ทางภูมิศาสตร์ของอารยธรรมเมโสโปเตเมียคืออะไร

หากท่านผู้อ่านสังเกตุดีๆจะเห็นอะไรบางอย่างที่สำคัญมากอีกประการ คือ บริเวณที่ราบลุ่มเเม่น้ำไทกริสเเละยูเฟรทีส เป็นจุดเชื่อมทั้ง 3 ทวีปคือ

-ตะวันตกเฉียงเหนือเป็นยุโรป

-ตะวันตกเฉียงใต้เป็นเเอฟริกา

สิ่งนี้ส่งผลให้ลุ่มน้ำไทกริส-ยูเฟรทีสเป็นที่หมายปองของเหล่ากลุ่มชนที่จะมาตั้งถิ่นฐานในอดีต

เมโสโปเตเมีย เป็นคำภาษากรีก แปลว่า ที่ระหว่างแม่น้ำ ดินแดนที่ชาวกรีกเรียกว่า เมโสโปเตเมียนี้ตั้งอยู่บริเวณลุ่มน้ำไทกรีสและยูเฟรตีสเป็นส่วนหนึ่งของ”ดินแดนรูปพระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์” ซึ่งเป็นดินแดนรูปครึ่งวงกลมผืนใหญ่ ที่ทอดโค้งขึ้นไปจากฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและอ่าวเปอร์เซีย

เมโสโปเตเมีย เป็นดินแดนที่อากาศร้อนและกันดารฝน น้ำที่ได้รับส่วนใหญ่เป็นน้ำจากแม่น้ำที่มาจากหิมะละลาย ในฤดูร้อนบนเทือกเขาในอาร์เมเนีย น้ำจะพัดพา เอาโคลนตม ตะกอนมาทับถมชายฝั่งทั้งสอง ทำให้พื้นดินอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูก การเอ่อล้นของน้ำในแม่น้ำอันเกิดจากหิมะละลายไม่มีกำหนดเวลาที่แน่นอนและบางครั้งก็สร้างความเสียหายแก่บ้านเมือง ไร่นา ทรัพย์สินและชีวิตผู้คน การกสิกรรมที่จะได้ผลดีในสภาพแวดล้อมเช่นนี้ต้องอาศัยระบบการชลประทานที่มีประสิทธิภาพ

ความอุดมสมบูรณ์ของลุ่มแม่น้ำเป็นเครื่องดึงดูดให้ผู้คนเข้ามาทำมาหากินในบริเวณนี้ แต่ความร้อนของอากาศก็เป็นเครื่องบั่นทอนกำลังของผู้คนที่อาศัยอยู่ทำให้คนเหล่านั้นขาดความกระตือรือร้น เมื่อมีพวกอื่นเข้ารุกรานจึงต้องหลีกทางให้ผู้ที่เข้ามาใหม่ ซึ่งเมื่ออยู่ไปนานๆเข้าก็ประสบภาวะเดียวกันต้องหลีกให้ผู้อื่นต่อไป พวกที่เข้ามารุกรานส่วนใหญ่มักจะมาจากบริเวณหุบเขาที่ราบสูงทางภาคเหนือและตะวันออกซึ่งส่วนใหญ่เป็นเขาหินปูนไม่อุดมสมบูรณ์เท่าเขตลุ่มแม่น้ำ และยังมีพวกที่มาจากทะเลทรายซีเรียและอารเบีย เรื่องราวของดินแดนแห่งนี้จึงเป็นเรื่องราวที่เกี่ยวกับอารยธรรมของคนกลุ่มต่างๆ หลายกลุ่มมิได้เป็นเรื่องราวของอารยธรรมที่สืบต่อกันเป็นเวลายาวนานดังเช่นอารยธรรมอียิปต์

ลักษณะที่ตั้งทางภูมิศาสตร์
เมโสโปเตเมียแหล่งอารยธรรมที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งในสมัยโบราณ คำว่าเมโสโป-เตเมีย เป็นภาษากรีก มีความหมายว่าดินแดนระหว่างแม่น้ำทั้งสอง คือแม่น้ำไทกรีส (Tigris) และ ยูเฟรตีส (Euphrates) ปัจจุบันคือประเทศอิรัก มีนครหลวงคือกรุงแบกแดด แม่น้ำทั้ง 2 สายมีต้นน้ำอยู่ในอาร์เมเนียและ
เอเซียไมเนอร์ไหลลงสู่ทะเลที่อ่าวเปอร์เซีย

บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำไทกรีสและยูเฟรตีส ตอนล่างเรียกว่าบาบิโลเนีย (Babylonia) เป็นเขตซึ่งอยู่ติดกับอ่าวเปอร์เซีย มีชื่อเรียกในสมัยหนึ่งว่าชินาร์ (Shina) เกิดจากการทับถมของดินตะกอนที่แม่น้ำพัดพามากล่าวคือในฤดูร้อนหิมะบนภูเขาในอาร์เมเนียละลายไหลบ่าลงมาทางใต้พัดพาเอาโคลนตมมาทับถมไว้ยังบริเวณปากน้ำทำให้พื้นดินตรงปากแม่น้ำงอกออกทุกปี โดยเฉลี่ยแล้วประมาณ 1 ไมล์ครึ่ง ทุกๆ ศตวรรษ (ประมาณปีละ 29 นิ้วครึ่ง)

อาณาบริเวณที่เรียกว่าเมโสโปเตเมีย มีทิศเหนือจรดทะเลดำ และทะสาบแคสเบียน ทิศตะวันตกเฉียงใต้จรดคาบสมุทรอาระเบีย ซึ่งล้อมรอบด้วยทะเลแดงและมหาสมุทรอินเดีย ทิศตะวันตกจรดที่ราบซีเรียและปาเลสไตน์ ส่วนทิศตะวันออกจรดที่ราบสูงอิหร่าน

เมโสโปเตเมียแบ่งออกเป็นสองส่วน ส่วนล่างใกล้กับอ่าวเปอร์เซียมีความอุดมสมบูรณ์เรียกว่าบาบิโลเนีย ส่วนบนซึ่งค่อนข้างแห้งแล้งเรียกว่าแอสซีเรีย (Assyria) บริเวณทั้งหมดมีชนชาติหลายเผ่าพันธุ์อาศัยอยู่ มีการรบพุ่งกันอยู่เสมอ เมื่อชนชาติใดมีอำนาจ ก็เข้าไปยึดครองและกลายเป็นชนชาติเดียวกัน
นักประวัติศาสตร์บางท่านกล่าวว่า ไม่มีแห่งหนตำบลใดจะมีชาติพันธุ์มนุษย์ผสมปนเปกันมากมายเหมือนที่นี่และยังเป็นยุทธภูมิระหว่างตะวันตกกับตะวันออกตลอดสมัยประวัติศาสตร์

ปัจจัยที่เอื้ออำนวยที่ทำให้เกิดอารยธรรมเมโสโปเตเมีย
1. ความคิดสร้างสรรค์ในการรักษา ปรับปรุงและสืบทอดในอารยธรรมของกลุ่มชน 6 กลุ่มคือ

1.1 สุเมเรียน (Sumerians)
1.2 อัคคาเดียน (Akkadians)
1.3 อะมอไรท์ (Amorites)
1.4 คัสไซท์ (Kassites)
1.5 อัสซีเรียน (Assyrians)
1.6 แคลเดียน (Chaldeans)

2. แม่น้ำไทกรีสและยูเฟรตีส ทำให้เมโสโปเตเมียชุ่มชื้นเกิดการรวมตัวของกลุ่มชนและกำเนิดอารยธรรมเฉพาะขึ้น

3. พรมแดนธรรมชาติซึ่งมีส่วนช่วยเป็นกำแพงป้องกันศัตรูภายนอก แม้ไม่ดีเท่าแถบลุ่มน้ำไนล์ก็ตาม แต่ก็เอื้ออำนวยให้กลุ่มชนซึ่งผลัดกันขึ้นมีบทบาทใน
เมโสโปเตเมียสามารถใช้ประโยชน์ของพรมแดนธรรมชาตินี้กำเนิดอารยธรรมเมโสโปเตเมียขึ้น กล่าวคือทิศเหนือจรดเทือกเขาอเมเนียทิศใต้จรดอ่าวเปอร์เซีย ทิศตะวันออกจรดแนวเทือกเขายาว ทิศตะวันตกจรดทะเลทรายอารเบียน

วัฒนธรรมเมโสโปเตเมีย
พัฒนาการวัฒนธรรมสุเมเรียน 2 ระยะ คือ
1.ระยะวัฒนธรรมอูเบด (Ubaid) ประมาณ 4250-3750 B.C. เป็นสมัยเริ่มอารยธรรมคนเมือง (Urban life)
2.ระยะวัฒนธรรมอูรุค (Uruk) ประมาณ 3750-3000 B.C.
– การประดิษฐ์อักษรคูนิฟอร์มหรืออักษรลิ่มบนแผ่นดินเหนียว

ส่วนใหญ่ใช้ต้นกกหรือไม้เขียนลงบนแผ่นดินเหนียวกดเป็นรูปลิ่มอักษร จึงถูกเรียกชื่อว่า “คูนิฟอร์ม”แล้วนำไปผึ่งแดด หรือเผาไฟให้แห้งแข็ง

– การสร้างผลงานสถาปัตยกรรมเรียกว่า “ซิกกูแรท”

เป็นสิ่งก่อสร้างลักษณะคล้ายพิรามิดสร้างบนฐานที่ยกระดับจากพื้นดินข้างบนทำเป็นวิหาร ใช้บูชาเทพเจ้า

– มีการใช้อิฐในก่อสร้างและความก้าวหน้าด้านวิทยาศาสตร์ ชาวสุเมเรียนได้สร้างผลงานการก่อสร้างอื่นๆและทำปฏิทินจันทรคติ วันหนึ่งแบ่งเป็นกลางวัน 6 ชั่วโมง (เท่ากับ 2 ชั่วโมงในปัจจุบัน) กลางคืน 6 ชั่วโมง การนับในหน่วย 60 ซึ่งตกทอดมาจนถึงปัจจุบัน เช่นการนับ 1 ชั่วโมงมี 60 นาที 1 นาทีมี 60 วินาที วงกลมมี 360 องศา (60 หกครั้ง)

– ประมวลกฏหมายฮัมบูราบี
เป็นบทบัญญัติที่รวบรวมกฎหมายต่าง ๆ และพระราชกฤษฎีกาของกษัตริย์ฮัมมูราบี ราชาแห่งบาบิโลเนีย และเป็นประมวลกฎหมายที่เก่าแก่ที่สุด ประมวลกฎหมายนี้ถูกคัดลอกไว้โดยการแกะสลักลงบนหินบะซอลต์สีดำสูง 2.25 เมตร ซึ่งต่อมาทีมนักโบราณคดีฝรั่งเศสขุดพบที่ประเทศอิรัก ในช่วงฤดูหนาวปี 1901 ถึง 1902 หินสลักนี้แตกเป็น 3 ชิ้น และได้รับการบูรณะ

ปัจจุบัน ประมวลกฎหมายฮัมมูราบีอยู่ในพิพิธภัณฑ์ลูฟร์ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส กฎหมายดังกล่าวเป็นกฎหมายอาญา โดยยึดหลักที่ปัจจุบันเรียกว่า “ตาต่อตา ฟันต่อฟัน” อันหมายถึงทำผิดอย่างไรได้โทษอย่างนั้น ซึ่งแม้บทลงโทษตามกฎหมายฮัมมูราบีจะดูว่าโหดเหี้ยมตามความคิดของคนสมัยใหม่ แต่การทำกฎหมายให้เป็นลายลักษณ์อักษรและพยายามใช้บังคับอย่างเป็นระบบกับทุกคน และการถือว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ไว้ก่อนจนกว่าจะได้รับการพิสูจน์ว่าผิดนับเป็นหลักการสำคัญที่นับเป็นวิวัฒนาการทางอารยธรรมของมนุษย์

– มหากาพย์กิลกาเมช
มหากาพย์กิลกาเมช (อังกฤษ: Gilgamesh) เป็นตำนานน้ำท่วมโลกที่เก่าแก่ของบาบิโลน เล่าเรื่องกษัตริย์กิลกาเมชกับเหตุการณ์น้ำท่วมโลก ปรากฏในจารึก 12 แท่งด้วยกัน (นักโบราณคดีส่วนมากเชื่อว่าจารึกแท่งที่ 12 นี้ถูกแต่งเพิ่มขึ้นในภายหลัง) ซึ่งสอดคล้องกับตำนานของชาวซูเมอร์ มหากาพย์เรื่องนี้จารึกไว้ในแผ่นดินเหนียวในหอเก็บจารึกของกษัตริย์แห่งอัสซีเรีย เมื่อราว ศตวรรษที่ 7 ก่อนคริสตกาล

– สวนลอยแห่งบาบิโลน
ตำนานกล่าวไว้ว่า สวนลอยแห่งบาบิโลนสร้างขึ้นประมาณศตวรรษที่9 ก่อนคริสตกาล โดยคำบัญชาของกษัตริย์”เนบูคัสเนซซาร์”เพื่อเป็นของขวัญแก่นางอามิธีส ราชินีชาวเปอร์เซียของพระองค์

สวนแห่งนี้สร้างขึ้นในเขตพระราชฐาน มีลักษณะคล้ายปิรามิด โดยสร้างซ้อนกันขึ้นไปเป็นชั้นๆ นักประวัติศาสตร์จากซิซิลีที่ชื่อ”ดิโอโดโรส” กล่าวว่า ชาวบาบิโลนใช้อิฐและน้ำมันดินเป็นส่วนประกอบสำคัญในการก่อสร้างและเพื่อให้กันน้ำได้ดีนั้น ชาวเมืองจะใช้หญ้าประเภทอ้อหรือกกผสมน้ำมันดิบปูพื้นชั้นแรก แล้วปูทับด้วยอิฐเผาที่เตรียมไว้ ก่อนจะวางตะกั่วทับลงไปบนชั้นบนสุด หลังจากนั้นจึงลงดินที่มีปริมาณมากพอที่จะปลูกต้นไม้ทุกประเภท นับแต่ไม้พุ่มไปจนถึงไม้ยืนต้น น้ำที่ใช้เลี้ยงต้นไม้ในสวนลอยสูบขึ้นมาจากแม่น้ำยูเฟรติสเบื้องล่างมาตามท่อที่ฝังซ่อนไว้อย่างมิดชิดในแต่ละส่วนของระเบียง ทำให้ต้นไม้ที่ปลูกที่นี่เขียวชอุ่ม ให้ดอกและผลได้เป็นอย่างดีแม้ในช่ว ที่แล้งที่สุดกลางฤดูร้อนในทะเลทราย

อารยธรรมเมโสโปเตเมียมีลักษณะทางภูมิศาสตร์อย่างไร

3. บริเวณเมโสโปเตเมียมีลักษณะภูมิประเทศอย่างไร เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำ 2 สาย คือ แม่น้ำไทกริส และแม่น้ำยูเฟรทีส ที่มีการทับถมของดินตะกอนตามชายฝั่งแม่น้ำ ซึ่งจะเกิดขึ้นในฤดูร้อนเมื่อหิมะละลาย

อารยธรรมเมโสโปเตเมียด้านใด

อารยธรรมเมโสโปเตเมียเป็นอารยธรรมดินแดนระหว่างแม่น้าไทกรีสและยูเฟรตีสเป็นอารย ธรรมที่ประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นเป็นครั้งแรกในโลก โดยชาวสุเมเรียนเป็นชาติแรกที่สร้างพื้นฐานสาคัญของ อารยธรรมเมโสโปเตเมียทั้งด้านสถาปัตยกรรม ตัวอักษรและศิลปกรรมอื่นๆ

เมโสโปเตเมียตั้งอยู่ในภูมิภาคใด

เมโสโปเตเมีย (Mesopotamia) หมายถึง อารยธรรมลุมน้ําไท กรีสและยูเฟรตีส เปนแหลงอารยธรรม ที่ยิ่งใหญและเกาแกของโลกโบราณ อีกแหง ควบคูมากับอียิปต พบงานใน บริเวณจอรแดน,ตุรกี, ซีเรีย, อิรัก, อิหราน เปนตน

แหล่งกำเนิดอารยธรรมเมโสโปเตเมียมีลักษณะอย่างไร

เมโสโปเตเมียเป็นแหล่งอารยธรรมที่มีความเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่ง เมโสโปเตเมีย แปลว่า ดินแดนระหว่างแม่น้ำสองสายคือ แม่น้ำไทกรีสและยูเฟรทีส (ปัจจุบันคือดินแดนส่วนใหญ่ของประเทศอิรัก) ระหว่างสองฝั่งแม่น้ำทั้งสองสายเป็นพื้นดินที่มีความ อุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูก ทำให้กลุ่มชนชาติต่างๆเข้ามาทำมาหากินและสร้างอารยธรรมขึ้น รวม ...

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก