อัตราแลกเปลี่ยนระบบลอยตัวเสรีมีลักษณะสำคัญอย่างไร

ความรู้เกี่ยวกับอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ

             

อัตราแลกเปลี่ยนนั้นหมายถึงราคาของเงินสกุลท้องถิ่นหนึ่งหน่วยในรูปของเงินตราต่างประเทศอย่างเช่น  อัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินบาทของไทยหนึ่งบาทในรูปของเงินเหรียญสหรัฐอเมริกาจะหมายถึงราคาของเงินหนึ่งบาท เมื่อเทียบกับเงินหนึ่งเหรียญสหรัฐอเมริกา ซึ่งจะเท่ากับ 0.025 หรือในทอนองกลับกันนั้นราคาของเงินหนึ่งเหรียญสหรัฐเมื่อเทียบกับเงินหนึ่งบาทไทยจะเท่ากับ 40 เป็นต้น

            ระบบของอัตราแลกเปลี่ยนนั้นจะจำแนกออกได้เป็น 2 ระบบนั้นก็คือ ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ หรือ Fixed Exchange Rate และระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัว หรือ Floating Exchange Rate แต่ในทางปฏิบัติ อาจจะจำแนกได้เป็น 3 ระบบใหญ่ๆ นั้นก็คือ

            ระบบที่ผูกค่ากับเงินสกุลอื่น ซึ่งอาจจะเป็นการผูกค่ากับเงินสกุลเดียวเช่น เหรียญฮ่องกงกับเหรียญสหรัฐอเมริกา อย่างเช่น เหรียญฮ่งกงกับเหรียญสหรัฐ หรืออาจะผูกค่าเข้ากับกลุ่มเงินสกุลเงินต่างๆ ที่เรียกกันว่าระบบตะกร้า อย่างเช่น ระบบอัตราแลกเปลี่ยนของไทยในอดีตเป็นต้น

             ระบบที่มีความยืดหยุ่นจำกัด ระบบนี้ อาจจะคล้ายกับระบบแรกนิดหน่อย แต่อัตราแลกเปลี่ยนอาจจะเคลื่อนไหวได้ในช่วงกว้างกว่า เช่น ประเทศที่อยู่ในยุโรปที่เข้าร่วมในระบบ Exchange Rate Mechanism (ERM) เป็นต้น

             ระบบที่มีความยืดหยุ่นสูง เป็นระบบอัตราแลกเปลี่ยนที่ขึ้นอยู่กับอุปสงค์และอุปทานของเงินตราต่างประเทศดังที่ได้ศึกษาไปแล้ว ซึ่งค่าของเงินนั้นจะมีความผันผวนมากกว่า 2 ระบบแรกซึ่งภายใต้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนที่มีความยืดหยุ่นสูงนี้ ยังแบ่งได้อีก 2 ระบบ ได้แก่ ระบบลอยตัวภายใต้การจัดการ และ ระบบลอยตัวเสรี

              ระบบลอยตัวภายใต้การจัดการ หรือ Managed หรือ Dirty Float เป็นระบบที่ปล่อยให้ค่าเงินหรืออัตราแลกเปลี่ยนไปตามกลไกตลาดหรือกำหนดโดยอุปสงค์และอุปทาน แต่ธนาคารกลางนั้นจะสามารถเข้าไปแทรกแซงตลาดให้เป็นไปตามทิศที่เราต้องการได้ ซึ่งระบบที่ประเทศส่วนใหญ่ รวมทั้งประเทศไทยใช้อยู่ในปัจจุบัน

               ระบบลอยตัวเสรี Independent หรือว่า Free Float เป็นระบบที่ปล่อยให้ค่าเงินหรืออัตราแลกเปลี่ยนเป็นไปตามกลไกตลาดมากที่สุด ธนาคารกลางอาจจะเข้าไปแทรกแซงในตลาดได้บ้างเพื่อชี้นำทิศทางแต่ไม่ใช่เพื่อสวนทางกับการเคลื่อนไหวของอัตราการแลกเปลี่ยนในตลาด

บทความเกี่ยวกับ เงินฝากประจำ


อัตราแลกเปลี่ยนลอยตัว เป็นระบบที่ตรงข้ามกับอัตราแลกเปลี่ยนคงที่

อัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวแบบกึ่งจัดการ เป็นการปล่อยให้อัตราค่าเงินเป็นไปตามกลไกของตลาด ขึ้นอยู่กับอุปสงค์-อุปทาน ของสกุลเงินนั้น ๆ โดยธนาคารกลางเป็นผู้คอยควบคุมให้เป็นไปโดยปกติ หากเกิดเหตุการณ์ผิดปกติต่อค่าเงิน เช่น มีการเก็งกำไร ธนาคารกลางก็จะเข้าแทรกแซง

บทความเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์ การเงิน ธุรกิจ หรือ การค้านี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล

อัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ หรือ Fixed Exchange Rate คือ อัตราแลกเปลี่ยนที่ “คงที่” จากการที่อัตราแลกเปลี่ยนจะถูกกำหนดตายตัวโดยรัฐบาลหรือธนาคารกลางของประเทศนั้น ๆ ส่งผลให้อัตราแลกเปลี่ยนของสกุลเงินที่ใช้อัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ (Fixed Exchange Rate) จะไม่เปลี่ยนแปลงไปตาม Demand และ Supply ของเงิน

ตัวอย่างเช่น สมมติว่าประเทศไทยกำหนดไว้ว่า 25 บาท เท่ากับ 1 ดอลลาร์สหรัฐ 25 บาทก็จะเท่ากับ 1 ดอลลาร์สหรัฐไปจนกว่าธนาคารกลางจะประกาศเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยน

ดังนั้น ในสกุลเงินของประเทศที่ใช้อัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ หรือ Fixed Exchange Rate จะไม่มีการแข็งค่า (Appreciation) หรืออ่อนค่า (Depreciation) เหมือนกับประเทศที่ใช้อัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัวนั่นเอง

ข้อดีและข้อเสียของอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่

ข้อดีของ Fixed Exchange Rate หรือ อัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ คือ การที่ไม่มีความเสี่ยงจากความผันผวนของค่าเงิน หนึ่งในผู้ที่ได้ประโยชน์ก็คือผู้ส่งออกที่ไม่ต้องเสี่ยงกับค่าเงินที่อาจทำให้ขาดทุนหรือทำให้สินค้าขายได้ยาก

ในทางกลับกันข้อเสียของอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ (Fixed Exchange Rate) คือ การที่ในระยะยาวมูลค่าของเงินจะวิ่งหามูลค่าที่มันควรจะเป็น ในที่นี้คือสภาพของประเทศที่เป็นสิ่งค้ำประกันมูลค่าเงินในแต่ละสกุล

เมื่อไหร่ก็ตามที่ต่างชาติมองว่าอัตราแลกเปลี่ยนถูกกำหนดเอาไว้ในอัตราที่ไม่สมเหตุสมผล เงินสกุลที่ใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ก็จะไม่เป็นที่ต้องการอีกต่อไป และเกิดการเทขายเงินสกุลดังกล่าวในที่สุด

และเมื่อเกิดการเทขายอย่างหนักจนถึงระดับที่ธนาคารกลางของประเทศนั้นควบคุมไม่ได้ก็จะทำให้ค่าเงินหลุดจากราคาที่ตรึงเอาไว้และอ่อนค่าอย่างรวดเร็วในที่สุดในลักษณะเดียวกับวิกฤตค่าเงินของหลาย ๆ ประเทศที่เคยเกิดขึ้นในอดีต

จากข้อดีที่ไม่มีความผันผวนของค่าเงิน ทำให้ธนาคารกลางของประเทศนั้น ๆ ต้องรับภาระในการดูแลค่าเงินด้วยการตรึงค่าเงินให้อยู่ในระดับอัตราแลกเปลี่ยนที่ต้องการ เมื่อไหร่ก็ตามที่ธนาคารกลางไม่สามารถตรึงอัตราแลกเปลี่ยนไว้ได้จุดจบก็จะไม่ต่างจากวิกฤตต้มยำกุ้งของประเทศไทยเมื่อปี 2540

ด้วยข้อจำกัดเหล่านี้ทำให้ในปัจจุบันประเทศส่วนใหญ่เลือกที่จะใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัว (Floating Exchange Rate) และระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัวที่มีการควบคุมแทน

ประเทศที่ใช้อัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่

ประเทศไทยในอดีต เคยใช้อัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ ซึ่งสุดท้ายแล้วก็ต้องยอมปล่อยให้ค่าเงินบาทลอยตัวช่วงวิกฤติต้มยำกุ้งเมื่อปี 2540

ประเทศจีนในปัจจุบัน ก็ยังคงใช้อัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่อยู่ โดยประเทศจีนกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนของค่าเงินหยวนแบบคงที่ และกำหนด (เพิ่มขึ้นหรือลดลงเมื่อเทียบกับสกุลอื่น) โดยธนาคารกลางของจีน

ข้อใด เป็นลักษณะสำคัญของอัตราแลกเปลี่ยนระบบลอยตัวภายใต้การจัดการ

ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัวลอยตัวภายใต้การจัดการ ทำให้นโยบายการเงินมีความคล่องตัวและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ นอกจากนั้นยังช่วยสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศอันจากความเสี่ยงที่เกิดจากความผันผวนของเงินตรา อีกทั้งทำให้ทางการสามารถดูแลการไหลเข้าออกของเงินทุนต่างประเทศได้ดีขึ้น

ระบบอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราแบบลอยตัวเสรีมีลักษณะสำคัญอย่างไร

3.2 ระบบลอยตัวเสรี(Independent หรือ Free Float) เป็นระบบที่ค่าเงินลอยตัวตาม กลไกตลาดมากที่สุด ธนาคารกลางอาจเข้าแทรกแซงในตลาดบ้าง เพื่อชี้นาทิศทาง แต่ มิใช่เพื่อสวนทางกับการเคลื่อนไหวของอัตราแลกเปลี่ยนในตลาด

อัตราแลกเปลี่ยนแบบเสรีหรือลอยตัวถูกกำหนดโดยสิ่งใด

สำหรับระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวแบบเสรี อัตราแลกเปลี่ยนจะถูกกำหนดโดยกลไกตลาดเป็นหลัก ดุลยภาพของอัตราแลกเปลี่ยนในระบบนี้จะขึ้นอยู่กับอุปสงค์และอุปทานของเงินตราต่างประเทศ เช่นจุด A ที่ 35 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ดังภาพที่ 1 โดยเมื่ออุปสงค์และ/หรืออุปทานของเงินตราต่างประเทศเปลี่ยนแปลง จะทำให้เส้นอุปสงค์และ/หรือเส้นอุปทานเงินตรา ...

อัตราแลกเปลี่ยนแบบจัดการมีลักษณะแบบใด

อัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัวแบบมีการจัดการ (Managed Float) คืออัตราแลกเปลี่ยนขึ้นลงตามกลไกตลาด แต่มีการแทรกแซง จากภาครัฐหรือธนาคารกลางบ้าง หากไม่สอดคล้องกับการพัฒนาประเทศ สำหรับประเทศที่เลือกใช้ อัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัวแบบมีการจัดการ ได้แก่ บราซิล อินโดนีเซีย ไทย เกาหลีใต้ อินเดีย มาเลเซีย เซาท์ แอฟริกา ฟิลิปปินส์ ตุรกี

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก