โครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล ประกอบด้วย

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า กุญแจสำคัญที่จะนำไปสู่การพัฒนาและขับเคลื่อนโครงการพัฒนาเศรษฐกิจระดับชาติ นอกจากการวางโครงสร้างพื้นฐานด้านการศึกษาเพื่อผลิตกำลังคนตอบโจทย์ภาคอุตสาหกรรม การวางโครงสร้างด้านการคมนาคมทั้งทางถนน ระบบราง และทางอากาศ ไปจนถึงการพัฒนาสมาร์ทซิตี้ เพื่อดึงดูดการลงทุนให้เข้ามาในพื้นที่แล้ว การพัฒนาระบบ ‘โครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล’ และบริการด้านดิจิทัลให้รองรับเทคโนโลยีแห่งอนาคต ก็เป็นอีกหนึ่งภารกิจเร่งด่วนที่ทุกภาคส่วนต้องมาร่วมมือกันสร้างให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม

โดยล่าสุด ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน เมื่อวันที่ 30 กันยายนที่ผ่านมา ได้มีมติเห็นชอบรายการประกอบแผนผังท้าย (ร่าง) ประกาศ กพอ.เรื่องแผนผังการใช้ประโยชน์ในที่ดิน และแผนผังการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และระบบสาธารณูปโภคเขตอีอีซี โดยมอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) นำเสนอ ครม.เพื่อพิจารณาอนุมัติต่อไป

ทั้งนี้ ในร่างดังกล่าวครอบคลุมรายการประกอบแผนผังระบบสาธารณูปโภค ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร รวมถึงระบบการควบคุมและขจัดมลภาวะ ซึ่งระบุถึงพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานและบริการด้านดิจิทัลเพื่อรองรับเทคโนโลยีแห่งอนาคต ซึ่งแบ่งเป็น 3 ส่วน ประกอบด้วย

หนึ่ง ประเภทโครงสร้างพื้นฐานใหม่ คือ โครงการสถาบัน IoT 2 แห่งของสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (ดีป้า) และบริษัท กสท. โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)

และ สอง ประเภทโครงสร้างพื้นฐานเดิม คือ สถานีดาวเทียมศรีราชา 1 แห่ง โดยจะทำให้การพัฒนาการสื่อสารข้อมูลเคลื่อนที่ความเร็วสูง รองรับอุปกรณ์ IoT ได้อย่างมีเสถียรภาพ

DEPA รับนโยบายรัฐ เดินหน้าเต็มสูบ สร้าง ‘โครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลดันโปรเจ็กต์ ไทยแลนด์ ดิจิทัล วัลเลย์ @ EECd

นายณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (ดีป้า) อัปเดตสถานการณ์ล่าสุดเกี่ยวกับการสร้าง ‘โครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล’ เพื่อผลักดันและขับเคลื่อนโครงการพัฒนาเศรษฐกิจระดับประเทศ อย่าง โครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ อีอีซี ว่า

“ที่ผ่านมา กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม มอบหมายให้เร่งโครงการไทยแลนด์ ดิจิทัล วัลเลย์ ซึ่งตั้งอยู่บนพื้นที่ 30 ไร่ ของเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัลประเทศไทย (อีอีซีดี) อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี โดยตั้งสถาบันไอโอทีและนวัตกรรมดิจิทัล เพื่อบริหาร “ไทยแลนด์ ดิจิทัล วัลเลย์” ซึ่งได้ก่อสร้างอาคารเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา และจะแล้วเสร็จภายใน 3 ปี”

นายณัฐพล นิมมานพัชรินทร์

“สำหรับ โปรเจกต์ไทยแลนด์ ดิจิทัล วัลเลย์ มีวัตถุประสงค์หลัก คือ ให้สตาร์ทอัพไทยขยายผลทางธุรกิจเชิงนวัตกรรมเทคโนโลยี และเอื้อให้นักลงทุนต่างชาติที่ต้องการใช้ไทยเป็นฐานของการผลิตสินค้า และการออกแบบเทคโนโลยี เช่น เอไอ ไอโอที”

“ส่วนสถาบันไอโอทีฯ ก็จะมีหน้าที่หลักในการผลักดันการลงทุนอุตสาหกรรมดิจิทัล โดยการสร้างอีโคซิสเท็มเพื่อดึงดูดการลงทุน 5 กลุ่มหลัก คือ ซอฟต์แวร์ ดิจิทัลคอนเทนต์ ฮาร์ดแวร์ สมาร์ทดีไวซ์ (อุปกรณ์อัจฉริยะ) อุปกรณ์การสื่อสาร และการให้บริการด้านดิจิทัล

“โดยการลงทุนทั้ง 5 กลุ่มนี้ จะต้องอยู่ภายใต้การลงทุนการค้า การพัฒนานวัตกรรมของกรอบเทคโนโลยีหลัก ได้แก่ เทคโนโลยี 5G แอปพลิเคชัน ไอโอที ปัญญาประดิษฐ์ (เอไอ) บิ๊กดาต้า วีอาร์ เออาร์ (โลกเสมือนจริง) ซอฟต์แวร์ คอนเวอร์เจนต์และฮาร์ดแวร์ดีไซน์”

เปิดกว้างให้สตาร์ทอัพไทย – ต่างประเทศมาลงทุน ธุรกิจเทคโนโลยีดิจิทัลสมัยใหม่

ส่วนการดึงดูดการลงทุน ผู้อำนวยการดีป้าให้ข้อมูลว่าจะเน้นไปที่ การเปิดกว้างและดึงดูดทั้งสตาร์ทอัพไทยและบริษัทรายใหญ่ของต่างชาติ โดยสำหรับ สตาร์ทอัพไทย ตั้งเป้าหมายการส่งเสริมไว้ในระยะยาว คือ เพื่อขยายไปสู่ตลาดโลกด้วย ซึ่งขณะนี้เข้าไปสนับสนุนสตาร์ทอัพไทย 50 รายแล้ว โดยเน้นไปที่ 5 เทรนด์ธุรกิจหลัก ได้แก่ ฟินเทค เทคโนโลยีการศึกษา เทคโนโลยีเกษตร เทคโนโลยีแปรรูปเกษตร และเทรดแอนด์เซอร์วิสเทคโนโลยี

“ที่ผ่านมา เราได้ไปโรดโชว์ดึงผู้ประกอบการอุตสาหกรรมไฮเทครายใหญ่ที่จีน ญี่ปุ่น และสหรัฐ มีบริษัทเป้าหมาย 10 ราย ซึ่งดำเนินธุรกิจทั้งในด้านดิจิทัลแพลตฟอร์ม คลาวด์เซอร์วิส เทคโนโลยีเดต้า และการออกแบบผลิตภัณฑ์เพื่ออุตสาหกรรม รวมถึงกำลังเจรจากับกลุ่มเทคโนโลยีดิจิทัล 3 มิติ เทคโนโลยีเอไอ และไอโอที ซึ่งคาดว่ามีแนวโน้มสูงที่ธุรกิจเหล่านี้จะตอบรับเข้ามาลงทุนใน ไทยแลนด์ ดิจิทัล วัลเลย์”

“โดยบริษัทขนาดใหญ่ทั้ง 10 ราย ที่ทางดีป้าวางแผนว่าจะดึงเข้ามาลงทุนในไทยแลนด์ ดิจิทัล วัลเลย์ จะเป็นบริษัทที่ใช้เงินลงทุนตั้งแต่ 500 ล้านบาท ไปจนถึงกว่าพันล้านบาทต่อราย และได้ตั้งเป้าหมายว่าจะจับคู่บริษัทขนาดใหญ่นี้กับสตาร์ทอัพไทยทั้ง 50 ราย เพื่อให้เกิดการดีไซน์และต่อยอดเป็นสินค้าใหม่ขึ้นมา”

นอกจากนั้น ในบทสัมภาษณ์คุณณัฐพล ยังได้แสดงความคิดเห็นที่น่าสนใจถึงการพัฒนาให้เกิดสตาร์ทอัพไทยในด้านเทคโนโลยีดิจิทัลไว้ด้วย

“สตาร์ทอัพทั้ง 50 ราย จะโตขึ้นได้ต้องทำงานร่วมกันกับบริษัทใหญ่ที่มีเทคโนโลยี ซึ่งทางฝั่งของบริษัทใหญ่ที่จะมาลงทุนในไทย ก็คงไม่ใช่มาลงทุนแค่ตั้งโรงงาน แต่เขาก็ต้องมองว่าการมาลงทุนขยายฐานการผลิตนั้นจะทำให้เกิดผลิตภัณฑ์ใหม่ หรือต่อยอดสู่การคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ ที่เอื้อประโยชน์ต่อธุรกิจเขาหรือไม่ เพราะต้องอย่าลืมว่า บริษัทที่มีขนาดใหญ่ระดับโลกเหล่านี้จะตั้งฐานการผลิตที่ใดก็ได้ในโลกที่มีต้นทุนการก่อตั้งบริษัทสาขาในระดับต่ำ หรือในอัตราที่รับได้”

“ทั้งนี้ ถ้าเราสามารถดึงเอาบริษัทใหญ่เข้ามาลงทุนในไทยได้ตามแผนที่วางไว้นี้ ก็ต้องเข้ามาลงทุนเพื่อเป็นฐานการผลิตด้านธุรกิจสร้างสรรค์จากไอเดียใหม่ โดยจะต้องให้สตาร์ทอัพไทย 50 ราย ไปเจอกับบริษัทขนาดใหญ่เหล่านี้ แล้วมาใช้พื้นที่นี้เพื่อออกแบบสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่ ทดสอบตลาดภายในประเทศ และผลิตผลิตภัณฑ์ใหม่เข้าสู่ตลาดโลก ถ้าทำอย่างนี้ได้ จะทำให้สตาร์ทอัพของไทยขยายขนาดตลาดไปสู่ตลาดโลกได้ไม่ยาก”

“เพราะไม่เช่นนั้นไทยจะเป็นได้เพียงฐานการผลิตเพียงอย่างเดียว และรอให้บริษัทต่างชาติมาตั้งโรงงาน ซึ่งไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจแต่อย่างใด” ผู้อำนวยการดีป้าย้ำชัดเจน

“ในอีกด้านหนึ่ง ก็ต้องทำให้ทั้ง 2 ส่วนผสมร่วมกันทำงาน ซึ่งโมเดลนี้ทางสิงคโปร์ทำอยู่ แต่โมเดลสิงคโปร์สมัยก่อนเน้นเพียงกลุ่มฟินเทค มาช่วงหลังถึงมาเน้นการออกแบบผลิตภัณฑ์มากขึ้น เพราะมีเครื่องจักรอัตโนมัติ หุ่นยนต์ที่ทำงานใกล้ชิดมนุษย์ อุปกรณ์ติดตัวมนุษย์ ทำให้อุปกรณ์อัจฉริยะมากขึ้น โดยใส่เอไอและซอฟต์แวร์เข้าไป”

“ดังนั้น จากสถานการณ์ที่เล่ามานี้ เราจะปล่อยให้สิงคโปร์ทำ แล้วไทยเป็นเพียงผู้รับจ้างผลิตแค่นั้นหรือ ผมมองว่าอยากให้สตาร์ทอัพหรือผู้ประกอบการไทยเป็นผู้ดีไซน์เองและรับผลิตด้วย เราถึงจะสู้สิงคโปร์ได้ โดยสตาร์ทอัพไทยจะต้องร่วมมือกับบริษัทขนาดใหญ่ในการออกแบบ ด้วยการใช้พื้นที่ ไทยแลนด์ ดิจิทัล วัลเลย์ ในการพัฒนาสินค้าใหม่ โดยใช้เทคโนโลยีที่มีอยู่มาออกแบบให้เหมาะสมกับไลฟ์สไตล์และการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี”

ที่สุดแล้ว ดีป้าวาดหวังว่า ไทยแลนด์ ดิจิทัล วัลเลย์ จะส่งผลทางเศรษฐกิจเกิดการลงทุนทางตรงจากภาครัฐ 4,000 ล้านบาท การลงทุนทางตรงของภาคเอกชน 4,000 ล้านบาท รวมแล้วเกิดการลงทุนจริงไม่ต่ำกว่า 8,000 ล้านบาท นำไปสู่การหมุนเวียนด้านการลงทุนต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 20,000 ล้านบาท ทำให้เกิดการขับเคลื่อนในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีดิจิทัลอีกมาก และจะขยายผลต่อในด้านการใช้ประโยชน์ไม่ต่ำกว่า 3 เท่าของ 20,000 ล้านบาท จากการผลิตสินค้าต่างๆ ให้เกิดการหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจไทย

ที่มา : รายงานข่าว “เร่งโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล ดึงต่างชาติหนุน สตาร์ทอัพ” โดย วัชร ปุษยนาวิน (เผยแพร่ใน เว็บไซต์กรุงเทพธุรกิจ 4 ตุลาคม 2562)

อัปเดตอีกหลากหลายโครงการ สร้างอนาคตทางเศรษฐกิจให้ประเทศไทย เติบโตได้อย่างยั่งยืน

ดันภารกิจ เร่งปั๊มบุคลากรไมซ์มืออาชีพ ขานรับ ธุรกิจไมซ์ MICE ภาคตะวันออก บูม

ท่าเรือฯ มาบตาพุด เฟส 3 บทพิสูจน์ PPP ‘รัฐ กับ เอกชน’

โลกเปลี่ยน การศึกษาต้องเปลี่ยน! อย่าวนเวียนสนใจอยู่แค่ ‘การจัดอันดับสถานศึกษา’

Post Views: 4,349

ข้อใดคือโครงสร้างพื้นฐานธุรกิจดิจิทัล

โครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล หมายถึง โครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) โทรคมนาคม (Telecommunication) และการแพร่ภาพกระจายเสียง (Broadcast) รวมทั้งการหลอมรวมของเทคโนโลยี (Convergence) ทั้งสามด้านที่เป็นนวัตกรรมใหม่ในการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

ข้อใดคือการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล Hard Infrastructure

การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล (Hard Infrastructure) หรือการพัฒนาด้านโครงสร้าง พื้นฐานดิจิทัล ทั้งด้านโทรคมนาคมและการแพร่ภาพกระจายเสียง เพื่อให้ประเทศไทยมี โครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลที่ครอบคลุมทุกพื้นที่มีขนาดที่พอเพียงกับการใช้งาน มีเสถียรภาพที่ มั่นคง ในราคาที่เหมาะสม เพื่อเป็นพื้นฐานไปสู่การต่อยอดกิจกรรมการพัฒนาประเทศ ...

Digital Society & Knowledge Resource คืออะไร

การสร้างสังคมดิจิทัลที่มีคุณภาและการพัฒนาคลังทรัพยากรสารสนเทศของประเทศ (Digital Society & Knowledge Resource) คือการสร้างสังคมดิจิทัลทั่วถึงเท่าเทียมกัน เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูล และบริการ ของรัฐได้ทุกที่ ทุกเวลา อย่างทั่วถึง เท่าเทียมกันผ่านเทคโนโลยีดิจิทัล รวมทั้งมีพลเมืองดิจิทัลที่ฉลาด รู้เท่ากันข้อมูล ...

หัวใจสำคัญของ Digital Literacy มีกี่ข้อและประกอบด้วยอะไรบ้าง

Digital literacy คืออะไร.
การใช้ (Use).
เข้าใจ (Understand).
การสร้าง (create).
เข้าถึง (Access) เทคโนโลยีดิจิทัล ได้อย่างมีประสิทธิภาพ.

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก