สุขา สังฆัสสะ สามัคคี แนวทางการปฏิบัติตน

วันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11357 มติชนรายวัน
อย่าลืม...ปลูกจิตสำนึก!

โดย สุชาย จอกแก้ว

ด้วยเหตุแห่งปัญหา และด้วยเหตุแห่งปัจจัยทั้งหลายที่รุมเร้ารัฐบาลอยู่ในขณะนี้ ยากที่รัฐบาลจะแก้ไขปัญหาอยู่คนเดียวได้ จำเป็นที่จะต้องอาศัยผู้คน กลุ่มบุคคล องค์กร และหน่วยงานของรัฐทั้งหลาย เข้ามามีส่วนร่วมในการช่วยกันแก้ปัญหา ดังบาลีว่า "สุขา สังฆัสสะ สามัคคี ความพร้อมเพรียงของหมู่คณะ ทำให้เกิดสุข"

การแก้ปัญหา นอกจากจะต้องระดมคน ระดมความคิดเห็นกันแล้วจำเป็นจะต้องมีวิธีการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ มีหลักการคิด มีวิธีการคิด มีแนวทางในการปฏิบัติเพื่อให้เกิดมรรคผลที่ดี ที่ถูกต้อง ที่เหมาะสมต่อไป

รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันได้วางกรอบแนวนโยบายด้านศาสนา สังคม สาธารณสุข การศึกษา และวัฒนธรรมไว้อย่างค่อนข้างละเอียด

มีผู้คนถามกันว่า ขณะนี้รัฐบาลได้ใช้นโยบายด้านสังคม และวัฒนธรรม "ปลูกจิตสำนึก" เพื่อแก้ไขปัญหาชาติ กันหรือยัง

รัฐธรรมนูญมาตรา 80 ระบุว่ารัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายด้านสังคม...(6) "ส่งเสริมและสนับสนุนความรู้รักสามัคคี และการเรียนรู้ปลูกจิตสำนึก และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมขนบธรรมเนียมประเพณีของชาติ ตลอดจนค่านิยมอันดีงามและภูมิปัญญาท้องถิ่น"

เมื่อสังคมแตกแยก จำเป็นที่จะต้อง ปลูกจิตสำนึก ให้ผู้คนรักแผ่นดินเกิด กตัญญูต่อแผ่นดิน กตัญญูต่อชาติ

การปลูกจิตสำนึกมีหลายวิธี ทั้งการพูด การกระทำ และการร่วมใจกัน เพลงปลูกจิตสำนึก ก็มีมากมาย โดยเฉพาะเพลงชาติ สื่อความหมายของความเป็นชาติได้อย่างดี เพลงลูกเสือเนตรนารี หรือเพลงอื่นๆ ที่สื่อความหมายให้ผู้คนรู้สึกรักแผ่นดินก็มีมากมาย

เมื่อร่วมใจกันได้แล้ว ก็ร่วมกระทำร่วมปฏิบัติต่อกัน ร่วมฟื้นฟูแผ่นดินกันใหม่ให้น่าอยู่ ร่วมประสานไมตรีจิตต่อกัน ศูนย์รวมจิตใจของคนในชาติ ก็คือสถาบันศาสนา และสถาบันพระมหากษัตริย์

นอกจากนี้ ก็ยังมีสถาบันปลีกย่อยอีกมากมาย เริ่มตั้งแต่ สถาบันครอบครัว การศึกษา ชุมชน องค์กรท้องถิ่น องค์กรสาธารณกุศลทั้งหลาย เป็นต้น

ถ้าร่วมแรงร่วมใจกันสร้างสรรค์ความสามัคคี ก็มิใช่เรื่องยากแต่อย่างใดเลย น่าจะทำควบคู่ไปกับการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ อบรมคนว่างาน นอกจากอบรมหลักวิชาชีพแล้ว ต้องอบรมคุณธรรม จริยธรรม ความรู้รักสามัคคีกันด้วย แจกเงินแล้ว ก็ต้องแจกจิตสำนึกที่ดีต่อสังคมด้วย ต้องช่วยเหลือกัน

เมืองไทยได้ชื่อว่าเป็นเมืองยิ้ม เมืองรักสงบ ทำอย่างไรจะปลูกจิตสำนึกให้กลับมายิ้มต่อกัน และรักที่จะอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขได้

รัฐธรรมนูญมาตรา 87 ยังวางแนวนโยบายให้รัฐต้องดำเนินการด้านการมีส่วนร่วมของประชาชนอีกมากมาย โดยให้รัฐต้องส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายและวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น ส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนรวมของประชาชนในการตัดสินใจทางการเมือง การวางแผนพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งการจัดทำบริการสาธารณะ เป็นต้น

ปัญหาของสังคม ปฏิเสธไม่ได้ว่า สื่อวิทยุโทรทัศน์มีส่วนขยายความรุนแรงทางการเมือง ข้อเสียของสื่อในทางการเมือง นั่นก็คือ สื่อสามารถระดมความคิดของคนที่เสพติดสื่อให้คล้อยตามได้ ปลุกกระแสความเชื่อความนิยมได้

ดังนั้น เมื่อสื่อมีส่วนขยายความรุนแรงทางการเมือง ก็ต้องแก้ปัญหาให้สื่อช่วยสมานรอยแผลความแตกแยกทางการเมือง โดยการให้สื่อช่วยเป็นกลาง สื่อต้องไม่มีอคติ สื่อต้องรักษาจรรยาบรรณแห่งความเป็นกลาง อันเป็นหัวใจสำคัญของสื่อ

รัฐควรที่จะกำหนดบทบาทให้สื่อควรนำเสนอข่าวเกี่ยวกับสังคม การเมือง ที่เป็นกลาง หากสื่อใดก้าวล่วงความเป็นกลาง ก็ต้องมีมาตรการควบคุมอย่างเคร่งครัด

ในส่วนของการเมือง ก็มีผู้คนเขาเสนอความคิดกันมาว่า ถ้าจะให้อีกฝ่ายยอมหย่าศึก ก็จะต้องให้เขามีส่วนได้รับผลประโยชน์ด้วยเช่นกันไม่มากก็น้อย เรื่องทั้งหลายก็อาจจะคลี่คลายลงได้ ถ้าผลประโยชน์ลงตัวซะอย่าง มีหรือที่ศัตรูจะไม่กลับกลายมาเป็นมิตร (เหมือนที่ทำกันมาแล้ว)

ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ อยากให้รัฐปลูกจิตสำนึกของคนในสังคมที่แตกแยก ควบคู่ไปกับการแก้ไขปัญหาปากท้อง มิใช่แก้ไขปัญหาปากท้องทางร่างกายเพียงอย่างเดียวก่อน แล้วจึงค่อยมาแก้ไขปัญหาจิตใจกันในภายหลัง ซึ่งแม้กายจะสบาย แต่จิตใจยังเศร้าหมองอยู่ แล้วชีวิตหรือประเทศชาติจะสงบสุขได้อย่างไร

"จิตฺเต สงฺกิลิฏเฐ ทุคฺคติ ปาฏิกงฺขา เมื่อจิตเศร้าหมองแล้ว ทุคติเป็นอันต้องหวัง"

หน้า 7
//www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01act04140452&sectionid=0130&day=2009-04-14

สุขา สังฆัสสะ สามัคคี บรรพชาสามเณรบังกลาเทศ

นิมิตหมายแห่งความรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนาได้เกิดขึ้นแล้วในบังกลาเทศเมื่อเหล่าธรรมทายาทโครงการบรรพชา 294 รูป //dmc.tv/a13102

บทความธรรมะ Dhamma Articles > ช่วงเด่นฝันในฝัน
[ 18 ม.ค. 2555 ] - [ ผู้อ่าน : 17624 ]

ทบทวนฝันในฝัน วันที่ 17 มกราคม พ.ศ.2555

 Change The World 208 ประเทศ
 

สุขา สังฆัสสะ สามัคคี บรรพชาสามเณรบังกลาเทศ 

 เรียบเรียงจากรายการโรงเรียนอนุบาลฝันในฝันวิทยา

        นิมิตหมายแห่งความรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนาได้เกิดขึ้นแล้วในบังกลาเทศเมื่อเหล่าธรรมทายาทโครงการบรรพชา 294 รูป รุ่นบูชาธรรม 94 ปีท่านบานะ ภันเต ได้กล่าวคำปฏิญาณพร้อมกันว่า“ สุขาสังฆัสสะ สามัคคี”3 ครั้งเพื่อประกาศถึงความสามัคคีที่จะนำความสุขที่แท้จริงกลับคืนสู่เมืองพุทธในอดีตแห่งนี้ให้ได้

ท่านบานะภันเต ปัจจุบันอายุ 94 ปี   พระสุปฏิปันโน ที่สาธุชนนับล้าน

 ในบังกลาเทศเคารพบูชาเช่นเดียวกันกับพระอรหันตสาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

สภาพห้องนอนของท่านที่ไม่มีเตียง มีแต่เก้าอี้ไว้นั่งสมาธิเป็นต้นแบบของการ

ปฏิบัติธุดงควัตรข้อเนสัชชิกังคะเป็นเวลายาวนานถึง 20 กว่าปี

จนคนแถบนั้นเชื่อว่า ท่านได้เข้าถึงธรรมะภายใน

        ถึงแม้ปัจจุบันท่านบานะ ภันเตจะมีอายุ94  ปี  สังขารไม่เอื้อ อำนวย  แต่ท่านก็ยังปรารภความเพียรปฏิบัติธรรมอย่างไม่ลดละ ในการปฏิบัติธุดงควัตร ข้อเนสัชชิกังคะ  เป็นเวลายาวนานถึง 20 กว่าปี ด้วยเหตุนี้จึงทำให้สาธุชนนับล้านแม้ต่างศาสนิกเกิดความศรัทธาและยึดถือเป็นต้นแบบในการปฏิบัติธรรมแบบเอาชีวิตเป็นเดิมพันและทำให้มีผู้สมัครบวชครบ 294 รูป เต็ม 100 %แบบไม่มีตกหล่น

        แล้วในที่สุดวันที่แม่บังกลาเทศรอคอยก็มาถึง เมื่อวันที่ 5มกราคมพ.ศ.2555 การบรรพชาสามเณร294 รูปณ วัดราชบัณนะวิหารเป็นไปด้วยความศักดิ์สิทธิ์ มีท่านรองสังฆราช ญาณรัตนะ, ท่านบานะ ภันเต และพระครูวรกิตติโสภณ เจ้าอาวาสวัดนาคปรก พระอุปัชฌาย์ ได้เมตตาให้โอวาทแก่ธรรมทายาทและโดยเฉพาะท่านบานะ ภันเต ได้กล่าวชื่นชมวัดพระธรรมกายซึ่งนำโดย พระเทพญาณมหามุนีว่า พูดจริง ทำจริง และสำเร็จจริง

ท่านบานะ ภัณเต เมตตาให้โอวาทแก่สามเณรในพิธีบรรพชา

พระครูวรกิตติโสภณ เจ้าอาวาสวัดนาคปรก พระอุปัชฌาย์

        ภาพการบรรพชาสามเณรครั้งนี้ ทำให้เกิดกระแสการบวชในบังกลาเทศไม่เว้นแม้แต่ต่างศาสนิกก็ขอมีส่วนร่วมในการสร้างสันติสุขในสังคมด้วย

แถวขบวนเวียนประทักษิณที่ดูสงบเสงี่ยมสง่างาม 

พิธีขอขมา รับบาตรและผ้าไตร 

พิธีกล่าวคำขอบรรพชา

สามเณรธรรมทายาทบังกลาเทศ ถ่ายภาพหมู่ร่วมกับพระอุปัชฌาย์

        ขณะเดียวกันราชาเดวาสิส รอยราชาผู้นำชนเผ่าชัคม่าร์ก็อยากจะจัดบวช 1,000 รูป คุณปาราช บารัว ซึ่งเป็นมหาเศรษฐีผู้ใจบุญก็ตั้งผังสำเร็จว่าจะจัดบวช 1,000 รูป โดยการรวมผู้นำชาวพุทธและองค์กรชาวพุทธมาช่วยกันวางแผนจัดงานบวช โดยเริ่มตั้งศูนย์ประสานงานชื่อ DIMC of Bangladeshและที่สำคัญ คือพระอาจารย์ ดร. กียาน-รัตนะได้นำคณะทำงานลูกพระธัมฯเข้าถวายรายงานโครงการบรรพชา 294 รูปแก่พระสังฆราชบังกลาเทศ ซึ่งทำให้ท่านปลื้มใจเป็นอย่างยิ่งและรับเป็นประธานฝ่ายสงฆ์ในการจัดบวช 1,000 รูป ครั้งต่อไป 

        ส่วนสามเณรใหม่ในครั้งนี้ ได้เริ่มต้นเป็นเนื้อนาบุญในพิธีตักบาตรพระและสามเณรใหม่ 1,255 รูป เมื่อวันที่ 7มกราคมพ.ศ.2555มีชาวบังกลาเทศมาใส่บาตรประมาณ 3,000คน  และอาสาสมัครนับร้อยคน โดยมีราชาเดวาสิสรอย ได้ให้เกียรติมาเป็นประธานฝ่ายฆราวาส

ราชาเดวาสิส  รอย ผู้นำชนเผ่าชัคม่าร์ มาเป็นประธานพิธีตักบาตร
โดยมีสามเณรลูกชายมาเป็นเนื้อนาบุญในงานตักบาตรนี้ด้วย
 

        ในช่วงการเตรียมงานตักบาตรสาธุชนในท้องถิ่นเกิดความไม่เข้าใจเพราะว่าพระที่นี่ต้องยืนนิ่ง ๆ ให้โยมเดินแถวไปใส่บาตรเองซึ่งเป็นประเพณีที่ทำกันมาจนเคยชิน ยิ่งไปกว่านั้นอาหารเปียกกับอาหารแห้งก็ผสมปนเปกันไปในบาตร แต่เมื่อทีมงานแนะให้ทำนำให้ดูแล้วความเป็นระบบระเบียบก็เกิดขึ้นได้อย่างน่าอัศจรรย์ทุกคนเกิดความศรัทธาในวัฒนธรรมชาวพุทธที่ทีมงานจากวัดพระธรรมกายจัดเต็มให้โดยเฉพาะ

คณะสงฆ์กว่า 1,500 รูป ร่วมพิธีตักบาตร 

แถวบิณฑบาตที่เป็นระบบระเบียบ

อาสาสมัครชาวชัคม่าร์ เบื้องหลังความสำเร็จ

        ธรรมทายาท ทุกคนยังได้ทำความรู้จักผลงานต่าง ๆ ของวัดพระธรรมกายผ่านการนำเสนอจากพระอาจารย์    โดยเฉพาะธุดงค์ธรรมชัยซึ่งธรรมทายาทเรียกร้องอยากให้เกิดขึ้นเพื่อบูชาธรรมมหาปูชนียาจารย์ เพราะท่านบานะ ภันเต ,คณะสงฆ์และสาธุชนส่วนใหญ่ในบังกลาเทศจะเคารพบูชาพระมงคลเทพมุนีว่าเป็นพระผู้บรรลุธรรมแล้วแม้แต่พระสังฆราชและมหาสังฆนายก ซึ่งต่างศาสนิกนับถือว่าเป็นกูรูยังนับถือหลวงปู่

รูปภาพที่แขวนตามบ้านชาวชัคม่าร์ทั่วไป ซึ่งมีรูปพระเดชพระคุณหลวงปู่อยู่ด้วย

เพราะพวกเขาเชื่อกันว่า พระเดชพระคุณหลวงปู่เป็นผู้บรรลุธรรมแล้ว

        เมื่อกระแสธุดงค์ธรรมชัยบวกกับกระแสธรรมของพระมงคลเทพมุนีแผ่มาถึงบังกลาเทศ จึงเป็นนิมิตหมายที่ดีในการเดินธุดงค์ธรรมชัยในวันที่ 10 มกราคม พ.ศ.2555ทุกรูปพร้อมใจกันเดินธุดงค์ไปโปรดญาติโยมกลางเมืองรังกามาติทำให้รถทุกคันต้องจอดดูผู้โดยสารต่างยกมือไหว้ด้วยความศรัทธา ส่วนคณะพระผู้ใหญ่ของวัดราชบัณนะหลังจากเห็นภาพโครงการธุดงค์ธรรมชัยผ่าน DMC ก็ทำการประชาสัมพันธ์ให้ญาติโยมเตรียมกลีบกุหลาบและดอกไม้มาโปรยต้อนรับพระธุดงค์เหมือนที่ได้ทำในประเทศไทยแต่พิเศษตรงที่มีการยาตราทางเรือเพื่อไปเดินธุดงค์บนเกาะ

เตรียมดอกไม้ต้อนรับพระธุดงค์

แถวสามเณรเดินธุดงค์ยาวกว่า1 กิโลเมตร

ชาวบ้านโปรยดอกไม้ด้วยความปีติปลาบปลื้ม

ธรรมทายาทไปเดินธุดงค์บนเกาะซึ่งเป็นหุบเขา
มีสาธุชนโปรยดอกกุหลาบต้อนรับพร้อมเสียงสาธุการตลอดแนว
  

        งานนี้ไม่ใช่แค่เพียงโยมปลื้มฝ่ายเดียวพระเองก็ปลื้มในความศรัทธาของญาติโยมขนาดหนูน้อยอายุประมาณ 4 ขวบ เอามือกราบไปที่เท้าของพระภิกษุและธรรมทายาทจำนวน 300 รูปจนครบ ทุกคนต่างสุขใจที่ได้ร่วมสร้างภาพประวัติศาสตร์ที่หายไปนับพันปีให้กลับมาสู่บังกลาเทศอีกครั้ง

เด็กๆเข้ามาทำความเคารพด้วยการแตะเท้าสามเณรทุกรูป

เหล่าสาธุชนก็ไม่พลาดบุญใหญ่ด้วยการขนน้ำปานะ

เดินตามคณะพระธุดงค์ไปถวายจนครบทุกรูป กว่า 300 รูป 

แถวธุดงค์ยาวเหยียดอยู่กลางไพร ส่องทางสว่างยาวไกลไม่สิ้นสุด

ชาวบ้านแซ่ซ้องด้วยเสียงสาธุการ

        ในตอนนี้คณะสงฆ์นำโดยพระสังฆราช, ผู้นำชาวพุทธรวมถึงเจ้าภาพใหญ่ได้วางแผนจัดโครงการบรรพชา 1,000 รูปที่เมืองจิตตะกองแล้ว ทุกคนต้องการมีส่วนร่วมในการสร้างความสำเร็จให้ประเทศตนเองต่างมีความมั่นใจและศรัทธาอย่างเต็มเปี่ยมว่าทุกสิ่งสำเร็จได้ด้วยใจที่รวมเป็นหนึ่งตามหลักคำสอนของคุณครูไม่ใหญ่ทุกประการ

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก