เครื่องป้องกันกระแสเกิน มีอะไรบ้าง

วงจรประธาน คือ ตัวเริ่มนำ หรืออุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ นั้น ในส่วนของวงจรไฟฟ้าที่รับการจ่ายไฟจากการไฟฟ้า ไปจนตลอดถึงการใช้งาน

วงจรประธาน จะประกอบไปด้วยส่วนสำคัญหลัก 2 ส่วนด้วยกัน คือ

1. ตัวนำประธาน ( Service Conductors )

2. บริภัณฑ์ประธาน ( Service Equipment )

ตัวนำประธาน ( Service Conductors)

       ตัวนำประธาน คือ สายไฟฟ้าที่มีในระบบ มีหน้าการส่งกำลัง จากระบบไฟฟ้าของการไฟฟ้า สู่สายป้อน ตัวนำประธานจะต้องมีขนาดเพียงพอที่จะจ่ายกระแสไฟต่างๆ ได้ และโดยทั่วไปตัวนำประธานที่จะจ่ายไฟฟ้าให้กับอาคารหลังหนึ่งๆ ต้องมี 1 ชุดเท่านั้น ตัวนำประธานแบ่งตามวิธีการติดตั้งได้เป็น

1. ตัวนำประธานอากาศ ( Overhead Service Conductors )

2. ตัวนำประธานใต้ดิน ( Underground Service Conductors )

รูปจาก //blog.rmutl.ac.th/montri/assets/ee10.pdf

ตัวนำประธานแต่งได้ตามระบดับแรงดันที่ใช้เป็น

  • ตำนำประธานแรงต่ำ ( Low Voltage Service Conductors )
  • ตัวนำประธานแรงสูง ( High Voltage Service Conductors )

บริภัณฑ์ประธาน ( Service Equipment )

   หมายถึง อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ทำหน้าปลดวงจร บริภัณฑ์ประธานประกอบไปด้วย 2 ส่วนสำคัญ คือ

  1. เครื่องปลดวงจร
  2. เครื่องป้องกันกระแสเกิน

เครื่อง ปลดวงจร

     หมายถึง อุปกรณ์ที่คอยปลดตัวนำไฟฟ้าออกจากวงจรไฟฟ้าได้ทุกเวลาที่เกิดปัญหา คือสามารถปลดวงจรขณะไม่ได้จ่ายโหลด หรือจ่ายก็ได้ แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ

  1. สวิตช์สำหรับตัดโหลด ที่ปลดวงจรได้ขณะที่มีการโหลด มีการป้องกันประกายไฟเป็นอย่างดี
  2. สวิตช์แยกวงจร เป็นสวิตช์ที่ปลดวงจรได้เฉพาะขณะที่ไม่มีโหลด

เครื่องป้องกันกระแสไฟเกิน

     เป็นอุปกรณ์ที่คอย ป้องกันกระแสเกินจากการทำงานโหลดเกินขนาด หรือลัดวงจร อุปกรณ์ที่ใช้คือ เซอร์กิตเบรกเกอร์ หรือฟิวส์

ตัวนำประธานระบบแรงดันต่ำ

  1. ระบบ 1 เฟส 2 สาย 220v,230v
  2. ระบบ 3 เฟส 4 สาย 220v/380v,230v/400v

   การไฟฟ้ากำหนดสำหรับตัวนำประธาน ทั้งตัวนำประธาน และตัวนำประธานใต้ดิน ดังนี้

  • อาคารจะมีประธานได้แค่ 1 ชุดเท่านั้น ยกเว้นกรณีต่อไปนี้
  • กรณีที่แยกประธานกับไฟฟ้าฉุกเฉิน เช่น สัญญาณเตือนภัย ระบบปั๊มน้ำป้องกันไฟไหม้
  • กรณีมีหม้อแลงไฟฟ้ามากกว่าหนึ่งลูก
  • กรณีตัวนำประธานมีระดับแรงดันต่างกัน
  • กรณีการไฟฟ้าเห็นชอบ เช่น มีโหลดขนาดใหญ่

รูปจาก //blog.rmutl.ac.th/montri/assets/ee10.pdf

       สำหรับกรณีเจ้าบ้านมีหลายหลัง ตัวนำประธานที่ต่อไฟเข้าอาคารแต่ละหลังต้องมีประธานของตัว และจุดแยกสายต้องอยู่ในบริเวณนั้นด้วย

รูปจาก //blog.rmutl.ac.th/montri/assets/ee10.pdf

การเดินตัวนำประธาน สามารถทำได้หลายวิธี

  • เดินสายลอย หรือ เปิด
  • เดินในท่อร้อยสาย
  • รางเดินสาย
  • รางเคเบิล
  • บัสเวย์
  • วิธีอื่นที่การไฟฟ้าเห็นชอบ

แนะแนวเรื่อง

เครื่องจักรกลไฟฟ้า

เครื่องตัดกระแสไฟฟ้ารั่ว

โดยทั่วไปเรียกว่า “เครื่องป้องกันไฟดูด” หรือตัวตัดวงจรอัตโนมัติที่จะทำการตัดกระแสไฟฟ้าเมื่อมีกระแสไฟฟ้ารั่วลงดิน เครื่องตัดกระแสไฟฟ้ารั่วมีชื่อเรียกต่าง ๆ กันไปเช่นี้

- เครื่องตัดไฟเมื่อมีกระแสไฟฟ้ารั่วลงดิน

- Earth Leakage Circuit Breaker (ELCB)

- Ground fault Circuit Interrupter (GFCT)

- Residual Current Device (RCD)

หลักการทำงานของเครื่องตัดกระแสไฟฟ้ารั่ว

โดยการอาศัยหลักที่ว่ากระแสไฟฟ้าเข้ากับกระแสไฟฟ้าออกมีค่าเท่ากันในสภาพใช้งานปกติ สภาพเช่นนี้สนามแม่เหล็กในแกนเหล็กจะหักล้างกันจนมีค่าเป็นศูนย์ ทำให้ไมมีสัญญาณในวงจรขยาย เมื่อเกิดกระแสไฟฟ้ารั่ว ลงดิน หรือเกิดไฟดูด กระแสสส่วนหนึ่งจะไหลผ่านคนและกลับไปทางพื้นดินหรือสายดินแล้วแต่กรณี เป็นผลให้กระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านเครื่องตัดกระแสไฟรั่วทั้ง 2 เส้น มีค่าไม่เท่ากัน จะทำให้มีสนามแม่เหล็กในแกนเหล็ก วงจรขยายจะจับสัญญาณได้และขยายสัญญาณให้สูงพอที่จะทำให้ทริปคอยล์มีแรงดูดให้เครื่องปลดวงจรทำการปลดวงจรได้ เครื่องตัดไฟรั่วก็จะทำงานปลดวงจรทันที ค่ากระแสที่เครื่องตัดไฟรั่วทำงานนี้สามารถปรับตั้งได้ ปกติจะอยู่ที่ค่าประมาณ 5 ถึง 30 มิลลิแอมแปร์

ข้อสำคัญในการใช้งานเครื่องตัดกระแสไฟรั่วคือต้องติดตั้งให้ถูกต้องด้วย เพราะอาจจะมีผลเสียมากกว่าไม่ติดตั้งเสียอีก การติดตั้งไม่ถูกต้องเครื่องจะไม่ทำงานปลดวงจรเมื่อมีไฟดูดคน แต่บุคคลที่ติดตั้งคิดว่าเครื่องยังทำงานได้ตามปกติ ทำให้ความระมัดระวังลดลง การติดตั้งใช้งานให้ถูกต้องแล้ว ยังมีข้อที่ควรระวังอีกหลายประการด้วยกัน การใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน การติดตั้งกล้องวงจรปิด cctv เช่น เครื่องตัดไฟรั่วอาจชำรุดหรือทำงานผิดพลาดได้โดยเราไม่ทราบ เครื่องตัดไฟรั่วจึงให้ใช้เป็นอุปกรณ์ป้องกันเสริมเท่านั้น ต้องมีระบบสายดินด้วยจึงจะมั่นใจได้ว่าปลอดภัย และเครื่องตัดกระแสไฟรั่วบางชนิด คุณสมบัติจะเปลี่ยนตามแรงดันไฟฟ้า ไวต่อแรงดันเกินชั่วขณะ การติดตั้งใช้งานต้องระมัดระวัง และต้องมีการทดสอบเป็นประจำ

โอเวอร์โหลด (Overload)

เป็นอุปกรณ์ที่ไวต่ออุณหภูมิ ทำหน้าที่เปิดหรือปิดวงจรเมื่อกระแสไฟฟ้าของวงจรไฟฟ้าเกินกว่าค่าที่ตั้งไว้ ซึ่งกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านชิ้นส่วนรับความร้อนที่ปรับค่าไว้ จะทำให้อุณหภูมิของโอเวอร์โหลดสูงขึ้นเพื่อตัดวงจรไฟฟ้า ส่วนใหญ่ใช้ในวงจรควบคุมการทำงานของมอเตอร์

โอเวอร์โหลดรีเลย์ (Overload relay)

เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ป้องกันมอเตอร์ที่เรียกว่า Running Protection ออกแบบใช้สำหรับตัดวงจรของมอเตอร์เมื่อกระแสไหลเกินกว่ากระแสพิกัดจะทำให้ขดลวดของมอเตอร์ร้อนขึ้นเรื่อย ๆ และไหม้ในที่สุด แต่ถ้าวงจรมีโอเวอร์โหลดรีเลย์อยู่ด้วย และตั้งขนาดกระแสให้ถูกต้อง วงจรควบคุมจะถูกตัดวงจรออกไปก่อนที่มอเตอร์จะไหม้ โครงสร้าง

หลักการทำงานของโอเวอร์โหลดรีเลย์ จะอาศัยผลของความร้อน โครงสร้างภายในประกอบด้วย ขดลวดความร้อนที่พันอยู่กับไบมิทอล เมื่อไบมิทอลร้อนจะโก่งตัวไปดันให้คานส่งเคลื่อนที่ไปดันคอนแทคควบคุม

โอเวอร์โหลดรีเลย์แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ

1.แบบไม่มีรีเซต แบบนี้เวลาไบมิทอลเย็นตัวลงคอนแทคจะกลับมาอยู่ที่เดิม

2.แบบมีรีเซต แบบนี้ถ้าต้องการให้คอนแทคกลับที่เดิมต้องกดปุ่มรีเซตก่อน

ฟิวส์

เป็นอุปกรณ์ตัดระบบไฟฟ้าชั้นพื้นฐาน มีหลายประเภท การนำฟิวส์มาใช้งานให้เกิดประโยชน์และปลอดภัยต่อผู้ใช้งานมากที่สุดนั้น จะต้องมีความรู้ความเข้าใจในแต่ละชนิดของฟิวส์เป็นอย่างดี

ฟิวส์มีคุณสมบัติที่แสดงถึงลักษณะของการทำงาน และลักษณะของการใช้งาน ดังนี้

1. ค่าพิกัดแรงดันไฟฟ้า คือ ค่าแรงดันไฟฟ้าของระบบฟิวส์

2. ค่าพิกัดกระแสไฟฟ้า คือ ค่ากระแสไฟฟ้าปกติที่ไหลผ่านฟิวส์

3. ค่ากระแสเกิน คือ ค่าที่ฟิวส์ใช้งานในภาวะโหลดได้ระยะหนึ่ง

4. ค่าหน่วงเวลา คือ ค่าเวลาที่ฟิวส์ขาดโดยใช้เวลาช้ากว่ากำหนด

5. ค่าเวลาหลอมละลาย คือ เวลาที่ฟิวส์หลอมละลายเมื่อกระแสเกิน

6. ค่าเวลาตัดกระแส คือ เวลาที่ฟิวส์เริ่มหลอมละลายจนฟิวส์ขาดเมื่อกระแสเกิน

7. พิกัดกระแสลัดวงจร คือ ค่าที่ฟิวส์ตัดกระแสสูงสุดได้อย่างปลอดภัย

ติดตามข่าวสารที่ LINE : @cctvbangkok.com

อุปกรณ์ป้องกันกระแสเกินมีอะไรบ้าง

อุปกรณ์ป้องกันถือว่าเป็นสิ่งสำคัญ ในส่วนปัญหากระแสเกินนี้ ชนิดอุปกรณ์ คือ ฟิวส์ , เซอร์กิตเบรกเกอร์

ข้อใดคืออุปกรณ์ป้องกันระบบวงจรไฟฟ้าที่ใช้งานเกินกำลัง

ฟิวส์(fuse) เป็นอุปกรณ์ที่มีหน้าที่ป้องกันกระแสไฟฟ้า เกิน ซึ่งอาจเกิดจากการใช้โหลดเกินขนาดของฟิวส์ หรือเกิดจากอุปกรณ์ไฟฟ้าชำรุด หรือเกิดจาก กระแสไฟฟ้าลัดวงจร ซึ่งถ้าเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว แล้ว ฟิวส์ไม่ตัดวงจร ก็สามารถทำให้เกิดอันตราย แก่บุคคลหรือทรัพย์สินได้

เครื่องป้องกันกระแสลัดวงจรนิยมใช้คืออะไร

โดยอุปกรณ์ที่มักจะใช้ในการป้องกัน การ Short circuit หรือไฟฟ้าลัดวงจรนั้น ก็คือ เซอร์กิต เบรกเกอร์ ประเภทต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น เบรกเกอร์ลูกย่อย MCB MCCB หรืออุปกรณ์จำพวก RCD อย่าง RCBO และ RCCB นอกจากนี้ยังมีเบรกเกอร์แบบที่ใช้กับงานสตาร์ทมอเตอร์โดยเฉพาะอย่าง MPCB หรือ Motor Breaker ที่มีโอเวอร์โหลด รีเลย์อยู่ในตัว

การใช้กระแสไฟฟ้าเกินกําหนดอาจจะทำให้เกิดอะไร

2. กระแสไฟฟ้าตกหรือเกิน กระแสไฟฟ้าเกินเป็นผลมาจากแรงดันไฟฟ้าเกินในโหลดความต้านทาน เช่น ฮีตเตอร์หรือเป็นผลจาก มอเตอร์ขับโหลดเกินพิกัด ซึ่งเป็นผลเสียคือ ทำให้อุปกรณืดังกล่าว เกิดความร้อนขึ้นอาจทำให้อุปกรณ์นั้น เกิดความเสียหายในที่สุด จึงจำเป็นต้องป้องกันไว้

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก