คําสั่ง transition ใช้เพื่ออะไร

เกี่ยวกับการนำเสนองานในระดับมหาวิทยาลัย สิ่งที่ขาดไม่ได้คือ Microsoft  PowerPoint ซึ่งเป็นโปรแกรมใช้นำเสนองานได้หลายๆอย่างๆ  แล้ววันนี้ก็มีวิธีการใส่ Transition มาฝาก ซึ่งเป็นพื้นฐานของการทำให้ PowerPoint มีความน่าสนใจครับ

Transition คือ เอฟเฟคการเปลี่ยน Slide ของ PowerPoint 

  • ผมใช้ PowerPoint 2010 เข้าเมนู Transition ก็จะมีให้เลือกใส่หลายแบบ
  • วิธีใส่ ก็แค่คลิ๊กเลือก Transution

  • Transition ที่ใส่ได้ มีทั้งหมด 37 แบบ โดยมีให้เลือก 3 ประเภท ได้แก่

Subtle  ธรรมดา

Exciting น่าตื่นเต้น

Dynamic Content คล้ายๆกับ Exciting แต่รูปแบบการเปลี่ยน Slide คือวัตถุจะกลืนไปกับภาพพื้นหลัง

  • ในบาง Transition จะสามารถเปลี่ยนรูปแบบการแสดงผลได้ โดยเข้า Effect Option
  • นอกจากนั้นยังสามารถใส่เสียง และระบุเวลาระหว่างการเปลี่ยนภาพได้ครับ
  • สำหรับตัวอย่าง Transition สามารถดูได้ที่คลิป (บนบนความ)

การกำหนดรูปแบบการแสดงสไลด์และแอนิเมชั่น

การกำหนดรูปแบบการแสดงสไลด์

      การกำหนดรูปแบบการแสดงสไลด์ หรือทรานซิชั่น (Transition) คือ การใส่เอฟเฟ็กต์ การปรากฎตัวของสไลด์แต่ละ ใบ โดยการกำหนด ทรานซิชั่นนั้นสามารถทำได้หลายรูปแบบดังนี้

การกำหนดทรานซิชั่นทีละสไลด์

  1. คลิกสไลด์ที่ต้องการกำหนดทรานซิชั่น > คลิก แท็บการเปลี่ยน (Transition)

  2. คลิกปุ่ม ที่ กลุ่มคำสั่งการเปลี่ยนไปยังภาพนิ่งนี้ (Transition to This Slide) > เลือกเอฟเฟ็กต์ที่ต้องการ

  3. สไลด์จะแสดงตัวอย่างเอฟเฟ็กต์ที่เลือกไว้ และมีสัญลักษณ์

    ปรากฎอยู่ใต้สไลด์ เพื่อแสดงว่าสไลด์นี้มีการใส่
    เอฟเฟ็กต์ดังรูป

การกำหนดทรานซิชั่นแบบเดียวกันทุกสไลด์

  1. คลิกสไลด์ที่มีเอฟเฟ็กต์ต้นแบบที่ต้องการ

  2. คลิก แท็บการเปลี่ยน (Transition) > คลิก ปุ่มนำไปใช้กับทั้งหมด (Apply To All)

  3. สไลด์ทั้งหมดในงานนำเสนอมีรูปแบบทรานซิชั่นเหมือนกับสไลด์ต้นแบบดังรูป

เครื่องมือกำหนดรายละเอียดทรานซิชั่นเพิ่มเติม

      หลักจากกำหนดทรานซิชั่นให้สไลด์แล้ว เราสามารถกำหนดรายละเอียดเพิ่มเติมให้กับทรานซิชั่นได้ โดยการใช้ เครื่องมือต่าง ๆ ดังรูป

การยกเลิกการกำหนดทรานซิชั่น

      หากต้องการยกเลิกการกำหนดทรานซิชั่นบนสไลด์ ก็สามารถทำได้โดยมีวิธีการดังนี้

  1. คลิกสไลด์ที่ต้องการยกเลิกการใส่ทรานซิชั่น

  2. คลิก แท็บการเปลี่ยน (Transition) > คลิกปุ่ม ที่ กลุ่มคำสั่งการเปลี่ยนไปยังภาพนิ่งนี้ (Transition to This slide)

  3. เลือกรูปแบบทรานซิชั่นเป็น ไม่มี (None) ดังรูป

การกำหนดแอนิเมชั่น

      การกำหนดแอนิเมชั่น (Animation) คือ การกำหนดเอฟเฟ็กต์การแสดงผลของวัตถุแต่ละชิ้นบนสไลด์ โดยการ กำหนดแอนิเมชั่นมีวิธีการดังนี้

  1. คลิกวัตถุที่ต้องการกำหนดแอนิเมชั่น > คลิก แท็บภาพเคลื่อนไหว (Animations)

  2. คลิกปุ่ม ที่ กลุ่มคำสั่งภาพเคลื่อนไหว (Animation) > เลือกเอฟเฟ็กต์ที่ต้องการ

  3. วัตถุที่เลือกจะแสดงตัวอย่างเอฟเฟ็กต์ และหมายเลขแสดงลำดับแอนิเมชั่น ดังต่อไปนี้

การกำหนดแอนิเมชั่นซ้อนกันหลายชั้น

      สำหรับการกำหนดแอนิเมชั่นให้วัตถุนั้น นอกจากการกำหนดแอนิเมชั่นแบบเอฟเฟ็กต์เดียวแล้ว เรายังสามารถใส่ เอฟเฟ็กต์ซ้อนกันหลายชั้น ให้วัตถุได้ โดยมีวิธีการดังนี้

  1. คลิกวัตถุที่ต้องการใส่เอฟเฟ็กต์เพิ่มเติม > คลิก แท็บภาพเคลื่อนไหว (Animations)

  2. คลิก ปุ่มเพิ่มภาพเคลื่อนไหว (Add Animation) > เลือกเอฟเฟ็กต์ที่ต้องการ

  3. หมายเลขแสดงลำดับแอนิเมชั่นจะปรากฎขึ้นมา เพื่อแสดงว่าวัตถุนี้มีการใส่เอฟเฟ็กซ์ซ่อนไว้ตามจำนวนหมายเลข โดยการแสดงผล จะแสดงเอฟเฟ็กต์เรียงลำดับหมายเลข

การกำหนดรูปแบบแอนิเมชั่นเพิ่มเติม

      นอกจากการกำหนดแอนิเมชั่นด้วยเอฟเฟ็กต์สำเร็จรูปแล้ว เรายังสามารถกำหนดรูปแบบเอฟเฟ็กต์เพิ่มเติมได้ตาม ต้องการ โดยมีวิธีการ ดังต่อไปนี้

  1. คลิกวัตถุ หรือหมายเลขลำดับแอนิเมชั่นที่ต้องการกำหนดรูปแบบ > คลิก แท็บภาพเคลื่อนไหว (Animations)

  2. คลิกปุ่ม ที่กลุ่มคำสั่งภาพเคลื่อนไหว (Animation) หรือคลิก ปุ่มเพิ่มภาพเคลื่อนไหว (Add Animation)

  3. เลือกคำสั่งสำหรับกำหนดรูปแบบแอนิเมชั่น

  4. เลือกรูปแบบเอฟเฟ็กต์ที่ต้องการ > คลิก ปุ่มตกลง (OK)

โดยคำสั่งสำหรับกำหนดรูปแบบแอนิเมชั่น มีรายละเอียดดังนี้

  • ลักษณะพิเศษเข้าเพิ่มเติม (More Entrance Effects) : เอฟเฟ็กต์สำหรับนำวัตถุเข้าสู่สไลด์

  • ลักษณะพิเศษเน้นเพิ่มเติม (More Emphasis Effects) : เอฟเฟ็กต์สำหรับเน้นวัตถุ เช่น การแสดงวัตถุให้ใหญ่ขึ้น การหมุนวัตถุ การกำหนดลักษณะสี เป็นต้น

  • ลักษณะพิเศษออกเพิ่มเติม (More Exit Effects) : เอฟเฟ็กต์สำหรับนำวัตถุออกจากสไลด์

  • เส้นทางการเคลื่อนไหวเพิ่มเติม (More Motion Paths) : เอฟเฟ็กต์สำหรับกำหนดให้วัตถุเคลื่อนไหวตามทิศทาง ที่กำหนด

การลบแอนิเมชั่น

      หากต้องการลบแอนิเมชั่นออกจากวัตถุ ก็สามารถทำได้ด้วยการคลิกที่หมายเลขลำดับของแอนิเมชั่นที่ต้องการลบ แล้วกดปุ่ม Delete ที่แป้นพิมพ์

เครื่องมือสำหรับกำหนดรายละเอียดแอนิเมชั่น

      หลังจากกำหนดแอนิเมชั่นให้วัตถุแล้ว หากต้องการกำหนดรายละเอียดเพิ่มเติม เช่น การกำหนดเวลาในการแสดง แอนิเมชั่น การจัดลำดับ หรือการคัดลอกแอนิเมชั่น ก็สามารถทำได้โดย การใช้เครื่องมือที่อยู่ใน แท็บภาพเคลื่อนไหว (Animations) ดังรูป

กลุ่มคำสั่งแสดงตัวอย่าง (Preview) และกลุ่มคำสั่งภาพเคลื่อนไหว (Animation)

กลุ่มคำสั่งภาพเคลื่อนไหวขั้นสูง (Advanced Animation)

การกำหนดเวลา (Timing)

การจัดลำดับการแสดงแอนิเมชั่น

      ในกรณีที่มีการกำหนดแอนิเมชั่นให้กับวัตถุหลายๆ ชิ้นบนสไลด์ หากต้องการจัดลำดับการแสดงเอฟเฟ็กต์ต่าง ๆ เพื่อให้สอดคล้องกับการนำเสนอก็สามารถทำได้ โดยวิธีการดังนี้

  1. คลิกเลขลำดับแอนิเมชั่นหน้าวัตถุที่ต้องการเปลี่ยนลำดับ

  2. คลิก แท็บภาพเคลื่อนไหว (Animations) > ไปที่ คำสั่งจัดลำดับภาพเคลื่อนไหวใหม่ (Recorder Animation) แล้วคลิกคำสั่งเพื่อจัดลำดับตามต้องการ โดยมีรายละเอียดดังนี้

    • ย้ายไปก่อนหน้านี้ (Move Earlier) > เลื่อนลำดับการแสดงเอฟเฟ็กต์ขึ้นไป 1 ลำดับ

    • ย้ายไปหลังจากนี้ (Move Later) > เลื่อนลำดับการแสดงเอฟเฟ็กต์ลงไป 1 ลำดับ

  3. ซึ่งในที่นี้คลิก คำสั่งย้ายไปก่อนหน้านี้ (Move Earlier) หมายเลขลำดับหน้าวัตถุจึงเปลี่ยนจากเลข 5 เป็นเลข 4 ดังรูป

การกำหนดเวลาแสดงแอนิเมชั่น

      นอกจากการจัดลำดับการแสดงแอนิเมชั่นแล้ว เรายังสามารถกำหนดเวลาที่ใช้ในการแสดงแอนิเมชั่นได้อีกด้วย โดยมีวิธีการดังนี้

  1. คลิกเมาส์ลำดับของแอนิเมชั่นที่ต้องการกำหนดเวลา

  2. คลิก แท็บภาพเคลื่อนไหว (Animations) > ระบุเวลาที่ต้องการลงใน ช่องระยะเวลา (Duration) เช่น ถ้าระบุเป็น 02.00 หมายความว่า เวลาที่ใช้ในการแสดงแอนิเมชั่นนี้ตั้งแต่ต้นจนจบใช้เวลา 2 วินาที

การคัดลอกรูปแบบแอนิเมชั่น

      ในกรณีที่ต้องการกำหนดแอนิเมชั่นให้มีลักษณะเหมือนกับวัตถุต้นแบบ ก็สามารถใช้ ตัวคัดวางภาพเคลื่อนไหว (Animation Painter) ช่วยในการคัดลอกรูปแบบได้ โดยมีวิธีการดังนี้

  1. คลิกวัตถุต้นแบบที่ต้องการคัดลอกรูปแบบแอนิเมชั่น

  2. คลิก แท็บภาพเคลื่อนไหว (Animations) > คลิก ปุ่มตัวคัดวางภาพเคลื่อนไหว (Animation Painter)

  3. คลิกวัตถุปลายทางที่ต้องการวางรูปแบบแอนิเมชั่นที่คัดลอกมา

  4. วัตถุปลายทางจะมีรูปแบบแอนิเมชั่นเหมือนกับวัตถุต้นฉบับ รวมถึงรายละเอียดต่าง ๆ ที่กำหนดไว้ใน กลุ่มคำสั่ง การกำหนดเวลา (Timing) ดังรูป

การใช้บานหน้าต่างภาพเคลื่อนไหว

      บานหน้าต่างภาพเคลื่อนไหว (Animation Pane) คือ หน้าต่างที่ใช้สำหรับแสดงรายละเอียดของแอนิเมชั่นทั้งหมด บนสไลด์ เช่น รูปแบบเอฟเฟ็กต์ ลำดับการแสดงแอนิเมชั่น เวลาที่ใช้ในการแสดงแอนิเมชั่น เป็นต้น ซึ่งนอกจากการ แสดงภาพรวมของแอนิเมชั่นแล้ว เรายังสามารถใช้หน้าต่างนี้ช่วยในการปรับแต่งแอนิเมชั่นได้อีกด้วย โดยมีรายละเอียด ดังนี้

การเปิดบานหน้าต่างภาพเคลื่อนไหว

  1. คลิก แท็บภาพเคลื่อนไหว (Animations)

  2. คลิก ปุ่มบานหน้าต่างภาพเคลื่อนไหว (Animation Pane)

  3. บานหน้าต่างภาพเคลื่อนไหว (Animation Pane) จะปรากฎขึ้นมาทางด้านขวาพร้อมรายละเอียดของแอนิเมชั่น ทั้งหมดบนสไลด์ดังรูป

การแก้ไขรายละเอียดแอนิเมชั่น

      การแก้ไขรายละเอียดแอนิเมชั่นด้วย บานหน้าต่างภาพเคลื่อนไหว (Animation Pane) สามารถทำได้ 2 วิธีดังนี้

  • วิธีที่ 1 คลิกปุ่มลูกศรท้ายชื่อแอนิเมชั่นที่ต้องการแก้ไข แล้วเลือกคำสั่งที่ต้องการ

  • วิธีที่ 2 ดับเบิลคลิกตรงชื่อแอนิเมชั่นที่ต้องการแก้ไข เพื่อแก้ไขรายละเอียดแอนิเมชั่นผ่านไดอะล็อกบ็อกซ์

คำสั่ง Transition ทำหน้าที่อะไร *

Transition คืออะไร ลูกเล่นในการแสดงแต่ละ Slide โดยเพิ่มการเคลื่อนไหว เพื่อทำให้เกิดความน่าสนใจมากขึ้น? ตัวอย่างเช่น เวลาแสดงแต่ละ Slides เราสามารถสั่งให้แสดงลูกเล่นของแต่ละ Slides ได้เช่น เลื่อนจากซ้ายมาขวา หรือหมุนภาพก่อนแสดง Slide เป็นต้น

Move earlier” ใช้ทำอะไร

2.จัดลำดับการแสดงเอฟเฟ็กต์ที่ต้องการ - Move Earlier = ย้ายไปก่อนหน้านี้ - Move Later = ย้ายไปหลังจากนี้

Slide Transitions คืออะไร

การเคลื่อนที่ของ Slide (Slide Transition) เป็นการกำหนดรูปแบบการเคลื่อนที่เข้ามาปรากฏของแต่ละ slide เพื่อดึงดูดความสนใจของผู้ชม ใช้คำสั่ง Slide Show > Slide Transition. การกำหนดการเคลื่อนที่ของวัตถุ (Object) ใน Slide (Animation) เพื่อกำหนดให้วัตถุ (Object) ในแต่ละ Slide เคลื่อนที่

การกําหนด Transition ให้กับสไลด์คืออะไร

รูปแบบการแสดงสไลด์หรือทรานซิซั่น (Transition) คือ การใส่เอฟเฟ็กต์ระหว่างการเลื่อนสไลด์ไปยังสไลด์ถัดไป ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้ 1. คลิกที่สไลด์ 2. คลิกที่แท็บ TRANSITIONS (การเปลี่ยน) 3. คลิกเลือกเอฟเฟ็กต์ที่ต้องการ

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก