การวิเคราะห์โครงการคืออะไร

อัญชลี ธรรมะวิธีกุล
ศึกษานิเทศก์เชี่ยวชาญ
28 เมษายน 2552

1. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประเมินโครงการ
การประเมินโครงการเป็นกิจกรรมที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในการบริหารโครงการ การประเมินโครงการเป็นกระบวนการที่ให้ข้อมูลย้อนกลับ ซึ่งสามารถนำมาใช้ในการปรับปรุงการดำเนินงานของโครงการให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทำให้ทราบข้อบกพร่อง จุดเด่น จุดด้อยของโครงการ และทราบว่าโครงการได้บรรลุวัตถุประสงค์ เป้าหมายเพียงใด และช่วยให้ข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการนำไปใช้ในการตัดสินใจเกี่ยวกับการดำเนินโครงการได้ทั้งในปัจจุบันและในอนาคต

1.1 ความหมายของการประเมินโครงการ
การประเมินโครงการ คือ กระบวนการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลอย่างเป็นระบบและนำผลมาใช้ในการเพิ่มคุณภาพและประสิทธิผลของการดำเนินโครงการจากความหมายดังกล่าว สรุปได้ดังนี้
1) การประเมินโครงการเป็นกระบวนการที่จัดทำขึ้นมาอย่างเป็นระบบ เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลความจริง (Fact) ที่เชื่อถือได้
2) การประเมินโครงการจุดประสงค์ที่สำคัญเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ (Efficiency) และประสิทธิผล (Effectiveness) ของโครงการ

1.2 จุดมุ่งหมายของการประเมินโครงการ
1) เพื่อการหาข้อมูลต่างๆนำมาใช้ในการวางแผนโครงการ
2) เพื่อหาข้อมูลต่างๆนำมาใช้ในการปรับปรุงการดำเนินงานของโครงการ
3) เพื่อหาข้อมูลที่แสดงถึงผลสำเร็จและความล้มเหลวของโครงการ
4) เพื่อหาข้อมูลต่างๆที่แสดงให้เห็นประสิทธิภาพของโครงการ

1.3 ประโยชน์ของการประเมินโครงการ
1) ช่วยให้ได้ข้อมูล เพื่อนำไปใช้ในการตัดสินใจเกี่ยวกับการกำหนดโครงการ การตรวจสอบความพร้อมของทรัพยากรต่างๆ ที่จำเป็นต้องใช้ในการดำเนินโครงการ ตลอดจนความเป็นไปได้ในการจัดทำโครงการ
2) ประเมินปัจจัยหรือทรัพยากร (Input Evaluation)
3) ประเมินกระบวนการ (Process Evaluation)
4) ประเมินผลผลิตหรือผลลัพธ์ (Product Evaluation)

2. CIPP Model เป็นแบบจำลองที่เน้นการประเมินเพื่อนำสารสนเทศมาใช้ในการตัดสินใจ ซึ่งมีนิยามของการประเมินว่าเป็นกระบวนการของการวิเคราะห์เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการตัดสินใจในทางเลือกต่างๆที่มีอยู่
ความสำคัญของแบบจำลอง CIPP เป็นกลไกในการให้ข้อมูลย้อนกลับที่จำเป็นมายังโครงการ ซึ่งจะทำให้มีสารสนเทศที่จำเป็นต่อการตัดสินใจอย่างต่อเนื่อง ข้อสมมุติเบื้องต้น 4 ประการของแบบจำลอง CIPP มีดังนี้
1. การประเมินเป็นบริการสนเทศเพื่อการตัดสินใจที่ควรให้สารสนเทศที่จำเป็นต่อผู้ตัดสินใจ
2. การประเมินเป็นวงจรและกระบวนการที่มีความต่อเนื่องที่ต้องดำเนินการประเมินโครงการทั้งหมดอย่างเป็นระบบ
3. กระบวนการประเมิน มี 3 ขั้นตอน คือ การวิเคราะห์ การบรรยาย สิ่งที่ต้องการประเมิน การได้มาซึ่งข้อมูล และการใช้ประโยชน์ของข้อมูลเพื่อการตัดสินใจปรับปรุงและพัฒนางาน โครงการศึกษานอกโรงเรียน ซึ่งขั้นตอนเหล่านี้เป็นพื้นฐานสำหรับวิธีการประเมิน
4. ขั้นตอนการวิเคราะห์และการใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจทางเลือกต่างๆ ในกระบวนการประเมินกิจกรรมที่ต้องการทำร่วมกันระหว่างนักประเมินที่เป็นผู้รับผิดชอบโครงการและผู้ตัดสินใจ

3.รูปแบบการประเมิน

มโนทัศน์เบื้องต้นของแบบจำลอง CIPP นั้นประเภทของการตัดสินใจที่แตกต่างกันจำเป็นต้องใช้สารสนเทศในการตัดสินใจที่แตกต่างกันด้วยแบบจำลองนี้ได้แบ่งการประเมินออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้
1. การประเมินสภาวะแวดล้อมหรือบริบท (Context Evaluation) เป็นการประเมินที่ช่วยตัดสอนใจเลือกวัตถุประสงค์ของโครงการที่จะดำเนินการ
2. การประเมินปัจจัยหรือทรัพยากร (Input Evaluation) เป็นการตัดสินใจเกี่ยวกับการวิเคราะห์ทางเลือกที่เหมาะสมที่สุดกับทรัพยากรที่มีอยู่และเป็นทางเลือกที่มีโอกาสทำให้บรรลุวัตถุประสงค์มากที่สุด
3. การประเมินกระบวนการ (Process Evaluation) เป็นการประเมินขณะที่นำโครงการที่วางแผนไว้ไปปฏิบัติพร้อมกับการปรับปรุง การดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพ
4. การประเมินผลผลิตหรือผลลัพธ์ (Product Evaluation) เพื่อวัตถุประสงค์ในการปรับปรุงปรับขยายหรือล้มเลิกโครงการ

แผนภูมิ แสดงความสัมพันธ์ของประเภทการประเมินและประเภทของการตัดสินใจตามรูปแบบ CIPP

จากแผนภูมิ สรุปสาระความสัมพันธ์ของการประเมินผลและประเภทของการตัดสินใจดังรายละเอียดต่อไปนี้
1) การประเมินสภาวะแวดล้อมหรือบริบท (Context Evaluation) เป็นการประเมินโครงการที่เกี่ยวกับนโยบาย ปรัชญา เป้าหมาย แรงกดดันทางเศรษฐกิจและสังคม ความต้องการของบุคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนแรงกดดันทางการเมือง สารสนเทศที่ได้ใช้ประกอบการตัดสินใจเกี่ยวกับการวางแผนในการกำหนดวัตถุประสงค์ของโครงการ/กิจกรรม ที่เหมาะสมต่อไป
2) การประเมินปัจจัยหรือทรัพยากร (Input Evaluation) เป็นการตรวจสอบความพร้อมของปัจจัยเบื้องต้นต่างๆ เช่น บุคลากร งบประมาณ วัสดุ อุปกรณ์ สถานที่ เป็นต้น เป็นการประเมินเพื่อมุ่งเน้นว่ามีปัจจัยพร้อมมูลที่จะดำเนินการหรือไม่ แผนหรือโครงการที่เสนอเหมาะสมหรือไม่ ควรปรับปรุงตรงไหนสารสนเทศที่ได้ใช้ประกอบการตัดสินใจเกี่ยวกับโครงสร้าง เพื่อวางแผนการจัดโปรแกรมหรือแผนการดำเนินงานที่เหมาะสมที่สุด เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
3) การประเมินกระบวนการ (Process Evaluation) เป็นการประเมินผลขณะดำเนินงาน หรือประเมินในเชิงความก้าวหน้า หรือประเมินเพื่อปรับปรุงโครงการในวงจรการบริหารโครงการศึกษาปัญหาและอุปสรรค จุดเด่น จุดด้อย เป็นการประเมินเพื่อหาสาเหตุ การประเมินเป็นระยะๆ เพื่อส่งผลต่อการบรรลุเป้าหมายของโครงการนั่นเอง สารสนเทศที่ได้นำมาใช้ในการตัดสินใจเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้ การควบคุมหรือปรับปรุงแก้ไข วิธีการต่างๆให้เหมาะสมทันท่วงที ขณะที่โครงการกำลังดำเนินอยู่
4) การประเมินผลผลิตหรือผลลัพธ์ (Product Evaluation) เป็นการประเมินผลหลังจากดำเนินงานสิ้นสุดลง ซึ่งประกอบการประเมินผลลัพธ์ (Output Evaluation) โดยพิจารณาจากปริมาณและคุณภาพของผลผลิต เปรียบเทียบกับวัตถุประสงค์ของโครงการ การนำความรู้ไปใช้ในการปฏิบัติงานอีกส่วนหนึ่ง คือผลกระทบ (Impact) สารสนเทศที่ได้นำมาตัดสินคุณค่าของผลผลิตของโครงการทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ เพื่อที่จะตัดสินใจว่า ควรจะคงไว้ ปรับปรุงให้ดีขึ้น หรือล้มเลิกโครงการ

การประยุกต์ใช้การประเมินเพื่อการตัดสินใจ ตามแบบจำลอง CIPP มาใช้ในการประเมินโครงการ ผู้รับผิดชอบโครงการจะต้องดำเนินการประเมินโครงการอย่างต่อเนื่อง เป็นระบบ เพื่อนำข้อมูลที่ได้จากการประเมินมาใช้ในการตัดสินใจ ปรับปรุง และพัฒนาโครงการให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น การประเมินผลงานเป็นองค์ประกอบหนึ่งของการบริหารโครงการโดยดำเนินการดังนี้
1) ประเมินก่อนเริ่มโครงการ ผู้ปฏิบัติงานควรทำการประเมินสภาวะแวดล้อมและปัจจัยเบื้องต้น มีจุดมุ่งหมายเพื่อตัดสินใจเลือกวัตถุประสงค์ของโครงการ ตรวจสอบความเหมาะสมความสมเหตุสมผลของการวางแผนดำเนินโครงการ ความเป็นไปได้ของโครงการที่จะนำไปปฏิบัติ คุณภาพของโครงการรวมทั้งตรวจสอบโอกาส ที่โครงการนั้นจะประสบความสำเร็จตามเป้าหมายการประเมินเพื่อตัดสินใจ หรือหาข้อมูลสรุปสำหรับการตัดสินใจเลือกโครงการ บางครั้งเรียกว่า “การวิเคราะห์โครงการ” ในขั้นนี้เน้นพิจารณาใน 3 เรื่องใหญ่ คือ

1.1) ความเหมาะสมของโครงการที่จะดำเนินการประเมิน เพื่อวิเคราะห์ปัญหาและความจำเป็นของโครงการ ศึกษาความเป็นไปได้ในการดำเนินโครงการ ความพร้อมทางการบริหารโครงการ ความพร้อมในการสนับสนุนทางด้านทรัพยากร โดยเฉพาะความเป็นไปได้ทางการเงิน กำลังคน วัสดุ และการจัดการ
1.2) การวิเคราะห์ผลตอบแทนจากการดำเนินโครงการ
1.3) การศึกษาและคาดหวังถึงผลประโยชน์ หรือสิ่งที่อาจตามมาจากการดำเนินโครงการนั้นทั้งในระยะเริ่มโครงการและในขณะดำเนินโครงการ

2) การประเมินในระหว่างการดำเนินงาน เป็นการดำเนินงาน เมื่อนำโครงการที่วางแผนไว้ไปปฏิบัติ โดยผู้รับผิดชอบโครงการควรศึกษาจุดเด่น จุดด้อยการดำเนินงาน เป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้หรือไม่ มีปัญหาและอุปสรรคอะไรบ้าง อะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาอุปสรรคนั้น มีวิธีการดำเนินการปรับปรุงแก้ไขอย่างไร จะดำเนินการปรับปรุงแก้ไขได้ทันท่วงที

3) การประเมินหลังการดำเนินงาน เป็นการประเมินที่ผู้รับผิดชอบโครงการต้องตอบคำถามที่ว่าโครงการประสบความสำเร็จตามแผนที่วางไว้หรือไม่ ผลจากโครงการบรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการหรือไม่ ผลการดำเนินงานคุ้มค่าหรือไม่ เกิดผลกระทบอะไรกับโครงการบ้าง เพื่อนำข้อมูลมาใช้ในการตัดสินใจว่าควรดำเนินโครงการนี้ต่อไป หรือปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น หรือล้มเลิกโครงการนี้

4. ขั้นตอนการประเมินโครงการ

ในการประเมินขั้นตอนการประเมินแบ่งออกเป็น 5 ขั้นตอน (สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ : 2544) ดังต่อไปนี้

แผนภูมิ : แสดงวงจรระเบียบวิธีการประเมิน

ขั้นที่ 1
กำหนดขอบเขตและวัตถุประสงค์ของการประเมิน ในขั้นตอนนี้ ผู้ประเมินจะดำเนินการดังนี้

  • 1.1 ศึกษาและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับโครงการหนือสิ่งที่มุ่งประเมินกับวัตถุประสงค์หลักการของโครงการ ใครเป็นผู้รับผิดชอบ ใครบ้างที่ต้องหารใช้ผลประเมินนี้
  • 1.2 สัมภาษณ์ผู้บังคับบังชาของผู้ประเมิน และกลุ่มผู้ใช้ผลประเมิน เกี่ยวกับความต้องการใช้ผลประเมิน ต้องการใช้เมื่อใด ต้องการสารสนเทศในประเด็นใดบ้าง
  • 1.3 จากข้อมูล 1.1 และ 1.2 กำหนดขอบเขตและวัตถุประสงค์ของการประเมิน เป็นที่น่าสังเกตว่าวัตถุประสงค์ของการประเมิน เป็นผลมาจากการศึกษาความต้องการของผู้ใช้ผลประเมิน และจากวัตถุประสงค์หลักของโครงการ หรือสิ่งที่มุ่งประเมิน

ขั้นที่ 2
วางแผนการประเมิน เมื่อกำหนดขอบเขตและวัตถุประสงค์การประเมินแล้ว นำวัตถุประสงค์ของการประเมินในแต่ละข้อมาวิเคราะห์เพื่อวางแผนการประเมิน แล้วกรอกลงในแบบวางแผนประเมินดังนี้

วัตถุประสงค์ของการประเมิน :

ประเภทของการประเมิน

ประเด็นคำถาม

แหล่งที่มาของข้อมูล

เวลาที่เก็บข้อมูล

วิธีการเก็บข้อมูล

วิธีวิเคราะห์ข้อมูล

           

จากวัตถุประสงค์ของการประเมิน ผู้ประเมินนำมาวิเคราะห์ว่าเป็นประเภทไหนของการประเมิน เช่น ประเมินสภาวะแวดล้อม ประเมินปัจจัยเบื้องต้น ประเมินกระบวนการ การประเมินผลผลิต ฯลฯ ประเด็นคำถามเพื่อจะได้ช่วยให้เก็บข้อมูลอย่างครบถ้วน แหล่งที่มาของข้อมูลที่ต้องการอาจมาจากผู้เข้าร่วมโครงการ ผู้สังเกตการณ์ เอกสาร หรือผลการปฏิบัติต่างๆ ช่วงเวลาที่เก็บข้อมูล แบ่งเป็น 3 ช่วง ก่อนการดำเนินโครงการ และขณะโครงการดำเนินโครงการอยู่และเมื่อสิ้นสุดโครงการ

ขั้นที่ 3
ดำเนินการประเมินตามแผน เมื่อจัดทำแผนการประเมินเรียบร้อยแล้ว จะเริ่มเก็บรวบรวมข้อมูลในช่วงต่างๆโดยเก็บรวบรวมข้อมูลตามที่ระบุไว้ในแผนการประเมิน

ขั้นที่ 4
วิเคราะห์ข้อมูล แจงนับรวบรวมข้อมูล เพื่อทำการวิเคราะห์ตามวัตถุประสงค์ของการประเมินแต่ละข้อ แล้วสรุปว่าวัตถุประสงค์นั้นๆบรรลุหรือไม่ เพียงใด มีปัญหา หรืออุปสรรคอย่างไรบ้าง

ขั้นที่ 5
รายงานผลการประเมิน โดยทั่วไปรายงานการประเมินผลมักจะทำเป็นลายลักษณ์อักษรในรูปของรายงาน ซึ่งอาจแบ่งเป็นรายงานรวมฉบับเดียว หรือการประเมินผลโครงการ และการติดตามผลหรือแยกเป็นรายงาน 2 ฉบับ คือ รายงานการประเมินผลโครงการหลังจากเสร็จสิ้นการดำเนินงาน โดยยังไม่ได้ดำเนินการติดตามผล และรายงานการติดตามผล หลังจากสิ้นสุดโครงการไปแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน

สำหรับรูปแบบของรายงานการประเมินโดยทั่วไป จะประกอบด้วยส่วนสำคัญ 7 ส่วน คือ
1. สรุปสาระสำคัญสำหรับผู้บริหาร
2. บทนำ
3. ระเบียบวิธีการประเมิน
4. ผลการวิเคราะห์
5. สรุปผลการประเมินและข้อเสนอแนะ
6. บรรณานุกรม
7. ภาคผนวก ซึ่งประกอบด้วย ตัวโครงการหรือสิ่งที่มุ่งประเมิน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล สูตร สถิติ ข้อมูลพื้นฐาน เป็นต้น

5. การเขียนโครงการประเมิน

โครงการประเมิน คือ แผนการประเมิน ซึ่งเป็นการเสนอกรอบความคิดในการประเมินว่า ทำไมต้องประเมิน ประเมินเพื่อใคร ประเมินอะไร ประเมินอย่างไร ใช้อะไรเป็นเกณฑ์ในการตัดสิน ประเมินเมื่อไรและใช้ทรัพยากรมากน้อยเพียงไร

5.1 ความสำคัญของการเขียนโครงการประเมิน
1) เป็นการวางแผนสำหรับดำเนินงานอย่างมีขั้นตอน และมีระบบแบบแผน
2) เป็นพิมพ์เขียวของการดำเนินงานเพื่อประเมินโครงการ
3) เป็นข้อสัญญาที่ผู้ประเมินจะต้องปฏิบัติ
4) ช่วยในการประมาณการค่าใช้จ่าย แรงงาน และระยะเวลาของการประเมิน
5) เป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาอนุมัติหรือการให้ทุนสนับสนุนการประเมิน
6) ช่วยให้สามารถติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามโครงการประเมินได้

5.2 กรอบความคิดของการเขียนโครงการประเมิน

1

ประเมินทำไม หลักการและเหตุผลของการประเมิน

2

ประเมินเพื่อใคร ใครคือผู้ใช้ผลการประเมิน

3

ประเมินอะไร วัตถุประสงค์ของการประเมิน

4

ประเมินอย่างไร การออกแบบวิธีการประเมิน

5

ใช้อะไรเป็นเกณฑ์ในการตัดสินใจ ตัวบ่งชี้และเกณฑ์การประเมิน

6

ประเมินเมื่อไร กำหนดการของกิจกรรมและระยะเวลา

7

ใช้ทรัพยากรมากน้อยเพียงไร งบประมาณการประเมิน

5.3 โครงสร้างการเขียนโครงการประเมิน

1) ชื่อโครงการประเมิน
2) ผู้เสนอโครงการ/ผู้รับผิดชอบ/หน่วยงานที่รับผิดชอบ
3) ปีที่ทำการประเมิน
4) ความเป็นมาของการประเมิน/เหตุผลที่ต้องประเมิน
5) วัตถุประสงค์ของการประเมิน
6) ขอบเขตของการประเมิน
– โครงการที่มุ่งประเมิน/สาระโดยสรุป
– ตัวแปร/รายการที่ศึกษา

7) ข้อตกลงเบื้องต้น
8) คำจำกัดความที่ใช้ คำจำกัดความที่เกี่ยวข้อง
9) ข้อจำกัดของการประเมิน (ไม่จำเป็นจะไม่เขียนยกเว้นกรณีวิกฤต)
10) แนวทางการดำเนินงาน
– แหล่งข้อมูล/กลุ่มตัวอย่าง
– เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ขั้นตอนการพัฒนาเครื่องมือ
11) งบประมาณที่ใช้
12) แผนการเผยแพร่ผลการประเมิน/การนำเสนอผลการประเมิน
13) ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
14) ปฏิทินการปฏิบัติงาน
15) บรรณานุกรม
16) ภาคผนวก

เอกสารอ้างอิง

การศึกษานอกโรงเรียน. กรม. การประเมินโครงการศึกษานอกโรงเรียน. กรุงเทพมหานคร : กองแผนงาน กรมการศึกษานอกโรงเรียน, 2536. เอกสารอัดสำเนา (เอกสารนำเสนอประกอบการอบรมการประเมินโครงการการศึกษานอกโรงเรียน)

สมหวัง พิธิยานุวัฒน์. วิธีวิทยาการประเมินศาสตร์แห่งคุณค่า. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2544. กรุงเทพมหานคร : กรมการศึกษานอกโรงเรียน. ม.ป.ป., เอกสารอัดสำเนา

***************************

อ้างอิงบทความนี้
อัญชลี ธรรมะวิธีกุล: //panchalee.wordpress.com/2009/04/28/project-evaluation1/

การวิเคราะห์โครงการสามารถทำได้กี่ด้านอะไรบ้าง

1. การวิเคราะห์ปัจจัยเบื้องต้น (Input) 2. การวิเคราะห์กระบวนการ (Process) 3. การวิเคราะห์ผลผลิต (Product/Output) 4. การวิเคราะห์ผลกระทบ (Impact)

ขั้นตอนการวิเคราะห์โครงการมีอะไรบ้าง

ขั้นตอนการวิเคราะห์โครงการ : วิธีการเขียนแผนโครงการที่ประสบความ....
ประวัติความเป็นมาของโครงการ.
วัตถุประสงค์.
ขอบเขต.
ข้อจำกัด.
สมมติฐาน.
การอ้างอิงและผลกระทบที่เกิดขึ้น.
ปัญหาและความเสี่ยง.
วิธีการและกลยุทธ์.

การวิเคราะห์มีความหมายว่าอย่างไร

การวิเคราะห์ หมายถึง การจำแนก แยกแยะองค์ประกอบของสิ่งหนึ่ง เพื่อค้นหาว่ามาจากอะไรเชื่อมโยงสัมพันธ์กันอย่างไร เพื่อค้นหาสาเหตุแท้จริงของสิ่งที่เกิดขึ้น (เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. 2547:2) การวิเคราะห์ หมายถึง ผลงานที่แสดงการแยกแยะองค์ประกอบของเรื่องอย่างมีระบบ

เครื่องมือในการวิเคราะห์โครงการ มีอะไรบ้าง

เครื่องมือในการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของโครงการ.
1. ระยะเวลาคืนทุน (Payback Period: PB).
2. มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (Net Present Value: NPV).
3. อัตราผลตอบแทนคิดลด (Internal Rate of Return: IRR).
4. อัตราส่วนผลตอบแทนต่อต้นทุน (B/C ratio).

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก