การเปลี่ยนแปลงประชากรเกิดจากอะไร

���ҧ�á���㹻Ѩ�غѹ���ѭ�һ�ЪҡùѺ�繻ѭ���Ӥѭ�ѭ��˹�� ����ա���֡���Ԩ���繨ӹǹ�ҡ���觡����������ѡ� ���繻�Ъҡ� 3 ��¤�� ����� ��·ӧҹ�������٧��������ա�ù���Ҽ��Ԩ�·��������㹡�þѲ����С���ҧἹ��á�˹� ��º�µ�ҧ� �������Ǣ�ͧ�Ǻ���仡Ѻ��þѲ�Ҥس�Ҿ�ͧ�� ��������Ъҡ��դس�Ҿ���Ե����

    4.5 การให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างศักยภาพทางการแข่งขันในภาคอุตสาหกรรมอาหารในข้อ 4.4 จำเป็นต้องมีการสนับสนุนทั้งห่วงโซ่การผลิต ดังนั้น แนวนโยบายที่ช่วยสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาศักยภาพทางการผลิตในภาคเกษตร จะเป็นการช่วยส่งเสริมอุตสาหกรรมอาหารอีกทางหนึ่ง

ประเทศไทยเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างประชากรศาสตร์ครั้งสำคัญ คือ มีอัตราการเจริญพันธุ์ต่ำและประชากรสูงอายุอย่างรวดเร็ว UNFPA ประเทศไทยสนับสนุนการพัฒนานโยบายประชากรแบบใหม่ที่เน้นการคาดการณ์และจัดการผลกระทบทางสังคมและเศรษฐกิจจากการเปลี่ยนแปลงนี้ นอกจากการเปลี่ยนผ่านสู่สังคมสูงวัยแล้ว UNFPA ประเทศไทยยังทำงานร่วมกับสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในการพัฒนาบัญชีกระแสการโอนประชาชาติ (NTA) เพื่อสร้างความเข้าใจทางเศรษฐกิจและเพื่อเตรียมประเทศให้พร้อมเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างเต็มที่ ณ พ.ศ. 2563 ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับบัญชีกระแสการโอนประชาชาติได้ ที่นี่

"หมอยง ภู่วรวรรณ" ชี้โรคโควิด-19 สถานการณ์ และกาลเวลาเปลี่ยน แนวทางการปฏิบัติการตรวจ ATK ก็ควรมีการเปลี่ยนแปลง

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยา คลินิกภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กส่วนตัว Yong Poovorawan ถึงเรื่อง โรคโควิด 19 สถานการณ์ และกาลเวลาเปลี่ยน แนวทางการปฏิบัติการตรวจ ATK ก็ควรมีการเปลี่ยนแปลง

ยง ภู่วรวรรณ
ราชบัณฑิต
17 พฤศจิกายน 2565

 

เราต้องยอมรับว่า covid ไม่ได้หายจากเราไปเราจะต้องอยู่กับ covid-19 ปัจจุบันประชากรส่วนใหญ่ มีภูมิต้านทานไม่ว่าจะจากวัคซีน หรือการติดเชื้อ ความรุนแรงของโรคลดลง ปัญหาอยู่ในกลุ่มเปราะบาง โรคเรื้อรัง แนวทางการปฏิบัติการตรวจ ATK จึงมีการปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสม ในสถานการณ์ปัจจุบัน ในคนปกติทั่วไป ไม่มีความจำเป็นต้องตรวจ ATK เช่นนักเรียนจะไปโรงเรียน การเข้าร่วมประชุม การตรวจ ATK ควรทำในผู้ที่มีอาการระบบทางเดินหายใจ หรือไปสัมผัสกับผู้ป่วย คือสัมผัสโรคมานั่นเอง

 

  • เปิดนาทีชุลมุน คฝ. ปะทะ ราษฎรหยุด APEC 2022 ใช้โล่กระแทกหน้าผู้ชุมนุม
  • กพท. เตือนผู้ตัดต่อภาพป้ายต้อนรับ APEC 2022 อันเป็นเท็จ ขอให้ลบใน 24 ชั่วโมง
  • สาวแชร์ภาพ วัดร้างกลางป่า ถูกรางวัลที่1 จะบูรณะ งานนี้ถูกจริงราวปาฏิหาริย์

การปฏิบัติของโรงเรียนที่ให้นักเรียนตรวจทุกสัปดาห์ จึงไม่มีความจำเป็น จะตรวจเฝ้าระวังเฉพาะผู้ที่มีอาการของโรค หรือผู้สัมผัสโรค หรือคิดว่า ตัวเองเสี่ยงในการเกิดโรค และทุกคนจะต้องรับผิดชอบ มีระเบียบวินัยอย่างเคร่งครัด มีความซื่อสัตย์

ผู้สัมผัสโรคจะตรวจเมื่อมีอาการ หรือตรวจในวันที่ 3 และ 5-7 ของสัมผัสโรค ถ้าให้ผลลบ ก็น่าจะปลอดภัยจากการติดโรค ในผู้ที่ตรวจ ATK ได้ 2 ขีด ให้เข้ารับการรักษา ไม่มีความจำเป็นต้องตรวจอีก ให้กักตัวเอง 5 วัน และเข้มงวดป้องกันเมื่อออกสู่สังคมอีก 5 วัน ไม่ใช่ว่าตรวจ ATK แล้วพบว่าขีดเดียวแล้วจะทำอะไรก็ได้ ระยะลดการแพร่เชื้อ ควรจะเกิน 10 วันไปแล้ว

เมื่อตรวจ ATK เป็นบวกหรือ 2 ขีดไม่มีความจำเป็นที่จะต้องทำ RT PCR อีก จะทำ RT PCR ในราย ที่สงสัยสัมผัสโรค หรือผู้ที่มีอาการต้องสงสัย และ ATK ให้ผลลบ เพื่อการรักษาที่ถูกต้อง การปฏิบัติตนต่างๆจะปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสม ทั้งนี้คำนึงถึงผลประโยชน์ และประสิทธิภาพสูงสุด ให้คุ้มกับค่าใช้จ่ายในภาพรวม ตามสถานการณ์

ความเร่งด่วนในการแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นเรื่องที่ไม่อาจเพิกเฉยได้ แต่ในโลกโซเชียลมีเดีย กลับยังเต็มไปด้วยข้อมูลเท็จที่เป็นอุปสรรคต่อการที่ผู้คนจะทำความเข้าใจถึงปัญหาโลกร้อนที่เป็นภัยคุกคามโลกในปัจจุบัน

  • กรมอุตุฯเตือน ฝนตกหนัก อากาศแปรปรวน อุณหภูมิลดฮวบ 3-5 องศา
  • ฟุตบอลโลก 2022 บรูโน ยิงเบิ้ล! โปรตุเกส ทุบ อุรุกวัย 2-0 ลิ่ว 16 ทีมสุดท้าย
  • เมื่อหมดเวลาเกิร์ลกรุ๊ป จีน่า BADKIZ สู้ชีวิตทำงานส่งนม หารายได้

ในขณะที่การประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสมัยที่ 27 (COP27) กำลังดำเนินอยู่ที่ประเทศอียิปต์ระหว่างวันที่ 6-18 พ.ย. การสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตก็พุ่งสูงขึ้น เช่นเดียวกับข้อมูลเท็จ

นี่คือข้อมูลเท็จที่พบบ่อยที่สุดเกี่ยวกับเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

“การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศไม่ใช่เรื่องจริง”

บางคนที่มีความเชื่อว่าปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศไม่ได้เกิดขึ้นจริง มักหันไปหาทฤษฎีสมคบคิดเพื่อสนับสนุนความเชื่อของตนเอง

พวกเขาอาจเชื่อว่าปัญหาโลกร้อนเป็นการลวงโลกที่ทำกันอย่างซับซ้อนโดยขบวนการลับหรือกลุ่มที่สนับสนุนแนวคิดโลกาภิวัตน์ ขณะที่บางส่วนเชื่อว่านี่คือขบวนการหาเงิน หรือแม้แต่แผนการอันชั่วร้ายในการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของประชาชน

อย่างไรก็ตาม ไม่มีหลักฐานที่สนับสนุนคำกล่าวอ้างเหล่านี้

มีการประเมินว่า 99% ของนักวิทยาศาสตร์มีความเห็นตรงกันว่าปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นเรื่องจริงและเป็นผลมาจากน้ำมือของมนุษย์

ข้อมูลจากคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Intergovernmental Panel on Climate Change หรือ IPCC) ซึ่งเป็นกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของสหประชาชาติ ระบุว่า นับแต่ปี 1850 อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกเพิ่มสูงขึ้น 1.1 องศาเซลเซียส

ด้วยเหตุนี้จึงทำให้โลกต้องเผชิญกับสภาพอากาศรุนแรงเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นภัยคุกคามต่อชีวิตและความเป็นอยู่ของคนทั่วทุกมุมโลก

Advertisement

รายงานในปี 2021 ของ IPCC ระบุว่า “ชัดเจนว่าอิทธิพลของมนุษย์ทำให้ชั้นบรรยากาศ มหาสมุทร และพื้นโลกร้อนขึ้น”

ดร.เอลลา กิลเบิร์ต นักวิทยาศาสตร์จากสถาบันวิจัยขั้วโลกใต้แห่งอังกฤษ (British Antarctic Survey หรือ BAS) กล่าวว่า “การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเกิดขึ้นทุกหนแห่ง เราแค่ดูอากาศสุดขั้วในปีนี้เป็นเครื่องยืนยันได้”

ที่มาของภาพ, Getty Images

“การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นปัญหาของโลกตะวันตก”

ปัญหาโลกร้อนเป็นผลมาจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เช่น คาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งกักเก็บความร้อนจากดวงอาทิตย์และทำให้โลกร้อนขึ้น

ประเทศร่ำรวย เช่น สหรัฐฯ สหราชอาณาจักร และเยอรมนี คือผู้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุดในประวัติศาสตร์โลก

ดังนั้นผู้คนในประเทศยากจนกว่าจึงมองว่า การแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็น “ปัญหาของชาติตะวันตก” ไม่ใช่เรื่องที่พวกเขาต้องแก้ไข หรือส่งผลต่อชีวิตประจำวันของพวกเขา

แต่การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นปัญหาที่ไร้พรมแดน และได้พิสูจน์ให้เห็นแล้ว เช่นในปากีสถาน ซึ่งชื่อว่าปัญหาน้ำท่วมใหญ่ครั้งล่าสุดมีสาเหตุสำคัญมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

งานวิจัยหลายชิ้นยังชี้ว่า ประเทศยากจนกว่าจะเป็นผู้ได้รับผลกระทบมากที่สุดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพราะไม่มีทรัพยากรเพียงพอในการเตรียมรับมือ

ดร.ลิซา สคิปเปอร์ นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยบอนน์ ในเยอรมนี ระบุว่า “การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นปัญหาของคนทั้งโลก” พร้อมชี้ว่า แม้แต่ประเทศยากจนที่สุด และมีการพัฒนาด้านอุตสาหกรรมน้อยที่สุด ไม่ใช่เหยื่อที่จะอยู่นิ่งเฉย แต่เป็นผู้มีส่วนร่วมในการสร้างความเปลี่ยนแปลง

นี่คือเหตุผลที่รัฐบาลประเทศเหล่านี้จะต้องร่วมฟังการหารือเรื่องสภาพภูมิอากาศ ซึ่งร่วมถึงการประชุม COP27 ที่มีเรื่องความยุติธรรมด้านภูมิอากาศเป็นวาระสำคัญ

ที่มาของภาพ, Reuters

“การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอาจดีสำหรับเรา”

สำหรับประเทศที่มีสภาพอากาศหนาวจัด ความคิดเรื่องโลกร้อนขึ้นอาจฟังเหมือนเป็นเรื่องดี

ยกตัวอย่างประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ที่เคยพูดว่า หากรัสเซียมีสภาพอากาศอบอุ่นขึ้น ผู้คนก็จะ “เสียเงินไปกับเสื้อโค้ทขนสัตว์น้อยลง และผลผลิตธัญพืชจะเพิ่มสูงขึ้น” ซึ่งเป็นมุมมองที่ยังมีการพูดต่อกันในโซเชียลมีเดียของรัสเซียมาจนถึงปัจจุบัน

แต่ปัญหาก็คือ ผลผลิตที่อาจเพิ่มขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จะมีสัดส่วนเพียงเล็กน้อย เมื่อเทียบกับปริมาณผลผลิตทั่วโลกที่ได้รับความเสียหายจากปัญหานี้

IPCC ประเมินว่า หากอุณหภูมิโลกเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 1.5 องศาเซลเซียสภายในสิ้นศตวรรษนี้ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะสร้างความเสียหายให้แก่โลกมูลค่า 54 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ และมูลค่านี้จะเพิ่มเป็น 69 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หากอุณหภูมิเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 2 องศาเซลเซียส

นี่อาจทำให้อนาคตของโลกดูมืดมน เพราะประเทศในแถบตะวันออกกลางอาจได้เห็นพื้นที่เกษตรกรรมกลายสภาพเป็นทะเลทราย ประเทศที่เป็นเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกอาจจมอยู่ใต้ทะเล และประเทศในแอฟริกาอาจเผชิญภาวะขาดแคลนอาหาร

แม้ในประเทศเมืองหนาวอย่างรัสเซีย ปัญหาไฟป่า เช่นที่เคยเผาผลาญไปทั่วเขตไซบีเรียในปี 2021 อาจเกิดบ่อยขึ้น เพราะมีสภาพอากาศที่ร้อนและแห้งขึ้น

ที่มาของภาพ, Reuters

“ระดับน้ำทะเลไม่ได้สูงขึ้น มันแค่น้ำขึ้นน้ำลง”

องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐฯ (นาซา) ระบุว่า มหาสมุทรได้ดูดซับความร้อน 90% ที่เกิดขึ้นจากก๊าซเรือนกระจกที่เพิ่มขึ้นในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา

ด้วยเหตุนี้ น้ำแข็งที่อยู่บนบก เช่น ตามธารน้ำแข็งต่าง ๆ ได้เริ่มละลาย และการที่น้ำมีปริมาตรเพิ่มขึ้นเมื่อมีอุณหภูมิสูงขึ้น มหาสมุทรก็จะขยายขนาดขึ้นเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นเช่นกัน

ในโซเชียลมีเดียมักมีผู้ไม่เชื่อเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโพสต์ข้อความว่าระดับน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้นเป็นผลมาจากปรากฏการณ์น้ำขึ้นน้ำลง แต่ในความเป็นจริงกลับมีความซับซ้อนมากกว่านั้น

ปรากฏการณ์น้ำขึ้นน้ำลง คือการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำในทะเลที่เกิดขึ้นเป็นประจำทุกวัน และเป็นการเปลี่ยนแปลงที่คงที่ ไม่ได้มีความรุนแรงขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป

แต่นักวิทยาศาสตร์ประเมินว่า ในช่วง 100 ปีที่ผ่านมา ระดับน้ำทะเลของโลกได้เพิ่มสูงขึ้นจาก 160 มิลลิเมตร เป็น 210 มิลลิเมตร

ศาสตราจารย์ เคน ไรซ์ จากมหาวิทยาลัยเอดินบะระ ในสกอตแลนด์ ระบุว่า “นี่เป็นระดับที่สูงขึ้นค่อนข้างมากเมื่อเทียบกับช่วงต้นศตวรรษที่ 20”

แม้การเปลี่ยนแปลงนี้อาจมองไม่เห็นชัดเจนด้วยตาเปล่า แต่ได้ส่งผลกระทบให้เห็นอย่างชัดเจน เพราะระดับน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้นเป็นตัวเร่งให้เกิดปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง และมีแนวโน้มจะเกิดน้ำท่วมมากขึ้น

นักวิทยาศาสตร์ระบุว่า หากไม่มีการแก้ปัญหาอย่างเร่งด่วน ระดับน้ำทะเลอาจสูงแตะ 2 เมตรภายในสิ้นปี 2100

นี่หมายความว่าประชากรหลายล้านคนที่อาศัยตามแนวชายฝั่งทะเล โดยเฉพาะในทวีปเอเชีย อาจต้องเผชิญปัญหาน้ำท่วมเขตที่อยู่อาศัย

ที่มาของภาพ, Reuters

“สายเกินไปที่จะแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ”

เป็นเรื่องยากที่เราจะไม่เกิดความวิตกกังวลเมื่อฟังข่าวเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มักเอ่ยถึงคำเตือนต่าง ๆ เช่น “โอกาสสุดท้าย” หรือ “สัญญาณเตือนสภาพอากาศที่เป็นอันตราย”

อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้เกิดขึ้นแล้ว และจะส่งผลกระทบต่อไปอีกหลายร้อยปีข้างหน้า แต่ขณะเดียวกันก็ยังพอมีข่าวดี เพราะนักวิทยาศาสตร์รู้ดีว่าเราต้องทำอะไรบ้างเพื่อรับมือกับวิกฤตครั้งนี้

นักวิทยาศาสตร์ระบุว่า ประเทศต่าง ๆ จะต้องลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปริมาณมาก ควบคู่ไปกับการหาหนทางดักจับก๊าซชนิดนี้ที่อยู่ในชั้นบรรยากาศ

นี่คือหนึ่งในเหตุผลที่ว่าทำไมการประชุม เช่น COP27 จึงมีความสำคัญ เพราะเป็นโอกาสที่บรรดานักการเมืองจะร่วมกันหารือถึงแผนปฏิบัติการเพื่อแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ดร.กิลเบิร์ต จาก British Antarctic Survey ชี้ว่า “ทุกการกระทำที่จะช่วยลดผลกระทบที่เกิดขึ้นจะช่วยสร้างความแตกต่างในทางที่ดี”

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก