เทคโนโลยีทางสุขภาพและความเจริญก้าวหน้าทางการแพทย์ มีอะไรบ้าง

ความหมายของเทคโนโลยีการแพทย์

ความสำคัญของเทคโนโลยีการแพทย์

วิวัฒนาการทางเทคโนโลยีการแพทย์

ตัวอย่างเทคโนโลยีการแพทย์

เทคโนโลยีการแพทย์ในประเทศไทย

แนะนำผู้จัดทำ

เทคโนโลยีการแพทย์ในประเทศไทย

ประเทศไทยนำเข้าเทคโนโลยีทางการแพทย์ ในปี2548 ถึง 15,799 ล้านบาท
เพื่อช่วยในการป้องกันและวินิจฉัยโรค แต่โอกาสในการเข้าถึงเทคโนโลยีทางการแพทย์
ยังคงกระจุกตัวในเมืองหลวง และพื้นที่มีความเจริญ

เทคโนโลยีทางการแพทย์ได้แก่ ยาและเวชภัณฑ์เครื่องมือในการตรวจวินิจฉัยโรค และเครื่องมือในการ
รักษาโรค ซึ่งมีความเจริญก้าวหน้าและเติบโตอย่างรวดเร็ว เนื่องจากพัฒนาการของตัวเทคโนโลยีเองและ
ความต้องการของผู้บริโภค ทั้งในส่วนของผู้ให้บริการและผู้รับบริการ ที่ต้องการให้บริการและได้รับ
บริการที่มีคุณภาพ รวดเร็ว ถูกต้อง แม่นยำ และได้ผล จึงทำให้ระบบบริการมีการพัฒนา และนำเข้า
เทคโนโลยีมาใช้ในระบบบริการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังจะเห็นได้จากการเพิ่มขึ้นของการผลิต และ
นำเข้ายาแผนปัจจุบัน ที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และการนำเข้าเครื่องมือแพทย์ ที่มีการเพิ่มขึ้นอย่าง
รวดเร็ว จากการเติบโตดังกล่าว ทำให้มีการเพิ่มขึ้นของจำนวนเครื่องมือแพทย์ที่ต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็น
เครื่องเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT-scanner) เครื่องตรวจอวัยวะภายในด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)
เครื่องสลายนิ่ว (ESWL) และเครื่องตรวจวินิจฉัยมะเร็งเต้านม (Mammography) เป็นต้น

เทคโนโลยีที่เพิ่มขึ้นนี้ส่วนใหญ่กระจุกตัวอยู่ในโรงพยาบาลขนาดใหญ่ และโรงพยาบาลเอกชนที่มี
ศักยภาพ เช่นเครื่องตรวจอวัยวะภายในด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) อยู่ในกรุงเทพมหานครถึง 2 ใน
3 เช่นเดียวกับอยู่ในภาคเอกชนถึง 2 ใน 3 เช่นกัน แต่สำหรับเครื่องเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT-scanner)
ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่เก่ากว่าและถูกกว่า มีการกระจายตัวอยู่ในภูมิภาคที่มากขึ้น คือ อยู่ในภูมิภาค 2 ใน 3
ของเครื่องที่มีทั่วประเทศ แต่ส่วนใหญ่ยังอยู่ในภาคเอกชน ถึงร้อยละ 80 นอกจากนี้ ภูมิภาคต่างๆ ก็มีการ
กระจายเทคโนโลยีที่ต่างกัน โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีเครื่องเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT-scanner)
เพียง2.2 เครื่องต่อประชากรล้านคน เทียบกับกรุงเทพมหานครแล้ว แตกต่างกันถึง 10 เท่า ทำให้การเข้าถึง
เทคโนโลยีราคาแพงมีความแตกต่างระหว่างกลุ่มและภูมิภาคอยู่ค่อนข้างมาก

เนื่องจากเทคโนโลยีเหล่านี้มีราคาแพง การประเมินความคุ้มค่าจึงมีความสำคัญ ทั้งในมุมมองของการวินิจฉัย
และรักษาผู้ป่วย ว่าช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตมากน้อยเพียงใด และมุมมองของระบบบริการสุขภาพและของสังคม
ที่ต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น เทียบกับผลสัมฤทธิ์ในการเพิ่มโอกาสในการรอดชีวิตหรือมีคุณภาพชีวิตที่ดีของ
ประชาชนในสังคม

กลับไปด้านบน

สรุปและเรียบเรียงโดย Tech2Biz

ที่มา  www.forbes.com, www.telegraph.co.uk

ย้อนกลับไป 100 - 150 ปีที่แล้วในยุคที่การแพทย์ยังไม่ทันสมัยมากนัก อายุขัยของมนุษย์โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 40 ปีเท่านั้น  สาเหตุการเสียชีวิตของคนสมัยก่อนก็เหมือนคนยุคปัจจุบัน คือ อุบัติเหตุและโรคภัยต่างๆ  แต่หลายโรคที่เป็นต้นเหตุของการเสียชีวิตในอดีตนั้น  เทคโนโลยีปัจจุบันสามารถรักษาให้หายได้อย่างง่ายดาย ความก้าวหน้าทางวิทยาการและเทคโนโลยีทางการแพทย์ช่วยให้มนุษย์มีอายุขัยเพิ่มขึ้นมากกว่าสมัยศตวรรษที่แล้วถึง 2 เท่า 

ข้อมูลจากสหประชาชาติเมื่อปี 2012  รายงานว่าผู้มีอายุยืนเกิน 100 ปี ทั่วโลกมีจำนวนประมาณ 316,600 คน และคาดการณ์ว่าความก้าวหน้าของวิทยาการทางการแพทย์จะทำให้ผู้ที่มีอายุมากกว่า 100 ปีมีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็น 3 ล้านคนในปี 2050 

ในขณะที่นักวิทยาศาสตร์ระบุว่าทางชีวภาพร่างกายของมนุษย์มีอายุจำกัด แต่ความก้าวหน้าของวิทยาการทางการแพทย์ที่ผ่านมาได้พิสูจน์ให้เห็นว่าสามารถช่วยยืดอายุขัยของมนุษย์รวมทั้งทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้  ปัจจุบัน บริษัทยักษ์ใหญ่ของโลกหลายรายเริ่มหันมาให้ความสนใจการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อเอาชนะข้อจำกัดทางชีวภาพร่างกายของมนุษย์ เพราะนี่คือโอกาสทางธุรกิจที่มีมูลค่ามหาศาล  

ตัวอย่าง

  • Larry Ellison, กรรรมการระดับสูงผู้ก่อตั้ง Oracle ลงทุนมากกว่า 45 ล้านเหรียญในแต่ละปีเพื่อหาทางยืดอายุและแก้ปัญหาเกี่ยวกับความชราของร่างกายมนุษย์
  • Sergey Brin ผู้ร่วมก่อตั้ง Google บริจาคเงินกว่า 50 ล้านเหรียญสหรัฐเพื่อการพัฒนาการวิจัยเกี่ยวกับโรคต่างๆ ที่เกิดขึ้นในผู้สูงอายุ เช่นโรคพาร์กินสัน (Parkinson) 
  • บริษัท Alphabet ในเครือของGoogle ใช้เงินลงทุนกว่า 730 ล้านเหรียญเพื่อจัดตั้งบริษัท Calico โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีที่จะช่วยยืดอายุชีวิตมนุษย์ 
  • Peter Thiel ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท Paypal บริจาคเงินกว่า 6 ล้านเหรียญให้แก่มูลนิธิ Sens เพื่อพัฒนาวิจัยให้มนุษย์มีชีวิตอยู่นานขึ้น 

และนี่คือ  5 เทคโนโลยีที่ถูกคาดหมายว่าจะเป็นวิทยาการใหม่ที่ช่วยยืดอายุขัยของมนุษย์ในอนาคตอันใกล้นี้

1. การบำบัดด้วยยีน (Gene therapies)  

เป็นการบำบัดหรือรักษาโรคด้วยวิธีใหม่โดยแก้ไขหรือทดแทนยีนส์ที่ผิดปกติในร่างกายที่เชื่อกันว่าเป็นยีนส์ที่ก่อให้เกิดโรคต่างๆ  อาทิ โรคที่เกิดจากความผิดปกติหรือถ่ายทอดทางพันธุกรรม โรคมะเร็งบางชนิด โรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสบางประเภท   งานวิจัยล่าสุดพบว่า นักวิทยาศาสตร์สามารถทำให้หนูทดลองมีอายุเพิ่มขึ้นมากกว่า 2 เท่าโดยการกำจัดยีนส์ 2 ตัว ซึ่งเชื่อว่าเกี่ยวข้องกับการกำหนดอายุขัยของหนู  ถือเป็นความสำเร็จครั้งสำคัญในแวดวงวิทยาศาสตร์และกำลังเป็นความหวังในการยืดอายุขัยของมนุษย์ด้วยวิธีการเดียวกัน

2. เทคโนโลยีฟื้นฟูเซลล์ช่วยคืนความเป็นหนุ่มสาว (rejuvenation technologies)

เป็นเทคโนโลยีมุ่งเน้นการซ่อมแซมเซลล์และเนื้อเยื่อที่เสื่อมสภาพหรือเสียหายอันเนื่องมาจากวัยที่เพิ่มขึ้น แม้จะไม่ใช่การขจัดต้นเหตุหรือปัจจัยที่ทำให้อายุขัยสั้นโดยตรง  แต่ด้วยวิทยาการที่ก้าวหน้าไปไกลมากส่งผลให้เทคโนโลยีนี้นอกจากจะช่วยยืดอายุให้มีชีวิตยาวนานเพิ่มขึ้นแล้ว ยังช่วยให้ดูอ่อนเยาว์และมีสุขภาพแข็งแรงขึ้นด้วย ยกตัวอย่างความสำเร็จในปัจจุบัน เช่น ความสามารถของนักวิทยาศาสตร์ในการแทนที่ฮอร์โมนในร่างกายสัตว์และคนที่ช่วยกลับคืนความเป็นหนุ่มสาว การฉีดเอ็นไซม์ชนิดหนึ่งที่ช่วยซ่อมแซมเซลล์ภายในตัวหนู ทำให้หนูมีสุขภาพดีและมีอายุเพิ่มขึ้น เป็นต้น      

3. อวัยวะเทียมและอุปกรณ์ช่วยเหลือ

ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีทำให้แนวโน้มการใช้ชีวิตของผู้พิการกับคนปกติแทบจะไม่แตกต่างกันเลย ตัวอย่างความก้าวหน้าล่าสุดของกายอุปกรณ์ เช่น มือเทียมที่สามารถสั่งการทำงานด้วยความคิดของคนได้ ความก้าวหน้าล่าสุดของนักวิทยาศาสตร์ที่พัฒนา "ตับเทียม" ซึ่งสามารถควบคุมยาเพื่อรักษาโรคเบาหวาน ตลอดจนเทคโนโลยีเครื่องพิมพ์ 3 มิติสำหรับใช้ผลิตอวัยวะและเนื้อเยื่อบางชนิดเพื่อทดแทนอวัยวะและเนื้อเยื่อในร่างกายที่สูญเสียไป เป็นต้น  เทคโนโลยีและวิทยาการเหล่านี้นอกจากช่วยให้ผู้พิการสามารถใช้ชีวิตได้หมือนคนปกติแล้ว  ยังช่วยให้บุคคลเหล่านี้เข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมและสามารถมีชีวิตอยู่ได้นานขึ้น

4. เครื่องมือช่วยวินิจฉัยและบำบัดรักษา

เช่น การพัฒนาเซ็นเซอร์ที่สามารถตรวจวัดสัญญาณก่อนเกิดภาวะหัวใจวาย, เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่ช่วยเรื่องการวินิจฉัยโรคและวางแผนการรักษาโรคที่มีความซับซ้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพและแม่นยำ เช่น โรคมะเร็ง เป็นต้น นับเป็นอีกแนวทางที่จะช่วยยืดอายุมนุษย์ได้

5. ผลิตภัณฑ์และโปรแกรมเพื่อสุขภาพ  

เครื่องมือ อุปกรณ์ ตลอดจนถึงยาชนิดต่างๆ ได้ถูกพัฒนาคิดค้นขึ้นจำนวนมาก  โดยมุ่งหวังดูแลรักษาสุขภาพมนุษย์แบบครบวงจร นับแต่ตั้งแต่การป้องกัน การวินิจฉัยโรค การบำบัดรักษา และการฟื้นฟูสุขภาพ สิ่งที่น่าสนใจก็คือ ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มอุปกรณ์อัจฉริยะ (Smart Devices) ซึ่งสามารถตรวจสอบ ติดตามพร้อมทั้งแจ้งเตือนภาวะทางสุขภาพของร่างกายได้ในทุกขณะ ทั้งลุก นั่ง ยืน เดิน นอน ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์ประเภทนี้จำหน่ายในท้องตลาดมากมายโดยมุ่งหมายเพื่อใช้ตรวจติดตามในด้านใดด้านหนึ่ง แต่ในอนาคตมีแนวโน้มว่าทุกอุปกรณ์จะสามารถเชื่อมต่อเข้าหากัน โดยรวบรวมข้อมูลสุขภาพทุกด้านของแต่ละคนผ่านระบบ cloud  ซึ่งสามารถนำมาวิเคราะห์ประมวลผลเพื่อการวางแผนป้องกัน และการบำบัดรักษาผู้ป่วยอย่างมีประสิทธิภาพได้  

ด้วยการพัฒนาของเทคโนโลยีอย่างไม่หยุดยั้งในอนาคตอันใกล้เราน่าจะได้เห็นผู้มีอายุมากกว่า 100 ปีเป็นเรื่องปกติ สิ่งที่เป็นปัญหาจริงๆ คงไม่ใช่เรื่องของการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อช่วยยืดอายุชีวิตแล้ว แต่น่าจะกลายเป็นเรื่องการหาทางจัดการหรือแนวทางรองรับประชากรผู้สูงวัยที่นับวันจะเพิ่มมากขึ้นแทน 

เทคโนโลยีทางสุขภาพและความก้าวหน้าทางการแพทย์มีอะไรบ้าง

เทคโนโลยีทางสุขภาพและความเจริญก้าวหน้าทางการแพทย์.
ยาบางชนิด เช่น อินซูลินบางชนิดที่ใช้กับผู้ป่วยโรคเบาหวาน โกรทฮอร์โมนใช้สำหรับรักษาอาการแคระแกร็น.
วัคซีนบางชนิด เช่น วัคซีนป้องกันโรคเอดส์ วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า.
ชุดตรวจสอบทางห้องปฏิบัติการ เช่น ตรวจสอบยาปฏิชีวนะตกค้างในน้ำนม.

เทคโนโลยีและความเจริญก้าวหน้าทางการแพทย์แบ่งออกเป็นกี่ส่วน

ซึ่งแบ่งออกได้ ๓ ประเภท ดังนี้ ๒.๑ เทคโนโลยีเกี่ยวกับการตรวจและรักษาโรค ๒.๒เทคโนโลยีเกี่ยวกับการป้องกันโรค ๒.๓เทคโนโลยีเกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพ

เทคโนโลยีที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพมีอะไรบ้าง

12 นวัตกรรมเพื่อสุขภาพและการแพทย์ในปี 2017.
1. ขยายเต้านมด้วยตัวเอง ... .
2. ตัดต่อพันธุกรรมป้องกันโรคร้าย ... .
3. ปั๊มนมพกพา… ... .
4. ฉีดเอนไซม์เข้าสู่สมอง ... .
5. มือกลฝึกมือจริง ... .
6. ช้อนที่กินไม่หก ... .
7. กล้องลดขั้นตอนตรวจพยาธิวิทยา ... .
8. หยุดปวดหัวโดยไม่ต้องใช้ยา.

ผลของการใช้เทคโนโลยีที่มีต่อสุขภาพมีอะไรบ้าง

ผลกระทบของการใช้เทคโนโลยี ที่ส่งผลต่อสุขภาพ 1. ปวดศีรษะ สายตาเสีย มีผลต่อระบบประสาท 2. เป็นปัจจัยกระตุ้นส้าหรับผู้ป่วยโรคลมชัก 3. เป็นโรคสมาธิสั้น 4. เป็นโรคอ้วนและคอเลสเตอรอลในเลือดสูง

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก