สถานการณ์คุณภาพอากาศในประเทศไทย

กรมควบคุมมลพิษ เปิดรายงานสถานการณ์มลพิษปี 2563 ภาพรวมคุณภาพอากาศกทม-ปริมณฑลดีขึ้น ฝุ่น PM2.5 ค่าเฉลี่ยเกินมาตรฐาน 20-25 มคก.ต่อลบ.ม. ส่วนภาคเหนือเจอหมอกควันรุนแรงฝุ่นเกิน 112 วัน ขณะ 5 อันดับอากาศดีที่สุด คือ นราธิวาส สตูล ภูเก็ต สงขลา และยะลา

วันนี้ (6 มี.ค.2564) นายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) เปิดเผยถึงสถานการณฺ์สถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยปี 2563 พบว่าคุณภาพอากาศพื้นที่ทั่วไปภาพรวมคุณภาพอากาศดีขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา ทั้งนี้พื้นที่ทั่วไป ตั้งแต่เดือนเม.ย.2563 ฝุ่น PM2.5 มีค่าเฉลี่ยรายปีทั่วประเทศ 23 มคก.ต่อลบ.ม.ลดลงจากปี 2562 ร้อยละ 8 ฝุ่น PM10 มีค่าเฉลี่ยรายปีทั่วประเทศ 43 มคก.ต่อลบ.ม.ลดลงจากปี 2562 ร้อยละ 9 ส่วนก๊าซโอโซนค่าเฉลี่ย 8 ชั่วโมงสูงสุดเฉลี่ยทั้งประเทศ 81 มคก.ต่อลบ.ม.ลดลงจากปี 2562 ร้อยละ 11

ส่วนหนึ่งมาจากขับเคลื่อนของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ “การแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง” และสถานการณ์ COVID-19 ทำให้ประชาชนลดกิจกรรมการเดินทาง อุตสาหกรรมลดกำลังการผลิต และการใช้พลังงานไฟฟ้าทั่วประเทศลดลง

มลพิษหลักที่ยังเป็นปัญหา คือ ฝุ่นละออง PM2.5 ฝุ่นละออง PM10 และก๊าซโอโซน จังหวัดที่มีคุณภาพอากาศดีที่สุด 5 อันดับ คือ นราธิวาส สตูล ภูเก็ต สงขลา และยะลา  

พื้นที่วิกฤตกทม-ปริมณฑล

สำหรับพื้นที่กทม-และปริมณฑล สถานการณ์ปัญหาฝุ่นละออง PM2.5 ปี 2563 อยู่ในช่วง 20-25
มคก.ต่อลบ.ม.ลดลงกว่าปี 2562 ค่าเฉลี่ยทั้ง 6 จังหวัด คือกทม.นนทบุรี สมุทรปราการ นครปฐม ปทุมธานี และสมุทรสาคร 23 มคก.ต่อลบ.ม.ลดลงจากปี 2562 ร้อยละ 12 ทั้งนี้สถานการณ์คุณภาพอากาศในพื้นที่ กทม.และปริมณฑลมีแนวโน้มดีขึ้น เนื่องจากมีการกำหนดมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง PM2.5 ที่เพิ่มขึ้น และติดตามตรวจสอบและรายงานข้อมูลคุณภาพอากาศในพื้นที่เป็นประจำทุกวัน วันละ 3 เวลา คือ 7.00 น. 12.00 น. และ 17.00 น.เพื่อแจ้งเตือน สื่อสาร และสร้างการรับรู้ให้กับประชาชน ส่งเสริมการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนในการแก้ไขปัญหา การใช้ข้อมูลทางวิชาการในการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ

หมอกควันภาคเหนือรุนแรงฝุ่นเกิน 112 วัน 

สำหรับสถานการณ์หมอกควันภาคเหนือ มีความรุนแรงกว่าปี 2562 เล็กน้อย จำนวนวันที่ฝุ่นละอองเกินค่ามาตรฐาน 112 วัน ซึ่งเท่ากับปี 2562 จุดความร้อนสะสมมีค่า 88,855 จุด ลดลงจากปี 2562 ร้อยละ 2  ปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็กเฉลี่ย 24 ชั่วโมงสูงสุด 366 มคก.ต่อลบ.ม.เพิ่มขึ้นจากปี 2562 ร้อยละ 4 สาเหตุหลักมาจากมีการเผาในพื้นที่การเกษตรจำนวนมากประกอบกับสภาพอากาศที่แห้งแล้ง ส่งผลให้มีการลุกลามของไฟป่าอย่างรวดเร็ว 

ขณะที่ต.หน้าพระลานจ.สระบุรี ฝุ่นละออง PM10 มีจำนวนวันที่เกินค่ามาตรฐาน 92 วัน ลดลงจากปี 2562 ร้อยละ 39 ปริมาณฝุ่นละออง PM10 เฉลี่ยรายปี 107 มคก.ต่อลบ.ม. ลดลงจากปี 2562 ร้อยละ 9 โดยร่วมกับคณะกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองในเขตควบคุมมลพิษ จ.สระบุรี ดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการต่างๆ และสร้างการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน เช่น การติดตามตรวจสอบฝุ่นละอองทั้งในบรรยากาศทั่วไปและการระบายฝุ่นละอองจากแหล่งกำเนิด ส่ง Mr. PM10 ลาดตระเวนพื้นที่สุ่มตรวจแบบ Spot check ตรวจจับรถใช้งานที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ซ่อมบำรุง ดูแลและทำความสะอาดถนนที่เป็นเส้นทางจราจรเพื่อลดปริมาณการฟุ้งกระจายของฝุ่นละออง

20 พ.ค. ปัญหาคุณภาพอากาศจาก PM2.5 ในประเทศไทย

Posted at 09:08h in ข่าวสาร

ทุกวันนี้ปัญหาใหญ่เรื่องหนึ่งของประเทศไทยคือ ปัญหาหมอกควันอันเกิดขึ้นจากฝุ่น PM2.5 โดยเฉพาะกรุงเทพมหานครและปริมณฑล รวมทั้งพื้นที่ทางภาคเหนือหลายจังหวัดของประเทศไทยอันได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง เป็นต้น

ฝุ่น PM 2.5 คืออะไร ?

หน่วยงานป้องกันสิ่งแวดล้อม ประเทศสหรัฐอเมริกา US. EPA (United State Environmental Protection Agency) ได้ทำการกำหนดค่ามาตรฐานของฝุ่นละอองขนาดเล็กในอากาศที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพมนุษย์เอาไว้โดยใช้ค่า PM (Particulate Matters) เป็นเกณฑ์ในการตรวจวัดคุณภาพอากาศ ดังนี้ฝุ่น PM 10 หรือที่โดยทั่วไปเรียกว่า “ฝุ่นหยาบ” (Course Particles) คือ อนุภาคฝุ่นละอองในอากาศที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางขนาด 2.5 – 10 ไมครอน ฝุ่นประเภทนี้เมื่อรวมกันเป็นจำนวนมากแล้วมักจะสังเกตเห็นได้ง่าย เช่น ฝุ่นที่เกาะอยู่ตามข้าวของเครื่องใช้, เกสรดอกไม้ หรือฝุ่นละอองจากงานก่อสร้าง เป็นต้น ฝุ่น PM 2.5 หรือที่เรียกว่า “ฝุ่นละเอียด” (Final Particles) คือ อนุภาคฝุ่นละอองในอากาศที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางอยู่ที่ 2.5 ไมครอน

สำหรับแหล่งกำเนิดของฝุ่น PM 2.5 ก็มักมาจากควันท่อไอเสียรถยนต์, โรงงานไฟฟ้า,
โรงงานอุตสาหกรรม, ควันที่เกิดจากการหุงต้มอาหารด้วยฟืน, ควันจากการเผาขยะ, ไฟป่า รวมทั้งการทำปฏิกิริยาของก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2), ไนโตรเจนออกไซด์ (NOx) และสารประกอบอินทรีย์ระเหยง่าย (VOCs) ก็มีส่วนก่อให้เกิดฝุ่นประเภทนี้ได้ด้วยเช่นกัน

ฝุ่น PM 2.5 มีผลเสียต่อร่างกายอย่างไรบ้าง?

ในวันที่อากาศไม่ดี มีค่าฝุ่นมลพิษสูง หลายคนคงรู้สึกแสบตา แสบจมูก เจ็บคอ

  • ระบบที่มีผลกระทบมาก คือระบบทางเดินหายใจ เมื่อหายใจเอาฝุ่น PM2.5เข้าไป จะรู้สึกแสบจมูก ไม่สบาย ไอและมีเสมหะได้ ในคนไข้ที่มีโรคประจำตัว เช่นโรคภูมิแพ้,โรคปอด (เช่น หอบหืด, ถุงลมโป่งพอง) ต้องระวังสุขภาพเป็นพิเศษ เนื่องจากฝุ่นนี้จะทำให้โรคกำเริบได้ง่าย
  • ในระยะยาวมีผลทำให้เกิดโรคมะเร็งปอดและ โรคระบบหัวใจและหลอดเลือดได้

ค่า AQI และค่าฝุ่น PM 2.5 แตกต่างกันอย่างไร ?

ทางกรมควบคุมมลพิษ (Pollution Control Department) ได้ทำการกำหนดค่า AQI (Air Qulity Index) หรือค่าดัชนีคุณภาพอากาศ
เอาไว้ทั้งหมด 6 ระดับ ดังนี้

รูปจาก กรมควบคุมมลพิษ (Pollution Control Department)

แต่ค่า AQI นี้ไม่ได้ตรวจวัดเฉพาะแค่ฝุ่น PM 2.5 เท่านั้น ยังรวมปริมาณฝุ่น PM 10 และก๊าซที่เป็นมลพิษในอากาศอย่าง โอโซน (O3), คาร์บอนมอนออกไซด์ (CO), ไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2) และซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) ร่วมด้วย จึงทำให้ปริมาณค่า AQI กับค่าฝุ่น PM 2.5 ในอากาศที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์นั้นมีความแตกต่างกันค่อนข้างมาก และสำหรับผู้ที่ติดตามปริมาณค่าฝุ่นในอากาศมาตลอดก็จะสังเกตเห็นได้ว่าค่า AQI ของพื้นที่ส่วนมากในประเทศไทยโดยเฉพาะในเมืองใหญ่ ณ ขณะนี้นั้นเป็นสีส้ม-แดง ที่อยู่ในระดับอันตราย (สามารถทำการตรวจเช็คได้จากเว็บไซต์ //aqicn.org/here/ หรือเช็คผ่านแอปพลิเคชันต่างๆ ได้)

ปัญหา PM 2.5 นี้เริ่มรุนแรงขึ้นมาในประเทศไทยประมาณปี พศ. 2561คือประมาณ 3 ปีที่แล้วต่อเนื่องกันมาทุกปี โดยเริ่มเกิดเมื่อเข้าสู่ฤดูหนาวประมาณเดือนธันวาคม และจะบรรเทาเบาบางลงเมื่ออากาศร้อนขึ้นประมาณเดือนเมษายน ฝุ่นPM 2.5 มาจากหลายแหล่งกำเนิด เช่นควันจากท่อไอเสียรถยนต์โ ดยเฉพาะรถดีเซลเก่าๆ ที่ประสิทธิภาพของเครื่องยนต์ไม่ดี การเผาขยะ การเผาเพื่อเตรียมพื้นที่การการทำเกษตรกรรม ไฟป่าทั้งที่เกิดจากตามธรรมชาติและการลักลอบเผาป่า การก่อสร้างและโรงงานอุตสาหกรรม รัฐบาลควรหาทางออกที่ยั่งยืน นอกจากการแก้ปัญหาภายในประเทศแล้ว บางครั้งฝุ่น PM 2.5 ก็มาจากกิจกรรมที่มีผลเสียต่อคุณภาพอากาศจากประเทศเพื่อนบ้านรอบรอบเราได้เช่นกัน รัฐบาลจึงควรมีข้อตกลงเพื่อแก้ปัญหานี้ร่วมกับประเทศต่างๆที่อยู่รอบประเทศของด้วย

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก