อาจารย์ในมหาลัยเรียกว่าอะไร

อาจารย์มหาวิทยาลัย

อาจารย์มหาวิทยาลัยเป็นผู้ขับเคลื่อนหลักที่สำคัญในกระบวนการสร้างบัณฑิต ให้มีลักษณะพึงประสงค์ตามที่หลักสูตร ภาควิชา คณะวิชา และมหาวิทยาลัยกำหนด ดังนั้น อาจารย์จึงต้องศึกษาปรัชญาและเป้าหมายของหลักสูตรที่สอน ไม่ใช่ สอนตามที่เรียนมา กล่าวคือ

  • ต้องศึกษาจุดเน้นของทั้งหลักสูตร ภาควิชา คณะวิชา และมหาวิทยาลัย ซึ่ง ประกอบด้วย ปรัชญา ค่านิยม เป้าหมาย วิสัยทัศน์ของคณะวิชาและมหาวิทยาลัย
  • ต้องศึกษากฎ ระเบียบ กติกา ข้อกำหนด ตั้งแต่ระดับชาติ มหาวิทยาลัย คณะวิชา ภาควิชา และหลักสูตร

หน้าที่และความรับผิดชอบ

งานสอน

  • ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการเรียนการสอน การอบรม
  • ศึกษาและพัฒนาความรู้ทางวิชาการอย่างต่อเนื่อง
  • ให้คำแนะนำและคำปรึกษาแก่นักศึกษา

งานวิจัย

  • วิจัยค้นคว้าในสาขาวิชาการและวิชาชีพขั้นสูง
  • งานบริการวิชาการหรืองานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
  • ให้บริการวิชาการแก่สังคม
  • ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
  • ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือตามที่ได้รับมอบหมาย

เพิ่มเติม : คลิก!!

คุณสมบัติของบุคคลที่จะมาเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยนั้น ขึ้นอยู่กับกำหนดของมหาวิทยาลัยนั้นๆ ซึ่งอาจกำหนดคร่าวๆได้ ดังนี้

  1. สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทหรือเอก ในสาขาที่เกี่ยวข้อง
  2. เกรดเฉลี่ยระดับปริญญาตรี 3.00 ขึ้นไป /ปริญาโท 3.25 ขึ้นไป (ข้อกำหนดขึ้นอยู่กับมหาวิทยาลัย)
  3. มีผลการทดสอบระดับความรู้ภาษาอังกฤษในเกณฑ์ดี
  4. มีวิทยานิพนธ์ระดับโท/เอก (ข้อกำหนดขึ้นอยู่กับมหาวิทยาลัย)
  5. ไม่เป็นบุคคลต้องห้ามตามประกาศมหาวิทยาลัย (บุคคลที่มหาวิทยาลัยกำหนดห้ามสมัคร)

ตัวอย่างเช่น

ด้วยคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีอัตราพนักงานมหาวิทยาลัย ตำแหน่งอาจารย์ ตำแหน่งเลขที่ E210016 วุฒิปริญญาเอกอัตราเงินเดือน 37,000 บาท วุฒิปริญญาโทอัตราเงินเดือน 24,000 บาท สังกัดภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา จำนวน 1 อัตรา นั้น

คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีความประสงค์จะรับสมัครบุคคลเพื่อสอบคัดเลือก บรรจุเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยในตำแหน่งดังกล่าว จึงประกาศให้ทราบทั่วกัน ดังนี้.-

ก. คุณสมบัติของผู้สมัคร

  1. ต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติทั่วไปตามข้อ 6 แห่งข้อบังคับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ว่าด้วยการ บริหารงานบุคคล พ.ศ. 2553
  2. เป็นผู้มีคุณวุฒิปริญญาเอกหรือปริญญาโท ทางด้านสังคมวิทยา หรือสังคมศาสตร์ สังคมสงเคราะห์ นโยบายสังคม พัฒนาสังคม และระดับปริญญาตรีต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาสาขา สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา หรือสังคมศาสตร์
  3. ต้องมีคะแนนความสามารถภาษาอังกฤษ TOEFL (Score) หรือ IELTS (Level) หรือ CMU-eTEGS (Score) ตามเกณฑ์ประกาศมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เรื่องหลักเกณฑ์และแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับ มาตรฐานความสามารถภาษาอังกฤษของอาจารย์ประจำบรรจุใหม่ พ.ศ.2560 ประกาศ ณ วันที่ 21 มีนาคม 2560 (แนบท้าย)
  4. ต้องไม่เป็นผู้ที่ลาออกจากราชการตามโครงการเปลี่ยนเส้นทางชีวิต: เกษียณก่อนกำหนด

สรุป ทั้งนี้ คุณสมบัติของการสมัครเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยนั้นก็ขึ้นอยู่กับประกาศของแต่ละมหาวิทยาลัยว่า ประสงค์จะรับสมัครคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุเป็น พนักงานมหาวิทยาลัย สายวิชาการและสายสนับสนุน กำหนดให้มีคุณสมบัติอย่างไร  เนื่องจากการรับสมัครของมหาวิทยาลัยในแต่ละที่นั้น มีความแตกต่างกันไปในเรื่องของการกำหนดรายละเอียดของบุคคลที่สมัคร ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และภาระหน้าที่ตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด

อ้างอิงจาก : ที่นี่

สวัสดิการ

ในส่วนสวัสดิการของอาจารย์มหาวิทยาลัย จะขึ้นอยู่กับสวัสดิการและสิทธิประโยชน์  พนักงานมหาวิทยาลัย ตามแต่ละมหาวิทยาลัยนั้นๆ เช่น เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยมหิดล สวัสดิการก็จะเป็นไปตามพ.ร.บ.มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ.2550 ว่าด้วยข้อบังคับฯ หลักเกณฑ์และวิธีการจัดสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ ของพนักงานมหาวิทยาลัย พ.ศ.2550 หรือเป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ก็เป็นไปตามสิทธิและสวัสดิการของผู้ปฏิบัติงานมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กองทุนสวัสดิการ พนักงานมหาวิทยาลัย เป็นต้น

ตัวอย่างเช่น

สิทธิและสวัสดิการของผู้ปฏิบัติงานมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ค่ารักษาพยาบาล

ผู้ได้รับสิทธิ:

  1. ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ และบุคลากรในครอบครัวของข้าราชการและลูกจ้างประจำ ให้ไปใช้สิทธิ ตามพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. 2553
  2. พนักงานมหาวิทยาลัยประจำ และพนักงานมหาวิทยาลัยชั่วคราว รวมทั้งบุคคลในครอบครัวของ พนักงานมหาวิทยาลัยประจำและพนักงานมหาวิทยาลัยชั่วคราว ให้ใช้สิทธิตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ว่าด้วยสิทธิและสวัสดิการพนักงานมหาวิทยาลัย พ.ศ.2551

ค่าเล่าเรียนบุตร

ผู้ได้รับสิทธิ:

  1. ข้าราชการและลูกจ้างประจำซึ่งได้รับเงินเดือนตามหมวดเงินเดือน ให้ไปใช้สิทธิตามพระราชกฤษฎีกา เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร พ.ศ. 2523(ดูรายละเอียดสาระสำคัญของ พรฎ.เงินสวัสดิการเกี่ยวกับ การศึกษาของบุตร)
  2. พนักงานมหาวิทยาลัยประจำ และพนักงานมหาวิทยาลัยชั่วคราว รวมทั้งบุคคลในครอบครัวของ พนักงานมหาวิทยาลัยประจำและพนักงานมหาวิทยาลัยชั่วคราว ให้ใช้สิทธิตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ว่าด้วยสิทธิและสวัสดิการพนักงานมหาวิทยาลัย พ.ศ.2551 (ดูรายละเอียดที่กองทุนทุน สวัสดิการพนักงานมหาวิทยาลัย)

ค่าเช่าบ้าน

ผู้ได้รับสิทธิ:

  1. ข้าราชการ ให้ไปใช้สิทธิตามพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. 2547 (ดูสรุปสาระสำคัญพระ ราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. 2547)

2. พนักงานมหาวิทยาลัยประจำสาย A สาย B และสาย C ให้ใช้สิทธิตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ว่าด้วยสิทธิและสวัสดิการพนักงานมหาวิทยาลัย พ.ศ.2551

อ้างอิงจาก : คลิก!!

อัตราเงินเดือน

ตารางบัญชีเงินเดือนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา แนบท้ายพระราชบัญญัติเงินเดือนเงินวิทยฐานะ และเงินประจำตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2558

ขอบคุณภาพจาก ที่นี่

เรื่องนี้แต่เดิมความเชื่อของสังคมไทย ครูบาอาจารย์เป็นอาชีพที่มีรายได้น้อย ทว่า ในข้อเท็จจริงแล้ว อาชีพบุคลากรทางการศึกษา “สายสอน” มีรายได้มากกว่าที่คิด เฉพาะกรณีของอาจารย์ในระดับอุดมศึกษา มีเงินได้เดือนๆหนึ่งน่าอิจฉา

ตามตารางบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ปี 2558 เงินเดือนครูผู้ช่วยเมื่อแรกเข้ารับราชการอยู่ที่ 15,050 และถ้าทำผลงานและรับราชการไปเรื่อยๆ สมมุติว่าเกษียณที่ตำแหน่ง ครู คศ.5 เพดานเงินเดือนจะอยู่ที่ 76,800 บาทในส่วนของอาจารย์ในระดับอุดมศึกษาแม้ว่าแต่ละสถาบันจะไม่เท่ากัน ทว่า โดยเฉลี่ยแล้วอาจารย์วุฒิปริญญาโทจะเริ่มสตาร์ทที่ประมาณ 18,000 บาท ส่วนอาจารย์วุฒิปริญญาเอกจะสตาร์ทที่ประมาณ 27,000 หากมีตำแหน่งทางวิชาการก็จะมีค่าตำแหน่งทางวิชาการเช่นกัน
สรุปในชั้นนี้ก็คือ อาจารย์จบใหม่จะได้เฉพาะเงินเดือนตอนสตาร์ท ส่วนถ้าอายุงานครบ 2 ปีจะมีสิทธิ์ทำตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ เมื่อได้รับอนุมัติก็จะได้ค่าตำแหน่งทางวิชาการบวกเข้าไปในเงินเดือน

รายได้อีกส่วนหนึ่งของอาจารย์มหาวิทยาลัยคือค่าตอบแทนในการเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ หรือที่เรียกกันว่าเงินค่าคุมวิทยานิพนธ์ ถ้าเป็นนักศึกษาระดับปริญญาโทจะได้ประมาณ 5,000-10,000 ต่อวิทยานิพนธ์ของนักศึกษา 1 คน ถ้าเป็นนักศึกษาระดับปริญญาเอกจะได้ประมาณ 10,000-20,000 ต่อวิทยานิพนธ์ของนักศึกษา 1 คน ถ้าเป็นนักศึกษาปริญญาตรีที่บางมหาวิทยาลัยให้ทำวิทยานิพนธ์ อาจารย์ก็จะมีรายได้ในส่วนนี้เข้ากระเป๋าอีก

โดยในระหว่างการทำวิทยานิพนธ์ก็จะมีขั้นตอนการตรวจสอบเครื่องมือวิจัย โดยอาจารย์มหาวิทยาลัยจะได้รับเชิญให้เป็นผู้เชี่ยวชาญ แต่ไม่ทุกคนที่จะได้รับรายได้ก้อนนี้ และในระหว่างการสอบวิทยานิพนธ์ก็จะมีค่าประธานสอบ ค่ากรรมการสอบ ค่าเบี้ยประชุมพิจารณาวิทยานิพนธ์ โดยหลังจากทำวิทยานิพนธ์เสร็จ นักศึกษาต้องเขียนบทความวิจัย ในส่วนนี้ อาจารย์มหาวิทยาลัยที่มีวารสารวิชาการก็จะได้รับเชิญให้เป็นผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความวิจัย ได้ค่าอ่านบทความวิจัยอีกดอกหนึ่งยังไม่นับอาจารย์มหาวิทยาลัยสายใต้ดิน ที่เปิดบริษัทรับจ้างทำวิทยานิพนธ์ โดยสามารถเรียกเงินจากลูกค้าซึ่งอาจเป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัยอื่นหรือมหาวิทยาลัยที่ตนเองสอนอยู่เท่าไหร่ก็ได้ เพราะนักศึกษาต้องการเรียนจบ

รายได้ต่อมาของอาจารย์มหาวิทยาลัยคือทุนวิจัย ถ้าเป็นงานวิจัยร่มใหญ่ที่ต้องมีทีมงานมาร่วมทำวิจัยจะเป็นเงินก้อนใหญ่ ซึ่งจะได้จากมหาวิทยาลัยหรือจากหน่วยงานภายนอก แต่หากทำวิจัยคนเดียวเงินทุนวิจัยก็จะน้อยกว่าวิจัยร่วม

นอกจากนี้ ยังมีรายได้จากการขายหนังสือหรือตำราทางวิชาการที่อาจารย์เขียนเอง บางครั้งใช้ระบบถ่ายเอกสารแต่ขายในราคาเดียวกับหนังสือจากโรงพิมพ์ซึ่งนักศึกษาไม่มีสิทธิ์โต้แย้งเพราะเป็นตำราหลักหรือหนังสือหลักที่บังคับให้ทุกคนต้องใช้ในการเรียนการสอน ยิ่งถ้าเป็นหนังสือจากโรงพิมพ์ซึ่งมีส่วนลดเปอร์เซ็นต์เมื่ออาจารย์สั่งซื้อในปริมาณมากๆ ทว่า นำมาขายให้กับนักศึกษาในราคาปกเมื่อคูณจำนวนนักศึกษาในแต่ละเทอม เงินก้อนนี้มีมูลค่ามากอย่างคาดไม่ถึงเลยทีเดียว

รายได้อีกก้อนหนึ่งหากอาจารย์ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางการบริหาร เช่น หัวหน้าสาขาวิชาหรือภาควิชา ประธานหลักสูตร ผู้อำนวยการหลักสูตร ผู้ช่วยคณบดี รองคณบดี ผู้อำนวยการฝ่ายใน “สายสนับสนุน” คณบดี ผู้ช่วยอธิการบดี รองอธิการบดี หรืออธิการบดี ทั้งหมดจะมีเงินค่าตำแหน่งทางการบริหารบวกเข้าไปในเงินเดือน ลดหลั่นกันไปตามระดับของการบริหาร

รายได้ต่อมาของอาจารย์มหาวิทยาลัยคือการเป็นที่ปรึกษาให้กับองค์กรภาคธุรกิจ ซึ่งอาจารย์บางคนมีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน หรือยิ่งมีตำแหน่งทางวิชาการ และมีวุฒิปริญญาเอก ก็ยิ่งได้รับความเชื่อถือจากบริษัทห้างร้านต่างๆ ให้เข้าไปเป็นที่ปรึกษา ในหลายๆ ด้าน เช่น ด้านวิจัย หรือด้านการบริหารองค์กร เป็นต้น รายได้ในทางนี้คือปัญหาที่อาจารย์

อ้างอิงจาก : ที่นี่

ตามอ่านสิ่งที่น่าสนใจต่อได้อีก

อาชีพ “อาจารย์มหาวิทยาลัย” ยังน่าสนใจอยู่ไหม
การเป็นอาจารย์ยุคใหม่กับความรับผิดชอบและภาระหน้าที่ ที่หลบซ่อนอยู่
จากเด็กเกรด 1.45 สู่อาจารย์มหาวิทยาลัยในวัย 24 ปี แนะนำ
อยากรู้เรื่องชีวิตอาจารย์มหาวิทยาลัย

เมนูนำทาง เรื่อง

Teacher กับ Instructor ต่างกันยังไง

มีความหมายว่า ครู เช่นกัน จนหลายคนสับสนว่าเหมือนกับ Teacher แต่ระหว่าง Teacher กับ Instructor มีความแตกต่างซ่อนอยู่ คือ Instructor จะใช้ในความรู้สึกเช่นเดียวกับคำว่า Coach คือ เป็นครูฝึก ครูพิเศษ สรุปได้ว่า Instructor คือ คนที่ได้รับมอบหมายจากองค์กร เช่น ค่ายฝึกอบรม โดยงานของผู้สอนมักไม่ใช่งานประจำ ซึ่งแตกต่างจาก ...

ฝรั่ง เรียกอาจารย์ ว่าอะไร

ในบริบทของโรงเรียน จะไม่มีการใช้คำว่า Teacher นำหน้าแต่อย่างใด แต่จะใช้คำว่ามิสเตอร์ (Mr.), มิส (Ms.) หรือ มิสซิส (Mrs.) แทนตามด้วยนามสกุล (last name) ของผู้สอน ซึ่งเป็นการให้เกียรติในรูปแบบของโลกตะวันตกนั่นเอง

ตําแหน่งอาจารย์มหาวิทยาลัย มีอะไรบ้าง

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ (กิตติคุณ) Emeritus Professor. ศาสตราจารย์ Professor. รองศาสตราจารย์ Associate Professor. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ Assistant Professor.

อาจารย์ อาชีพอะไร

ครู คือบุคคลซึ่งประกอบวิชาชีพหลักทางด้านการเรียนการสอนและการส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการต่าง ๆ ในสถานศึกษาปฐมวัย ขั้นพื้นฐานและอุดมศึกษาที่ต่ำกว่าปริญญา ทั้งของรัฐและเอกชน(พระราชบัญญัติ สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546) มีหน้าที่ ถ่ายทอดวิชาความรู้ให้แก่ศิษย์ พัฒนาศักยภาพของนักเรียนตั้งแต่ทักษะพื้นฐาน ...

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก