มาตรฐานสินค้าเกษตร มี 2 ประเภทได้แก่อะไรบ้าง

มาตรฐานการผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัย

  สภาวการณ์ผลิตพืชอาหารทางการเกษตรของประเทศไทยในปัจจุบัน เริ่มตระหนักถึงความสำคัญในการผลิตพืชอาหารปลอดภัยสำหรับการบริโภคในประเทศและการส่งออก เนื่องจากปัญหาด้านสุขภาพของประชากรในประเทศที่เพิ่มสูงขึ้น และข้อจำกัดทางด้านการค้าระหว่างประเทศเกี่ยวกับการส่งผลิตผลทางการเกษตรไปจำหน่ายยังประเทศต่างๆที่มีข้อบังคับว่าด้วยสินค้าทางการเกษตรที่จะนำเข้าสู่ประเทศนั้นๆต้องผ่านมาตรฐานการรับรองที่เป็นสากล

อะไรคือสภาพปัญหาความไม่ปลอดภัยของสินค้าเกษตร สามารถสรุปได้ดังนี้

  1. การปนเปื้อนสารเคมีและจุลินทรีย์ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ได้แก่สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชที่ใช้ในระหว่างขั้นตอนการเพาะปลูก และจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค ปนเปื้อนในผลิตผลทางการเกษตรทั้งในระหว่างการเพาะปลูก การเก็บเกี่ยวและการขนส่ง เช่น เชื้อ Salmonella spp. เชื้อ Escherichia coli ซึ่งเป็นจุลินทรีย์ที่เกี่ยวข้องกับโรคระบบทางเดินอาหาร เป็นต้น นอกจากนี้ยังพบการปนเปื้อนของสารปฏิชีวนะตกค้างในผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำและปศุสัตว์ สารพิษอะฟลาท็อกซินที่เกิดจากเชื้อรา ที่พบมากในถั่วลิสง ข้าวโพด และการใช้วัตถุเจือปนเพื่อการถนอมอาหารอย่างผิดวิธี เช่น สารฟอกขาว สารกันบูด สารบอแร็ก เป็นต้น
  2. การมีพฤติกรรมบริโภคที่ไม่ถูกหลักโภชนาการของประชากร ทำให้มีการเจ็บป่วยและเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็ง ความดันโลหิตสูง และโรคระบบทางเดินอาหาร ตลอดจนอาการป่วยเรื้อรังรักษาไม่หายที่เพิ่มสูงขึ้น

สาเหตุที่ทำให้เกษตรกรผลิตสินค้าเกษตรไม่ปลอดภัย

  1. เกษตรกรส่วนใหญ่ยังขาดความรู้และทักษะในการผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัย
  2. เกษตรกรขาดแรงจูงใจและทัศนคติที่ดีในการผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัย
  3. ขาดความเชื่อมโยงระหว่างผู้ผลิต ผู้ค้า และผู้บริโภค ทำให้ตลาดสินค้าเกษตรปลอดภัยในประเทศไทยมีจำกัด

  ด้วยเหตุนี้ทั้งภาครัฐและเอกชน จึงควรให้ความสำคัญและร่วมมือกันเกี่ยวกับการนำ การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP = Good Agricultural Practice) มาส่งเสริมให้เกิดความรู้ความเข้าใจในภาคการเกษตรของประเทศ ให้เกิดการปฏิบัติเพื่อป้องกัน หรือลดความเสี่ยงของอันตรายที่เกิดขึ้นระหว่างการเพาะปลูก การเก็บเกี่ยว และการจัดการหลังการเก็บเกี่ยว เพื่อให้ได้ผลิตผลที่มีคุณภาพ ปลอดภัย และเหมาะสมต่อการบริโภค

มาตรฐาน GAP สำหรับพืชอาหาร

  การรับรองมาตรฐาน GAP ที่ผ่านมา ใช้มาตรฐาน GAP ของกรมวิชาการเกษตรในการตรวจรับรองแปลง โดยที่ผ่านมา มกอช. (สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ) ได้พัฒนามาตรฐาน GAP สำหรับพืชอาหาร (มกษ.9001-2552) โดยปรับปรุงและประกาศใช้ในปี 2552 โดยอ้างอิงและเทียบเคียงมาตรฐาน Codex มาตรฐาน ASEAN และมาตรฐานกรมวิชาการเกษตร และในปัจจุบันได้มีการใช้ มกษ. GAP พืชอาหาร (มกษ.9001-2556) ที่ได้ปรับให้สอดคล้องกับมาตรฐาน ASEAN ซึ่งได้ประกาศเป็นมาตรฐานของประเทศ

ผลที่ได้จากการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP)

  1. ได้ผลิตผลที่มีคุณภาพและปลอดภัยสำหรับผู้บริโภคทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ
  2. เกษตรกรผู้ผลิตมีสุขภาพอนามัยดีขึ้น ประหยัดค่าใช้จ่ายค่ารักษาพยาบาลจากการเจ็บป่วย
  3. ผู้บริโภคเชื่อมั่นในสินค้าทางการเกษตรของประเทศไทย
  4. รักษาสภาพแวดล้อม และเกิดระบบการผลิตสินค้าเกษตรแบบยั่งยืน

ร่วมแสดงความคิดเห็น



ความตื่นตัวในเรื่องความปลอดภัยด้านอาหารในประเทศไทยเกิดขึ้นมานานพอควร นับย้อนหลังไปนานกว่า 30 ปี โดยความตื่นตัวดังกล่าวเกิดขึ้นก่อนในหมู่ผู้บริโภค ที่สนใจในเรื่องการบริโภคอาหารธรรมชาติ และเป็นห่วงใยเกี่ยวกับผลกระทบต่อสุขภาพจากการบริโภคอาหารที่มีสารเคมีการเกษตรตกค้างและปนเปื้อนอยู่มาก ประกอบกับปัญหาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมจากการใช้สารเคมีการเกษตรโดยขาดความรับผิดชอบและขาดการควบคุมดูแล ทำให้มีการผลักดันให้มีการพัฒนามาตรฐานการผลิต-การแปรรูปสำหรับสินค้าอาหารออกมามากมาย ทั้งโดยหน่วยงานภาครัฐและเอกชน

ในระยะแรก การตรวจรับรองมาตรฐานจะเน้นที่การรับรองผลผลิต โดยการสุ่มผลผลิตการเกษตรมาตรวจหาสารเคมีตกค้างในห้องปฏิบัติการ (เช่น ผลผลิตปลอดภัยจากสารพิษ หรือ “ผักผลไม้อนามัย” ของกรมวิชาการเกษตร) แต่การตรวจวิธีนี้ต้องใช้เวลานานและค่าใช้จ่ายสูง จึงได้มีการพัฒนาชุดเครื่องมือทดสอบแบบง่ายๆ ซึ่งใช้เวลาไม่นานและไม่แพงมากนัก (แต่ก็จะมีข้อจำกัดเกี่ยวกับความถูกต้องของผลการตรวจ และชนิดของสารเคมีการเกษตรที่สามารถตรวจได้ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมใน “การตรวจผลผลิต” คลิ๊ก)

ชุดทดสอบสารเคมีตกค้างนี้ได้ทำให้เกิดความตื่นตัวอย่างมากในการตรวจสารเคมีตกค้างในผลผลิต และได้นำมาซึ่งการพัฒนาและจัดทำมาตรฐานอีกหลายระบบ (เช่น ผลผลิตปลอดภัยจากสารพิษ ของกรมส่งเสริมการเกษตร, การรับรองระบบตรวจสอบสารพิษตกค้างในผักสด/ผลไม้สด ของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์)

ในขณะที่ภาคราชการมุ่งที่การพัฒนามาตรฐานอาหารปลอดภัย โดยเน้นที่การตรวจรับรองผลผลิต ภาคเอกชน โดยการริเริ่มขององค์กรพัฒนาเอกชนได้พัฒนาระบบการตรวจรับรองเกษตรอินทรีย์ขึ้น (สำนักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์) โดยเน้นที่การตรวจรับรองการบริหารจัดการฟาร์มและผลผลิต ไม่ใช่ที่ตัวผลผลิตเท่านั้น ซึ่งเป็นไปตามแนวทางการตรวจรับรองที่ใช้ในสากล ภายใต้การผลักดันของสมาพันธ์เกษตรอินทรีย์นานาชาติ (IFOAM)

หลังจากที่ภาคเอกชนได้ริเริ่มการพัฒนาระบบการตรวจรับรองเกษตรอินทรีย์มาระยะหนึ่ง หน่วยงานราชการจึงได้หันมาสนใจในการพัฒนาระบบรับรองเกษตรอินทรีย์ขึ้นมาบ้าง (สถาบันพืชอินทรีย์ กรมวิชาการเกษตร)

ในขณะเดียวกัน หน่วยงานราชการที่รับผิดชอบในเรื่องอาหารปลอดภัยได้เริ่มที่จะเปลี่ยนแนวคิดในเรื่องการตรวจรับรอง จากเดิมที่เป็นการตรวจผลผลิต มาเป็นการตรวจการบริหารจัดการฟาร์มแทน ซึ่งทำให้มีการพัฒนาระบบมาตรฐานเกษตรดีที่เหมาะสมขึ้น (เช่น เกษตรดีที่เหมาะสมสำหรับพืช โดยกรมวิชการเกษตร, การปฏิบัติที่ดี หรือ CoC ของกรมประมง และ … สำนักงานมาตรฐาน

นอกจากนี้แล้ว ยังมีความพยายามในการพัฒนามาตรฐานเกษตร ที่เฉพาะสำหรับสมาชิกในกลุ่มของตัวเอง โดยเฉพาะในหมู่องค์กรพัฒนา เช่น มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ขององค์กรมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ภาคเหนือ, มาตรฐานเกษตรธรรมชาติ ของ….., กสิกรรมไร้สารพิษ เป็นต้น หรือแม้แต่ซุปเปอร์มาร์เก็ตบางแห่งก็ได้พัฒนามาตรฐานและตรารับรองผลิตภัณฑ์ของตัวเองขึ้นด้วย (เช่น วงจรคุณภาพของคาร์ฟูร)

โดยภาพรวมแล้ว การมีระบบมาตรฐานและการตรวจรับรองสำหรับระบบเกษตรต่างๆ ในประเทศไทยน่าจะเป็นผลดีต่อผู้ผลิต เพราะอย่างน้อยก็ทำให้เกิดความแตกต่างของผลผลิต ซึ่งช่วยสร้างโอกาสทางการตลาดใหม่เพิ่มขึ้น แต่สำหรับผู้บริโภคแล้ว การมีมาตรฐานและตรารับรองหลากหลายทำให้เกิดความสับสน เพราะผู้บริโภคไม่สามารถที่จะเข้าใจถึงรายละเอียดมาตรฐานทางเทคนิค (ซึ่งที่จริงแล้ว แม้แต่นักวิชาการและเจ้าหน้าที่ราชการเองก็ยังไม่เข้าใจและสับสนในมาตรฐานต่างๆ)

โดยภาพรวมแล้ว สามารถแบ่งการรับรองมาตรฐานได้เป็น 2 กลุ่ม คือ (ก) เกษตรอินทรีย์-เกษตรยั่งยืน ที่เน้นในเรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และ (ข) อาหารปลอดภัย ที่เน้นในเรื่องความปลอดภัยต่อผู้บริโภค

ประเภท

ตัวอย่างมาตรฐาน

ปุ๋ยเคมี

สารเคมีกำจัดศัตรูพืช

สารเคมีกำจัดวัชพืช

อาหารปลอดภัย ปลอดภัยจากสารพิษ

เกษตรดีที่เหมาะสม

อนุญาตให้ใช้ อนุญาตให้ใช้ อนุญาตให้ใช้
เกษตรอินทรีย์ –

เกษตรยั่งยืน

เกษตรอินทรีย์

เกษตรธรรมชาติ

กสิกรรมไร้สารพิษ

ไม่อนุญาต ไม่อนุญาต ไม่อนุญาต

< กลับไปด้านบน >

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก