แกนหลักในการทำงานของโปรแกรม Google SketchUp 8 มีกี่แกน ได้แก่อะไรบ้าง *

การทำงานกับแกนอ้างอิง

         ในการออกแบบโครงสร้างตัวอาคาร ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ จำเป็นต้องอาศัยความแม่นยำและเจาะจง
เพื่อให้ชิ้นงานที่ออกมานั้น สามารถนำไปใช้ได้จริง โปรแกรม SketchUp มีแกนอ้างอิงไว้ให้ใช้เป็นแกนหลักในการวาดภาพและขึ้นโมเดล รวมทั้งการทำงานอื่น ๆ ซึ่งเมื่อเปิดโปรแกรมขึ้นมาจะพบแกนอ้างอิง ดังภาพ

จากภาพจะพบแกนอ้างอิงทั้งหมด 3 แกน วางตัดกัน ได้แก่ แกนสีแดง (Red Axis)

แกนสีเขียว (Green Axis) และแกนสีน้ำเงิน (Blue Axis) ซึ่งใช้งานตามรูปแบบของแกน  3 มิติ (X, Y, Z)
ส่วนจุดตัดของแกนทั้ง 3 เรียกว่า จุดกำเนิด (origin)

การจัดวางแกนอ้างอิงในโปรแกรม SketchUp เป็นรูปแบบมาตรฐานที่คนส่วนใหญ่ใช้กัน
เราสามารถกำหนดรูปแบบและลักษณะการวางแกนได้เอง ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการทำงาน
และความถนัดของแต่ละคน โดยคลิกขวาที่แกนที่ต้องการ จะปรากฏคำสั่งให้เลือก ดังนี้

คลิกขวาที่แกนที่ต้องการทำงาน จะปรากฏเมนูคำสั่งออกมา

วางแกนอ้างอิงในตำแหน่งใหม่ด้วยคำสั่ง Place

          เป็นการจัดวางตำแหน่งของแกนอ้างอิงตามความต้องการของเรา โดยเมื่อคลิกเลือกคำสั่ง Place
แล้วจะปรากฏไอคอนแกนขึ้นมา ให้คลิกเมาส์เพื่อระบุตำแหน่งแกนอ้างอิง และเลื่อนเมาส์ เพื่อหมุนภาพ

เรียกค่าการวางตำแหน่งเดิมกลับคืนด้วยคำสั่ง Reset

          หลังจากได้เปลี่ยนตำแหน่งแกนหรือหมุนแกน ถ้าต้องการให้แกนอ้างอิงกลับมาวางตัวในแนวเดิม
ก็ให้ใช้คำสั่ง Reset

ซ่อนแกนอ้างอิงด้วยคำสั่ง Hide

          ในกรณีที่ต้องการซ่อนแกนอ้างอิง ก็สามารถทำได้โดยคลิกขวาที่แกน แล้วเลือกคำสั่ง Hide

ในการเปิดโปรแกรม SketchUp ครั้งแรก (หลังจากติดตั้งโปรแกรม และเลือกแม่แบบ
ในหน้าต่าง Welcome แล้ว) จะพบกับหน้าต่างการทำงานโดยมีส่วนประกอบหลัก ดังนี้

1. แถบ Title Bar

แถบสำหรับแสดงชื่อไฟล์ที่กำลังทำงานอยู่ขณะนั้น  โดยในการเปิดโปรแกรมหรือสร้างงานขึ้นมาใหม่
ชื่อไฟล์ในแถบไตเติ้ลบาร์จะแสดงเป็น Untitled จนกว่าจะมีการบันทึกและตั้งชื่อไฟล์

2. แถบ Menu Bar 

แถบที่รวบรวมคำสั่งต่าง ๆ ในการทำงาน โดยจะแบ่งเป็น 8  หมวด ดังนี้

File : เป็นกลุ่มคำสั่งสำหรับจัดการกับไฟล์งาน เช่น การสร้างไฟล์งาน  การบันทึก การนำเข้า/ส่งออก
การสั่งพิมพ์  เป็นต้น

Edit : เป็นกลุ่มคำสั่งสำหรับปรับแต่งแก้ไข เช่น การคัดลอก ลบ  ซ่อน/แสดงโมเดล สร้าง Group/Component เป็นต้น

View : เป็นกลุ่มคำสั่งสำหรับจัดการในส่วนของพื้นที่ทำงาน เช่น ซ่อน/แสดงแถบเครื่องมือ แกนอ้างอิง
เงา หมอก การแสดงผลของเส้น การแสดงผลในส่วนของการแก้ไข Group/Component  เป็นต้น

Camera : เป็นส่วนคำสั่งสำหรับจัดการในส่วนของมุมมอง ในการทำงาน เช่น การหมุน เลื่อน ย่อ/ขยาย เป็นต้น

Draw :  เป็นกลุ่มคำสั่งสำหรับเลือกใช้เครื่องมือต่าง ๆ  ในการวาดรูปทรง เช่น การวาดเส้นตรง เส้นโค้ง สี่เหลี่ยม วงกลม เป็นต้น

Tools : เป็นกลุ่มคำสั่งสำหรับเรียกใช้เครื่องมือต่าง ๆ ในการทำงาน เช่น ดัน/ดึง การหมุน/ย้ายโมเดล 
การสร้างตัวอักษรสามมิติ  การวัดขนาด เป็นต้น

Window : เป็นกลุ่มคำสั่งเกี่ยวกับการเรียกแสดงหน้าต่าง หรือไดอะล็อกบอกซ์ขึ้นมา
เพื่อใช้ร่วมในการทำงาน และปรับแต่งค่าต่าง ๆ ของโปรแกรม

Help : เป็นกลุ่มคำสั่งเกี่ยวกับคู่มือการแนะนำการใช้งานโปรแกรม ไปจนถึงการลงทะเบียน
และการตรวจสอบการอัพเดต

3. แถบ Tool Bar

เป็นแถบรวบรวมเครื่องมือสำคัญมักถูกเรียกใช้งาน โดยส่วนมากจะเป็นการทำงานกับโมเดล
และส่วนประกอบย่อยของโมเดล ดังนี้

4. แถบ Drawing Area (พื้นที่ทำงาน)

เป็นพื้นที่สำหรับทำงาน ซึ่งสามารถที่จะปรับเปลี่ยนมุมมองไปเป็นมุมมองต่าง ๆ ทั้งการทำงานในมุมมองแบบ 2D และ 3D โดยมุมมองแบบ 2D นั้นจะแบ่งออกเป็น ด้านบน ด้านหน้า ด้านขวา ด้านหลัง ด้านซ้าย และด้านล่าง  และมุมมองแบบ 3D จะถูกเรียกว่า Iso (Isometric)

การทำงานในมุมมอง 2D และ 3D

เราสามารถปรับเปลี่ยนมุมมองได้โดยใช้เครื่องมือ ซึ่งสามารถปรับได้ 2 แบบ คือแบบ 2D และ 3D

5. แถบ Drawing Axes (แกนอ้างอิง)

คือเส้นแกนสำหรับอ้างอิงการทำงาน เพื่อให้การวาดรูปทรง และการสร้างแบบจำลองในทิศทางต่าง ๆ
เป็นไปอย่างถูกต้องและแม่นยำ โดยแกนอ้างอิงจะแบ่งเป็น 3 แกน ดังนี้

แทนแนวระนาบระดับจากพื้น โดยเส้นทึบ คือบริเวณที่อยู่สูงกว่าแนวระนาบ และเส้นประ
คือบริเวณที่อยู่ต่ำกว่าแนวระนาบ

จุดตัดกันระหว่างเส้นแกนทั้ง 3 เส้นจะถูกเรียกว่า Original Point หรือ จะเรียกว่าจุดศูนย์กลางของพื้นที่ทำงานก็ได้เช่นกัน โดยตำแหน่งของ Original Point จะมีค่า x, y, z เท่ากับ 0 โดยถ้าค่าตัวเลขเป็นบวก
จะอยู่ในทิศทางของเส้นทึบ และถ้าค่าเป็นลบจะอยู่ในทิศทางของเส้นจุดไข่ปลา

6. Status Bar (แถบสถานะ)

คือแถบแสดงสถานะต่าง ๆ ในการทำงาน โดยจะแสดงในส่วนการแนะนำการใช้งานเครื่องมือต่าง ๆ
จะอธิบายลักษณะการทำงานของเครื่องมือที่เราเลือกขณะทำงาน
เป็นตัวช่วยให้เข้าใจว่าเครื่องมือที่ใช้งานอยู่นั้นมีการใช้งานอย่างไร

7. แถบ Measurement Tool (เครื่องมือกำหนดขนาด)

Measurement มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า VCB (Value Control Box)  เป็นเครื่องมือสำหรับกำหนดค่าต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นความยาว ขนาด องศา ระยะ ให้กับการใช้งานเครื่องมือต่าง ๆ ซึ่งจะช่วยให้การสร้างแบบจำลองมีความแม่นยำและได้สัดส่วนที่ถูกต้อง โดยรูปแบบการกำหนดค่าด้วย Measurement
นั้นจะใช้วิธีการพิมพ์ตัวเลขลงไปในขณะที่ใช้เครื่องมือแต่ละชนิดอยู่ โดยที่ไม่ต้องเอาเมาส์ไปคลิกที่ช่องกำหนดค่า เช่น เมื่อเราต้องการวาดรูปสี่เหลี่ยมขนาด 5 x 5 เมตร เราจะใช้เครื่องมือ Rectangle
วาดรูปสี่เหลี่ยม จากนั้นพิมพ์ค่าลงไปเป็น 5m, 5m หรือ 5,5 (ในกรณีที่กำหนดหน่วยวัดเป็นเมตร
ไม่จำเป็นที่จะต้องใส่หน่วยวัดต่อท้ายตัวเลข) แล้วกดปุ่ม Enter เราก็จะได้รูปสี่เหลี่ยม ขนาด 5X5 เมตร เป็นต้น

จุดตัด3แกน (แดง,เขียว,น้ำเงิน) มีื่อว่าอะไร

แกนสีเขียว (Green Axis) และแกนสีน้ำเงิน (Blue Axis) ซึ่งใช้งานตามรูปแบบของแกน 3 มิติ (X, Y, Z) ส่วนจุดตัดของแกนทั้ง 3 เรียกว่า จุดกำเนิด (origin) การจัดวางแกนอ้างอิงในโปรแกรม SketchUp เป็นรูปแบบมาตรฐานที่คนส่วนใหญ่ใช้กัน เราสามารถกำหนดรูปแบบและลักษณะการวางแกนได้เอง ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการทำงาน

โปรแกรม Google SketchUp คืออะไร

SketchUp เป็นโปรแกรมส าหรับออกแบบและสร้างโมเดล 3 มิติ โดยออกแบบมาให้ใช้งาน ง่าย และเป็นที่นิยมอย่างกว้างขวาง เหมาะกับผู้ที่สนใจงานด้านการออกแบบโมเดลทั่วไป โดยที่ผู้ใช้ไม่ จ าเป็นต้องมีประสบการณ์ในการใช้งานโปรแกรมสร้างโมเดล 3 มิติ มาก่อนก็สามารถใช้ได้ เพราะ หลักการท างานของโปรแกรมจะเป็นการร่างภาพด้วยเส้น เมื่อเส้นต่อกัน ...

เส้นสีแดง คือแกนใด

แกนหลักสีแดง (แกน X) ฝั่งเส้นทึบ แทนทิศตะวันออก และฝั่งเส้นประ แทนทิศตะวันตก แกนหลักสีเขียว (แกน Y) ฝั่งเส้นทึบ แทนทิศเหนือ และฝั่งเส้นประ แทนทิศใต้ แกนหลักสีน้าเงิน (แกน Z) เป็นแนวเส้นที่ตั้งฉากกับพื้นหรือระนาบ X, Y โดยเส้นทึบคือ บริเวณที่อยู่สูงกว่า แนวระนาบ ส่วนเส้นประคือ บริเวณที่อยู่ต่ากว่าแนวระนาบ จุด Origin หรือ ...

คํา สั่ง SVES As ในโปรแกรม Google SketchUp คือ อะไร

เราสามารถบันทึกไฟล์งานเก็บไว้เป็นแม่แบบสําหรับใช้งานในครั้งต่อไปได้จากเมนู File > Save As Template การบันทึกแม่แบบนั้นจะมีการเก็บค่าต่างๆที่กําหนดเอาไว้ในไฟล์งาน ไม่ว่าจะเป็นการกําหนดค่าต่างๆใน Model Info มุมมอง หรือรูปแบบการแสดงผลเป็นต้น

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก