate Identity หรือ CI ซึ่งเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยชั้นดี ที่ช่วยให้ลูกค้าจดจำแบรนด์ของเราได้ง่ายขึ้น และจำได้ในระยะยาว

.

สำหรับใครที่กำลังสนใจเกี่ยวกับการเขียนคอนเทนต์ หรือการสร้างคอนเทนต์ที่ดี เร็ว ๆ นี้นินจาการตลาดจะมีคอร์สมาให้เรียนกันแบบจุใจ ส่วนจะเริ่มเมื่อไหร่และอย่างไรนั้น รอติดตามกันได้เลยครับ

สามารถติดตามเนื้อหาสุด Exclusive ของนินจาการตลาดที่ไม่ได้ลงที่ไหนและคอร์สเรียนฟรี ให้พิเศษเฉพาะใน Facebook กลุ่มปิด “Digital Media Planning 2020” คลิกไปขอเข้าร่วมได้เลย มีอัปเดตเนื้อหาอยู่ตลอด

และหากมีคำถามอยากให้ช่วยเหลือด้านการสื่อสารการตลาดดิจิทัล ทั้งเรื่องเครื่องมือ (Media), เนื้อหา (Content) และ กลยุทธ์ (Strategy) สามารถเข้าไปทักสอบถาม อ.ออดี้ และผู้รู้มากมายใน “หมู่บ้านนินจา” LINE OpenChat 

ติดตามอ่านความรู้ด้านกลยุทธ์การตลาดได้ในบทความครั้งต่อไป
กับ อ.ออดี้ – กิตติชัย ได้ใน Blog ของ นินจาการตลาด ที่นี่…

audy

Leave a Replay

Sign up for our Newsletter

ติดตามบทความด้านการตลาดฟรีๆมากมายเพียงกรอกอีเมล์ด้านบนนี้

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก