Software engineer ต้องเรียนอะไรบ้าง

    ดูจากสถิติข้อมูลเงินเดือนจากบริษัท Adecco ปี 2013 www.tatc.ac.th/files/0812250881616_13041922220320.pdf สำหรับ junior software engineer ประสปการณ์ 0-4 ปี ต่ำสุดเริ่มที่ 20k สูงสุดคือ 40k ครับโดยประมาน 

ปัจจุบันอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่ามีศักยภาพในการช่วยพัฒนาองค์กรและประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้าได้อย่างรวดเร็ว การพัฒนาบุคลากรที่สามารถพัฒนาซอฟต์แวร์อย่างเป็นระบบ เป็นหัวใจสำคัญสำหรับอุตสาหกรรมนี้ อีกทั้งแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศ (ฉบับที่ 2) ของประเทศไทย พ.ศ. 2552-2556 ระบุว่าประเทศไทยจะมีผู้มีความรู้ความสามารถทางเทคโนโลยีเป็นจำนวนมาก แต่กลุ่มอาชีพที่เป็นวิศวกรซอฟต์แวร์ (Software Engineer) มีจำนวนเพียง 1.31 เปอร์เซ็นต์ของบุคลากรด้าน ICT ดังนั้นบุคลากรด้านวิศวกรรมซอฟต์แวร์ต้องได้รับการพัฒนาทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ให้สามารถแข่งขันได้กับนานาประเทศ

ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์เล็งเห็นในความสำคัญดังกล่าว และเห็นว่าหลักสูตรด้านวิศวกรรมซอฟต์แวร์ที่เน้นด้านกระบวนการผลิตซอฟต์แวร์อย่างเป็นระบบในอุตสาหกรรม จะช่วยสร้างทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพไว้รองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ได้ ในฐานะที่ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ เป็นผู้ริเริ่มและรับผิดชอบหลักสูตรสำคัญๆ ทางด้านคอมพิวเตอร์ของประเทศไทยตั้งแต่อดีตเป็นต้นมา และมีบุคลากรที่มีศักยภาพสูง ภาควิชาฯ จึงได้ดำเนินการเปิดหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ขึ้นตั้งแต่ปีการศึกษา 2545 เพื่อรองรับความต้องการนี้ของประเทศ อันเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับประเทศชาติได้อีกด้วย รวมทั้งสร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคการศึกษา และภาคเอกชนในการพัฒนาบุคลากรด้านวิศวกรรมซอฟต์แวร์

รายวิชาที่เปิดสอนจะเกี่ยวข้องกับกระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์ทั้งระบบ การทำวิจัย สัมมนา ทฤษฎีพื้นฐาน และวิชาเฉพาะทั้งทางด้านวิศวกรรมซอฟต์แวร์ และด้านวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์  อนึ่ง การเรียนการสอน จะใช้ภาษาไทย

สำหรับวัตถุประสงค์ของหลักสูตร มีดังนี้

  1. เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพด้านวิศวกรรมซอฟต์แวร์ ที่สามารถพัฒนาซอฟต์แวร์และบริหารจัดการโครงการซอฟต์แวร์ได้อย่างมีคุณภาพระดับมาตรฐานสากล
  2. เพื่อผลิตบัณฑิตที่สามารถสร้างงานวิจัยและสร้างองค์ความรู้ใหม่ด้านวิศวกรรมซอฟต์แวร์

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

  1. วิศวกรซอฟต์แวร์
  2. นักวิเคราะห์และออกแบบซอฟต์แวร์
  3. นักพัฒนาซอฟต์แวร์
  4. นักทดสอบซอฟต์แวร์
  5. นักดูแลและบำรุงรักษาซอฟต์แวร์
  6. ผู้จัดการโครงการซอฟต์แวร์
  7. นักวิชาการวิศวกรรมซอฟต์แวร์
  8. นักวิจัยด้านวิศวกรรมซอฟต์แวร์

การเข้าศึกษา

หลักสูตรจะแบ่งออกเป็น 2 แผนการเรียน คือ

  1. แผนการเรียน ก2
    1. ทำวิทยานิพนธ์ และต้องศึกษาวิชาเลือกเพิ่มเติม
    2. เปิดรับผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีในสาขาใดสาขาหนึ่ง ต่อไปนี้
      1. วิศวกรรมศาสตร์
      2. สถิติศาสตร์
      3. วิทยาศาสตร์
      4. เทียบเท่า
  2. แผนการเรียน ข
    1.  ไม่ต้อง ทำวิทยานิพนธ์ แต่ต้องทำโครงงานมหาบัณฑิต และผ่านการสอบประมวลความรู้
    2. เปิดรับผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีในสาขาใดสาขาหนึ่งต่อไปนี้
      1. วิศวกรรมศาสตร์
      2. สถิติศาสตร์
      3. วิทยาศาสตร์
      4. ครุศาสตร์อุตสาหกรรม ในสาขาใดสาขาหนึ่งดังต่อไปนี้
        1. เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
        2. คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
        3. เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
        4. อิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์
      5. บริหารธุรกิจ ในสาขาใดสาขาหนึ่งดังต่อไปนี้
        1. คอมพิวเตอร์ธุรกิจ
        2. เทคโนโลยีสารสนเทศธุรกิจ
        3. สารสนเทศทางคอมพิวเตอร์
        4. ระบบสารสนเทศทางคอมพิวเตอร์ – การพัฒนาซอฟต์แวร์
      6. หรือสำเร็จระดับปริญญาตรีนอกเหนือจากที่กำหนด แต่ต้องมีประสบการณ์ทำงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศหรือคอมพิวเตอร์ มาแล้วอย่างน้อย 1 ปี

หลักสูตรนี้ เปิดรับสมัครนิสิตเข้าศึกษา ทั้งภาคการศึกษาต้น และภาคการศึกษาปลาย

คุณสมบัติผู้สมัคร

สำหรับผู้สมัครเข้าศึกษา ไม่ว่าจะเป็นภาคปกติ หรือภาคนอกเวลาราชการ ต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้

แผน ก2

สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ในสาขาใดสาขาหนึ่งดังต่อไปนี้

  • วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต
  • สถิติศาสตรบัณฑิต
  • วิทยาศาสตรบัณฑิต
  • เทียบเท่าหลักสูตรที่กล่าวมา

แผน ข

สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ในสาขาใดสาขาหนึ่งดังต่อไปนี้

  • วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต
  • สถิติศาสตรบัณฑิต
  • วิทยาศาสตรบัณฑิต
  • ครุศาสตรอุตสาหกรรมบัณฑิต ในสาขาใดสาขาหนึ่งต่อไปนี้
    • สาขาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
    • สาขาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
    • สาขาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
    • สาขาอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์
  • บริหารธุรกิจบัณฑิตในสาขาใดสาขาหนึ่งต่อไปนี้
    • สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
    • สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศธุรกิจ
    • สาขาสารสนเทศทางคอมพิวเตอร์
    • สาขาระบบสารสนเทศทางคอมพิวเตอร์ – การพัฒนาซอฟต์แวร์
  • เทียบเท่าหลักสูตรที่กล่าวมา หรือ
  • สำเร็จระดับปริญญาตรีนอกเหนือจากที่กำหนด แต่มีประสบการณ์ทำงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศหรือคอมพิวเตอร์มาแล้วอย่างน้อย 1 ปี

นอกจากนี้ ไม่ว่าจะเป็นแผน ก หรือแผน ข จะต้องมีคุณสมบัติเพิ่มเติมดังต่อไปนี้

  1. มีคุณสมบัติอื่น ๆ เป็นไปตามประกาศของบัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งจะประกาศให้ทราบเป็นปี ๆ ไป หรือคณะกรรมการบริหารหลักสูตรพิจารณาแล้วเห็นสมควรให้มีสิทธิ์สมัครเข้าศึกษาได้
  2. ได้คะแนนการทดสอบความรู้ความสามารถทางภาษาอังกฤษ อย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
การสอบภาษาอังกฤษคะแนนขั้นต่ำTOEFL425 (PBT)
113 (CBT)
38 (iBT)IELTS3.5CU-TEP38

ในกรณีที่ ได้คะแนน CU-TEP ไม่ถึง 45 คะแนน หรือ TOEFL ไม่ถึง 450 (PBT) คะแนน นั้น จะสำเร็จการศึกษาได้ ต่อเมื่อได้คะแนนการสอบภาษาอังกฤษ CU-TEP   ตั้งแต่ 45 คะแนน หรือผ่านการเรียนรายวิชาภาษาอังกฤษของสถาบันภาษาเพิ่มเติม

หมายเหตุ

  1. คะแนนภาษาอังกฤษ ให้ดูประกาศแนบท้ายการสมัครอีกครั้ง โดยจะยึดคะแนนตามเว็บการรับสมัคร
  2. สำหรับผู้ที่ศึกษาอยู่ในภาคการศึกษาสุดท้าย จะต้องแสดงหลักฐานสำเร็จการศึกษาในวันลงทะเบียนแรกเข้า ซึ่งการรับเข้าศึกษาจะมีผลเมื่อผู้สมัครสำเร็จการศึกษาแล้ว
  3. รายละเอียดเพิ่มเติมในการเข้าศึกษาต่อ และการสมัครเข้าเรียน สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ของบัณฑิตวิทยาลัย www.grad.chula.ac.th

ค่าเล่าเรียน

เป็นไปตามประกาศของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สามารถตรวจสอบได้โดย คลิกที่นี่

อนึ่ง สำหรับนิสิต ที่เข้าศึกษาภาคนอกเวลาราชการ ต้องชำระค่าธรรมเนียมการศึกษาที่ภาควิชา (นอกเหนือจากค่าเล่าเรียน) ในอัตรา 25,000 บาท/ภาคการศึกษา ด้วย โดยชำระเงินที่ภาควิชา

โครงสร้างหลักสูตร

แผนการเรียน ก2

มีจำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร  36 หน่วยกิต ประกอบด้วย

  1. วิชาเรียน 24 หน่วยกิต ประกอบด้วย
    1. วิชาบังคับ 12 หน่วยกิต
    2. วิชาบังคับเลือก 12 หน่วยกิต
  2. วิชาวิทยานิพนธ์ 12 หน่วยกิต

หมายเหตุ 1 หากลงวิชาวิทยานิพนธ์ครบหน่วยกิตตามหลักสูตรแล้วแต่ยังไม่สามารถจบการศึกษา นิสิตต้องลงทะเบียนวิชา 2110811 วิทยานิพนธ์ จำนวน 0 หน่วยกิต ต่อไปในทุกภาคการศึกษาจนกว่าจะจบการศึกษา
หมายเหตุ 2 การลงทะเบียนวิทยานิพนธ์ให้เป็นไปตามประกาศ “การลงทะเบียนและการประเมินผล S/U สำหรับรายวิชาวิทยานิพนธ์” (ดูที่เว็บภาควิชา บัณฑิตศึกษา -> ประกาศ/ระเบียบ/ข้อบังคับ บัณฑิตศึกษา ที่ //www.cp.eng.chula.ac.th/)

แผนการเรียน ข

มีจำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร  36 หน่วยกิต ประกอบด้วย

  1. วิชาเรียน 30 หน่วยกิต ประกอบด้วย
    1. วิชาบังคับ 18 หน่วยกิต
    2. วิชาบังคับเลือก 12 หน่วยกิต
  2. วิชาโครงงานมหาบัณฑิต 6 หน่วยกิต
  3. วิชาการสอบประมวลความรู้

อนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นแผนการเรียนใด นิสิตต้องเรียนรายวิชาสัมมนาและวิธีวิจัยทางวิศวกรรมซอฟต์แวร์ ซึ่งประเมินผลเป็น S/U ไม่นับหน่วยกิต โดยรวมเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตร

รายวิชา

วิชาบังคับ

ทั้งสองแผนการเรียนต้องเรียนวิชาดังต่อไปนี้

  1. 2110608  สัมมนาและวิธีวิจัยทางวิศวกรรมซอฟต์แวร์   (Seminar and Research Methods in Software Engineering) 3(3-0-9) ประเมินผลเป็น S/U ไม่นับหน่วยกิต
  2. 2110623  วิศวกรรมความต้องการซอฟต์แวร์ Software Requirements Engineering 3(3-0-9)
  3. 2110634  การออกแบบและพัฒนาซอฟต์แวร์ Software Design and Development 3(3-0-9)
  4. 2110721   การวัดซอฟต์แวร์ Software Metrics 3(3-0-9)
  5. 2110724  การทดสอบและการประกันคุณภาพซอฟต์แวร์ Software Testing and Quality Assurance 3(3-0-9)

เฉพาะแผนการเรียน ข เรียนเพิ่มอีก 2 วิชาดังต่อไปนี้ (สำหรับแผน ก(2) สามารถเรียนวิชาต่อไปนี้เป็นวิชาบังคับเลือกได้)

  1. 2110722 การจัดการโครงการทางซอฟต์แวร์ Software Project Management 3(3-0-9)
  2. 2110725 กระบวนการวิศวกรรมซอฟต์แวร์และการปรับปรุง Software Engineering Process and Improvement 3(3-0-9)

วิชาบังคับเลือก

เลือกเรียน 4 วิชา ทั้งนี้ รายวิชา จะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มวิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ และกลุ่มวิชาทั่วไป นิสิต ต้องเลือกเรียนในกลุ่มวิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์อย่างน้อย 6 หน่วยกิต

กลุ่มวิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์

  • 2110502   การทวนสอบเชิงรูปนัย    (Formal Verification)      3(3-0-9)
  • 2110521   สถาปัตยกรรมซอฟต์แวร์  ( Software Architectures)     3(3-0-9)
  • 2110523   สถาปัตยกรรมโปรแกรมประยุกต์วิสาหกิจ (Enterprise Application Architecture)    3(3-0-9)
  • 2110644   ข้อกำหนดรูปนัยซอฟต์แวร์  (Formal Software Specification)  3(3-0-9)
  • 2110645   ระเบียบวิธีเชิงวิศวกรรมซอฟต์แวร์   ( Software Engineering Methodology)   3(3-0-9)
  • 2110646   การออกแบบส่วนต่อประสานกับผู้ใช้ (User Interface Design)    3(3-0-9)
  • 2110722   การจัดการโครงการทางซอฟต์แวร์ (Software Project Management)  3(3-0-9) สำหรับแผน ก2 
  • 2110723   การพัฒนาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ขั้นสูง (Advanced Software Engineering Development)   3(3-0-9)
  • 2110725   กระบวนการวิศวกรรมซอฟต์แวร์และการปรับปรุง (Software Engineering Process and Improvement)  3(3-0-9) สำหรับแผน ก2
  • 2110726  การจัดการโครงแบบซอฟต์แวร์ (Software Configuration Management)    3(3-0-9)
  • 2110727  การวิวัฒนาการและการบำรุงรักษาซอฟต์แวร์    (Software Evolution and Maintenance)  3(3-0-9)
  • 2110728    หัวข้อพิเศษทางวิศวกรรมซอฟต์แวร์ 1  (Special Topics in Software Engineering I)  3(3-0-9)
  • 2110729  หัวข้อพิเศษทางวิศวกรรมซอฟต์แวร์ 2 (Special Topics in Software Engineering II)    3(3-0-9)
  • 2110730   คุณภาพซอฟต์แวร์และการจัดการกระบวนการ  (Software Quality and Process Management)    3(3-0-9)
  • 2110791   เรื่องขั้นสูงทางวิศวกรรมซอฟต์แวร์  (Advanced Topics in Software Engineering)   3(3-0-9)

กลุ่มวิชาทั่วไป

สามารถเลือกเรียนรายวิชาอื่น ๆ ที่เปิดสอนในระดับบัณฑิตศึกษาของภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ และในระดับบัณฑิตศึกษาของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารหลักสูตร

วิชาวิทยานิพนธ์ (สำหรับแผนการเรียน ก2)

  • 2110811 Thesis 12 หน่วยกิต

วิชาโครงงานมหาบัณฑิต (สำหรับแผนการเรียน ข)

  • 2110797 โครงงานเตรียมมหาบัณฑิตทางวิศวกรรมซอฟต์แวร์ (Pre-Master Project in Software Engineering) 3(0-0-12)
  • 2110798 โครงงานมหาบัณฑิตทางวิศวกรรมซอฟต์แวร์ (Master Project in Software Engineering) 3(0-0-12)

วิชาการสอบประมวลความรู้ (สำหรับแผนการเรียน ข)

  • 2110896 การสอบประมวลความรู้ Comprehensive Examination

วิชานี้ ประมวลผลเป็น S หรือ U สามารถลงทะเบียนรายวิชานี้ได้ตั้งแต่ภาคการศึกษาที่ได้สอบผ่านรายวิชาทั้งหมดที่ใช้สอบเป็นต้นไป

แผนการเรียนตามหลักสูตร

แผน ก แบบ ก 2 สำหรับผู้ที่เข้าเรียนเทอมต้น

รหัสรายวิชาชื่อวิชาจำนวนหน่วยกิตรหัสรายวิชาชื่อวิชาจำนวนหน่วยกิตปีที่1 ภาคการศึกษาที่ 1ปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 22110608Seminar and Research Methods in Software Engineering–2110623Software Requirements Engineering3สัมมนาและวิธีวิจัยทางวิศวกรรมซอฟต์แวร์วิศวกรรมความต้องการซอฟต์แวร์2110634Software Design and Development32110724Software Testing and Quality Assurance3การออกแบบและพัฒนาซอฟต์แวร์การทดสอบและการประกันคุณภาพซอฟต์แวร์2110721Software Metrics32110xxxELECTIVES3การวัดซอฟต์แวร์ วิชาบังคับเลือก2110xxxELECTIVES3วิชาบังคับเลือก99ปีที่2 ภาคการศึกษาที่ 1ปีที่2 ภาคการศึกษาที่ 22110xxxElectives62110811 THESIS9วิชาบังคับเลือก.. วิทยานิพนธ์2110811THESIS3วิทยานิพนธ์99

Software Engineer ต้องเรียนสาขาอะไร

คณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิศวกรรมซอฟต์แวร์

Software Engineer ต้องเรียนภาษาอะไร

ภาษาอังกฤษจะทําให้คุณเก่งขึ้นเพราะในโลกของ Software Engineer เอกสารและองค์ความรู้จํานวนมากมักจะถูกเขียนด้วยภาษาอังกฤษ ถ้าเราอ่านภาษาอังกฤษไม่ได้ก็จะเข้าถึงองค์ความรู้ได้อย่างจํากัด หากเราต้องเขียนโปรแกรมต่อกับระบบอื่นๆ เช่น Facebook เราจำเป็นอย่างมากที่จะต้องอ่านเอกสารเป็นภาษาอังกฤษ

Software Engineer ต้องทำอะไรบ้าง

1. วิศวกรซอฟต์แวร์ (Software Engineer) ทำ งานวิจัย ออกแบบ พัฒนา และปรับปรุงระบบซอฟต์แวร์ ควบคู่ไปกับการพัฒนาฮาร์ดแวร์ให้ทันสมัย และตอบโจทย์การใช้งานในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการแพทย์ วิทยาศาสตร์ และอุตสาหกรรมหลากหลายชนิด รายได้ประมาณ 90,000 ดอลล่าร์ต่อปี

คณะวิศวกรรมซอฟต์แวร์ใช้คะแนนอะไรบ้าง

คะแนนที่ใช้ GPAX ONET GAT PAT2 PAT3 PAT1. (ตรวจสอบจากข้อมูลอัพเดตล่าสุดในแต่ละรอบอีกครั้ง) ระยะเวลาหลักสูตร 4 ปี ค่าเทอม 60,700 / ภาคการศึกษา

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก