เหตุผลสำคัญที่ไทยต้องสร้างความร่วมมือกับสหภาพยุโรป ได้แก่ข้อใด

ความสัมพันธ์ระหว่างสหภาพยุโรป-ไทย-ประเทศสมาชิกอาเซียน

ประเทศไทยกับสหภาพยุโรป (EU)มีความสัมพันธ์กันหลายด้าน และเริ่มทำข้อตกลงกันมานาน ก่อนที่ฝ่าย EUจะเปลี่ยนชื่อจากประชาคมเศรษฐกิจ มาเป็นสหภาพยุโรป โดยเฉพาะด้านการค้า อาทิเช่น เรื่องสิ่งทอ สัตว์น้ำ เป็นต้น ในด้านความสัมพันธ์นั้น ไทย-EUเคยมีคณะกรรมการความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่เรียกว่า เจซี เมื่อปี 2535 มีการประชุมในระดับรัฐมนตรีเมื่อปี 2536 และการประชุมระดับปลัดกระทรวง หรือรองปลัดกระทรวงมาตลอด ครั้งสุดท้ายเมื่อเดือนพฤษภาคม 2553ที่ผ่านมา ที่กรุงบรัสเซลส์ เบลเยียม ซึ่งรองปลัดกระทรวงการต่างประเทศทั้ง 2 ฝ่าย นำคณะผู้แทนกระทรวงต่างๆ มาหารือกันแทบทุกเรื่องที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน EU จึงเสนอให้มีการจัดทำกรอบความตกลงแบบครอบคลุมสาขาความร่วมมือทุกด้าน ที่เรียกว่าพีซีเอ หรือความตกลงความเป็นหุ้นส่วน และความร่วมมือไทย-สหภาพยุโรป

พีซีเอเป็นเสมือนความตกลงแม่บท แบบครอบจักรวาลในด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ไล่ตั้งแต่การค้า บริการและการลงทุน การท่องเที่ยว นโยบายอุตสาหกรรม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก สังคมข่าวสารข้อมูล ความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พลังงาน การคมนาคม การศึกษา การฝึกอบรม  ค้นคว้าวิจัย วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม และทรัพยากรธรรมชาติ เกษตรกรรม สาธารณสุข สถิติ การคุ้มครองฐานข้อมูล การโยกย้ายถิ่นฐาน ยาเสพติด การต่อต้านการก่อการร้าย สิทธิมนุษยชน การฟอกเงิน ความปลอดภัยด้านอาหารเป็นต้น

การที่ไทยจะมีกรอบข้อตกลงกำกับความร่วมมือทุกด้านกับ EUซึ่งกลุ่มประเทศที่มีพลังอำนาจที่สำคัญของโลก เป็นแหล่งองค์ความรู้ความก้าวหน้าทางวิทยาการทุกด้าน ทั้งยังเป็นตลาดหลัก ที่รวม 27ประเทศเป็นตลาดเดียว และมีโลกทัศน์ในด้านเสรีประชาธิปไตยนี้ จึงน่าจะเป็นประโยชน์กับประเทศไทย และแสดงถึงความสำคัญที่ EUให้กับไทย การมีกรอบความร่วมมือในด้านต่างๆ กับกลุ่มประเทศที่ให้ความสำคัญกับการทำงานแบบมีกติกา ย่อมเป็นการสร้างความมั่นใจว่า หน่วยงานของไทยจะสามารถติดตามผลให้ฝ่าย EUปฏิบัติตามกรอบนั้นๆ ได้ เช่นเดียวกับที่ฝ่าย EU ต้องการจากไทย

ไทยเริ่มเจรจาพีซีเอกับ EU มาตั้งแต่ปี 2547 และดำเนินการเจรจาเรื่อยมาจนได้ข้อสรุปเกือบทุกเรื่องแล้ว ส่วนที่ยังค้างอยู่ต้องหารือกันต่อ เพราะไทยต้องการความมั่นใจ ว่า พีซีเอจะเป็นความตกลงที่เป็นประโยชน์ สามารถอธิบายกับสภาและสาธารณชนได้ ซึ่ง EU เข้าใจดีและพยายามหาทางออกที่รับได้ด้วยกันทั้งสองฝ่ายแบบ

ในปัจจุบันEUลงนามพีซีเอแล้วกับอินโดนีเซีย แต่ยังรอการให้สัตยาบันของทั้งสองฝ่ายเพื่อใช้บังคับ เจรจากับฟิลิปปินส์เสร็จแล้วและรอลงนาม ส่วนกับเวียดนามมีข่าวว่า อาจจะเจรจาเสร็จภายในปีนี้เช่นกัน

สำหรับสิงคโปร์เริ่มเจรจาพร้อมกับไทยมาหลายปีแล้ว และอยู่ในสถานะคล้ายกัน คือ ตกลงกับ EUได้เกือบหมดทุกเรื่องยกเว้นเรื่องภาษี ซึ่งที่ยังค้างคาอยู่จนถึงทุกวันนี้ แต่ก็ไม่ได้เป็นอุปสรรคใดๆ สำหรับการเจรจาข้อตกลงการค้าเสรี (เอฟทีเอ)ที่อียูกับสิงคโปร์กำลังจัดทำกันอยู่

แรกเริ่ม EUอยากเจรจาเอฟทีเอ กับอาเซียนแบบภูมิภาคต่อภูมิภาค แต่ต่อมา ก็ต้องพบความจริงว่า ไม่ประสบความสำเร็จ เพราะนอกจากจะติดอุปสรรคด้านความแตกต่างของระดับการพัฒนาทั้งแบบภูมิภาคต่อภูมิภาค หรือแม้กระทั่งประเทศต่อประเทศ โดยเฉพาะในอาเซียน ที่ทำให้มีท่าทีร่วมกันยากแล้ว ยังมีประเด็นการเมืองสำคัญ เช่น EU ไม่สามารถลงนามกับพม่าได้

EUจึงหันเจรจากับประเทศสมาชิกอาเซียนรายประเทศโดยเจรจาเอฟทีเอกับEU   แบบสองฝ่าย โดยให้เหตุผลหรูว่าจะเป็นพื้นฐานช่วยให้การเจรจาเอฟทีเอระหว่างอาเซียนกับ EU ง่ายขึ้น เมื่อกลับมาเจรจากันอีกครั้ง สมาชิกที่พร้อมเจรจากับ EU มากที่สุดคงหนีไม่พ้นสิงคโปร์ ซึ่งเริ่มเจรจาไปแล้ว 2 รอบ และกำลังจะเจรจารอบที่ 3 ในเดือนตุลาคมศกนี้ มาเลเซียก็อยู่ระหว่างการประเมินท่าที และตรวจสอบความคาดหวังของแต่ละฝ่าย ซึ่งมาเลเซียดูอยากจะเจรจาให้เสร็จโดยเร็วที่สุด ส่วนเวียดนาม แม้ประกาศเริ่มเจรจาเอฟทีเอไปแล้ว แต่ยังไม่เริ่มกระบวนการประเมินท่าที และความคาดหวัง ซึ่งอาจเป็นเพราะ EUต้องการกดดันให้เจรจาพีซีเอให้เสร็จก่อน ส่วนอินโดนีเซียแม้ว่าจะลงนามพีซีเอแล้ว แต่กลับไม่มีทีท่าอยากจะเริ่มเจรจาเอฟทีเอกับ EU ฝ่าย EU นั้นมีท่าทีชัดเจนว่า ประเทศอาเซียนใดก็ตามที่ EU จะลงนามเอฟทีเอด้วย จะต้องลงนามพีซีเอกับ EUก่อนด้วยเหตุผลที่ว่า ทั้งพีซีเอและเอฟทีเอเป็นเสมือนหน้าสองด้านของเหรียญเดียวกัน ที่มีส่วนสนับสนุนกันและกัน

แม้ไทยยังเจรจาพีซีเอกับ EUไม่เสร็จ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า จะเริ่มเจรจาเอฟทีเอกับ EU ในลักษณะที่ทำคู่ขนานกับพีซีเอไม่ได้ EU ก็ไม่ได้ยึดมั่นถือมั่นในเรื่องนี้อย่างจริงจัง ทั้งสิงคโปร์ เวียดนาม มาเลเซีย รวมทั้งประเทศนอกอาเซียน อย่างอินเดีย ก็เริ่มเจรจาเอฟทีเอกับ EU แล้ว โดยไม่ต้องรอข้อสรุป พีซีเอ กรณีอินเดียยิ่งหนักเพราะ EU ไม่เคยเรียกร้องทำพีซีเอกับอินเดียเลย

ดังนั้น ไทยสามารถเจรจาพีซีเอและเอฟทีเอคู่ขนานกันได้ถ้าอยากทำ และไทยไม่ควรสนใจว่าใครจะก้าวหน้ามากกว่าเราในเรื่องพีซีเอ แต่ควรรอให้มั่นใจว่า เราจะได้ความตกลงที่เป็นประโยชน์และอธิบายได้กับภาคส่วนต่างๆ ของไทย อีกทั้งหน่วยงานต่างๆ สามารถปฏิบัติได้ ซึ่งดูเหมือนว่าเป็นทัศนะที่กระทรวงการต่างประเทศยึดถืออยู่ขณะนี้

สำหรับการเอฟทีเอกับ EUนั้น หากศึกษาพิจารณาครบถ้วนแล้วว่า ไทยจะได้ประโยชน์จากเรื่องนี้ ไทยก็ควรเร่งรัดการดำเนินการตามมาตรา 190 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ปี 2550 และส่งสัญญาณให้ EU ทราบแต่เนิ่นๆ ถึงกำหนดเวลาที่ไทยพร้อมเจรจา ก่อนที่ประเทศอื่นๆ เช่น มาเลเซีย อินเดีย จะแย่งทรัพยากร EU ทั้งด้านงบประมาณและบุคลากรของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของ EU จากไทยไปเสียหมด

การที่เศรษฐกิจไทย ต้องพึ่งพาการส่งออกนำเข้าในการพัฒนาประเทศนั้น การที่จะเปิดเจรจา หรือไม่เจรจากับอียูหรือประเทศใดก็ตาม ฝ่ายที่เกี่ยวข้องควรต้องเร่งดำเนินการภายในฝ่ายเดียวอยู่ดี เพื่อกำหนดทิศทาง เตรียมความพร้อม และท่าทีรุกรับ ทั้งในด้านนโยบาย ยุทธศาสตร์ระยะสั้นและยาว ปรับปรุงกฎหมาย ระเบียบ โครงสร้างและกลไก บุคลากร งบประมาณ และมาตรการเยียวยา ฯลฯ ทั้งในภาครัฐและเอกชน เอฟทีเอเป็นเรื่องที่หากจะทำก็ต้องรีบทำให้เสร็จ เพราะถ้ายิ่งทำเร็วก็จะยิ่งช่วยเปิดโอกาส ลดการพึ่งพาจีเอสพี (การลดภาษีให้ไทยฝ่ายเดียว โดยอียูจะบอกเลิกเมื่อไรก็ได้และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการไทยเหนือกว่าคู่แข่งในตลาดอียู โดยเฉพาะในช่วงที่อียูยังเจรจากับประเทศอื่นไม่เสร็จ

กรณีศึกษาพีซีเอ เกี่ยวกับความปลอดภัยด้านอาหาร : ความคืบหน้าเกี่ยวกับกฎระเบียบการติดฉลากสินค้าสัตว์น้ำในสหภาพยุโรป(EU)

สหภาพยุโรป (EU) เป็นตลาดสินค้าสัตว์น้ำที่ใหญ่ที่สุดโดยมีมูลค่าประมาณ 55,000 ล้านยูโร แต่ผลผลิตจากการทำประมงหรือการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำภายใน EU มีไม่เพียงพอกับความต้องการ จึงต้องพึ่งพาการนำเข้าที่สูงถึง 60%และมีแนวโน้มว่าอุปทานสัตว์น้ำของ EUน่าจะมีความต้องเพิ่มขึ้นอีก 1.6 ล้านตัน ภายในปี 2573 (ค.ศ. 2030) เพื่อสนองกับความต้องการบริโภคที่เพิ่มขึ้น คาดว่ายังคงต้องพึ่งพาการนำเข้าเป็นหลัก ซึ่งอาจส่งผลทำให้อุตสาหกรรมประมงและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของ EU อาจต้องเผชิญกับการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรมจากสินค้านำเข้าที่มีมาตรฐานการผลิตต่ำกว่า ฉะนั้น การติดฉลากสินค้าสัตว์น้ำที่แสดงข้อมูลคุณภาพไว้อย่างชัดเจนและถูกต้อง จึงเป็นกลยุทธ์หนึ่งที่ EU จะนำมาใช้พัฒนาการผลิตสินค้าในภาคประมงให้มีคุณภาพดีขึ้น ควบคุมการนำเข้าจากต่างประเทศ อีกทั้งยังเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าของผู้บริโภค

สหราชอาณาจักร (UK) เมื่อวันที่ 6 เม.ย.2553 ที่ผ่านมา UK ตกลงให้มีการใช้กฎระเบียบการติดฉลากสินค้าสัตว์น้ำฉบับใหม่ (The Fish Labelling Regulation 2010) แทนที่กฎระเบียบเดิมปี 2546 (ค.ศ. 2003) กฎระเบียบใหม่นี้ได้ “เพิ่มเติมการระบุชื่อทางการค้าของพันธุ์ปลาใหม่ๆที่จำหน่ายในท้องตลาด (commercial designations)และเพิ่มเติมทางเลือกสำหรับพันธุ์ปลาที่มีอยู่ในรายชื่อเดิม” วัตถุประสงค์ของการใช้กฎระเบียบใหม่ คือ เพื่อให้ปลาที่จำหน่ายในอังกฤษ สก็อตแลนด์ เวลส์และไอร์แลนด์เหนือมีการระบุข้อมูลบนฉลากอย่างถูกต้องและสอดคล้องกัน ณ จุดจำหน่าย ซึ่งจะทำให้ผู้บริโภครับทราบข้อมูลสินค้าที่ถูกต้องและรับทราบว่าเป็นปลาที่มาจากการจับหรือเพาะเลี้ยงจากแหล่งใด กฎระเบียบนี้จะถูกปรับปรุงให้ทันสมัยเป็นระยะๆ เพื่อรับประกันความถูกต้อง

 สหภาพยุโรป (EU) 

คณะกรรมาธิการยุโรป ภายหลังที่ UKทำการปรับปรุงกฎระเบียบการติดฉลากสินค้าสัตว์น้ำใหม่ ทำให้คณะกรรมาธิการยุโรปเกิดความตื่นตัวมากขึ้นในการอภิปรายเกี่ยวกับแผนการปรับปรุงนโยบายประมงร่วม (CFP)ในอนาคต ตามเนื้อหาส่วนหนึ่งในหนังสือปกเขียว (Green Paper) ของคณะกรรมาธิการยุโรป ที่เผยแพร่ออกเมื่อเดือน เม.ย.ปีที่ผ่านมา พบว่า คณะกรรมาธิการยุโรปให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับการติดฉลาก (labelling) ที่จะช่วยให้เกิดความโปร่งใส่มากขึ้น (transparency) และช่วยพัฒนาคุณภาพสินค้าในภาคประมง และยิ่งไปกว่านั้น การติดฉลากแสดงคุณภาพหรือแหล่งที่มาของสินค้ายังช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าได้อีกด้วย สนับสนุนการทำประมงแบบรายย่อย  (small-scale fisheries) และการผลิตสินค้าสัตว์น้ำที่มีคุณภาพสูง สดใหม่ รวมถึงส่งเสริมการบริโภคในท้องถิ่น เสนอให้มีการยกเลิกการอุดหนุนราคาโดยตรง (direct price support) แต่ควรหันมาให้ความสำคัญกับการพัฒนาการจัดการของผู้ผลิตมากกว่า โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับฉลากสินค้า เช่น พัฒนาระบบรับรอง (certification)การติดฉลากและระบบตรวจสอบย้อนกลับ (traceability)ให้ดีขึ้น ซึ่งจะช่วยให้ผู้ค้าปลีกสามารถยืนยันได้ถึง “ความยั่งยืนของแหล่งที่มาสินค้าสัตว์น้ำ” (sustainable origin) ได้ดียิ่งขึ้น 

สภายุโรป เกี่ยวกับขั้นตอนรับฟังความคิดเห็น (hearing)พบว่าหลายฝ่ายในสภายุโรปสนับสนุนให้มีการติดฉลากสินค้าสัตว์น้ำที่แสดงข้อมูลในด้านต่างๆ เช่น สนับสนุนการติดฉลากที่แสดงข้อมูลด้านโภชนาการและสิ่งแวดล้อม (nutrition and environmental labelling) รวมถึงการติดฉลากที่แสดงว่าสินค้าสัตว์น้ำนั้นสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ (traceability) ซึ่งจะช่วยให้ผู้บริโภคหันมาเลือกซื้อสินค้าสัตว์น้ำที่ผลิตภายใน EU เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ดี การแสดงข้อมูลด้านโภชนาการต้องระวังผลเสียที่อาจเกิดขึ้น เช่น การแสดงข้อมูลไขมันในปลาที่มีน้ำมันสูง (fat content of oily fish) อาจทำให้ผู้บริโภคทำความเข้าใจข้อมูลผิดพลาดและเลือกซื้อปลาชนิดอื่นแทน การติดฉลากคุณภาพ (quality labelling) จะช่วยสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันให้กับสินค้าของ EU เหนือสินค้าสัตว์น้ำที่มาจากการนำเข้า

กรรมาธิการยุโรปด้านการค้า (EC Trade) สนับสนุนให้ทั้งภาครัฐและเอกชนพัฒนาการใช้ตรารับรองว่าสินค้าสัตว์น้ำไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมตามแผนงาน Eco-labelling scheme เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว มีข้อสังเกตและข้อเสนอแนะ ดังนี้

ก)   EU ให้ความสำคัญกับการผลิตอาหารทะเลและสินค้าสัตว์น้ำเพาะเลี้ยงให้ได้มาตรฐานสูงมีความปลอดภัย รวมถึงลดผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม แต่ความเข้มงวดของกฎระเบียบส่งผลให้ผู้ผลิตของ EUมีต้นทุนการผลิตสูงกว่าประเทศที่สามและก่อให้เกิดการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม เนื่องจากสินค้านำเข้าที่มีมาตรฐานต่ำกว่า แต่ก็ยังสามารถหลั่งไหลเข้ามาจำหน่ายในตลาด EU ได้ ในขณะที่ผู้ผลิตของ EU กลับต้องรักษาการผลิตที่มีมาตรฐานสูงเอาไว้ ในระยะยาวแล้วอาจทำให้อุตสาหกรรมประมงของ EU เสียเปรียบในการแข่งขันและถูกทำลายลงได้ เพราะผู้บริโภคจะหันเหไปเลือกซื้อสินค้านำเข้าที่มีราคาถูก  แต่มีคุณภาพต่ำแทน

ข)   การสื่อสารข้อมูลด้านคุณภาพของสินค้าจากผู้ผลิตให้ไปถึงมือผู้บริโภคจึงเป็นสิ่งสำคัญผ่านการใช้วิธีการติดฉลาก การนำระบบรับรองและระบบตรวจสอบย้อนกลับมาใช้เครื่องมือเหล่านี้ได้ถูกพัฒนาไปมากในตลาดเนื้อสัตว์ประเภทอื่นๆ (เช่น เนื้อวัว เนื้อไก่)แต่ในขณะที่ในกฎระเบียบการติดฉลากสำหรับสินค้าสัตว์น้ำยังไม่ได้ถูกปรับปรุงให้มีความเหมาะสมกับสถานการณ์และรองรับกับความต้องการตลาดที่เปลี่ยนไป

ค)   ในอนาคต ฉลากสินค้าสัตว์น้ำทั้งที่ผลิตภายใน EU และที่มาจากการนำเข้าอาจถูกบังคับให้ต้องแสดงข้อมูลว่า สินค้าผลิตมาจากแหล่งใด (country of origin) เป็นสินค้าสดใหม่หรือผ่านการแช่แข็งเป็นสัตว์น้ำที่มาจากการเพาะเลี้ยงหรือถูกจับจากธรรมชาติ ผลิตอย่างเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมหรือไม่ เป็นต้น ข้อมูลเหล่านี้นอกจากจะเป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าของผู้บริโภคแล้ว ยังช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและช่วยพัฒนาการผลิตสินค้าสัตว์น้ำทั้งในและนอก EU ให้มีคุณภาพดีขึ้นแต่ในอีกด้านหนึ่ง การบังคับติดฉลากที่แสดงถึงคุณภาพสินค้าอาจถูกมองว่าเป็นกลไกปกป้องทางการค้าอย่างหนึ่งของทาง EU เพื่อกีดกันสินค้าจากประเทศที่สามที่ผลิตด้วยต้นทุนต่ำและยังจะส่งผลเสียกับผู้ผลิตสินค้าสัตว์น้ำรายย่อยในประเทศที่สามที่ไม่สามารถปรับตัวให้สอดคล้องกับกฎระเบียบ EU ที่มีกฎเกณฑ์ความเข้มงวดสูงได้

ง)   สำหรับประเทศไทยที่มีการส่งออกอาหารทะเลและผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำเพาะเลี้ยงไปยังตลาด EU เป็นมูลค่ามหาศาลในแต่ละปี นอกจากจะต้องระวังเรื่องคุณภาพ ความปลอดภัยและมาตรฐานที่ดีในการผลิตสินค้าสัตว์น้ำแล้ว ยังจำเป็นต้องติดตามความคืบหน้าเกี่ยวกับกฎระเบียบการติดฉลากสินค้าสัตว์น้ำของ EUและกฎระเบียบของแต่ละประเทศสมาชิกว่ามีการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางใดอีกด้วย โดยเฉพาะในตลาดสำคัญๆ อย่างเช่น สหราชอาณาจักรและเยอรมนี เพื่อจะได้เตรียมพร้อมปรับปรุงกระบวนการผลิตและการติดฉลากให้สอดคล้องกับกฎระเบียบ EU และคงความสามารถในการส่งออกสินค้าสัตว์น้ำไปยังตลาด EU ได้ต่อไป

ผู้เขียนมีความเห็นว่าพีซีเอ เป็นเสมือนกลไกเกี่ยวกับความร่วมมือระหว่างไทยกับ EU ในทุกเรื่องไม่ว่าจะเป็นด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม การค้า บริการและการลงทุน การท่องเที่ยว นโยบายอุตสาหกรรม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก สังคมข่าวสารข้อมูล ความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พลังงาน การคมนาคม การศึกษา การฝึกอบรม ค้นคว้าวิจัย วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม และทรัพยากรธรรมชาติ เกษตรกรรม สาธารณสุข สถิติ การคุ้มครองฐานข้อมูล การโยกย้ายถิ่นฐาน ยาเสพติด การต่อต้านการก่อการร้าย สิทธิมนุษยชน การฟอกเงิน ความปลอดภัยด้านอาหาร เป็นต้น ซึ่งเป็นผลดีต่อประเทศไทยที่มีความร่วมมือครบทุกด้าน มีส่วนช่วยในการพัฒนาประเทศไทยให้มีความเจริญใน ทุกด้านไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม และด้านสุขภาพ โดยดูได้จากบทความกรณีศึกษาข้างต้นเกี่ยวกับกฎระเบียบการติดฉลากสินค้าสัตว์น้ำใน EU ที่ EU หันกลับมาสนใจคุณภาพสินค้าที่มีผลต่อสุขภาพอนามัยของผู้บริโภคมากขึ้น รวมถึงสิ่งแวดล้อมด้วย ถ้าไทยได้ทำพีซีเอกับ EU ก็จะทำให้ไทยต้องปรับปรุงคุณภาพสินค้าให้ดียิ่งขึ้น เพราะมิฉะนั้นแล้วไทยอาจไม่สามารถส่งสินค้าไปยัง EUได้เลย จะเห็นได้ว่าการติดฉลากสัตว์น้ำเพื่อทราบแหล่งที่มาว่าเป็นการเพาะเลี้ยงหรือธรรมชาติ วิธีการส่งเป็นแช่แข็งหรือสด การเลี้ยงเพาะพันธ์หรือการจับสัตว์น้ำมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมหรือไม่อย่างไร  สิ่งเหล่านี้จะทำให้ไทยต้องทำการบ้านอย่างหนักเกี่ยวกับการที่จะทำการค้ากับ EU แม้ว่าไทยยังไม่ได้ทำพีซีเอ หรือเอฟทีเอ ก็ตาม เพราะในอนาคตอาเซียนอาจจะต้องมีการติดฉลากสัตว์น้ำเช่น EU ก็อาจเป็นได้

                                       

                                                       
                

เหตุผลสำคัญที่ประเทศไทยต้องสร้างความร่วมมือกับสหภาพยุโรป ได้แก่ข้อใด

เนื่องจากภาคใต้ของประเทศไทยเป็นพื้นที่ที่ต้องเผชิญกับความท้าทายในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านความขัดแย้งที่กินเวลายาวนาน การระบาดของโควิด 19 และภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอ สหภาพยุโรปจึงร่วมมือกับองค์กรพันธมิตรด้านมนุษยธรรมเพื่อให้ความช่วยเหลือแก่กลุ่มคนที่เปราะบางที่สุดในสังคมเพื่อเตรียมความพร้อมในการรับมือกับ ...

สหภาพยุโรป (EU) มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยอย่างไร *

ไทยกับ EU กำลังพิจารณาความเป็นไปได้ในการรื้อฟื้นการเจรจาความตกลงการค้าเสรี (Free Trade Agreement – FTA) โดยอียูเป็นคู่ค้าสำคัญอันดับต้น ๆ ของไทย ในปี 2562 การค้าระหว่างไทยกับอียูมีมูลค่าประมาณ 1.3 ล้านล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 9.21 ของการค้าต่างประเทศของไทยทั้งหมดซึ่งมีมูลค่า 15 ล้านล้านบาท โดยไทยได้เปรียบดุลการค้า ...

EU มีความสำคัญกับไทยอย่างไร

โดยรวม ไทยกับ EU มี ความสัมพันธ์ที่ดีและราบรื่น ในมุมมองของ EU ไทยเป็นประเทศที่มีศักยภาพในด้านเศรษฐกิจ การท่องเที่ยว วัฒนธรรม และมีระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยซึ่ง EU ให้ความสำคัญในเรื่องนี้ ไทยจึงเป็นหุ้นส่วนสำคัญของ EU ทั้งในด้านการเมืองและเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

สหภาพยุโรป (EU )เป็นความร่วมมือทางด้านใด

สหภาพยุโรปเป็นการรวมกลุ่มของประเทศในภูมิภาคยุโรปทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมในลักษณะสถาบันแบบเหนือรัฐ (Supranational Institution) ที่ใหญ่ที่สุดและก้าวหน้าที่สุดในโลก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างสันติภาพเป็นการถาวรระหว่างประเทศในภูมิภาคยุโรปภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 รวมไปถึงการเสริมสร้างความเข้มแข็งทาง ...

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก