สมาคมได้รับยกเว้นภาษีหัก ณ ที่จ่าย

ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการเรียกเก็บเงินสนับสนุนค่าจัดงาน

วันที่เอกสาร

16 ตุลาคม 2557

เลขที่หนังสือ

กค 0702/8013

ข้อกฎหมาย

มาตรา 77/1(8)(10) และมาตรา 65 ทวิ (13) แห่งประมวลรัษฎากร

ข้อหารือ

สมาคมฯ ได้จัดงานฯ และได้ออกใบแจ้งหนี้เรียกเก็บเงินสนับสนุนค่าจัดงานดังกล่าว ไปยัง บริษัท ส. (บริษัท ส.) เพื่อนำไปจ่ายเป็นค่าจัดงานต่อให้กับสมาชิกของสมาคมฯ อีกทอดหนึ่ง จำนวน 10 บริษัท โดยแต่ละบริษัทที่เป็นสมาชิกของสมาคมฯ ได้เชิญนางแบบ รวมทั้งผู้มีชื่อในสังคมวงการแฟชั่นมาร่วมงานในครั้งนี้ สมาคมฯ จึงขอทราบว่า เมื่อบริษัท ส. จ่ายเงินสนันสนุนค่าจัดงานดังกล่าว ตามใบแจ้งหนี้ให้แก่สมาคมฯ ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย หรือไม่ เนื่องจากเจ้าหน้าที่ของบริษัท ส. แจ้งว่าจะต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย เป็นค่าบริการ ในอัตราร้อยละ 3.0 เพราะสมาคมฯ ไม่ได้รับการประกาศกำหนดให้เป็นองค์การหรือสถานสาธารณกุศล ตามมาตรา 47 (7)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งสมาคมฯ เข้าใจว่า สมาคมฯ ได้รับเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40 (8) แห่งประมวลรัษฎากร จึงได้รับยกเว้นการหักภาษี ณ ที่จ่าย

แนววินิจฉัย

1.กรณีสมาคมฯ ซึ่งเข้าลักษณะเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร เรียกเก็บเงินสนับสนุนค่าจัดงานฯ จากบริษัท บริษัท ส. เพื่อสมาคมฯ จะนำเงินดังกล่าวไปจ่ายให้แก่บริษัทที่เป็นสมาชิกของสมาคมฯ ที่ร่วมการจัดงานอีกทอดหนึ่ง ตามเอกสารใบแจ้งหนี้ (Inv/2013-004) และบริษัท บริษัท ส. ผู้จ่ายเงินได้จากการให้บริการได้หักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 3.0 ตามหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามข้อเท็จจริงดังกล่าว เข้าลักษณะเป็นค่าตอบแทนที่ได้รับจากการกระทำใดๆ อันอาจหาประโยชน์อันมีมูลค่า ซึ่งถือเป็นการให้บริการ ตามมาตรา 77/1 (10) แห่งประมวลรัษฎากร เงินค่าบริการจัดงานฯ ดังกล่าว เข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8) แห่งประมวลรัษฎากร ผู้จ่ายเงินซึ่งเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่น ซึ่งจ่ายเงินได้ดังกล่าวให้แก่ผู้รับซึ่งเป็นมูลนิธิหรือสมาคมไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามข้อ 12/1 (2) ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528 2.อันเนื่องมาจาก กรณีสมาคมฯ เรียกเก็บเงินสนับสนุนค่าจัดงาน BFS Capsule Project สมาคมฯ มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม ดังนี้ (1)ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีสมาคมฯ ประกอบกิจการมีรายได้จากการจัดงาน สมาคมฯ ต้องนำรายได้ที่ได้รับก่อนหักรายจ่ายใดๆ มารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล เว้นแต่เงินค่าลงทะเบียน หรือค่าบำรุงที่ได้รับจากสมาชิก หรือเงิน หรือทรัพย์สินที่ได้รับจากการรับบริจาคหรือจากการให้โดยเสน่หาแล้วแต่กรณี ทั้งนี้ ตามมาตรา 65 ทวิ (13) แห่งประมวลรัษฎากร (2)ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีสมาคมฯ เป็นผู้ประกอบการขายสินค้าหรือให้บริการในทางธุรกิจหรือวิชาชีพที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยมีมูลค่าของฐานภาษีเกินมูลค่าของฐานภาษีของกิจการขนาดย่อมและกิจการดังกล่าวไม่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม สมาคมฯ มีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 77/1(8) และ (10) มาตรา 77/2 และมาตรา 81/1 แห่งประมวลรัษฎากร

กรมสรรพากรแก้ไขล่าสุด

29 มีนาคม 2560

   
               (1) ต้องขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร
               (2) ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายเมื่อจ่ายเงินให้แก่ผู้รับ
               (3) ต้องจัดทำบัญชีพิเศษแสดงการหักภาษี ณ ที่จ่าย และนำส่งกรมสรรพากร
               (4) ต้องยื่นแบบแสดงรายการและนำส่งภาษี

              

 การขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร

               มูลนิธิหรือสมาคมซึ่งมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล จะต้องยื่นคำร้องขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษี (ล.ป.10) ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล หรือวันที่เริ่มประกอบกิจการในประเทศไทย แล้วแต่วันใดจะเป็นวันหลัง

               สถานที่ยื่นคำร้องขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษี

               (1) มูลนิธิหรือสมาคมซึ่งมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ให้ยื่นคำร้องได้ที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานครในท้องที่ที่สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่
               (2) มูลนิธิหรือสมาคมซึ่งมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในเขตจังหวัดอื่น ให้ยื่นคำร้อง ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่หรือสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในจังหวัดที่สำนักงานใหญ่ของมูลนิธิหรือสมาคม ตั้งอยู่
               (3) มูลนิธิหรือสมาคมสามารถยื่นคำร้องขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรประเภทนิติบุคคลโดยผ่านเว็บไซต์ของกรมสรรพากร ที่ //www.rd.go.th โดยระบบจะให้บันทึกข้อมูลรายการต่าง ๆ เช่น เลขทะเบียนนิติบุคคล วันที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ที่ตั้งสำนักงานใหญ่ รอบระยะเวลาบัญชี และลักษณะการเป็นนิติบุคคล เป็นต้น

               การหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย

               มูลนิธิหรือสมาคมต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายเมื่อจ่ายเงินได้ดังต่อไปนี้ให้แก่ผู้รับ ซึ่งมีหน้าที่เสียภาษี เงินได้บุคคลธรรมดา หรือภาษีเงินได้นิติบุคคลแล้วแต่กรณี ดังนี้

               1. เงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน
               2. เงินได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำหรือจากการรับทำงานให้
               3. ค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าแห่งลิขสิทธิ์ หรือสิทธิอย่างอื่น ๆ
               4. เงินได้ประเภทดอกเบี้ย เงินปันผล ฯลฯ
               5. เงินได้ประเภทค่าเช่าทรัพย์สินฯ
               6. เงินได้ค่าวิชาชีพอิสระ
               7. เงินได้จากการรับเหมาที่ผู้รับเหมาต้องลงทุนด้วยการจัดหาสัมภาระในส่วนสำคัญ นอกจากเครื่องมือ
               8. เงินได้จากธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่ง หรือการอื่น ๆ นอกจากที่ระบุไว้ใน 1. ถึง 7. เฉพาะที่เป็นเงินได้จากการจ้างทำของ รางวัลจากการประกวดแข่งขัน ชิงโชค ค่าโฆษณา ค่าแสดงที่จ่ายให้นักแสดงสาธารณะ รางวัล ส่วนลด หรือประโยชน์อย่างอื่นเนื่องจากการส่งเสริมการขาย การประกันวินาศภัย การขนส่ง (ไม่รวมค่าโดยสารสำหรับการขนส่งสาธารณะ) การให้บริการอื่นๆ (ไม่รวมถึงค่าบริการของโรงแรม ค่าบริการของภัตตาคาร และค่าเบี้ยประกันชีวิต)

               การจัดทำบัญชีพิเศษแสดงการหักภาษี

               ผู้มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ต้องจัดทำบัญชีพิเศษแสดงรายการหักภาษี ณ ที่จ่าย และการนำส่งให้แก่ผู้รับเงิน โดยรวมจำนวนที่จ่ายเป็นประจำวัน และรวมยอดเป็นรายเดือน เมื่อสิ้นวันสุดท้ายของเดือนและต้องเก็บรักษาบัญชีพิเศษดังกล่าวไว้ไม่น้อยกว่า 5 ปี ที่สำนักงานที่มีการจ่ายเงิน

               กรณียกเว้นไม่ต้องจัดทำบัญชีพิเศษแสดงการหักภาษี

               1. การจ่ายดอกเบี้ยเงินฝาก ดอกเบี้ยตั๋วเงินของธนาคาร สหกรณ์ บริษัท ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ หรือสถาบันการเงินที่มีกฎหมายโดยเฉพาะของประเทศไทยจัดตั้งขึ้น สำหรับให้กู้ยืมเงินเพื่อส่งเสริมเกษตรกรรม พาณิชยกรรม หรืออุตสาหกรรม
               2. กรณีการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ซึ่งอยู่ในบังคับต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย และต้องนำส่งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในขณะที่มีการจดทะเบียน
               3. กรณีอื่นตามที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด

               การยื่นแบบแสดงรายการและการนำส่งภาษี

               มูลนิธิหรือสมาคมผู้หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย มีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย พร้อมทั้งนำเงินภาษีส่งภายใน 7 วัน นับแต่วันสิ้นเดือนที่มีการจ่ายเงิน

               แบบแสดงรายการที่ใช้ยื่นภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย

               1. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย


                   (1) ภ.ง.ด.1 ใช้สำหรับนำส่งภาษีเป็นรายเดือน กรณีจ่ายเงินได้พึงประเมินประเภทเงินเดือน ค่าจ้าง หรือเงินได้จากตำแหน่งงานที่ทำ การรับทำงานให้ เช่น ค่านายหน้า ค่าบำเหน็จ ฯลฯ ตามมาตรา 40(1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากร 
                   (2) ภ.ง.ด.1 ก ใช้สำหรับแสดงรายการสรุปการจ่ายเงินได้และจำนวนเงินภาษีที่ได้นำส่งไว้ในปีภาษีที่ล่วงมาแล้ว กรณีการจ่ายเงินได้พึงประเมินประเภทเงินเดือน ค่าจ้าง ค่านายหน้า หรือบำเหน็จ ฯลฯ ตามมาตรา 40(1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากร กำหนดเวลายื่นแบบภายในเดือนกุมภาพันธ์ของปีถัดไป 
                   (3) ภ.ง.ด.2 ใช้สำหรับนำส่งภาษีเป็นรายเดือน กรณีจ่ายเงินได้พึงประเมินประเภทค่าสิทธิ ดอกเบี้ย เงินปันผล ผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนตราสารหนี้หรือตราสารทุน ฯลฯ ตามมาตรา 40 (3) และ (4) แห่งประมวลรัษฎากร 
                   (4) ภ.ง.ด.2 ก ใช้สำหรับแสดงรายการสรุปการจ่ายเงินได้และจำนวนเงินภาษีที่ได้นำส่งในปีภาษีที่ล่วงมาแล้ว กรณีการจ่ายเงินได้พึงประเมินประเภทค่าสิทธิ ดอกเบี้ย เงินปันผล ผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนตราสารหนี้หรือตราสารทุน ฯลฯ ตามมาตรา 40(3) และ (4) แห่งประมวลรัษฎากร กำหนดเวลายื่นแบบภายในเดือนมกราคมของปีถัดไป 
                   (5) ภ.ง.ด.3 ใช้สำหรับนำส่งภาษีเป็นรายเดือน กรณีจ่ายเงินได้พึงประเมินประเภทค่าเช่าทรัพย์สิน ค่าวิชาชีพอิสระ การรับเหมา การรับจ้างทำของ หรือเงินได้จากการประกอบธุรกิจการพาณิชย์ ฯลฯ ตามมาตรา 40(5) ถึง (8) แห่งประมวลรัษฎากร

               2. ภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ ที่จ่าย 

                   (1) ภ.ง.ด.53 ใช้สำหรับนำส่งภาษีกรณีจ่ายเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร ตั้งแต่ 500 บาทขึ้นไปให้แก่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล 
                   (2) ภ.ง.ด.54 ใช้สำหรับนำส่งภาษี สำหรับ 
                        (ก) กรณีจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (2)-(6) แห่งประมวลรัษฎากร ให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ และไม่ได้ประกอบกิจการในประเทศไทย ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการจ่ายจากหรือในประเทศไทย และมีหน้าที่ต้องหักภาษีจากเงินได้พึงประเมินที่จ่ายและนำส่ง 
                        (ข) กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่จำหน่ายเงินกำไรหรือเงินประเภทอื่นใดที่กันไว้จากกำไรหรือที่ถือได้ว่าเป็นเงินกำไรออกไปจากประเทศไทย

สมาคม หักภาษี ณ ที่จ่าย กี่ เปอร์เซ็นต์

มูลนิธิหรือสมาคมที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร หักภาษี ณ ที่จ่าย โดยคำนวณหักไว้ในอัตราร้อยละ ๑๐.๐ (๒) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่นซึ่ง

สมาคม หัก ณ ที่จ่ายได้ไหม

มูลนิธิหรือสมาคมต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายเมื่อจ่ายเงินได้ดังต่อไปนี้ให้แก่ผู้รับ ซึ่งมีหน้าที่เสียภาษี เงินได้บุคคลธรรมดา หรือภาษีเงินได้นิติบุคคลแล้วแต่กรณี ดังนี้ 1. เงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน 2. เงินได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำหรือจากการรับทำงานให้ 3. ค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าแห่งลิขสิทธิ์ หรือสิทธิอย่างอื่น ๆ

สมาคม เสียภาษีไหม

รายได้ที่จะต้องเสียภาษีเงินได้ของมูลนิธิหรือสมาคม ได้แก่ รายได้จากการ ประกอบกิจการ เช่น ค่าเช่า รายได้จากการจำหน่ายสินค้าและบริการ และรายได้จากทุน เช่น ดอกเบี้ย และเงินปันผล เป็นต้น มูลนิธิหรือสมาคมจะต้องนำรายได้ดังกล่าวมาคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลตามอัตรา ที่กฎหมายกำหนด โดยไม่มีการหักค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น

สมาคมเสียภาษีอย่างไร

เมื่อมูลนิธิหรือสมาคมมีรายได้จากการประกอบกิจการจะต้องนำรายได้ ซึ่งไม่ได้รับยกเว้นมาคำนวณภาษี โดยคำนวณจากรายได้ก่อนหักรายจ่าย คูณด้วยอัตราภาษีร้อยละ 10.0 หรือร้อยละ 2.0 แล้วแต่กรณี ผลที่ได้เป็นภาษีที่ต้องเสีย

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก