สนธิสัญญาเบาว์ริงทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง

หนังสือสัญญาทางพระราชไมตรีประเทศอังกฤษแลประเทศสยาม หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า “สัญญาเบาริ่ง” สัญญาที่ราชอาณาจักรสยามทำกับสหราชอาณาจักร ลงนามเมื่อ 18 เมษายน พ.ศ. 2398 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 4 โดยมีสาระสำคัญคือการเปิดการค้าเสรีกับต่างประเทศในสยาม

สาระสำคัญของสัญญานี้ คือ การกำหนดให้สยามต้องเปิดเสรีทางการค้า, กำหนดให้สยามห้ามเก็บภาษีซ้ำซ้อนและเก็บภาษีไม่เกินร้อยละ 3 และต้องยอมรับการบังคับใช้กฎหมายของอังกฤษแก่บุคคลใต้บังคับ (อังกฤษ) ที่อยู่ในสยาม ที่เรียกว่า “สิทธิสภาพนอกอาณาเขต”

หลังการใช้สัญญาเบาริ่ง เกิดการขยายตัวทางการค้ากับต่างประเทศ กรุงเทพฯ กลายเป็นศูนย์กลางการค้าต่างประเทศของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และทะเลจีนใต้ สินค้าจากที่ต่างๆ เช่น มลายู อินเดีย เขมร ฯลฯ ส่งมารวมกันที่กรุงเทพฯ เพื่อจะรอการส่งออกไปยังประเทศจีนและญี่ปุ่น ขณะเดียวกันสินค้าจากจีนและญี่ปุ่นก็ส่งมายังกรุงเทพฯ ก่อนที่จะส่งต่อไปยังประเทศอื่นๆ และสินค้าจากสยามที่เดิมเคยส่งไปเฉพาะประเทศในแถบเอเชีย ก็ขยายการส่งออกไปสู่ยุโรป และออสเตรเลีย

นั่นทำให้สยามถูกดึงเข้าสู่ “วงจรการผลิตในลักษณะอาณานิคม”

การผลิตภายในประเทศ และการส่งออกสินค้า สยามกลายเป็นประเทศผู้ผลิตวัตถุดิบเพียงไม่กี่อย่าง เพื่อสนองตอบความต้องการของประเทศมหาอำนาจ  เช่น ผลิตข้าวสำหรับเลี้ยงแรงงานในแถบเอเชียอาคเนย์และประเทศจีน, ไม้สักสำหรับการก่อสร้างทางรถไฟในอินเดีย และการทำเฟอร์นิเจอร์ในยุโรป, ดีบุกสำหรับอุตสาหกรรมผลิตดีบุกแผ่นในยุโรปและอเมริกา พร้อมกับกันการเป็น “ตลาดรองรับสินค้า” สินค้านำเข้าราคาถูก เช่น ผ้าฝ้ายและน้ำตาล จากประเทศต่างๆ ในอาณานิคมของชาติมหาอำนาจ ที่ทำให้เกิดผลกระทบกับการผลิตภายในสยาม

ทั้งทำให้ปัญหาต่างๆ ตามมา เช่น เกิดการเปลี่ยนแปลงไปโครงสร้างการผลิตในประเทศ จากการแบ่งงานที่ชัดเจนยิ่งขึ้นระหว่างแรงงานไทยและแรงงานต่างชาติ แรงงานไทยมุ่งไปในการผลิตข้าวเพื่อการส่งออกเกือบทั้งหมด ระบบการเกณฑ์แรงงานเพื่อการทำงานให้ราชการก็เปลี่ยนไปเป็นการเก็บเป็นเงินแทนมากขึ้น ทางราชการใช้เงินส่วนนี้จ้างแรงงานอพยพที่มาจากประเทศจีน เพื่อทำงานโยธามากขึ้น

นอกจากนี้การที่ชาวนาหันมาปลูกข้าวเพื่อค้าขายกับต่างประเทศอย่างเดียว ทำให้บางปีประเทศต้องประสบปัญหาขาดแคลนข้าวสำหรับการบริโภคภายในประเทศ จนรัชกาลที่ 4 ทรงออกประกาศเตือนประชาชนให้รีบซื้อข้าวก่อนที่ข้าวจะขาดตลาด เพราะพ่อค้าชาวต่างชาติจะมากว้านซื้อกันไปจนหมด

หรือปัญหาเงินปลอม ที่เกิดขึ้นจากการค้าที่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดการหมุนเวียนของเงินตรามากขึ้น ขณะที่รัฐบาลไม่สามารถผลิตเงินขึ้นมาเพียงพอต่อความต้องการของตลาด เมื่อเงินขาดแคลนทำให้เกิดการทำเงินปลอมระบาดไปทั่วพระนคร ซึ่งในสมัยรัชกาลที่ 4 ทางการต้องออกประกาศเกี่ยวกับเงินปลอมหลายครั้งด้วยกัน

สุดท้าย สัญญาเบาริ่งทำให้การผูกขาดสินค้าของรัฐบาลสยามสิ้นสุดลง รัฐจึงหันมาเน้นหารายได้จากภาษีอากรจากราษฎรในประเทศมากขึ้น โดยยังคงให้เอกชนประมูลผูกขาดจัดเก็บภาษีส่งรัฐต่อไป กิจการผูกขาดภาษีฝุ่น อากรสุรา บ่อนเบี้ยและหวย

ทว่าก็ต้องยอมรับว่าส่วนหนึ่งของปัญหาเกิดจากการรับมือการเปลี่ยนแปลงไม่ทันการณ์ของรัฐสยาม

ข้อมูลจาก

ไกรฤกษ์ นานา. ” ‘กรณีจลาจล’ ภายหลังสนธิสัญญาเบาริ่ง และเซอร์จอห์นถูกกดดันให้พ้นจากตำแหน่ง” ใน, นิตยสารศิลปวัฒนธรรม, ฉบับเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2550

การทำสนธิสัญญาเบาว์ริงกับอังกฤษ เมื่อพ.ศ.2398 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีความสำคัญต่อไทย คือ เป็นการเปิดกว้างประเทศไทย ทำให้ไทยเข้าสู่สังคมนานาชาติ มีการเจริญสัมพันธไมตรีกับประเทศต่างๆ ทำให้ไทยเริ่มการปรับปรุงประเทศให้เป็นแบบสากล สนธิสัญญาเบาว์ริงก่อให้เกิดผลดีทางเศรษฐกิจในระยะสั้นๆ แต่ทำให้ไทยถูกจำกัดในเรื่องสิทธิการเก็บภาษีขาเข้า เรื่องสิทธิสภาพนอกอาณาเขตและเรื่องคนในบังคับต่างชาติ

ในสมัยรัตนโกสินทร์ไทยเริ่มทำสนธิสัญญาทางพระราชไมตรีกับชาติตะวันตก คือ อังกฤษในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ.2369 โดยเป็นสนธิสัญญาที่เท่าเทียมกันไม่มีชาติใดเสียเปรียบต่อกัน ต่อมาใน พ.ศ. 2385 อังกฤษทำสนธิสัญญาหนานจิง (หรือนานกิง)กับจีน อังกฤษได้สิทธิพิเศษในเรื่องสิทธิสภาพนอกอาณาเขต คือคนในบังคับอังกฤษเมื่อทำผิดไม่ต้องขึ้นศาลและถูกลงโทษตามกฎหมายจีน และข้อกำหนดอัตราภาษีขาเข้าที่ต่ำและชัดเจน ซึ่งต่อมากำหนดไว้ที่ร้อยละ 5 อังกฤษจึงต้องการปรับปรุงสนธิสัญญากับไทยให้ทำเหมือนอย่างจีน

สหรัฐอเมริกาซึ่งได้ทำสนธิสัญญาทางพระราชไมตรี กับประเทศไทยเมื่อ พ.ศ.2375 ก็ต้องการปรับปรุงสนธิสัญญากับไทยเหมือนกัน จึงได้ส่งทูตเข้ามาเจรจาขอแก้ไขสนธิสัญญาทางพระราชไม่ตรีในปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่พระองค์ไม่ทรงยินยอมเพราะทรงเห็นว่าสนธิสัญญาที่มีอยู่ก็ดีอยู่แล้ว ต่อมาอังกฤษได้ส่งทูตเข้ามาขอแก้ไขสนธิสัญญาอีกแต่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ไม่ทรงยินยอมเช่นกัน

การที่ไทยไม่ยินยอมแก้ไขสนธิสัญญาทำให้ทั้งสหรัฐอเมริกาและอังกฤษไม่พอใจ จนคิดจะใช้กำลังบีบบังคับไทยเช่นเดียวกับที่สหรัฐอเมริกาใช้กำลังทางเรือไปบีบบังคับญี่ปุ่นจนสำเร็จมาแล้ว (สหรัฐอเมริกาใช้กำลังทางเรือบังคับญี่ปุ่นให้เปิดประเทศ และทำสนธิสัญญาคานากาวะ (Kanagawa) เมื่อ พ.ศ. 2397)

เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติเมื่อ พ.ศ. 2394 ทรงเห็นความจำเป็นที่จะต้องยินยอมตามข้อเรียกร้องของชาติตะวันตก จึงทรงติดต่อกับเซอร์ จอห์น เบาว์ริง(Sir John Bowring) ข้าหลวงอังกฤษประจำเกาะฮ่องกง ผู้ซึ่งจะเป็นราชทูตมาเจรจาไขสนธิสัญญากับไทยว่ายินดีที่จะแก้ไขสนธิสัญญา แต่ขอเวลาให้งานถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเสร็จสิ้นก่อน  และขอทราบความต้องการของอังกฤษในการแก้ไขสนธิสัญญา เพื่อไทยจะได้ปรึกษาเป็นการภายในก่อน การแก้ไขสนธิสัญญาก็จะทำได้เร็วขึ้น

เซอร์ จอห์น เบาว์ริง เดินทางเข้ามาถึงเมืองไทยในปลายเดือนมีนาคม พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงให้การต้อนรับเป็นอย่างดี และทรงตั้งคณะกรรมการเพื่อเจรจาแก้ไขสนธิสัญญา มีพระเจ้าน้องยาเธอกรมหลวงธิราชสนิทเป็นประธาน ทำกันที่พระราชวังเดิม คือ พระราชวังเก่าของพระเจ้าตากสินมหราราช การเจรจาสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี และมีการลงนามในสนธิสัญญาในต้นเดือนเมษายน พ.ศ. 2398

สาระสำคัญของสนธิสัญญา  
                1.คนในบังคับอังกฤษที่อยู่ ณ กรุงเทพฯหรือในสยามจะอยู่ภายใต้อำนาจควบคุม ของกงสุลอังกฤษโดยทางสยามจะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวทำได้เพียงช่วยเหลือจับกุมให้อังกฤษ นับเป็นครั้งแรกที่สยามมอบสิทธิสภาพนอกอาณาเขตแก่ประชากรต่างด้าว
                2.คนในบังคับอังกฤษได้รับสิทธิในการค้าขายอย่างเสรี ในเมืองท่าทุกแห่งของสยามและสามารถพำนักอาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครเป็นการถาวรได้  โดยสยามไม่ห้ามปรามและสามารถจ้างลูกจ้าง มาช่วยสร้างบ้านเรือนได้โดยไทยไม่ห้ามปราม คนในบังคับอังกฤษสามารถซื้อหรือเช่าอสังหาริมทรัพย์ในบริเวณดังกล่าได้ (อาณาเขตสี่ไมล์สองร้อยเส้นไม่เกินกำลังเรือแจวเดินทางในยี่สิบสี่ชั่วโมงจากกำแพงพระนคร) คนในบังคับอังกฤษยังได้รับอนุญาตให้เดินทางได้อย่างเสรีในสยามโดยมีหนังสือที่ได้รับการรับรองจากกงสุล
                3.ยกเลิกค่าธรรมเนียมปากเรือและกำหนดอัตราภาษีขาเข้าและขาออกชัดเจน อัตราภาษีขาเข้าของสินค้าทุกชนิดกำหนดไว้ที่ร้อยละ3ยกเว้นฝิ่นที่ไม่ต้องเสียภาษี แต่ต้องขายให้กับเจ้าภาษี ส่วนเงินทองและข้าวของเครื่องใช้ของพ่อค้าไม่ต้องเสียภาษีเช่นกัน สินค้าส่งออกให้มีการเก็บภาษีชั้นเดียว โดยเลือกว่าจะเก็บภาษีชั้นใน(จังกอบภาษีป่าภาษีปากเรือ)หรือภาษีส่งออก
                4.พ่อค้าอังกฤษได้รับอนุญาตให้ซื้อขายโดยตรงได้กับเอกชนสยาม โดยไม่มีผู้ใดผู้หนึ่งขัดขวางหรือเบียดเบียน
                5.รัฐบาลสยามสงวนสิทธิ์ ในการห้ามส่งออกข้าวเกลือและปลา เมื่อสินค้าดังกล่าวมีทีท่าว่าจะขาดแคลนในประเทศ
                6.คนในบังคับของอังกฤษจะมาค้าขายตามหัวเมืองชายฝั่งทะเลของสยามได้ แต่จะต้องอาศัยอยู่ในกรุงเทพฯแลจังหวัดที่ระบุไว้ในสัญญา
                7.ถ้าฝ่ายไทยยอมให้สิ่งใดๆแก่ชาติอื่นๆ นอกจากหนังสือสัญญานี้ก็จะต้องยอมให้อังกฤษแลคนในบังคับอังกฤษเหมือนกัน
                สนธิสัญญาเบาว์ริง ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อไทย ดังนี้

1.  เป็นการเริ่มต้นการค้าเสรีในประเทศไทย ซึ่งทำให้ต่างชาติเข้ามาค้าขายเพิ่มขึ้นจากเดิมมาก จนทำให้ผู้คนภายในประเทศมีฐานะดีขึ้นกว่าเดิม

2.  ข้าวกลายเป็นสินค้าสำคัญของไทย จนกระทั่งปัจจุบัน

3.  ไทยเข้าสู่สังคมนานาชาติ มีการเจริญสัมพันธไมตรีกับประเทศต่างๆ เพิ่มขึ้น วัฒนธรรมไทยมีการปรับตัวให้เหมาะสมมีการรับวัฒนธรรมและวิทยาการของชาติตะวันตกเข้ามามากขึ้น

อย่างไรก็ดี ผลเสียของสนธิสัญญาเบาว์ริงก็มีเหมือนกัน ดังนี้

1. ไทยถูกจำกัดการเก็บภาษีขาเข้าที่อัตราร้อยละ 3

2. เรื่องสิทธิสภาพนอกอาณาเขตและคนในบังคับ ทำให้ประเทศตะวันตกชักชวนคนชาติเอเชียไปจดทะเบียนเป็นคนในบังคับ กฎหมายไทยจึงไม่สามารถควบคุมคนเหล่านั้นได้

ตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวแล้ว ได้ทรงพยายามเจรจากับชาติตะวันตกเพื่อขอแก้ไขสนธิสัญญาและประสบผลสำเร็จในบางส่วน พระมหากษัตริย์ในสมัยต่อมาทรงพยายามดำเนินงานต่อ จนประสบผลสำเร็จเมื่อ พ.ศ. 2481 ทำให้ไทยสามารถเพิ่มอัตราภาษีได้และสิทธิสภาพนอกอาณาเขตรวมทั้งปัญหาคนในบังคับจึงสิ้นสุดลง

สนธิสัญญาเบาว์ริงในสมัยใด ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง

หลังสนธิสัญญาเบาว์ริงในสมัยรัชกาลที่ 4 สยามในเวลานั้นก็เร่งปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมและกฎหมายให้เป็นสากล หวังการปฏิรูประบบกฎหมายและการศาลของไทยให้เจริญทัดเทียมอารยประเทศ โดยมีสาเหตุสำคัญประการหนึ่ง ก็เพื่อนำไปสู่การยกเลิกสิทธิสภาพนอกอาณาเขต ทวงคืนอธิปไตยทางการศาล โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรง ...

สนธิสัญญาเบาว์ริงส่งผลกระทบอย่างไร

สนธิสัญญาเบาว์ริ่งก่อให้เกิดผลกระทบสำคัญ 4 ประการคือ (1) เปิดประตูให้ชาติอื่นๆ ทำสนธิสัญญาลักษณะเดียวกันกับไทย เช่น อเมริกา ฝรั่งเศส โปรตุเกส เท่ากับไทยถูกเอาเปรียบมากขึ้น (2) ปัญหาสิทธิสภาพนอกอาณาเขต (3) ระบบเจ้าภาษีนายอากรถูกเปลี่ยนเป็นการค้าเสรี โครงสร้างการคลังเปลี่ยนไป (4) การค้ากับต่างประเทศขยายตัวมากเกิดการ ...

ข้อใดเป็นผลดีที่เกิดจากการทำสนธิสัญญาเบาว์ริง

สนธิสัญญาดังกล่าวอนุญาตให้ชาวต่าง ชาติเข้ามาทำการค้า เสรีในกรุงเทพมหานคร เนื่องจากในอดีตการค้าของชาวตะวันตก ได้รับการจัดเก็บภาษีอย่างหนัก สนธิสัญญาดังกล่าวยังอนุญาตให้จัดตั้งกงสุลอังกฤษ ในกรุงเทพมหานครและรับประกันสิทธิสภาพนอกอาณาเขต ตลอดจนอนุญาตให้ชาวอังกฤษสามารถถือครองที่ดินในสยามได้

ผลจากการทําสนธิสัญญาเบาว์ริงที่มีต่อเศรษฐกิจของไทยคืออะไร

ความเปลี่ยนแปลงระบบเงินตราที่มีต่อเศรษฐกิจไทยหลังสนธิสัญญา เบาว์ริง ในพ.ศ. 2398 ส่งผลทำให้เศรษฐกิจไทยเริ่มมีการพัฒนาระบบ เงินตราที่เป็นไปตามมาตรฐานสากลมากขึ้น การค้าขายขยายตัวออกไป อย่างกว้างขวาง โดยใช้เงินตราเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน การขยายตัว ทางการค้าทำให้เงินตราที่ใช้หมุนเวียนภายในประเทศไม่เพียงพอกับ การค้าขาย ...

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก