มารยาทในการเข้าสังคม มีอะไรบ้าง

เด็กๆทุกคนคงไม่มีใครอยากจะใช้ชีวิตในห้องเรียนอย่างเดียว แน่นอนว่าเรายังมีเวลาที่เหลือนอกจากการเรียนที่เราสามารถไปทำสิ่งต่างๆที่เราชอบในสังคมภายนอก หากเราต้องการที่จะอยู่ร่วมกับคนอื่นๆในสังคมได้อย่างสงบสุขแล้ว เราต้องไม่รู้เพียงมารยาทในห้องเรียน แต่ต้องรู้ที่จะปฏิบัติตนอย่างถูกต้องนในสังคมอื่นๆอีกด้วย
ไปลามาไหว้ มารยาทไทยที่เป็นวัฒนธรรมการทักทายเวลาพบปะกันหรือลาจากกัน " การไหว้ " เป็นการแสดงถึงความมีสัมมาคารวะและการให้เกียรติซึ่งกันและกัน นอกเหนือจากการกล่าวคำว่า " สวัสดี " แล้วยังแสดงออกถึงความหมาย " การขอบคุณ " และ " การขอโทษ " การไหว้เป็นการแสดงมิตรภาพ มิตรไมตรี ที่เป็นขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงาม ซึ่งนับวันจะค่อย ๆ เลือนลางออกไปจากสังคมไทย ด้วยเยาวชนไทยส่วนใหญ่รับเอาวัฒนธรรมต่างชาติมายึดถือปฏิบัติ เช่น การทักทายกันด้วย การจับมือ ด้วยการผงกหัวหรือพยักหน้าต้อนรับกัน โดยปกติความอ่อนน้อมถ่อมตนเป็นวัฒนธรรมไทยที่แสดงความเคารพด้วยการไหว้ผู้อาวุโส หรือการรับไหว้ผู้อาวุโสน้อย ปัจจุบันกลายเป็นวัฒนธรรมที่เกิดเฉพาะกลุ่มแทนที่จะเป็นวัฒนธรรมในสังคมของคนทุกชนชั้น ด้วยสาเหตุที่เยาวชนไทยมองข้ามวัฒนธรรมไทยที่ดีงามถูกต้อง มารยาทในสังคมไทยจึงผิดเพี้ยนไป ในที่นี้ได้หยิบยกมารยาทในการพบปะสมาคมในสังคมที่สำคัญมีดังนี้
1. การรู้จักวางตน ต้องเป็นคนมีความอดทน มีความสงบเสงี่ยม ไม่แสดงกิริยาก้าวร้าว อวดรู้ อวดฉลาด อวดมั่งมีและไม่ควรตีตัวเสมอผู้ใหญ่แม้ว่าจะสนิทสนมหรือคุ้นเคยกันสักปานใดก็ตาม
2. การรู้จักประมาณตน มีธรรมของคนดี ๗ ได้แก่ รู้จัก เหตุผล ตน ประมาณ กาล ชุมชน และบุคคล โดยไม่ทำตัวเองให้เด่น เรียกร้องให้คนอื่นสนใจ หรือสร้างจุดสนใจในตัวเรามากเกินไป ตัวอย่าง คำเตือนของหลวงวิจิตรวาทการที่กล่าวไว้ว่า " จงทำดีแต่อย่าเด่นจะเป็นภัย ไม่มีใครเขาอยากเห็นเราเด่นเกิน "
3. การรู้จักการพูดจา ต้องไม่ทักทายปราศรัยกับคนด้วยคำพูดที่จะทำให้คนเขาเกิดความอับอายในสังคมและไม่คุยเสียงดังหรือยักคิ้วหลิ่วตาทำท่าทางประกอบจนทำให้เสียบุคลิกภาพได้
4. การรู้จักควบคุมอารมณ์ คือ รู้จักข่มจิตของตน ไม่ใช่อารมณ์รุนแรงเพื่อไม่ให้ล่วงสิ่งที่ไม่ควรล่วง ได้แก่ การข่มราคะ โทสะ โมหะ ไม่ให้กำเริบเป็นคุณลักษณะที่สำคัญอย่างหนึ่ง คือ รู้จักข่มอารมณ์ต่าง ๆ ไม่ทำลายข้าวของไม่พูดและแสดงกิริยาประชดประชันหรือส่อเสียด
5. การสำรวมกิริยาเมื่อเดินผ่านผู้ใหญ่ ขณะที่เดินผ่านผู้ใหญ่ให้ก้มตัวพองาม หรือหากผู้ใหญ่กำลังเดินไม่ควรวิ่งตัดหน้า ควรหยุดให้ผู้ใหญ่เดินไปก่อน หรือไม่ควรเดินผ่านกลางขณะที่ผู้ใหญ่กำลังพูดกัน
6. การรู้จักควบคุมอิริยาบถ ถือเป็นคุณสมบัติที่ดี เช่น เมื่อเราได้ยินเสียงเพลงก็ไม่ควรเขย่าตัว กระดิกเท้า หรือเคาะจังหวะโดยไม่เลือกสถานที่ ซึ่งการกระทำดังกล่าวนี้ ถือว่าเป็นอาการของคนที่ไม่ควบคุมอิริยาบถและไม่เหมาะสมกับกาลเทศะ
7. ความมีน้ำใจไมตรีอันดีต่อกัน การอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุขด้วยความรักและเข้าใจกัน ควรมีความเอื้ออาทร มีน้ำใจไมตรีต่อกัน มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กัน มีความเห็นอกเห็นใจ เอาใจใส่ ทุกข์สุขของผู้เกี่ยวข้องมุ่งดีมุ่งเจริญต่อกัน ที่สำคัญคือมีน้ำใจในการช่วยเหลือ หรือช่วยทำประโยชน์ให้แก่สังคม
8. การช่วยเหลือผู้อื่น เป็นคุณธรรมชั้นสูงของการอยู่ร่วมกันใน พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมเป็นปัจฉิมโอวาท ความว่า " จงยังประโยชน์ตนและประโยชน์ผู้อื่นด้วยความไม่ประมาทเถิด" การยังประโยชน์แก่ผู้อื่น ก็คือ การช่วยเหลือผู้อื่น หรือการปฏิบัติเพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น เพื่อประโยชน์ส่วนรวม สังคมจะมีสันติสุข คือ มีความสงบสุข ถ้าบุคคลในสังคมรู้จักการช่วยเหลือผู้อื่น มีความเสียสละเพื่อประโยชน์ส่วนรวม


//sites.google.com/site/tanutchab865/maryath-thang-sangkhm-thiy-thi-yeawchn-phung-mi

การปลูกฝังมารยาทที่ดีให้ลูก จะเป็นการเสริมสร้างทักษะความฉลาดทางสังคม (SQ) ลูกจะเติบโตและเรียนรู้เรื่องการเข้าสังคม ปรับตัวเข้ากับผู้อื่นได้ง่าย เคารพผู้อื่น และรู้จักทำเพื่อส่วนรวม ทั้ง 10 มารยาทพื้นฐานที่คุณพ่อคุณแม่สอนลูกได้ง่ายๆ จะมีอะไรบ้างไปดูกันค่ะ

1. สอนให้ลูกพูดจาไพเราะ สุภาพอ่อนน้อม ตั้งแต่ลูกเริ่มพูด คุณพ่อคุณแม่ต้องเป็นต้นแบบที่ดีให้กับลูกควรใช้คำที่สุภาพอ่อนโยน ฝึกให้ลูกพูดมีหางเสียง ครับ/ค่ะ ต่อท้ายทุกครั้ง

2. สอนให้ลูกพูดคำว่าขอโทษและขอบคุณ เมื่อเขาทำผิดให้พูดขอโทษ ถ้าได้รับความช่วยเหลือให้พูดขอบคุณกับผู้อื่นเสมอ

3. สอนให้ลูกรู้จักเข้าคิว มีระเบียบวินัย เมื่อพาลูกออกไปนอกบ้าน ไม่ว่าจะพาไปเที่ยวหรือทานอาหารนอกบ้าน ต้องสอนให้เข้าคิว เช่น พาไปต่อแถวซื้อตั๋วขึ้นรถไฟฟ้า ซื้อตั๋วเข้าสวนสัตว์ ซื้ออาหาร จะทำให้เขาเรียนรู้เรื่องระเบียบวินัยของสังคมค่ะ

4. สอนให้ลูกไหว้ผู้ใหญ่อย่างอ่อนน้อม ให้ลูกกล่าวคำทักทายและทำท่าสวัสดีให้ดูไปพร้อมๆ กันทุกครั้ง ลูกจะยกมือทำท่าสวัสดีตาม เวลาเจอใครๆ ก็จะยกมือไหว้สวัสดีทักทายทุกครั้ง

5. สอนให้ลูกไม่ส่งเสียงดังในสถานที่สาธารณะ พ่อแม่ต้องไม่พูดเสียงดังหรือตะโกนคุยกับลูก และบอกลูกเสมอว่าไม่ควรส่งเสียงดังโวยวาย เพราะจะเป็นการรบกวนคนอื่น เป็นกิริยาที่ไม่ดี ไม่ควรทำ

6. สอนให้ลูกไม่โยนของ ขว้างทิ้งของ ไม่ว่าของจะเป็นอะไรควรยื่นส่งให้ดีๆ ต้องอธิบายว่าการโยนเป็นกิริยาที่ไม่ดีและอาจจะทำให้ของตกหล่นเกิดความเสียหายได้

7. สอนมารยาทบนโต๊ะอาหารให้กับลูก ไม่ว่าจะเป็นการใช้ช้อน ส้อม ตะเกียบในการรับประทานอาหาร การเช็ดปาก รวบช้อนเมื่อทานอิ่มแล้ว โดยทำเป็นตัวอย่างให้ลูกเห็นอยู่เสมอ

8. สอนให้ลูกปิดปากเวลาไอหรือจาม เมื่อลูกไม่สบายให้ใส่หน้ากากอนามัยและเมื่อจามหรือไอ ก็สอนให้ลูกปิดปาก

9. สอนให้ลูกรู้จักเคารพสิทธิผู้อื่น ไม่ล้อเลียนหรือไม่วิจารณ์รูปลักษณ์ภายนอกของคนอื่น นอกจากเป็นคำชมที่ดีสามารถทำได้ค่ะ

10. สอนให้ลูกรู้จักมารยาทในการใช้โทรศัพท์ ให้แนะนำตัวเองก่อน แล้วจึงขอสายคนที่ลูกต้องการสนทนาด้วย และไม่เล่นโทรศัพท์ขณะคุยกับผู้อื่นหรือเล่นเวลาอยู่บนโต๊ะอาหาร

การฝึกสอนมารยาทให้ลูกตั้งแต่เล็กๆ เป็นการส่งเสริมพัฒนาการทั้ง ด้านอารมณ์ สังคมให้ลูกได้เป็นอย่างดี ที่สำคัญการเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับลูก ยิ่งทำให้ลูกปฎิบัติตามได้ง่ายกว่าการบอกหรือสั่งเพียงอย่างเดียวค่ะ

ที่มา – rakluke

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก