เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ที่เหมาะสมกับลักษณะของข้อมูลมีอะไรบ้างยกตัวอย่างประกอบ

          เนื่องจากเครื่องมือทางภูมิศาสตร์มีหลายชนิด แต่ละชนิดมิข้อดี ข้อด้อยแตกต่างกัน ดังนั้น การเลือกเครื่องมือทางภูมิศาสตร์เพื่อการรวบรวม วิเคราะห์ และนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะ ทางกายภาพ ลังคมและวัฒนธรรมของทวีปอเมริกาเหนือและทวีปอเมริกาใต้ สามารถปฏิบัติได้ ดังนี้

          1) ใช้เครื่องมือที่เหมาะกับลักษณะของข้อมูล เนื่องจากข้อมูลที่แสดงหรือบรรจุ อยู่ในเครื่องมือภูมิศาสตร์แต่ละชนิดจะมีลักษณะต่างกัน อย่างแผนที่เล่มจะให้ข้อมูลที่เป็นภาพรวม ของพื้นที่หรือข้อมูลที่มีการเปลี่ยนแปลงน้อย เช่น สภาพภูมิลักษณ์ ภูมิอากาศ ขอบเขตของทวีป หรือถ้าเป็นข้อมูลเศรษฐกิจด้านการเพาะปลูก จะแสดงทั้งชนิด ปริมาณ และการกระจายของแหล่ง ปลูกพืชชนิดต่าง ๆ ตามบริเวณใดบริเวณหนึ่งของ ประเทศหรือทวีป ถ้าต้องการทราบรายละเอียด ก็ควรใช้เครื่องมือภูมิศาสตร์ที่เป็นตารางแสดง ปริมาณผลผลิต สถิติจากเว็บไซต์หรือจาก หนังสือ The World Almanac ประกอบ

          2) ใช้เครื่องมือที่มีคุณภาพ คุณภาพในที่นี้มิได้หมายถึงเป็นเครื่องมือที่มี เทคโนโลยีระดับสูง หากแต่เป็นเครื่องมือที่ สามารถให้ข้อมูลได้ถูกต้องตามความเป็นจริง เช่น แผนที่แสดงแหล่งท่องเที่ยว มีวัตถุประสงค์ หลักเพื่อให้ผู้อ่านรู้ว่า มีแหล่งท่องเที่ยวอะไรและ ที่ใดบ้าง ใช้เส้นทางอย่างไร ดังนั้น ขนาด มาตราส่วน ทิศทาง ระยะทางจึงเป็นเพียงข้อมูล สังเขปเท่านั้น การนำแผนที่มาใช้อ้างอิงหาข้อมูลสภาพภูมิลักษณ์ของพื้นที่ ควรใช้แผนที่แสดงลักษณะทางกายภาพจะได้ข้อมูลที่ถูกต้องมากกว่า หรือพื้นที่ป่าแอมะซอนที่ได้รับความเสียจากไฟป่า ควรดูภาพจากดาวเทียมประกอบด้วย เป็นต้น

          3) ใช้เครื่องมือทีทันสมัย เครื่องมือภูมิศาสตร์แต่ละชนิดล้วนมีข้อจำกัดเรื่อง ความทันสมัยของข้อมูลต่างกัน ดังนั้น จึงควรพิจารณาช่วงเวลาที่มีการจัดทำเครื่องมือนั้น เพราะถ้าละเลย จะทำให้ไต้รับข้อมูลที่ไม่เป็นปัจจุบัน การนำมาวิเคราะห์อาจผิดพลาดได้ เซ่น ถ้าต้องการทราบการเปลี่ยนแปลงลักษณะภูมิประเทศของทวีปอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ ใช้ภาพจากดาวเทียมจะได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์มากกว่าดูจากลูกโลก หรือต้องการทราบสถิติข้อมูล บริเวณที่เกิดแผ่นดินไหวล่าสุดวันต่อวัน พร้อมระดับความรุนแรง ควรสืบค้นจากเว็บไซต์ ขององค์การสำรวจทางธรณีวิทยาแห่งสหรัฐอเมริกา (USGS) ซึ่งเป็นหน่วยงานเฝ้าระวังตรวจจับ แผ่นดินไหวทั่วโลกสามารถระบุพิกัดและความรุนแรงได้ทันที จึงดีกว่าข้อมูลจากแหล่งอื่น เป็นต้น

          4) ตรวจสอบข้อมูลที่ได้จากเครื่องมือ  ข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้จากเครื่องมือ

ทางภูมิศาสตร์ ก่อนนำไปใช้ควรตรวจสอบจากหลาย ๆ แห่ง แล้วนำมาเปรียบเทียบกัน รวมทั้ง พิจารณาถึงความน่าจะเป็นไปไต้ของข้อมูลนั้นๆ ด้วย ไม่ควรนำไปใช้ทันที โดยเฉพาะข้อมูลจาก เว็บไซต์ซึ่งมีทั้งที่จัดทำจากหน่วยงาน องค์กรที่น่าเชื่อถือ แต่บางครั้งทำมาจากบุคคลแต่ละคน ที่อาจมีการคัดลอกทำสำเนาซ้ำ ๆ เผยแพร่กันต่อไป ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลจากเว็บไซต์ สื่อสิ่งพิมพ์ พบว่าบ่อยครั้งมีความคลาดเคลื่อนไม่ตรงกับความเป็นจริง

          5) ใช้เครื่องมือภูมิศาสตร์หลากหลายผสมกัน เนื่องจากเครื่องมือภูมิศาสตร์ แต่ละชนิดมีข้อดี ข้อจำกัดในการให้ข้อมูลแตกต่างกันออกไป เพื่อลดข้อจำกัดดังกล่าว ในการใช้ เครื่องมือภูมิศาสตร์จึงควรใช้เครื่องมือหลายอย่างผสมผสานกัน ซึ่งนอกจากจะเป็นการตรวจสอบ ข้อมูลไปในตัว ทำให้ได้รับข้อมูลที่ถูกต้องแล้ว การได้มีโอกาสสัมผัสหรือใช้เครื่องมือภูมิศาสตร์ที่ หลากหลาย จะได้รับรู้ถึงคุณสมบัติของเครื่องมือภูมิศาสตร์แต่ละชนิด อันจะเป็นประโยชน์ต่อการ พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ เห็นแนวทางที่จะนำข้อมูลที่ผ่านการวิเคราะห์ไปนำเสนอใหม่ผ่านทาง เครื่องมือภูมิศาสตร์ชนิดต่างๆ

อ้างอิง

กระมล ทองธรรมชาติและคณะ.สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม มัธยมศึกษาปีที่ 3. พิมพ์ครั้งที่ 7 . กรุงเทพ ฯ : อักษรเจริญทัศน์ .

เครื่องมือทางภูมิศาสตร์

เครื่องมือประเภทอุปกรณ์ทางภูมิศาสตร์

อุปกรณ์ทางภูมิศาสตร์  หมายถึง  อุปกรณ์ที่ใช้วัดหรือเก็บข้อมูลทางภูมิศาสตร์ในด้านต่างๆ  เช่น  ทิศ  ระยะทาง  ความสูง  ตำแหน่งที่ตั้ง
อุณหภูมิของอากาศ  และปริมาณน้ำฝน  เป็นต้น  แบ่งเป็นสองประเภท

      1.เครื่องมือที่ให้ข้อมูลทางภูมิศาสตร์

1.2 ลูกโลก หุ่นจำลองของโลก เพื่อช่วยในการศึกษาภูมิศาสตร์ ลูกโลกช่วยให้เห็นภาพรวมของโลก ต่างจากแผนที่เพราะแผนที่ให้ข้อมูลเชิง

พื้นราบ  ลูกโลกแบ่งเป็น  1. ลูกโลกแสดงส่วนที่เป็นพื้นผิวโลก แสดงพื้นที่แบบกายภาพ                                                                                                                   

1.2 ข้อมูลสถิติ  ข้อมูลสถิติ เป็นข้อเท็จจริงสำหรับใช้เป็นหลักฐานในการอ้างอิง ข้อมูลที่รวบรวมไว้มีทั้งที่เป็นข้อความและตัวเลข ในทาง

ภูมิศาสตร์นิยมแสดงข้อมูลสถิติไว้ 2 รูปแบบ ได้แก่
1) ตารางสถิติ คือ แผนภูมิที่แสดงข้อมูลทางภูมิศาสตร์ไว้ในรูปของตาราง เช่น สถิติเนื้อที่ของทวีปหรือประเทศ สถิติประชากร สถิติ

อุณหภูมิหรือปริมาณน้ำฝนของบริเวณใดบริเวณหนึ่ง
2) กราฟและแผนภูมิ เขียนขึ้นเพื่อแสดงการเปลี่ยนค่าของตัวแปรหนึ่งเปรียบเทียบกับค่าของตัวแปรอื่น เป็นเครื่องมือสำคัญอย่างหนึ่ง

ในการศึกษาภูมิศาสตร์ เพราะจะช่วยให้การวิเคราะห์ความแตกต่างของข้อมูลที่นำมาใช้มีความรวดเร็ว การเปรียบเทียบอัตราส่วนข้อมูลทำได้

สะดวก และเข้าใจได้ง่าย มีหลายแบบ เช่น กราฟเส้น กราฟรูปแท่ง แผนภูมิรูปภาพ แผนภูมิรูปทรงกลม
1.3 แผนที่  เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อแสดงลักษณะและที่ตั้งของสิ่งต่างๆที่ปรากฏอยู่บนผิวโลก โดยการย่อส่วนกับใช้สัญลักษณ์แทนสิ่ง

ต่างๆ นั้นลงในวัสดุพื้นแบนราบ


1.) แผนที่ภูมิประเทศ (Topographic Map) เป็นแผนที่ที่แสดงลักษณะความสูงต่ำของพื้นผิวโลก โดยใช้เส้นชั้นความสูง บอกค่าความสูงจาก

ระดับน้ำทะเลปานกลาง แผนที่ชนิดนี้ถือเป็นแผนที่มูลฐานที่จะนำไปทำข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวกับแผนที่
2.) แผนที่เฉพาะเรื่อง(Thematic Map) เป็นแผนที่ที่แสดงลักษณะใดลักษณะหนึ่งโดยเฉพาะได้แก่ แผนที่รัฐกิจแสดงเขตการปกครองหรือ

อาณาเขต แผนที่แสดงอุณหภูมิของอากาศ แผนที่แสดงปริมาณน้ำฝน แผนที่ประวัติสาสตร์ เป็นต้น

3.) แผนที่เล่ม (Atlas ) เป็นแผนที่ที่รวบรวมเรื่องต่างๆ ทั้งลักษณะทางกายภาพ ลักษณะทางด้านเศรษฐกิจ ลักษณะทางสังคม แผนที่ภูมิอากาศ

ไว้ในเล่มเดียวกัน

2.กลุ่มที่ใช้หาข้อมูลทางภูมิศาสตร์

2.1 เข็มทิศ  เป็นเครื่องมือบอกทิศอย่างง่ายๆ  โดยจะทำปฏิกิริยากับแม่เหล็กโลก และแสดงค่าค่าของมุมบนหน้าปัด  วิธีใช้เข็มทิศ คือ วางเข็ม

ทิศในแนวระนาบ ปรับหมุนหน้าปัดให้ทิศบอกค่าบนหน้าปัดอยู่ในตำแหน่งที่หันไปทางทิศเหนือแม่เหล็กโลก

2.2 เครื่องมือวัดระยะทางในแผนที่ เป็นเครื่องมือที่เหมาะสำหรับวัดระยะทางคดเคี้ยวไปมา และทำให้ค่าความคาดเคลื่อนน้อย

2.3 เครื่องมือวัดพื้นที่ เครื่องมือวัดพื้นที่เป็นอุปกรณ์สำหรับหาพื้นที่ของรูปบนพื้นที่ระนาบ ซึ่งมีเส้นรอบรูปเป็นเส้นตรงหรือเส้นโค้ง

2.4 กล้องสามมิติ เป็นเครื่องมือสำหรับมองภาพสามมิติ กล่าวคือ สามารถมองความสูง-ต่ำของภูมิประเทศในลักษณะสามมิติ

2.5 บารอมิเตอร์ เป็นเครื่องมือวัดความกดอากาศที่ใช้มากมี 3 ชนิด คือ

1) บารอมิเตอร์แบบปรอท  เป็นบารอมิเตอร์มาตรฐานที่ใช้กันอยู่ทั่วไป

2) บารอมิเตอร์แบบตลับ หรือแบบแอนิรอยด์

3) บารอกราฟ

2.6 เทอร์โมมิเตอร์ วัดลักษณะอากาศ

2.7 ไซโครมิเตอร์ เป็นเครื่องมือสำหรับใช้วัดความชื้นสัมพัทธ์และจุดน้ำค้างในอากาศ

2.8 ไฮโกรมิเตอร์  เป็นเครื่องมือวัดความชื้นอากาศแบบต่อเนื่องที่นิยมใช้กันมาก อุปกรณ์ที่สำคัญคือ เส้นผม ซึ่งจะเปลี่ยนแปลงตามปริมาณ

ความชื้นในอากาศ ถ้าความชื้นน้อยจะทำให้เส้นผมหดตัวสั้นลง ความชื้นมากเส้นผลจะขยายตัวยาวขึ้น

2.9  แอโรเวน (Aerovane) เป็นอุปกรณ์สำหรับวัดทิศทางและวัดความเร็วของลม  แยกตามลักษณะการใช้งานได้  2  ชนิด  ดังนี

1) แอนนิโมมิเตอร์  ใช้วัดความเร็วของลม

2) วินเวน ใช้วัดทิศทางของลม  มีลักษณะเป็นรูปไก่ หรือ ลูกศร

2.10 เครื่องวัดฝน  เครื่องวัดฝนเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการวัดปริมาณน้ำฝน โดยใช้อุปกร์ที่มีลักษณะเป็นรูปทรงกระบอก มีกรวยต่อภาชนะ

รองรับ ภายในปากภาชนะรองรับมีขนาดแคบและพอดีกับกรวยเพื่อลดการสูญเสียเนื่องจากการระเหย

ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์

ความหมาย ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์(GIS) เป็นศาสตร์เชิงพื้นที่ เปรียบเป็นเครื่องมือที่ใช้จำลองสภาพพื้นที่ในโลกแห่งความเป็นจริงมา

เป็นชั้นข้อมูลในโลกดิจิทัลอย่างเป็นระบบ โดยอาศัยเทคโนโลยีการสำรวจระยะไกลและระบบค้นหาตำแหน่งบนพื้นโลกเข้าช่วยด้วย

เทคโนโลยีภูมิศาสตร์ การนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในการศึกษาเกี่ยวกับพื้นที่ สิ่งแวดล้อม

การนำมาใช้ทำแผนที่ 1.นำข้อมูลเข้าสู่คอมพิวเตอร์ แปลงข้อมูลเป็นตัวเลข

  1. 2. จัดการข้อมูล และออกแบบรูปแบบแผนที่
  2. 3. แสดงผล นำมาวิเคราะห์และนำเสนอในรูปแบบของแผนที่

ความแตกต่างของ แผนที่ และ สารสนเทศภูมิศาสตร์

-แผนที่หมายถึง เครื่องมือรวบรวมเสนอข้อมูลเกี่ยวกับพื้นที่บนพื้นที่ราบ

-ข้อแตกต่าง แผนที่ใช้นำเสนอข้อมูลบนพื้นผิวราบ แต่ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ สามารถนำเสนอได้ทั้งทางพื้นราบ ตัวเลข

ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีต่างๆดังนี้

การรับรู้ระยะไกล (Remote sensing)

    ใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในการสังเกต ค้นหา วิเคราะห์ข้อมูล ของเป้าหมายที่สนใจ โดยไม่ต้องเข้าไปสัมผัสของจริง
หลักการทำงาน ใช้สมบัติของการสะท้อนคลื่น และการปลดปล่อยพลังงานมาประยุกต์ใช้ เริ่มตั้งแต่มีพลังงานคลื่นแม่เหล็กจากแหล่งกำเนิด

พลังงานเช่น ดวงอาทิตย์ สะท้อนมาโดนสิ่งของบนโลกและเดินทางไปยังเครื่องมือที่ติดตั้งไว้ที่ยานสำรวจ ที่โคจรรอบโลก แปลเป็นสัญญาณ

อิเล็กทรอนิกส์ และส่งมายังสถานนีรับสัญญาณภาคพื้นดิน

แหล่งที่ทำให้เกิดพลังงานคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า  1.  Passive remote sensing เป็นระบบที่ใช้กันกว้างขวางตั้งแต่เริ่มแรกจนถึงปัจจุบัน โดยมี

แหล่ง พลังงานที่เกิดตามธรรมชาติ คือ ดวงอาทิตย์เป็นแหล่งกำเนิดพลังงาน ระบบนี้จะรับและบันทึกข้อมูลได้ ส่วนใหญ่ในเวลากลางวัน

และมีข้อจำกัดด้านภาวะอากาศ ไม่สามารถรับข้อมูลได้ในฤดูฝน หรือเมื่อมีเมฆ หมอก ฝน

  1. Active remote sensing เป็นระบบที่แหล่งพลังงานเกิดจากการสร้างขึ้นในตัวของเครื่องมือสำรวจ เช่น ช่วงคลื่นไมโครเวฟที่สร้างใน

    ระบบเรดาห์ แล้วส่งพลังงานนั้นไปยังพื้นที่เป้าหมาย ระบบนี้ สามารถทำการรับและบันทึกข้อมูล ได้โดยไม่มีข้อจำกัดด้านเวลา หรือ ด้าน

    สภาวะภูมิอากาศ คือสามารถรับส่งสัญญาณได้ทั้งกลางวันและกลางคืน อีกทั้งยังสามารถทะลุผ่านกลุ่มเมฆ หมอก ฝนได้ในทุกฤดูกาล

GPS ระบกำหนดตำแหน่งบนพื้นโลก

การทำงานอาศัยดาวเทียม คลื่นวิทยุนำร่อง และรหัสจากดาวเทียม NAVSTAR จำนวน 24 ดวง โคจรรอบโลกวันละสองรอบ อยู่เหนือพื้น

โลก 20200  กิโลเมตร

องค์ประกอบหลัก  1. ส่วนอวกาศ  2. ส่วนสถานีควบคุม  3.ส่วนผู้ใช้

ภาพถ่ายดาวเทียม

ภาพถ่ายจากดาวเทียม  หมายถึง ภาพที่ได้จากการส่งดาวเทียมที่มีการติดตั้งเครื่องถ่ายภาพที่สามารถยายและจำแนกความแตกต่างของสิ่ง

ต่างๆ ทีปรากฏบนผิวโลก  โดยอาศัยการสะท้อนรังสีความร้อนของสิ่งต่างๆ บนผิวโลก
ข้อมูลจากดาวเทียม   เป็นสัญญาณตัวเลขที่ได้รับ  ณ  สถานีรับสัญญาณดาวเทียมภาคพื้นดินซึ่งกระจายอยู่ในบางประเทศทั่วโลก  เมื่อ

สถานีรับสัญญาณภาคพื้นดินได้รับข้อมูลตัวเลขที่ส่งมาแล้ว  จึงแปลงตัวเลขออกเป็นภาพอีกครั้งหนึ่ง   ซึ่งเรียกว่าภาพจากดาวเทียม  ที่นำไป

แปลความหมายต่อไปได้  ในระบบคอมพิวเตอร์สามารถจะนำข้อมูลตัวเลขมาวิเคราะห์เชิงสถิติเพื่อจัดกลุ่มข้อมูลใหม่
-ประโยชน์  ใช้ในการสำรวจทรัพยากร ใช้ในการบอกตำแหน่งที่ตั้งและขอบเขต  เพราะภาพที่ได้ทำให้เห็นลักษณะภูมิประเทศที่ชัดเจน ใช้

ติดตามปรากฏการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นบนผิวโลก  เพราะดาวเทียมทำการบันทึกตลอดเวลา  ใช้ในการแก้ปัญหาเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบนผิวโลก เช่น

ภัยพิบัติต่างๆ และนำมาใช้ทำแผนที่เฉพาะแบบ เช่น แผนที่แหล่งน้ำ แผนที่ธรณีวิทยา ข้อมูลจะมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาทำให้มีความทัน

สมัยที่สุด
ภาพถ่ายทางอากาศ
หมายถึง ภาพของภูมิประเทศที่ได้จากการถ่ายรูปทางอากาศด้วยวิธีนำกล้องถ่ายรูปติดกับอากาศยานที่บินไปเหนือภูมิประเทศที่จะทำการ

ถ่ายรูป แล้วทำการถ่ายรูปตามตำแหน่งทิศทางและความสูงของการบินที่ได้วางแผนไว้ก่อนแล้ว หลังจากนั้นนำฟิล์มไปล้างและอัดภาพ ก็จะได้

รูปที่มีรายละเอียดภูมิประเทศในบริเวณที่ต้องการถ่ายปรากฏอยู่ ภาพถ่ายทางอากาศแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ ภาพถ่ายแนวดิ่งและภาพถ่ายแนว

-ประโยชน์  ทำให้ทราบการเปลี่ยนแปลงในลักษณะทางกายภาพของพื้นที่ต่างๆ โดยนำไปเปรียบเทียบกับรูปถ่ายก่อนๆ เช่นการขยายตัวของ

ตัวเมือง (จัดทำโดย กรมแผนที่ทหาร กระทรวงกลาโหม) วางแผนการใช้ดิน เพื่อจำแนกการใช้ดินในแต่ละพื้นที่ของประเทศ กำหนดโซน

พื้นที่ที่ใช้ทำประโยชน์ในด้านต่างๆ เช่น เขตที่อยู่อาศัย เขตเกษตรกรรม เขตอุตสาหกรรม ใช้สำรวจสภาพแวดล้อมของโลก (ใช้เทคโนโลยี

การถ่ายภาพ+โทรคมนาคม) ใช้วางแผนการอนุรักษ์พื้นที่ป่า ทำให้ทราบถึงความอุดมสมบูรณ์ในพื้นที่ป่า เพื่อกำหนดแนวทางการพัฒนาฟื้นฟู

ป่าไม้ และการจัดสรรทรัพยากรของประเทศต่อไป

เครื่องมือทางภูมิศาสตร์มีลักษณะอย่างไร

เครื่องมือทางภูมิศาสตร์คือสิ่งที่มนุษย์ สร้างขึ้นมาเพื่อตรวจสอบและบันทึกข้อมูล ทางด้านภูมิศาสตร์เครื่องมือภูมิศาสตร์ที่สาคัญ ได้แก่แผนที่ลูกโลก เข็มทิศ รูปถ่ายทางอากาศ และภาพถ่ายจากดาวเทียม บทเรียนครั้งต่อไป เรื่อง องค์ประกอบของแผนที่

เครื่องมือที่ให้ข้อมูลทางภูมิศาสตร์ มีอะไรบ้าง

เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ประเภทให้ข้อมูล ได้แก่ ลูกโลก แผนที่ ข้อมูลสถิติ กราฟและแผนภูมิแผนภาพ ภาพถ่ายทางอากาศ ภาพจากดาวเทียม และอินเตอร์เน็ต

เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ให้ข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะทางกายภาพอย่างไร

กายภาพ สิ่งต่าง ๆ ที่ปรากฏบนพื้นผิวโลก ในพื้นที่จริงสิ่งเหล่านี้มีขนาด กว้างใหญ่ มีรายละเอียดหรืออยู่ห่างไกลจนเราไม่สามารถมองเห็น หรือศึกษาได้ทั้งหมด เราจึงใช้เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ ได้แก่ ลูกโลก แผนที่ แผนผัง และรูปถ่าย มาเป็นเครื่องมือในการศึกษา ทําให้เราทราบตำแหน่งและลักษณะทางกายภาพของสิ่งต่างๆ ได้

ข้อใดเป็นเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ที่นิยมใช้มาก

แผนที่ เป็นเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ที่มีความสาคัญต่อการเรียนวิชาภูมิศาสตร์เป็นอย่างมาก เนื่องจากการเรียนวิชานี้ต้องกล่าวถึงสถานที่ที่มีขนาดต่างกันทั้งที่เป็นธรรมชาติและสิ่งที่มุนษย์สร้างขึ้นตลอดจน ปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นบนพื้นผิวโลก และสิ่งที่จะสามารถนามาใช้อธิบายสภาพพื้นที่ สถานที่ได้ดีที่สุด คือ แผนที่

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก