หนังสือราชการใช้ฟอนต์อะไร 2565

มากกว่า 10 ปีที่ผ่านมา มีการเผยแพร่ฟอนต์ลิขสิทธิ์จากสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (SIPA) เพื่อเป็นฟอนต์มาตรฐานสำหรับราชการไทย ถึง 13 แบบ และที่เป็นที่รู้จักกันในวงกว้างก็คือ ไทย สารบรรณ (TH Sarabun PSK) ล่าสุดมีมติคณะรัฐมนตรีให้เพิ่มชุดแบบอักษรพระราชทาน “จุฬาภรณ์ลิขิต” ในฟอนต์มาตรฐานสำหรับราชการไทยเป็นแบบที่ 14

วันนี้ (6 กรกฎาคม 2564) คณะรัฐมนตรีมีมติให้ชุดแบบอักษรพระราชทาน “จุฬาภรณ์ลิขิต” เป็นชุดแบบอักษรมาตรฐานสำหรับราชการไทย เป็นแบบที่ 14 เพื่อเป็นการจารึกพระนามและเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในวโรกาสครบรอบ 64 พรรษา และทรงสำเร็จการศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาทัศนศิลป์ คณะจิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และเห็นชอบให้ทุกหน่วยงานภาครัฐมีการติดตั้งใช้ฟอนต์นี้เป็นมาตรฐาน ภายในปี พ.ศ.2564

ฟอนต์ “จุฬาภรณ์ลิขิต” เป็นฟอนต์ที่ถูกเผยแพร่ออกมาตั้งแต่ปีที่แล้ว โดยผู้ใช้ทั่วไปสามารถดาวน์โหลดไปใช้งานได้ มาใน 2 รูปแบบตัวอักษร พาดหัว (Display) และเนื้อความ (Text)

สำหรับฟอนต์สำหรับพาดหัว (Display) จะเป็นการถอดแบบมาจากตัวหนังสือในพระนามาภิไธยย่อ เป็นลักษณะกึ่งมีหัว เหมาะกับการใช้เป็นพาดหัวขนาดใหญ่ โดยมีใช้ในทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

ส่วนฟอนต์สำหรับเนื้อความ (Text) จะใช้โครงสร้างแบบเดียวกันกับฟอนต์สำหรับพาดหัว แต่จะมีการปรับความหนา-บาง และจุดขาด เพื่อความสบายตาในการอ่าน

มติคณะรัฐมนตรี อนุมัติฟอนต์พระราชทาน “จุฬาภรณ์ลิขิต” เป็นชุดแบบอักษรมาตรฐานราชการไทย แบบที่ 14 เพิ่มเข้าไปในระบบปฏิบัติการ Thai OS และให้ถือเป็นมาตรฐานของหน่วยงานภาครัฐทุกหน่วย ภายในปี พ.ศ. 2564

(6 กรกฎาคม 2564) คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ชุดแบบอักษรพระราชทาน “จุฬาภรณ์ลิขิต” เป็นชุดแบบอักษรมาตรฐานราชการไทย แบบที่ 14 ตามที่ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์เสนอ เพื่อเป็นการจารึกพระนามและเนื่องในวโรกาสครบรอบ 64 พรรษา ของศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี และในวโรกาสที่ทรงสำเร็จการศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาทัศนศิลป์ คณะจิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติ ตลอดจนเผยแผ่พระเกียรติคุณและพระมหากรุณาธิคุณในฐานะเจ้าหญิงของปวงประชา และองค์ประธานราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์อย่างกว้างไกลและยิ่งยืนนาน และเผยแพร่ต่อประชาชนชาวไทย และใช้ในราชการ รวมถึงผู้คนทั่วโลก สามารถนำชุดแบบอักษรไปใช้อย่างแพร่หลาย เพื่อเป็นการอนุรักษ์และสืบทอดภาษาและตัวอักษรไทยรวมถึงเป็นการจารึกพระนามขององค์ประธานราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์บนโลกดิจิทัล

ชุดแบบอักษรพระราชทาน “จุฬาภรณ์ลิขิต” ได้รับการออกแบบให้มีความคล้ายคลึงกับยอดอ่อนของดอกกล้วยไม้พันธุ์ Phalaenopsis Princess Chulabhorn เพื่อเผยแผ่เกียรติคุณและรางวัลระดับนานาชาติ ซึ่งศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ทรงได้รับอันเกี่ยวเนื่องกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วยตัวอักษรไทยซึ่งมีโครงสร้างถูกต้องตามมาตรฐานโดยมีลักษณะเป็นตัว มีหัว มีปาก มีส่วนประกอบถูกต้องตามอักขรวิธี ไม่มีการประดับลวดลาย รายละเอียดมากจนเกินไป สามารถนำไปใช้ได้หลากหลายลักษณะ จึงเหมาะสมที่จะนำมาใช้ในราชการ

ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้หน่วยงานภาครัฐทุกหน่วยงานดำเนินการติดตั้งชุดแบบอักษรพระราชทาน “จุฬาภรณ์ลิขิต” เป็นชุดแบบอักษรมาตรฐานราชการไทย แบบที่ 14 เพิ่มเข้าไปในระบบปฏิบัติการ Thai OS และให้ถือเป็นมาตรฐานของหน่วยงานภาครัฐทุกหน่วย ภายในปี พ.ศ. 2564

กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ทก.) รายงานว่า ปัจจุบันส่วนราชการจำนวนมากมีการใช้ฟอนต์ที่หลากหลายไม่มีมาตรฐานในเอกสาร ทางราชการ อีกทั้งยังมีหน่วยงานราชการหลายแห่งใช้มาตรฐานฟอนต์ของบริษัทเอกชนที่ผูกขาด ลิขสิทธิ์ของระบบปฏิบัติงาน ทำให้จำกัดสิทธิ์ต่างๆ ที่จะมีมาตรฐานเอกสารเป็นเสรี ไม่ขึ้นกับระบบปฏิบัติการใดๆ เช่น Angsana อาจมีปัญหาเรื่องการฟ้องร้องละเมิดลิขสิทธิ์ได้ จึงได้มีการพัฒนาและมีการประกวดแข่งขันฟอนต์ ซึ่งเป็นการส่งเสริมให้เกิดการใช้ Open Source Software ที่เป็นซอฟต์แวร์เสรีให้ส่วนราชการไทยประกาศมาตรฐานเอกสารดิจิทัลและรูปแบบ ของฟอนต์ที่ไม่ขึ้นกับระบบปฏิบัติการและลิขสิทธิ์ของบริษัทใดๆ เพื่อความภาคภูมิใจในความเป็นชาติและเอกลักษณ์ของความเป็นชาติไทย

ซึ่งในขณะนี้มีฟอนต์ที่ส่วนราชการไทยสามารถเป็นเจ้าของและ พร้อมแจกจ่าย ให้กับผู้ประสงค์จะใช้งานรวม 13 ฟอนต์ ซึ่งเป็นลิขสิทธิ์ สอซช. และกรมทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อแจกจ่ายให้ใช้อย่างเสรีปราศจากปัญหาด้าน ลิขสิทธิ์

ดังนั้นเพื่อให้เอกสารต่างๆ ของภาครัฐ เป็นไปอย่างมีมาตรฐานปราศจากปัญหาลิขสิทธิ์และไม่ได้ขึ้นกับระบบปฏิบัติการ ระบบใดระบบหนึ่งและเพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 84 พรรษา จึงเห็นควรให้หน่วยงานราชการปฏิบัติดังนี้

วันที่ 7 ก.ย. 2553 ครม.เห็นชอบให้หน่วยงานภาครัฐทุกหน่วยดำเนินการติดตั้งฟอนต์สารบรรณและฟอนต์ อื่นๆ ทั้งหมด จำนวน 13 ฟอนต์ ของสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สอซช.) หรือ Software Industry Promotion Agency เรียกโดยย่อว่า SIPA และกรมทรัพย์สินทางปัญญา รวมทั้งได้เพิ่มเข้าไปในระบบปฏิบัติการ Thai OS (Thai Operating System) โดยมตินี้ประกาศให้ใช้ฟอนต์ดังกล่าวแทนฟอนต์เดิม ตามที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเสนอ

ซึ่งฟอนต์มาตรฐาน จำนวน 13 ฟอนต์ราชการไทย นั้นคือ

  1. TH-Sarabun PSK, TH-Sarabun New
  2. TH-Charmonman
  3. TH-Krub
  4. TH-Srisakdi
  5. TH-Niramit AS
  6. TH-Charm of AU
  7. TH-Kodchasal
  8. TH-K2D July8
  9. TH-Mali Grade 6
  10. TH-Chakra Petch
  11. TH-Baijam
  12. TH-KoHo
  13. TH-Fah Kwang

และล่าสุดมีมติคณะรัฐมนตรีให้เพิ่มชุดแบบอักษรพระราชทาน “จุฬาภรณ์ลิขิต” ในฟอนต์มาตรฐานสำหรับราชการไทยเป็นแบบที่ 14

หนังสือราชการ ใช้ font อะไร

3.1 ใช้รูปแบบตัวพิมพ์ไทยสารบรรณ (ฟอนต์ TH Sarabun PSK) ขนาด 16 พอยท์ 3.2 การพิมพ์ “ที่” และ “ส่วนราชการเจ้าของหนังสือ” ให้พิมพ์ตรงกับแนวเท้าของตราครุฑ 3.3 การพิมพ์ชื่อเดือน ให้ตัวอักษรตัวแรกอยู่ตรงกับแนวเท้าขวาของตราครุฑ

ฟอนต์ใดเป็นชุดแบบอักษรมาตรฐานราชการไทย

มติคณะรัฐมนตรี อนุมัติฟอนต์พระราชทาน “จุฬาภรณ์ลิขิต” เป็นชุดแบบอักษรมาตรฐานราชการไทย แบบที่ 14 เพิ่มเข้าไปในระบบปฏิบัติการ Thai OS และให้ถือเป็นมาตรฐานของหน่วยงานภาครัฐทุกหน่วย ภายในปี พ.ศ. 2564.

ฟอนต์ราชการไทยตัวใหม่ แบบที่ 14 (ชุดแบบอักษรมาตรฐานราชการไทย) คือข้อใด

6 ก.ค. 2564 คณะรัฐมนตรี เห็นชอบให้เพิ่มแบบอักษรหรือฟอนต์ (font) ชื่อ จุฬาภรณ์ลิขิต เป็นฟอนต์ราชการไทยตัวใหม่ ลำดับที่ 14 (ชุดแบบอักษรมาตรฐานราชการไทย) โดยฟอนต์ จุฬาภรณ์ลิขิต เป็นชุดแบบอักษรพระราชทาน ของศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี

ฟอนต์มาตรฐานราชการไทยมีกี่แบบ

ซึ่งในขณะนี้มีฟอนต์ที่ส่วนราชการไทยสามารถเป็นเจ้าของและ พร้อมแจกจ่าย ให้กับผู้ประสงค์จะใช้งานรวม 13 ฟอนต์ ซึ่งเป็นลิขสิทธิ์ สอซช. และกรมทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อแจกจ่ายให้ใช้อย่างเสรีปราศจากปัญหาด้าน ลิขสิทธิ์

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก