สถานธนานุบาล จํานําอะไรได้บ้าง

ช่วงนี้ใกล้เปิดเทอม เชื่อว่าบรรดาน้อง ๆ หนู ๆ คงจะตื่นเต้นกับการเปิดเทอมที่กำลังจะมาถึง แม้ว่าในหลาย ๆ พื้นที่ต้องเปิดเทอมแค่ในทางทฤษฎีแต่ในทางปฏิบัตินั้น ยังคงต้องดำเนินการเรียนการสอนออนไลน์กันต่อไปเพราะมาตรการการเฝ้าระวังของเชื้อโควิด-19 แต่สำหรับคุณพ่อ คุณแม่และผู้ปกครองแล้ว ช่วงเวลานี้คือช่วงเวลาแห่งการปั๊มเงินโดยแท้ครับ แต่เพราะผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสที่ส่งผลกระทบในวงกว้าง ทำให้งานอีเว้นต่าง ๆ ถูกเลื่อนและยกเลิก ห้างสรรพสินค้าและตลาดนัดถูกปิดเป็นระยะเวลานาน ผู้ปกครองท่านใดที่เป็นข้าราชการหรือพนักงานประจำก็อาจจะไม่โดนผลกระทบสักเท่าไหร แต่สำหรับอาชีพค้าขาย อาชีพอิสระนั้น โดนผลกระทบเต็ม ๆ ครับ ไหนจะค่าเทอม ค่าหนังสมุด หนังสือและอุปกรณ์การเรียน ค่าชุดนักเรียน รวมแล้วไม่ต่ำกว่า 10,000 บาท โดยคุณพ่อ คุณแม่ ผู้ปกครองที่ประกอบอาชีพอิสระและเป็นพ่อค้า แม่ค้านั้นส่วนใหญ่ที่ประสบปัญหาการหมุนเงินไม่ทันก็มักจะหันไปใช้บริการของสินเชื่อธนาคาร ผลิตภัณฑ์บัตรเครดิตชนิดต่าง ๆ หรือแม้กระทั้งบริการไฟแนนซ์อื่น เช่น บ้าน รถยนต์ รถมอเตอร์ไซค์ เป็นต้น แต่สำหรับคนที่มีขอจำกัดในด้านการทำธุรกรรมทางการเงินกับธนาคาร เช่น ติดแบล็คลิส สเตทเมนท์ไม่สวย หรือไม่มีบ้าน รถยนต์และรถมอเตอร์ไซค์นั้น ทางออกอีกประการคือ “โรงรับจำนำ”

ดังนั้น บทความจึงมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอข้อมูลทั่วไปและรายละเอียดเฉพาะ อีกทั้งประเด็นคำถามเกี่ยวกับโรงรับจำนำ ที่มักเป็นข้อสงสัยสำหรับผู้ที่กำลังมองหาแหล่งเงินฉุกเฉินเพื่อนำมาแก้ไขปัญหาทางการเงินโดยไม่ต้องยื่นขอสินเชื่อเงินด่วนและเงินกู้นอกระบบ

  ลิงก์ผู้สนับสนุน

  • โรงรับจำนำ คือ
  • ใครบ้างที่สามารถใช้บริการโรงรับจำนำ
  • เอาของไปจำนำต้องทำอย่างไร
  • ตั๋วจำนำ คือ
  • โรงรับจำนำ รับอะไรบ้าง
  • อัตราดอกเบี้ยของโรงรับจำนำ 
  • คำถามที่พบบ่อย
  • โรงรับจำนำ รับจำนำโทรศัพท์ไหม
  • โรงรับจำนำรับ นาฬิกา อะไรบ้าง
  • โรงรับจำนำรับพระเครื่องไหม
  • โรงรับจำนำรับจำนำโฉนดที่ดินไหม
  • โรงรับจำนำเปิด 24 ชั่วโมง
  • ตั๋วจำนำหาย ทำยังไง
  • ตั๋วจำนำมีอายุที่เดือน

โรงรับจำนำ คือ

แนวความคิดเรื่องโรงรับจำนำนั้น มีมาเป็นเวลานานร่วม 100 ปี ตั้งแต่สมัยรัฐบาลของ จอมพล ป.พิบูลสงคราม ซึ่งมีการจัดให้มีการก่อตั้ง โรงจำนำของรัฐขึ้นเป็นครั้งแรก ในวัน 29 เมษายน 2498 และได้เปลี่ยนชื่อเป็น “สถานธนานุเคราะห์” ในปี 2500 สถานะเป็นหน่วยงานราชการ สังกัดกระทรวงมหาดไทย จนในปัจจุบันได้มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างและสังกัดมาอยู่ภายใต้การดูแลของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยยังคงวัตถุประสงค์เดิมคือ เป็นหน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนด้านการเงิน เพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้า โดยให้มีการกู้เงิน ซื้อ ขาย แลกเปลี่ยน สิ่งของอันเป็นทรัพย์สินของประชาชนในอัตราดอกเบี้ยต่ำ ซึ่งในปัจจุบันโรงรับจำนำนั้นก็มีการเปิดให้บริการทั้งของรัฐคือ สถานธนานุเคราะห์กับสถานธนานุบาลซึ่งดูแลโดยเทศบาลและของเอกชน บริการให้ความช่วยเหลือประชาชนที่มีทรัพย์สินที่สามารถนำมาจำนำเพื่อนำเงินที่ได้ไปจัดการแก้ไขปัญหาเดือดร้อนด้านการเงิน ซึ่งถือว่าเป็นพึ่งสำคัญในยามหมุนเงินไม่ทันได้เป็นอย่างดี ดีกว่าเงินกู้นอกระบบมากมายนัก

ใครบ้างที่สามารถใช้บริการโรงรับจำนำ

คำตอบคือ ทุกคนครับ แต่ต้องมีเอกสารยืนยันตัวตนของผู้ใช้บริการ เช่น บัตรประชาชน หรือเอกสารอื่น ๆ โดยเฉพาะโรงจำนำเอกชนที่มีความยืดหยุ่นมากกว่า ทั้งนี้ห้ามพระภิกษุ สามเณรและเยาวชนที่อายุต่ำกว่า 15 ปี เข้าใช้บริการนะครับ

เอาของไปจำนำต้องทำอย่างไร

หากคุณกำลังเดือดร้อนเรื่องเงินเพียงแค่คุณมีทรัพย์สิน นำทรัพย์สินของคุณพร้อมบัตรประชาชน ก็สามารถเข้ามาใช้บริการของโรงรับจำนำได้ เริ่มต้นโดยยื่นบัตรประชาชนและทรัพย์สินของท่านที่จะจำนำแก่เจ้าหน้าที่ รอการประเมินราคา แล้วเตรียมนิ้วหัวแม่มือของท่านให้พร้อม เพื่อพิมพ์ลายนิ้วมือ หรือเตรียม “นิ้วดำ” เพื่อเป็นหลักฐานการยื่นยันตัวตน ซึ่งในปัจจุบันโรงรับจำนำหลายแห่งได้พัฒนาแบบระบบสแกนลายนิ้วมืออิเล็กทรอนิกส์แล้ว รอรับเงินและตั๋วจำนำ เท่านี้เป็นอันเสร็จสิ้นกระบวนการซึ่งใช้เวลาในการดำเนินการไม่เกิน 10 นาทีครับผม (ไม่รวมรอคิวนะครับ ถ้าช่วงเปิดเทอมแบบนี้คิวอาจยาว)

ตั๋วจำนำ คือ

เอกสารที่ออกโดยโรงรับจำนำซึ่งให้แก่บุคคลที่นำทรัพย์สินมาจำนำเพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐานในการชำระดอกเบี้ย เงินต้นและใช้เพื่อไถ่ถอนทรัพย์สิน เมื่อบุคคลนั้นนำเงินมาชำระตามจำนวนของทรัพย์สินที่ได้เงินไปทั้งหมด ซึ่งตั๋วจำนำนี้จะต้องระบุอัตราดอกเบี้ยที่อาจคำนวนและระบุไว้เป็นจำนวนเงิน ประกอบกับกำหนดนัดชำระ ในบางกรณีที่ลูกค้าคิดว่าไม่สามารถจ่ายค่างวดหรือไม่สามารถไถ่ถอนทรัพย์สินนั้นได้ก็สามารถดำเนินการขายตั๋วจำนำนั้นแก่บุคคลอื่นได้ ก่อนที่ทรัพย์สินนั้นจะพ้นกำหนดชำระและหลุดจำนำไปเป็นทรัพย์สินของโรงรับจำนำ ซึ่งจะมีการขายทอดตลาดทรัพย์สินหลุดจำนำต่อไป โดยวิธีการนี้เรียกว่าการ “ขายตั๋วจำนำ” นั่นเอง

โรงรับจำนำ รับอะไรบ้าง

คุณยกทรัพย์สินอะไรเข้าโรงรับจำนำได้ ก็จำนำทรัพย์สินนั้นได้ทั้งหมดหล่ะครับ แต่ไม่เกิน 100,000 บาทต่อหนึ่งรายการและรวมทุกรายการไม่เกิน 500,000 บาทต่อลูกค้า 1 รายต่อ 1 วัน โดยมีทรัพย์สินมากมายหลายประเภท ตั้งแต่ครก สากยันตู้เย็นและเรื่องใช้ไฟฟ้า เหมือนในละครหรือนิยายไทย แต่ในปัจจุบันอาจมีความแตกต่างออกไปเล็กน้อยครับ กรณีของครกและสาก ถ้าเป็นครกและสากหินโบราณก็อาจสามารถนำมาจำนำได้ เพราะเป็นของโบราณหายาก โรงรับจำนำจะไม่ได้ตีราคาในฐานะเครื่องครัวแต่อาจจะตีราคาในฐานะของสะสมแทน ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่จะรับจำนำและราคาอาจแตกต่างกันขึ้นอยู่กับการตีราคาของโรงรับจำนำแต่ละแห่ง ในทางกลับกัน ก็มีทรัพย์สินอีกหลายชนิดที่โรงรับจำนำพิจารณารับเพิ่มเติมจากในอดีต เช่น เครื่องเสียง เครื่องดนตรี คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ แท็บเล็ต เครื่องเล่นเกมส์ (บางแห่งรับเฉพาะ Nintendo Switch และ PlayStation 4) ทั้งนี้การพิจารณาทรัพย์สินนั้นขึ้นอยู่กับผลประโยชน์ของโรงรับจำนำเป็นหลัก คือเมื่อทรัพย์สินนั้นหลุดจำนำ โรงรับจำนำจะต้องนำทรัพย์สินเหล่าออกขายทอดตลาดหรือสามารถหากำไรจากของเหล่านั้นได้ด้วยเช่นกัน ดังนั้น การนำหม้อก๋วยเตี๋ยวหรือเครื่องใช้ไฟฟ้าที่หมดสภาพหรือเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ตกรุ่นอาจจะไม่สามารถจำนำได้ในปัจจุบัน

อัตราดอกเบี้ยของโรงรับจำนำ 

อัตราดอกเบี้ยของโรงรับจำนำนั้นถือว่าอยู่ในอัตราที่ต่ำมากครับ หากเทียบกับดอกเบี้ยของสินเชื่อและบัตรเครดิต โดยการคิดอัตราดอกเบี้ยของโรงรับจำนำเอกชนอาจจะสูงกว่าของรัฐเล็กน้อย แต่ในกรณีของสถานธนานุเคราะห์และสถานธนานุบาลนั้น การคิดอัตราดอกเบี้ยจะขึ้นอยู่กับจำนวนเงินต้น เช่น

เงินต้นไม่เกิน 5,000 บาท คิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.25 ต่อเดือน

เงินต้น 5,001 – 10,000 บาท คิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.75 ต่อเดือน

เงินต้น 20,001 – 100,000 บาทคิดอัตราดอกเบี้ยที่ร้อย 1.25 ต่อเดือน

จะเห็นแล้วว่าโรงรับจำนำเป็นที่พึ่งแก่ประชะชนที่มีความเดือดร้อนเรื่องหารเงินอย่างแท้จริง

คำถามที่พบบ่อย

โรงรับจำนำ รับจำนำโทรศัพท์ไหม

คำตอบคือรับครับ แต่ในปัจจุบันโทรศัพท์มือถือ ถือว่าเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญอย่างมากต่อการดำเนินชีวิต ถึงขนาดเคยมีคนกล่าวไว้ว่า โจรขึ้นบ้านยังเสียหายไม่เท่ากับทำโทรศัพท์หาย เพราะโทรศัพท์มีฟังชั่นการใช้งานที่อำนวยความสะดวกและมีแอปพลิเคชั่นธนาคารซึ่งเก็บข้อมูลทางการเงินที่สำคัญมากมาย ดังนั้น การนำโทรศัพท์มือถือไปจำนำจึงเป็นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงเป็นอันดับแรกครับ แต่ถ้าหากไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ก็สามารถนำโทรศัพท์ไปจำนำได้ โดยต้องมีอุปกรณ์ สายชาร์จ เต้าเสียบครบถ้ว โรงรับจำนำจึงจะรับครับ

โรงรับจำนำรับ นาฬิกา อะไรบ้าง

โรงรับจำนำ รับจำนำสิ่งของเบ็ดเตล็ดหลากหลายชนิด เช่น กล้องถ่ายรูป นาฬิกา แว่นตา เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องมือช่าง เครื่องดนตรี เป็นต้น โดยโรงรับจำนำจะพิจารณาตั๋วจำนำจำนวนฉบับละไม่เกิน 50,000 บาทสำหรับทรัพย์สินดังที่กล่าวมา ซึ่งในกรณีของนาฬิกาควรเป็นนาฬิการที่มียี่ห้อ ซึ่งมีมูลค่าชัดเจน หากนาฬิกาที่ลูกค้านำมาจำนำนั้นมีราคาที่สูงกว่าราคาตั๋วสูงสุดมาก ขอแนะนำให้ลองนำนาฬิกานั้นไปจำนำที่โรงรับจำนำของเอกชนซึ่งอาจมีเงื่อนไขที่ต่างจากโรงรับจำนำของรัฐที่มีการกำหนดเพดานไว้ที่ 50,000 บาทหรือนำไปจำนำหรือขายที่ร้านนาฬิกาที่มีการใช้บริการฝากนาฬิกาครับ เพราะร้านเหล่านั้นจะทราบราคาและมูลค่าที่แท้จริงของนาฬิกามากกว่าโรงรับจำนำ

โรงรับจำนำรับพระเครื่องไหม

คำตอบคือ สามารถนำพระมาจำนำได้ครับแต่ไม่แนะนำ เพราะในวงการพระเครื่องนั้นเป็นที่ทราบกันดีว่ามูลค่าหรือราคาของพระเครื่องที่รับเช่าบูชากันนั้นบางองค์มีราคาสูงมาก สูงมากจนอาจมากกว่าเลข 6 หลักครับ ดังนั้นจึงไม่ควรเสี่ยงนำรพเครื่องมาจำนำเพาะอาจได้ราคาที่ไม่เต็มตามมูลค่าขององค์พระ และยิ่งไปกว่านั้นอาจถูกเปลี่ยนครับ หากท่านเป็นคนที่ไม่เชี่ยวชาญเรื่องพระเครื่องควรปรึกษาบุคคลใกล้ชิดเพื่อนำองค์พระท่านปล่อยเช่าบูชาในตลาดพระเครื่องเลยจะได้ราคาที่เหมาะสมมากกว่าครับ

โรงรับจำนำรับจำนำโฉนดที่ดินไหม

คำตอบคือ ไม่รับครับ โรงจำนำของรัฐมีระเบียบข้อบังคับที่มีการระบุไว้ชัดเจนครับ ถึงทรัพย์สินที่ไม่สามารถรับจำนำได้ คือ บ้าน ที่ดิน อาวุธ ปืน สุราและของมึนเมา อีกทั้งยังมีการเขียนระเบียบคุมไว้อีกข้อคือ จำนำทรัพย์สินได้แต่มูลค่าต้องไม่เกิน 100,000 บาทซึ่งราคาที่ดินปกตินั้นไม่น่าจะต่ำกว่า 100,000 บาทครับ โดยหากท่านมีที่ดินในกรรมสิทธิ์ควรดำเนินการจำนองหรือขายฝากกับธนาคารจะคุ้มค่ากว่าครับผม

โรงรับจำนำเปิด 24 ชั่วโมง

เวลาทำการของสถานธนานุเคราะห์และสถานธนานุบาล คือ วันจันทร์ ถึง วันศุกร์ เวลา 8.00 – 16.00 น.

ส่วนเวลาทำการของโรงรับจำนำเอกชนนั้น ขึ้นอยู่กับเวลาทำการของแต่ละแห่ง เช่น โรงรับจำนำ Easymoney เปิดให้บริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 8.00-17.00 น. หยุดเฉพาะวันหยุดนักขัตฤกษ์ เป็นต้น

ตั๋วจำนำหาย ทำยังไง

ไม่ต้องตกใจครับหากท่านทำตั๋วจำนำหาย ท่านสามารถดำเนินการแก้ไขได้โดย นำบัตรประชาชนไปติดต่อที่เจ้าหน้าที่ที่โรงรับจำนำ พร้อมสแกนลายนิ้วมือนิ้วโป้งมือขวา เพื่อออกใบแทนตั๋ว แล้วนำใบแทนตั๋วไปแจ้งความที่สถานีตำรวจในเขตรับผิดชอบ หลังจากนั้น นำใบแจ้งความ ใบแทนตั๋วและบัตรประชาชน มาติดต่อเจ้าหน้าที่อีกครั้ง พร้อมยืนยันตัวตนด้วยการสแกนลายนิ้วมือนิ้วโป้งขวาอีกครั้ง ท่านก็จะได้รับตั๋วจำนำใบใหม่ครับผม

ตั๋วจำนำมีอายุที่เดือน

หลายท่านอาจมีความกังวลว่าจะลืม กลัวว่าตั๋วจำนำหมดอายุ ตามพระราชบัญญัติ โรงรับจำนำ ปี 2505 กำหนดให้ตั๋วจำนำมีอายุ 4 เดือนกับอีก 30 วัน (รวมระยะเวลาเกือบ 5 เดือนเต็ม) ซึ่งถ้าตั๋วจำนำกำหนด 4 เดือน ท่านลืมชำระค่าดอกเบี้ยในวันที่ 1 ทางโรงรับจำนำจะคิดดอกแต่ 4 เดือนครึ่ง แต่ถ้าเกิน 15 วันไปแล้วอาจจะโดนดอกเบี้ย 1 เดือนเต็มและถ้าเลยกำหนด 4 เดือน 30 วัน ทรัพย์นั้นจะถือว่าเป็นทรัพย์หลุดนะครับ เพราะฉะนั้นควรตรวจสอบและเช็ควันชำระดอกเบี้ยและวันไถ่ถอนให้ดี ๆ

สรุปแล้ว โรงรับจำนำเป็นอีกทางเลือกสำหรับท่านที่มีความต้องการเงินเร่งด่วน แต่มีทรัพย์สินอยู่บ้างแม้ไม่ได้เป็นทรัพย์สินที่มีมูลค่าสูงมากมาย ดังเช่น บ้าน ที่ดิน ก็สามารถนำมาจำนำเพื่อแก้ไขปัญหาทางการเงินเฉพาะหน้าไปได้ซึ่งปัจจุบันมีโรงรับจำนำมากมายทั้งของรัฐและของเอกชนที่เปิดและพร้อมให้บริการท่านเพื่อให้ผ่านพ้นวิกฤติทางการเงินไปได้โดยไม่ต้องพึ่งพาหนี้นอกระบบที่มีความน่ากลัวมากกว่าครับ

ทั้งนี้ นอกเหนือจากการจำนำ ก็ยังมีสินเชื่อจำนำที่ชื่อคล้าย ๆ กัน แต่มีลักษณะแตกต่าง ส่วนจะมีข้อดีอย่างไร ก็สามารถเข้าไปอ่านกันได้ที่บทความเกี่ยวกับสินเชื่อจำนำทะเบียนที่เราได้เคยเสนอไปแล้ว

อ้างอิง 1 2 3

Post navigation

This div height required for enabling the sticky sidebar

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก