นายจ้าง ไม่ ทำ ตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน พัน ทิป

มารู้จักกับ 5 เทคนิคสุดปัง! จากชาว Pantip ที่คนต้องการฟ้องกรมแรงงานเมื่อได้รับการจ้างงานไม่เป็นธรรมควรรู้

ในเว็บไซต์ถาม-ตอบ ยอดนิยมอย่าง Pantip …

มักมีการตั้งกระทู้ซักถามเกี่ยวกับประเด็นของลูกจ้างที่ต้องการฟ้องกรมแรงงานในกรณีที่นายจ้างไม่ให้ความเป็นธรรมในการทำงานกันอยู่บ่อยครั้ง

ทำให้ชาว Pantip ที่ค่อนข้างมีประสบการณ์ในเรื่องนี้ได้ออกมาแนะนำเคล็ดลับและข้อมูลน่ารู้มากมายที่ควรทราบ

ส่วนจะมีอะไรที่ควรรู้กันบ้างนั้น สามารถติดตามอ่านรายละเอียดที่แสนน่าสนใจจากบทความชิ้นนี้กันได้เลบ…

ครบทุกเรื่องการไปทำงานต่างประเทศ ณ สำนักงานจัดหางาน กรมแรงงาน จังหวัดสุราษฎร์ธานี พร้อมแนะนำข้อมูลน่ารู้ประจำปี 2021

1.เทคนิคฟ้องกรมแรงงานชาว Pantip แนะนำ: ตรวจสอบสัญญาจ้างงานเสียก่อน

            ทุกครั้งก่อนที่จะเข้าไปทำงานในบริษัทหรือองค์กรใดก็ตาม ทางฝ่ายบุคคลจะให้พนักงานทุกคนเซ็นสัญญาการจ้างการจ้างงานก่อน ซึ่งในสัญญาดังกล่าวจะมีการระบุรายละเอียด ผลตอบแทนและสิทธิประโยชน์ต่างๆของลูกจ้างแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับนโยบายของบริษัทภายใต้เงื่อนไขกฎหมายแรงงาน ดังนั้น ก่อนที่จะตัดสินใจฟ้องกรมแรงงาน ชาว Pantip แนะนำให้ตรวจสอบสัญญาเหล่านี้ก่อนเพื่อที่จะได้แน่ใจว่านายจ้างผิดสัญญาจ้างจริงหรือเปล่า!? เพราะมีหลายกรณีที่ลูกจ้างทึกทักเอาเองโดยที่ไม่ได้ตรวจสอบสัญญาจ้างให้ดีเสียก่อน ไม่เช่นนั้นอาจโดนฟ้องกลับได้

2.เทคนิคฟ้องกรมแรงงานชาว Pantip แนะนำ: ช่องทางในการติดต่อกับกรมแรงงาน

            สำหรับคนที่ต้องการติดต่อกับกรมแรงงาน สามารถติดต่อได้ที่กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานตามข้อมูลในตารางในด้านล่าง หรือหากเป็นกรณีต่างจังหวัดก็สามารถติดต่อกับทางกรมแรงงานส่วนจังหวัดตามภูมิลำเนาของตัวเองกันได้เลย

สถานที่ตั้งของสำนักงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ถนนมิตรไมตรี  แขวงกรุงเทพ กทม.10400
หมายเลขโทรศัพท์ 0 2245 4310-4
สายด่วน สายด่วน 1506 กด 3 และ 1546
Facebook //www.facebook.com/theDLPW/
เว็บไซต์ //www.labour.go.th/

3.เทคนิคฟ้องกรมแรงงานชาว Pantip แนะนำ: ขึ้นศาลแรงงานโอกาสลูกจ้างชนะสูง

            กฎหมายแรงงานในประเทศไทย ค่อนข้างที่เอื้อประโยชน์ให้กับลูกจ้างเป็นอย่างมาก ถ้าหากนายจ้างผิดสัญญาจ้างอย่างไม่เป็นธรรม ก็มีโอกาสที่ลูกจ้างจะชนะคดีฟ้องร้องมากกว่า 70% เลยทีเดียว นอกจากนี้ศาลแรงงานไม่จำเป็นที่จะต้องใช้ทนาย และถ้าหากมีข้อสงสัยใดก็สามารถสอบถามผู้พิพากษาได้เลยเช่นกัน

จบทุกปัญหากวนใจในการไปทำงานต่างประเทศ ด้วยคำปรึกษาจากสำนักงานจัดหางาน กรมแรงงาน จังหวัดนครศรีธรรมราช [ข้อมูลปี 2021]

4.เทคนิคฟ้องกรมแรงงานชาว Pantip แนะนำ: เอกสารที่ควรเตรียมให้พร้อม

            ก่อนที่จะไปยื่นเรื่องฟ้องกรมแรงงานควรทำการเตรียมเอกสารประจำตัวและเอกสารที่เกี่ยวข้องสำหรับการฟ้องร้อง ดังต่อไปนี้

-บัตรประจำตัวประชาชน

-เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน เช่น บัตรพนักงาน สลิปเงินเดือน หน้าบัญชีธนาคารที่รับเงินเดือนและเอกสารแสดงการเคลื่อนไหวเงินในบัญชีที่เกี่ยวข้องกับเงินเดือน เป็นต้น

-พยาน และเอกสารพยาน (*ถ้ามี)

            เมื่อทำการยื่นคำร้องและมอบเอกสารในข้างต้นในการฟ้องกรมแรงงานเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ทางเจ้าหน้าที่รับเรื่องร้องเรียนจะทำการซักถามรายละเอียดหรือขอเอกสารเพิ่มเติม หลังจากนั้นทางกรมแรงงานก็จะติดต่อไปทางนายจ้างเพื่อให้ชี้แจ้งต่อไป

5.เทคนิคฟ้องกรมแรงงานชาว Pantip แนะนำ: 3 ข้อกฎหมายจ้างงานที่ควรรู้

Breakup marriage couple with divorce certification

            ก่อนที่จะทำการฟ้องกรมแรงงานว่านายจ้างไม่เป็นธรรม มีกฎหมายเกี่ยวกับการจ้างงานที่มักกลายมาเป็นประเด็นปัญหาบ่อยครั้งจำนวน 3 ข้อ ที่ควรทราบ ดังต่อไปนี้

-กรณีที่ลูกจ้างตกลงทำงานให้กับนายจ้างและนายจ้างตกลงจะจ่ายค่าจ้างตลอดเวลาที่ทำงานให้ ถือว่าเป็นการทำสัญญาจ้าง โดยไม่จำเป็นที่จะต้องทำสัญญาจ้างเป็นลายลักษณ์อักษร

-กรณีที่นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้กับลูกจ้างไม่ครบถ้วน อันเป็นการชำระหนี้ไม่ถูกต้องสมควร ลูกจ้างมีสิทธิ์ร้องทุกข์กับพนักงานตรวจแรงงานท้องถิ่นที่ลูกจ้างทำงานอยู่หรือตามที่นายจ้างมีภูมิลำเนาอยู่เพื่อให้ช่วยสอบสวนข้อเท็จจริงและมีคำสั่งต่อนายจ้าง นอกจากนี้ลูกจ้างยังมีสิทธิ์ฟ้องร้องนายจ้างต่อศาลแรงงานเพื่อให้จ่ายค่าจ้างที่ยังขาดอยู่ ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน 2541 มาตรา 133,124 และ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานฯ ตามมาตรา 8 วรรค 1 (1)

-นายจ้างมีหน้าที่ต้องคืนเงินประกันที่หักจากค่าจ้างพร้อมดอกเบี้ย (ถ้ามี) ให้กับลูกจ้างภายใน 7 วัน รับตั้งแต่ที่ลูกจ้างลาออก ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน 2541 มาตรา 10 วรรคท้าย

ใครอยากไปทำงานต่างประเทศในปี 2021 ยกมือขึ้น สำนักงานจัดหางาน กรมแรงงาน จังหวัดลำพูน ช่วยได้แน่นอน

บทสรุปส่งท้าย : ได้รับความไม่เป็นธรรมจากการทำงานควรฟ้องกรมแรงงานแบบชาว Pantip หรือเปล่า!?

การทำงานทุกครั้ง… แน่นอนว่าทุกคนย่อมต้องการผลตอบแทนจากความพยายามของตัวเอง

ดังนั้น ถ้าหากได้รับความไม่เป็นธรรมในการทำงาน เพื่อเป็นการรักษาสิทธิ์ของตัวเองการฟ้องกรมแรงงานย่อมเป็นหนึ่งในช่องทางช่วยเหลือที่พึงกระทำ

อย่างไรก็ตาม ก่อนที่จะทำการฟ้องกรมแรงงานอย่าลืมสำรวจตัวเองและเตรียมเอกสารให้พร้อมตามคำแนะนำของชาว Pantip ที่พูดถึงกันไปแล้วในตอนต้น

เพียงเท่านี้โอกาสที่จะได้รับความเป็นธรรมก็จะเพิ่มสูงมากขึ้นกว่าเดิมได้อย่างแน่นอน…

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก