แซนโฎนตาปีนี้ตรงกับวันอะไร

มนุษย์เราดำรงอยู่ได้ด้วยเกษตรกรรมเป็นหลักสำคัญ ซึ่งวันสารท ถือเป็นประเพณีนิยมมาแต่โบราณและเป็นการทำบุญกลางปีของไทย ซึ่งตรงกับวันสิ้นเดือนสิบ(๑๐) หรือ วันแรม๑๕ ค่ำเดือนสิบ(๑๐)คือ แม้จะเป็นประเพณีที่มีส่วนมาจากลัทธิพราหมณ์ แต่ชาวไทยก็นิยมรับพระเป็นประเพณีในส่วนที่มีคุณธรรมอันดีมานั่นเอง

ความหมายของวันสาทรไทย

สารท มีความหมายว่า เทศกาลทำบุญในวันสิ้นเดือนสิบ(๑๐)ตรงกับวันแรม๑๕ ค่ำเดือนสิบ(๑๐)ของทุกปี ซึ่งในวันสารท จะมีการนำพืชพรรณธัญญาหารที่เก็บเกี่ยวมาปรุงเป็นข้าวทิพย์ และข้าวมธุปายาสถวายพระสงฆ์ "สารท" เป็นคำอินเดีย หมายถึง "ฤดู" ประชาชนจึงรู้สึกยินดี และถือเป็นเทศกาลแห่งความรื่นเริง จึงมักทำพิธีตามความเชื่อ

วันสารทของประเทศไทย

ตามความเชื่อของคนโบราณ เมื่อเก็บเกี่ยวพืชพันธุ์ธัญญาหารในคราวแรกแล้ว พืชพันธุ์ธัญญาหารที่เก็บเกี่ยวได้ในครั้งแรก จะนำไปบวงสรวง เพื่อบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่นับถือจะช่วยให้เกิดความเป็นสิริมงคลกับชีวิตและสวนไร่นาของตน เป็นฤดูกาลแห่งการเก็บเกี่ยวพืชพันธุ์ธัญญาหาร ซึ่งจะอยู่ในช่วงปลายฤดูฝนเริ่มย่างเข้าสู่ฤดูหนาว

"ผลแรกได้" คือการนำพืชผลที่เก็บเกี่ยวได้ครั้งแรก ไปสังเวยหรือบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ตนนับถือ เพื่อความเป็นสิริมงคล และแสดงความเคารพที่ท่านช่วยบันดาลให้พืชพันธุ์ธัญหารอุดมสมบูรณ์จนเก็บเกี่ยวได้ อาจมีพิธีต้มข้าวกับน้ำนมทำเป็นขนม เรียกว่า ข้าวทิพย์ข้าวปายาสถวายพระคเณศ ซึ่งจะทำบุญวันสารทนี้ในวันแรม๑๕ ค่ำเดือนสิบ(๑๐)ซึ่งมีการถวายข้าวมธุปายาสถวายพระสงฆ์ ของทุกปี

ศาสนาพราหมณ์เข้ามาเผยแพร่ในประเทศไทย คนไทยจึงรับประเพณีนี้มา ทำให้ประเทศไทยมีประเพณีการทำบุญวันสารทเป็นพิธีกรรมที่มีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ดังที่ปรากฏหลักฐานในหนังสือพระราชพิธีสิบสองเดือนซึ่งเป็นพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

การจัดกิจกรรมในวันสารทไทย

การจัดกิจกรรมในวันสารท ตรงกับวันแรม๑๕ ค่ำเดือนสิบ(๑๐) ตามปฏิทินจันทครติไทย

ปฏิทินวันสารทไทย

วันสารทไทย พ.ศ.2557 ตรงกับ วันอังคารที่ 23 กันยายน พ.ศ.2557 / วันอังคาร แรม ๑๕ ค่ำ เดือนสิบ(๑๐) ปีมะเมีย

วันสารทไทย พ.ศ.2558 ตรงกับ วันจันทร์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ.2558 / วันจันทร์ แรม ๑๕ ค่ำ เดือนสิบ(๑๐) ปีมะแม

วันสารทไทย พ.ศ.2559 ตรงกับ วันเสาร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2559 / วันเสาร์ แรม ๑๕ ค่ำ เดือนสิบ(๑๐) ปีวอก

วันสารทไทย พ.ศ.2560 ตรงกับ วันพุธที่ 20 กันยายน พ.ศ.2560 / วันพุธ แรม ๑๕ ค่ำ เดือนสิบ(๑๐) ปีระกา

วันสารทไทย พ.ศ.2561 ตรงกับ วันอังคารที่ 9 ตุลาคม พ.ศ.2561 / วันอังคาร แรม ๑๕ ค่ำ เดือนสิบ(๑๐) ปีจอ

วันสารทไทย พ.ศ.2562 ตรงกับ วันเสาร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ.2562 / วันเสาร์ แรม ๑๕ ค่ำ เดือนสิบ(๑๐) ปีกุน

วันสารทไทย พ.ศ.2563 ตรงกับ วันพฤหัสบดีที่ 17 กันยายน พ.ศ.2563 / วันพฤหัสบดี แรม ๑๕ ค่ำ เดือนสิบ(๑๐) ปีชวด

วันสารทไทย พ.ศ.2564 ตรงกับ วันพุธที่ 6 ตุลาคม พ.ศ.2564 / วันพุธ แรม ๑๕ ค่ำ เดือนสิบ(๑๐) ปีฉลู

วันสารทไทย พ.ศ.2565 ตรงกับ วันอาทิตย์ที่ 25 กันยายน พ.ศ.2565 / วันอาทิตย์ แรม ๑๕ ค่ำ เดือนสิบ(๑๐) ปีขาล

วันสารทไทย พ.ศ.2566 ตรงกับ วันเสาร์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ.2566 / วันเสาร์ แรม ๑๕ ค่ำ เดือนสิบ(๑๐) ปีเถาะ

วันสารทไทย พ.ศ.2567 ตรงกับ วันพุธที่ 2 ตุลาคม พ.ศ.2567 / วันพุธ แรม ๑๕ ค่ำ เดือนสิบ(๑๐) ปีมะโรง

ประวัติวันสารทไทย

วันสารทไทยเป็นการทำบุญเพื่อส่งเสริมขวัญกำลังใจแก่เกษตรกรผู้ปลูกพืชพันธุ์ธัญญาหาร เพื่อให้พืชพันธุ์มีความอุดมสมบูรณ์มากยิ่งขึ้นไป การทำบุญวันสารทมิได้สำคัญว่ามาจากศาสนาใด เพราะพุทธศาสนิกชนทั้งหลายนิยมทำบุญทำทานอยู่เป็นนิจ มิได้ถือวันใดเป็นพิเศษ แต่การทำบุญสารท เป็นฤดูกาลแห่งการเก็บเกี่ยว จึงถือโอกาสทำบุญทำทานให้เป็นของขวัญแก่ไร่นาของตน

บางแห่งเชื่อว่าวันสารทเป็นการทำบุญเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว บางแห่งก็เป็นประเพณีการทำบุญเนื่องจากว่างจากภารกิจไร่นาจึงถือโอกาสทำบุญครั้งใหญ่เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ตนเอง และครอบครัว ประเพณีสารทได้เปลี่ยนความเชื่อถือไปตามกาลเวลาและความเชื่อตามท้องถิ่นของตน วันแรม๑๕ ค่ำเดือนสิบ(๑๐)ถูกกำหนดไว้เป็นวันสารทไทย ซึ่งเป็นพิธีของประชาชนในประเพณีเกี่ยวกับการทำบุญ มีประเพณีทำบุญทำนองเดียวกันในภาคอื่น ๆ ด้วย และมีการกำหนดวันและวิธีปฏิบัติที่แตกต่างกัน

วันสารทเดือนสิบภาคใต้ คือประเพณีทำบุญเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้พ่อแม่ปู่ย่าตายายและญาติพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้ว และผู้ที่ตกนรกหรือเรียกว่าเปรต จะได้รับอนุญาตให้มาพบกับญาติ ของตนในเมืองมนุษย์ได้ในวันแรม๑ ค่ำเดือนสิบ(๑๐)และกลับไปสู่นรก ดังเดิม ในวันแรม๑๕ ค่ำเดือนสิบ(๑๐)จึงมีการทำบุญวันสารทสองวาระ แต่ส่วนใหญ่ทำวันแรม๑๕ ค่ำเดือนสิบ(๑๐)เพราะมีความสำคัญ มากกว่า

ประเพณีทำบุญตายายหรือประเพณีรับส่งตายาย คือญาติที่ล่วงลับไปแล้วกลับมาเยี่ยมลูกหลานในวันแรม ๑ ค่ำ เดือนสิบ(๑๐) และกลับนรกตามเดิมในวันแรม ๑๕ ค่ำเดือนสิบ(๑๐)ซึ่งญาติที่ล่วงลับเหล่านี้เป็นตายาย เมื่อท่านมา ก็จะทำบุญรับ เมื่อท่าน กลับก็ส่งกลับ จึงเรียกประเพณีดังกล่าวนี้ว่า "ทำบุญตายาย"

การชิงเปรตที่ปฏิบัติกันในประเพณีสารทเดือนสิบ(๑๐)นี้ มีลักษณะคล้ายกับการทิ้งกระจาดของจีน แต่การทิ้งกระจาดของจีนเป็นการทิ้งทานให้แก่พวกผีไม่มีญาติ ส่วนการชิงเปรตของไทยเป็นการอุทิศส่วนกุศลไปให้ทั้งผี(เปรต) ที่เป็นญาติพี่น้องของตนเอง และที่ไม่มีญาติด้วย นอกจากนี้วิธีการปฏิบัติในการทิ้งกระจาดและการชิงเปรตก็แตกต่างกันด้วย ผู้ เฒ่าผู้แก่หลายคนได้ยืนยันว่าการชิงเปรต เป็นการทำบุญเพราะชื่อว่าบุตรหลานของเปรตตนใดชิงได้ เปรตตนนั้นย่อมได้รับส่วนนั้น

กิจกรรมในวันสารทไทย

การนำข้าวปลาอาหาร และที่ขาดไม่ได้ คือ ขนมกระยาสารท ไปทำบุญตักบาตรที่วัดถือเป็นกิจกรรมหลัก ๆ ของวันสารทไทย โดยการตักบาตรจะมีลักษณะที่แตกต่างกันไปตามท้องถิ่น การทำบุญตักบาตรในวันสารทไทยนั้น มีความเชื่อว่า เป็นการอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว

ทำบุญวันสารทไทย

เป็นการทำบุญของชาวไทยภาคใต้เป็นประเพณีทำบุญเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้บุคคลที่ล่วงลับ อาจจะเป็น พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตายาย และญาติพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้ว โดยเฉพาะผู้ที่ต้องตกนรก หรือเรียกว่าเปรตนั้น จะได้รับอนุญาตให้มาพบกับญาติของตนในเมืองมนุษย์ได้ในวันแรม๑ ค่ำเดือนสิบ(๑๐)และกลับไปสู่นรกดังเดิม ในวันแรม๑๕ ค่ำเดือนสิบ(๑๐)มีการทำบุญในสองวาระ แต่จะนิยมทำในวันแรม ๑๕ ค่ำเดือนสิบ(๑๐) มากกว่า ซึ่งเรียกกันว่าเป็นประเพณีทำบุญเดือนสิบ ประเพณีทำบุญวันสารท

ประเพณีจัดหมรับ

ประเพณีจัดหมรับ คือ การจัดเสบียงอาหารเป็นสำรับถวายพระภิกษุ โดยให้พระภิกษุจับสลากแล้วให้ศิษย์เก็บไว้ แล้วนำถวายพระภิกษุเป็นมื้อๆ เป็นการยกหมรับที่จัดเรียบร้อยแล้วไปวัด พร้อมทั้งภัตตาหารไปถวายพระภิกษุในช่วงเวลาเช้าก่อนเพล

พิธีการชิงเปรต

คือมีการจัดเป็นขบวนแห่ใหญ่โต บางแห่งแต่งตัวเป็นเปรตเข้าร่วมไปในขบวนด้วย ซึ่งพิธีชิงเปรตหรือตั้งเปรตนั้น เป็นขั้นตอนสุดท้ายของการทำบุญ กล่าวคือ เมื่อจัดหมรับ ยกหมรับไปถวายพระภิกษุแล้ว จะเอาอาหารซึ่งเป็นอีกส่วนหนึ่งต่างหาก ไปจัดตั้งไว้ให้เปรต ซึ่งจะขาดไม่ได้ก็คือขนม 5 อย่าง คือ ขนมพอง ,ขนมลา , ขนมกง หรืองบางทีก็ใช้ ขนมไข่ปลา , ขนมดีซำ และขนมบ้า ส่วนอาหารก็จะเป็นอาหารที่ผู้ล่วงลับไปแล้วชอบในสมัยที่ยังมีชีวิตอยู่

ประเพณีทำบุญตายาย

ประเพณีทำบุญตายายหรือประเพณีรับส่งตายาย คือญาติที่ล่วงลับไปแล้วกลับมาเยี่ยมลูกหลานในวันแรม๑ ค่ำเดือนสิบ(๑๐)และกลับนรกตามเดิมในวันแรม๑๕ ค่ำเดือนสิบ(๑๐)ซึ่งญาติที่ล่วงลับเหล่านี้เป็นตายาย เมื่อท่านมา ก็จะทำบุญรับ เมื่อท่าน กลับก็ส่งกลับ จึงเรียกประเพณีดังกล่าวนี้ว่า "ทำบุญตายาย"

ตักบาตรขนมกระยาสารท

มีความเชื่อที่ว่า ถ้าไม่ได้ใส่บาตรขนมกระยาสารทในวันสารทไทยแล้ว ญาติผู้ล่วงลับก็จะไม่ได้ส่วนบุญส่วนกุศลที่กระทำในวันนั้น ขนมกระยาสารทเป็นขนมประจำวันสารทในทุกท้องถิ่นของประเทศไทย ซึ่งจะขาดเสียมิได้ด้วย ขนมกระยาสารทมีส่วนประกอบ คือ ข้าวตอก ข้าวเม่า ถั่ว งา และน้ำตาล นำทั้งหมดมากวนเข้าด้วยกัน เมื่อสุกแล้วจึงนำมาปั้นเป็นก้อนกลม หรือจะตัดเป็นแผ่นก็ได้

นอกจากนี้ยังมีพิธีตักบาตรน้ำผึ้ง ฟังธรรมเทศนา ถือศีลภาวนา ปล่อยนกปล่อยปลาอีกด้วย

สิ่งที่ควรทำและรักษาประเพณีวันสารทไทย

"สารทไทย" มาก่อน ซึ่งวันสารทไทย ตรงกับวันแรม๑๕ ค่ำเดือนสิบ(๑๐)เป็นเทศกาลทำบุญ เดือนสิบ(๑๐)ของไทย ซึ่งเป็นประเพณีที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณตามหลักฐานพบว่ามีมาตั้งแต่ครั้งสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี และมีพิธีปฏิบัติมาจนถึงทุกวันนี้

ทำกระยาสารท

ก่อนวันงานวันสารทไทย ชาวบ้านจะมารวมตัวกันเพื่อทำขนมที่เรียกว่า กระยาสารท และขนมอื่น ๆ แล้วแต่ความนิยมของแต่ละท้องถิ่น เพื่อใช้ในงาน

ทำบุญตักบาตร

ในวันงาน วันสารทไทย ชาวบ้านจะทำการจัดแจงนำข้าวปลา อาหาร และข้าวกระยาสารทไปทำบุญตักบาตรที่วัดประจำหมู่บ้าน หรือวัดที่ใกล้ๆ รวมถึงการถือศีล เข้าวัด ฟังธรรม และรักษาอุโบสถศีล นำข้าวกระยาสารท หรือขนมอื่นไปฝากซึ่งกันและกันยังบ้านใกล้เรือนเคียง หรือหมู่ญาติมิตรที่อยู่บ้านไกลหรือถามข่าวคราวเยี่ยมเยือนกัน ซึ่งการไปวัดฟังธรรมในอดีต มักเป็นเรื่องของคนเฒ่าคนแก่เป็นส่วนใหญ่ในวันเช่นนี้ควรส่งเสริมให้เด็ก เยาวชนและคนหนุ่มสาว ไปวัดทำบุญและรักษาศีลให้มากขึ้น เพราะเป็นวัยที่ยังมีพลังที่จะเป็นหลักต่อไปในอนาคต

บูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์

บางท้องถิ่นจะทำขนมสำหรับบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ แม่พระโพสพ ผีนา ผีไร่ เมื่อถวายพระสงฆ์เสร็จแล้วก็นำไปบูชาตามไร่นา โดยวางตามกิ่งไม้ต้นไม้ หรือที่จัดไว้ โดยเฉพาะ

วันสารท เป็นวันที่ถือเป็นคติและเชื่อสืบกันมาว่า ญาติที่ล่วงลับไปแล้ว จะมีโอกาสได้กลับมารับส่วนบุญจากญาติพี่น้องที่ยังมีชีวิตอยู่ ดังนั้น จึงมีการทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้ญาติในวันนี้และเชื่อว่า หากทำบุญในวันนี้ไปให้ญาติแล้วญาติจะได้รับส่วนบุญได้เต็มที่และมีโอกาสหมดหนี้กรรม และได้ไปเกิดหรือมีความสุข พระสงฆ์ควรเป็นกำลังสำคัญในการเผยแพร่ประเพณีวันสารทให้ประชาชนเข้าใจและรู้ซึ้งถึงวัตถุประสงค์ที่แท้จริง เพื่อส่งเสริมให้สามารถปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง ควรอนุรักษ์และส่งเสริมฟื้นฟูประเพณีวันสารทไทย ให้มีการปฏิบัติกันอย่างกว้างขวางในหมู่คนไทยทุกกลุ่ม เพื่อเป็นที่รู้จักและแพร่หลายต่อไป

แนวทางการส่งเสริมกิจกรรมวันสารทไทย

ประเพณีสารทเดือนสิบ ถือเป็นงานบุญประเพณีของคนภาคใต้ของประเทศไทย แม้จะได้รับอิทธิพลด้านความเชื่อซึ่งมาจากทางศาสนาพราหมณ์ แต่ก็มีการผสมผสานกับความเชื่อทางพระพุทธศาสนาเข้ามา และมีจุดมุ่งหมายเพื่อเป็นการอุทิศส่วนกุศลให้แก่ดวงวิญญาณของบรรพชนและญาติที่ล่วงลับ สาเหตุที่ต้องมีการจัดพิธีสารทไทยขึ้น ก็เพื่อจุดมุ่งหมายต่อไปนี้

เป็นการแสดงความกตัญญูกตเวที

เชื่อกันว่าญาติที่ล่วงลับไปแล้วจะมีโอกาสได้กลับมารับส่วนบุญจากญาติพี่น้องที่ยังมีชีวิตอยู่ และญาติจะได้รับส่วนบุญได้เต็มที่ มีโอกาสหมดหนี้กรรม ได้ไปเกิด หรือมีความสุข ที่ต้องมีการส่งเสริมแนวทางการจัดกิจกรรมวันสารทไทยก็เพื่อเป็นการแสดงความกตัญญูกตเวที ต่อบรรพชนผู้มีพระคุณ

เพื่อผูกมิตรกับเพื่อนบ้าน

เนื่องจากชาวบ้านจะทำขนมกระยาสารทไว้แจกจ่ายกันตามหมู่บ้าน บ้านใกล้เรือนเคียง ทำให้ได้พบปะกัน ถือเป็นการแสดงความเอื้อเฟื้อให้แก่เพื่อนบ้าน และเป็นการผูกมิตรไมตรีกันไว้

จรรโลงพระพุทธศาสนา

เป็นการบำรุง หรือจรรโลงพระพุทธศาสนาให้มั่นคงสืบไป และเป็นการแสดงความเคารพ แก่ผู้หลักผู้ใหญ่ รวมถึงขจัดความตระหนี่ เป็นการกระทำจิตใจของตนให้สะอาดหมดจด ไม่ตกอยู่ในอำนาจแห่งความโลภ

แสดงความกตัญญูต่อพระแม่โพสพ

สังคมไทยเป็นสังคมเกษตรกรรม การทำนาเป็นอาชีพหลัก การแสดงความกตัญญูต่อพระแม่โพสพ หรือผีไร่ ผีนาที่ช่วยรักษาข้าวกล้าในนาให้เจริญงอกงามดี ในช่วงเดือนสิบ(๑๐)ซึ่งเป็นช่วงที่ข้าวกล้ากำลังงอกงาม และรอเก็บเกี่ยวเมื่อสุก จึงมีเวลาว่างพอที่จะทำบุญเพื่อเลี้ยงขอบคุณตอบแทน

อ่าน ใช้งาน ปฏิทินวันสารทไทย แล้ว เขียนรีวิว และคลิก Like , Share ให้ด้วยนะครับ :)   4.99★ จาก 2,026 รีวิว

แซนโฎนตาตรงกับวันอะไร

วันแซนโฎนตา หรือ ไงแซนโฎนตา ตรงกับวันแรม 14 ค่ำ เดือน 10 ของทุกปี ซึ่งในปี 2564 วันแซนโฎนตา ตรงกับวันนี้ (5 ตุลาคม) คำว่า “ไง” หมายถึง วัน คำว่า “แซน” หมายถึง การเซ่นไหว้ การบวงสรวง คำว่า “โฎน” หมายถึง ย่าหรือยาย คำว่า “ตา” หมายถึง ปู่หรือตา ดังนั้นประเพณีนี้จึงหมายถึง การเซ่นไหว้ปู่ ย่า ตา ยาย หรือบรรพบุรุษที่ล่วงลับ ...

วันโฎนตา 2565 ตรงกับวันอะไร

ไงแซนโฎนตา ปีนี้ตรงกับวันที่ 24-25 กันยายน 2565. ... ประเพณีแซนโฎนตา หรือ วันสารทเขมร... (เบณฑ์ธม

สารทเขมร ตรงกับวันอะไร.

ในจังหวัด สุรินทร์นอกจากชาวไทยเชื้อสายเขมรแล้ว ยังมีชาวไทยกวยหรือกูย และชาวไทยเชื้อสายลาวที่มีประเพณีงานบุญเดือน ๑๐ หรืองานสารทเหมือนกับชาวไทยเชื้อสายเขมร ซึ่งตรงกับวันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๐ ของทุกปี

เบ็นทม วันไหน

1. วันเบ็ณฑ์ตู๊จหรือวันเบ็ณฑ์เล็ก คือวันขึ้น 14 ค่ำเดือน 10 จะมีทำพิธีเซ่นไหว้บรรพบุรุษที่บ้าน และนำภัตตาหารไปถวายพระสงฆ์ที่วัด เพื่อให้พระสงฆ์รับรู้ว่าชาวบ้านกำลังจะเข้าสู่ประเพณีกันเบ็ณฑ์หรือกันซ็องแล้ว และยังเชื่อว่าการทำบุญครั้งนี้เป็นการบอกยมบาลให้เตรียมปล่อยวิญญาณมายังโลกมนุษย์

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก